การยั่งรู้ต้นตอของปัญหา: จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง (Epiphany: The starting point of changes)


วันก่อนผมมีเวลานั่งอ่านหนังสือThe Wall Street Journal: Essential Guide to Management และ Murray (2010) ผู้เขียนหนังสือเล่มดังกล่าวพูดถึง Peter Drucker กูรูทางการบริหารคนสำคัญคนหนึ่งว่า​ Drucker ให้ความสนจนกับพฤติกรรมของคนมากกว่าผลิตภัณฑ์หรือโภคภัณฑ์ที่องค์การผลิต หรือวิธีดำเนินงานขององค์การ  และกล่าวต่อไปว่า ‘Epiphany’ได้กลายเป็นพื้นฐานสำคัญของการบริหารยุคใหม่ 

ผมยอมรับว่าไม่เคยเห็นและไม่เข้าใจคำนี้มากก่อน แม้ว่าจะเป็นแฟนคลับของ Drucker และอ่านหนังสือของเขาหลายเล่ม ขณะเดียวกันหนังสือของ Murray ก็ไม่ได้อธิบายเอาไว้ และก็ไม่บอกว่าเอาข้อสรุปนี้มาจากหนังสือเล่มไหน หรือแนวคิดใดของ Drucker 

ปัญหาของผมก็คือ ถ้าค้างใจเรื่องอะไรแล้วอยู่ไม่เป็นสุขครับ ต้องค้นหาและศึกษาให้เข้าใจ ก็เลยกับไปทบทวนและสแกนทรูหนังสือของ​​ Drucker อีกครั้งโดยเฉพาะThe Essential Drucker (​HarperCollins e-books, 2001) เป็นการเลือกและรวมผลงานของ​ Drucker 60 ปีของเขา และผมก็เจาะอ่านเกี่ยวกับบริหาร โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล ก็ไม่พบคำอธิบาย (วันหลังจะอ่านแบบละเอียดอีกทีเผื่อเจอ) หลังจากนั้นก็สั่งซื้อหนังสือจาก Amozon.com  อีก 2 เล่ม เป็น e-book,  ถ้าจะรอเล่มกระดาษอยู่ จะค้างใจไปอีกนาน เสร็จแล้วค้นแนวคิดจากอินเตอร์เน็ตหลายบทเขียน ในที่สุดก็สรุปได้ดังนี้

Epiphany เป็นสภาวะปิ้งแวปและรู้แจ้งในสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ และเมื่อรับรู้แล้วก็พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อสิ่งที่ดีขึ้นขององค์การ หรือการดำรงชีวิต เช่น สมมติว่าสามีและภรรยาคู่หนึ่งมีการทะเลาะกันอยู่ประจำ และต่างฝ่ายต่างกันโทษอีกฝ่ายว่าเป็นสาเหตุของการทะเลาะกัน และแล้ววันหนึ่งฝ่ายสามีก็พบว่าแท้ที่จริงแล้วตัวเขาเองนั่นแหละคือต้นเหตุของการทะเลาะกันทุกครั้ง เขาจึงยอมรับความจริงกับภรรยาและพร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน และหลังจากนั้นปัญหาดังกล่าวก็ได้รับการแก้ไข ชีวิตการแต่งงานก็ราบรื่น เป็นต้น 

หลังจากได้ข้อสรุปและเข้าใจ concept แล้วปัญหาถัดมาก็คือ ไม่รู้ว่าจะใช้ภาษาไทยว่าอย่างไรจึงจะสื่อความตาม concept ดังกล่าว คำแปลในพจนานุกรมหลายแหล่งแปลตรงกันว่า ‘ความศักดิ์สิทธิ์’ ซึ่งอาจจะเป็นคำใช้เพื่อสื่อความตามนั้นจริง ๆ ก็ได้ แต่พอนำใช้ในทางบริหาร ก็ดูเหมือนจะไม่ตรงกับ concept 

หลังจากการคิดแล้วคิดอีกๆ ก็เลยเลือกใช้คำว่า ​'การยั่งรู้ต้นตอของปัญหา' ก็หวังว่าจะสื่อความตาม concept นะครับ และหวังว่าคงนำใช้ให้เกิดประโยชน์นะครับ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาในการบริหารองค์การ การแก้ปัญหาในการดำรงชีวิต และการแก้ปัญหาในการอยู่ร่วมกันของคนไทย ครับ 

สมาน อัศวภูมิ 

26 มีนาคม 2566

รายการอ้างอิง 

Ballard, E. Epiphany: True Stories of Sudden Insight to Inspire, Encourage, and Transform. (2014). Hard Copy printed, New York: Harmony Books, and e-books bought from Amazon.com 

Blank, S. (2020). The Four Steps to the Epiphany: Successful Strategies for Products that Win, 5th edtion. e-books, bough from Amanzon.com: ISBN 971119690283 (ePDF). 

HarperCollins e-books. (2001) Peter F Drucker: The Essential Drucker, e-books bought from Amazon.com. 

หมายเลขบันทึก: 712102เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2023 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2023 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท