การเรียนรู้กับความอยู่รอด (Learning and Survival)


สามวันที่แล้วผมเขียนเกี่ยวกับความเห็นของ Harari เกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบันว่าการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันยังไม่ปฏิรูปเนื้อหาและวิธีการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ เรายังสอนความรู้และทักษะปัจจุบันให้กับคนที่จะต้องทำงานและดำรงชีวิตในอนาคตอยู่  กล่าวคือเนื้อหาสาระและทักษะที่บรรรจุในหลักสูตร และนำใช้ในการจัดการเรียนการสอน ยังเป็นความรู้และทักษะที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งแนวคิดและวธีการดังกล่าวอาจจะใช้ได้ในการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา แต่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และคาดเดาได้ยากนี้ความต้องเปลี่ยนทั้งเนื้อหา ทักษะ และวิธีการจัดการเรียนการสอน 

แต่ประเด็นก็คือไม่มีใครรูู้ว่าโลกอนาคตจะเป็นแบบไหน แต่ที่เชื่อว่าเป็นไปแน่ๆ คือทรัพยากรมีจำกัดแน่ และประชากรของโลกเพิ่มมากขึ้นแน่นอน 

Harari ชี้ว่านักวิชาการหลายท่านพยายามพยากรณ์ว่าโลกอนาคตและเป็นอย่าง และทักษะศตวรรษที่ 21 น่าจะเป็นแบบไหน ซึ่งไม่แน่ใจทักษะเหล่านั้นจะใช้ได้หรือไม่ 

เดิมผมก็เคยเห็นด้วยกับทักษะศตวรรษที่ 21 และเคยเขียนหนังสือสนับสนุนแนวคิด และสอนลูกศิษย์เกี่ยวกับทักษะศตวรรษที่ 21 มาอย่างมั่นใจว่าเป็นทิศทางที่ใช่ จนกระทั่งได้อ่านหนังสือของ Harari และเห็นว่าสิ่งที่เขาเสนอน่าสนใจอย่างยิ่ง แต่ในหนังสือดังกล่าวไม่ได้เสนอว่าแล้วเราควรจะจัดการศึกษาเพื่อการมีชีวิตรอดในอนาคตอย่างไร จึงเป็นโจทย์ที่ผมต้องคิดต่อว่า ‘แล้วจะทำอย่างไร’  

ในเบื้องต้นนี้ผมมีความเห็นว่าเราคงต้องสอนทั้งความรู้ทักษะเท่าเรามีและเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ในอาคตอย่างที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่ต้องเลือกสรรทั้งความรู้และทักษะที่สำคัญและจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ไม่ใช่สอนเพื่อเลือก และสิ่งที่ต้องคิดใหม่คือสอนเครื่องมือที่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ในการทำงานและการดำรงชีวิตในอนาคต ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าเป็นแบบไหน 

เครื่องมือการทำงานและการดำรงชีวิตในอนาคตในความเห็นของผมมี 2 อย่างคือ (1) คุณลักษณะของคนยุคผลิกผัน และ (2) ความสามารถในการเรียนรู้

คุณลักษณะของคนยุคผลิกผัน 

         ผมเชื่อว่าทุกท่านรับรู้ถึงโลกยุคผลิกผันที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่ามันส่งผลต่อชีวิตและการงานเราในปัจจุบันขนาดไหน สิ่งที่เคยเข้าใจและเชื่อว่าเป็นความรู้นั้นอาจจะเปลี่ยนได้ในพริบตา หลายอย่างเกิดขึ้นแบบไร้ทิศทาง ไร้ระเบียบ และไร้ความเป็นเหตุเป็นผล และไม่เป็นเส้นตรงแบบจาก 1 ไป 2 และ 3 ตามลำดับอีกต่อไป 

         โลกเช่นนี้จะเป็นมากขึ้นในอนาคต ภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรแต่มีประชากรโลกมากขึ้น ดังนั้นบุคคลที่จะสมารถทำงานและดำรงชีวิตในอนาคตได้เป็นอย่างดีนั้นต้องมีคุณลักษะหลายอย่างแตกต่างไปจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น มีภูมิต้านทางต่อการเปลี่ยนแปลงสูง  มีภาวะจิตที่ยึดหยุ่นและไม่ติดยึด มีความสามารถในการร่วมมือร่วมใจ และมีความสามารถในการจัดการตนเองและการงานได้ดี 

ความสามารถในการเรียนรู้

          ความสามารถในการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญของมนุษ์มาทุกยุคสมัย และจะสำคัญยิ่งขึ้นในยุคลพลิกผัน เพราะการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นเป็นไปแบบเหนือความคาดเดาและคาดหมาย ความรู้และทักษะที่เรารู้และมีในปัจจุบันอาจจะใช้ไม่ได้เลยในอนาคต ดังนั้นคนที่จะสามารถทำงานและดำรงชีวิตได้ดีในอนาคตนั้นต้องมีความสามรถในการเรียนรู้และนำใช้ความรู้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมผู้เรียนในการทำงานและดำรงชีวิตในอนาคตนั้นต้องใช้เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างเพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ มากกว่าการจดจำเนื้อหาและกิจกรรมที่สอน หัวใจการเรียนการสอนยุคใหม่ต้องสร้างความเป็นผู้นำการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนทุกคน และผู้เรียนที่จะสามารถทำงานและดำรงขีวิตในอนาคตได้ดีนั้นต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการเรียนรู้ และนำใช้ความรู้ในการทำงาน การแก้ปัญหา และการดำรงชีวิตของตน ผู้เกี่ยวข้อง สังคม ประเทศชาติ และสังคมโลกครับ 

สมาน อัศวภูมิ 

21 มิถุนายน 2566

 

 

หมายเลขบันทึก: 712427เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2023 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2023 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I think we do have to take into considerations in projecting life in C21, the human trait and tendency for self-interest (from survival and greediness point-of-views) and technological advances (such as the Net and AI - offering powerful tools to exploit other people’s weaknesses). Altruism or optimism based projections and solutions have been failing time and time again - so cannot be depended on.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท