วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

สรุปผลการจัดกิจกรรม KM ฝ่ายวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2565 การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรม ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี พุทธชินราช “มิตร” “MITH” กับการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)


สรุปผลการจัดกิจกรรม KM ฝ่ายวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2565

การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรม

ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี พุทธชินราช “มิตร” “MITH” 

กับการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)

 

ความเป็นมา

ปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช จัดกิจกรรมพัฒนาอาจารย์เพื่อการผลิตบัณฑิตพยาบาลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล มีภาวะผู้นำ และอัตลักษณ์บัณฑิตของคณะพยาบาลศาสตร์ โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565  และวางแผนร่วมกันในการมอบหมายให้อาจารย์ออกแบบการจัดการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบวิถีใหม่ SPICER model for MITH ในแต่ละสาขาวิชา ซึ่งแต่ละสาขาวิชาได้ดำเนินการบูรณาการไปกับการจัดเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)

ผลการดำเนินงานพบว่า ปีการศึกษา 2565 อาจารย์ทุกสาขาวิชามีการวางแผนพัฒนารูปแบบการจัดเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

แผนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนแบบวิถีใหม่ SPICER model for MITH ปีการศึกษา 2565

ลำดับ ชั้นปี ภาคการศึกษา สาขาวิชาที่รับผิดชอบ รายวิชา
1 3 ต้น การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น วิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น
2 3 ต้น สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

วิชาสุขภาพจิตและการพยาบาล

จิตเวช 

3 2 ปลาย บริหารการพยาบาลฯ วิชาจริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพ
4 4 ต้น การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
5 4 ต้น การพยาบาลสูติศาสตร์ วิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2
6 4 ต้น การพยาบาลอนามัยชุมชน วิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน 2

 

ผลการดำเนินการ

          วิทยาลัยฯ ได้ประกาศนโยบายเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยพยาบาล บรมราชนนี               พุทธชินราช ได้แก่ “มิตร” (ม…..มีน้ำใจ  ต.....ซื่อตรง  ร......ร่วมแรงร่วมใจและรู้คุณ) “MITH” (M = Mankind,    I = Integrity, T = Trustworthy, H = Harmony) เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยพยาบาล                   บรมราชชนนี พุทธชินราช (มิตร) เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2565 วิทยาลัยฯ จำนวน ๖ ข้อ ดังนี้

  1. พัฒนาสมรรถนะทางจริยธรรมของอาจารย์พยาบาลในการถ่ายทอดความรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในรายวิชาทางการพยาบาล
  2. ส่งเสริมให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยทำหน้าที่ของตนโดยหลัก              ธรรมาภิบาล 
  3. สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและพัฒนานักศึกษาให้นักศึกษาให้เกิดอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัย
  4. สร้างบรรยากาศจริยธรรมในวิทยาลัยพยาบาลภายใต้บรรยากาศที่เอื้ออาทร ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และให้ยึดประโยชน์ของส่วนรวม 
  5. จัดระบบการจัดการความเสี่ยงทางจริยธรรม ระบบจัดการข้อร้องเรียนที่ยุติธรรม 
  6. กำกับ ติดตามประเมินผล และปรับปรุงการดำเนินงานด้านจริยธรรม ให้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง เพื่อประเมินปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานและพัฒนากลวิธีที่ช่วยให้ดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จ

มีการกำหนดแผนปฏิบัติการด้านจริยธรรมที่สอดคล้องกับนโยบายจริยธรรมและส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรม ได้แก่

๑. จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านจริยธรรมทางการพยาบาล (ethics education) ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การบรรยาย อภิปราย ประชุม อบรม และ สัมมนา สนับสนุนให้อาจารย์ใช้วิธีการเรียนการสอนด้วยการเยี่ยมตรวจทางจริยธรรม (ethics rounds), การสะท้อนคิดทางจริยธรรม (ethics reflection), การประชุมวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีประเด็นทางจริยธรรม (ethics case conference), การจัดการความเสี่ยงทางจริยธรรม (ethics risk management)

          ๒. กิจกรรมคัดเลือกบุคลากรดีเด่นด้านจริยธรรม เช่น โครงการธนาคารความดี

          ๓. จัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาสามารถพัฒนาโครงการ/นวัตกรรมด้านจริยธรรม หรือการใช้วิธีการเล่าเรื่องทางจริยธรรม (ethics story telling) ในการบริการแก่ประชาชนโดยยึดหลักประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน 

          ๔. จัดกิจกรรมสร้างบรรยากาศทางจริยธรรม (enhancing ethical climate)

          ๕. จัดโครงการการจัดการความเสี่ยงทางจริยธรรม (ethics risk management)

          ๖. พัฒนาแนวปฏิบัติทางจริยธรรม (ethical practice guideline)

นอกจากนี้มีการพัฒนาแบบประเมิน MITH และมอบให้ทุกสาขาวิชา ดำเนินการตามแผนฯ เพื่อพัฒนา และส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมฯ โดยคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกฯ  รับผิดชอบจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่บุคลากรและจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นระยะๆ  โดยมีรายละเอียดการจัดกิจกรรม ดังนี้

  1. การให้ความรู้
    1.  กลุ่มเป้าหมายอาจารย์ 

        ครั้งที่ 1 เรื่อง  จริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล โดย ดร.อัศนี วันชัย ตำแหน่งรักษาการใน

ตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 (Onsite) เพื่อเตรียมความรู้ และเสริมสร้างความพร้อมในการนำ MITH มาใช้ในการสอนภาคทฤษฎี และการฝึกภาคปฏิบัติ

ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ร้อยละ 100 อาจารย์ได้รับความรู้ และความเข้าใจ เรื่อง  จริยธรรมวิชาชีพการพยาบาลเพิ่มขึ้น ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา และส่งเสริม        อัตลักษณ์จริยธรรมฯ ของวิทยาลัย

                ครั้งที่ 2 เรื่อง การจัดการเรียนการสอนด้านจริยธรรมทางการพยาบาล โดย              ดร.อรอนงค์  รองสวัสดิ์ วิทยากรจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 (Online) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนด้านจริยธรรมทางการพยาบาลอย่างเป็นรูปธรรม

             ผลจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทำให้อาจารย์มีแนวทางนำไปปรับ และพัฒนาในรายวิชา โดยเฉพาะได้แนวทางการเขียน มคอ.4 ที่สามารถแสดงให้เห็นการพัฒนา และส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมฯ ของวิทยาลัย

 

 

 2. กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฝ่ายวิชาการ ปีการศึกษา 2565

2.1 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฝ่ายวิชาการ ปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 1 “กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบวิถีปกติใหม่ (New Normal) Theme: SPICER Model  for MITH (มิตร)” วันที่  22 สิงหาคม 2565

ดำเนินการภายหลังสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอนภาคการศึกษาที่ 1 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และกำลังดำเนินการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 3 ได้ มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ในวันที่  22 สิงหาคม 2565 ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า อาจารย์จาก 6 สาขาวิชา มีการดำเนินการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนแบบวิถีใหม่ SPICER model for MITH  และมี 1 สาขาที่วิชาที่วางแผนจะดำเนินการต่อในภาคการศึกษาที่ 2 โดยอาจารย์แต่ละสาขามีการจัดการเรียนการสอนบูรณาการด้านจริยธรรมกับพันธกิจต่างๆ ด้วย สรุปได้ดังนี้

  • วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ จัดการเรียนการสอนแบบ Project Based โดยบูรณาการร่วมกับการวิจัย ประเมินนักศึกษาตาม TQF อัตลักษณ์บัณฑิต และอัตลักษณ์คุณธรรม MITH
  • วิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2 จัดการเรียนการสอนแบบ Project Based โดยบูรณาการร่วมกับการบริการวิชาการ ประเมินนักศึกษาตาม TQF อัตลักษณ์บัณฑิต และ               อัตลักษณ์คุณธรรม MITH
  • วิชาจริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพการพยาบาล จัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการกับกิจกรรมพัฒนานักศึกษา (สบช.โมเดล) อัตลักษณ์บัณฑิตของสบช. วินัย หน้าที่ สามัคคี เสียสละ สัจจะ กตเวที ศึกษากรณีศึกษาเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้บุคคลต้นแบบ ประเมินรายงานการเรียนรู้บุคคลต้นแบบ ประเมินการนำเสนอ และประเมินการพัฒนาอัตลักษณ์คุณธรรม
  • วิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช  นำ SPICER Model ไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอน และวัดประเมินผลให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น   
  • วิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน 2 มีการสนับสนุนการสอนด้วยการเยี่ยมตรวจทางจริยธรรม (ethics rounds) การสะท้อนคิดทางจริยธรรม (ethics reflection) ประชุมวิเคราะห์ประเด็นจริยธรรม (ethics case conference) การจัดการความเสี่ยงทางจริยธรรม (ethics risk management) วางแผนมอบหมายงานประเด็นจริยธรรมเมื่อ น.ศ. พบขณะฝึกภาคปฏิบัติ เช่น การสะท้อนคิดทางจริยธรรม ประชุมวิเคราะห์ประเด็นจริยธรรม
  • วิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น มีการนำแบบคัดกรองภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็กวัยก่อนเรียน อายุ 2-5 ปีด้วยปิงปองจราจร 7 สี ไปใช้ วางแผนพัฒนาเครื่องมือฯ และประเมิน MITH ต่อไป

ผลจากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1 มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

  • ควรส่งเสริมให้อาจารย์ และนักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักถึงการนำจริยธรรมทางการพยาบาล อย่างต่อเนื่อง 
  • กระตุ้นให้อาจารย์ นำจริยธรรมทางการพยาบาล รวมทั้งอัตลักษณ์คุณธรรมจริยธรรม MITH ไปประยุกต์ใช้ในการฝึกภาคปฏิบัติของแต่ละสาขาวิชา 
  • พัฒนาเครื่องมือในการวัด และประเมินผลอัตลักษณ์คุณธรรมจริยธรรม MITH ทางการพยาบาลสำหรับอาจารย์และนักศึกษา

 

 

 

 

บทสรุป ครั้งที่ 1

                วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี พุทธชินราช มีการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมของ “มิตร” (ม…..มีน้ำใจ  ต.....ซื่อตรง  ร......ร่วมแรงร่วมใจและรู้คุณ) “MITH” (M = Mankind,    I = Integrity, T = Trustworthy, H = Harmony) ของแต่ละสาขาวิชา การประเมินทั้งในรูปแบบของการให้คะแนน และไม่มีคะแนน จะเห็นได้ว่า แต่ละสาขาวิชามีการดำเนินการที่สอดคล้องไปกับการจัดเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) รายละเอียด ดังนี้

 

ประเด็น การจัดเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยฯ “มิตร” “MITH”
1) ผู้สอน   มีการทำความเข้าใจในวิธีการสอน ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการให้นักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลง

- มีการเตรียมความรู้ ทำความเข้าใจ และเสริมสร้างความพร้อมในการนำอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยฯ  MITH มาใช้ในการสอนภาคทฤษฎี และการฝึกภาคปฏิบัติ

- การออกแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี เช่น Project-Based Learning กรณีศึกษาเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ กรณีศึกษาจากสถานการณ์จำลอง เป็นต้น

 

2) สื่อการสอน การจัดแผนการสอนในคลินิก VDO Clip สถานการณ์ที่จะใช้กับหุ่น Simulation หรือเป็นสถานการณ์จริงในหอผู้ป่วยหรือในชุมชน ที่จะช่วยให้นักศึกษาการเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ 

การเตรียมใบงาน เตรียมแบบสถานการณ์จำลอง 

 

 

 

3) เครื่องมือวัดผล

การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้วัดผลลัพธ์การเรียนรู้ ควรเป็นเครื่องมือที่สามารถวัดผลการเรียนรู้ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง เช่น ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นักศึกษามีการไตร่ตรองสะท้อนคิด นักศึกษามีความเอื้ออาทรกัน (Caring) ปฏิบัติการพยาบาลโดยคำนึงถึงหัวใจความเป็นมนุษย์ พฤติกรรมจริยธรรม พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา และการเปลี่ยนแปลงของวัยผู้สูงอายุ

 

เริ่มมีการวางแผนการประเมินผลอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยฯ “มิตร” “MITH”โดยใช้แบบประเมิน MITH ซึ่งนำไปให้เป็นคะแนน และหรือไม่นับเป็นคะแนน ตามแต่ละวิชา รวมทั้งถอดบทเรียน
ประเด็น การจัดเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยฯ “มิตร” “MITH”
4) วิธีการสอน ต้องมีขั้นตอนวิธีการที่ชัดเจน ปฏิบัติได้ง่าย นักศึกษาเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามที่ครูวางแผนไว้ได้ การออกแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี เช่น กรณีศึกษาเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ กรณีศึกษาจากสถานการณ์จำลอง Project-Based Learning เป็นต้น 
5) การประเมินผล การประเมินผลการเรียนรู้ตามที่ได้ออกแบบไว้ ด้วยเครื่องมือที่กำหนดไว้ และถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป การประเมินผลการส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยฯ จากการมอบหมายชิ้นงาน หรือกิจกรรม โดยนำแบบประเมิน MITH ไปให้เป็นคะแนน และหรือไม่นับเป็นคะแนน 

 

ทั้งนี้ วางแผนการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ เมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 2 และ 3 รวมทั้งสรุปผล และวางแผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนแบบวิถีใหม่ SPICER model for MITH ในปีการศึกษาต่อไป

 

2.2  เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฝ่ายวิชาการ ปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 2 “ประสบการณ์
การจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาจริยธรรมของนักศึกษาสู่อัตลักษณ์จริยธรรม MITH model” วันที่  16 พฤศจิกายน 2565 

ดำเนินการภายหลังสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอนภาคการศึกษาที่ 1 ของนักศึกษาทุกชั้นปี และเริ่มมีการฝึกภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้มีการนำอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยพยาบาล                 บรมราชชนนี พุทธชินราช  ไปประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้ อาจารย์แต่ละสาขาได้มีการจัดการเรียนการสอน รายละเอียด ดังนี้

  • วิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ ได้นำเอานวัตกรรมจากรายวิชาทฤษฎีคือ รายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุต่อยอดไปใช้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุประเมินนักศึกษาตาม TQF อัตลักษณ์บัณฑิต และอัตลักษณ์คุณธรรม MITH วางแผนนำเสนอผลฯ ในเวทีฯ ครั้งที่ 3
  • วิชาปฏิบัติบริหารการพยาบาล จัดการเรียนการสอน โดยมีการวิเคราะห์อุบัติการณ์ความเสี่ยงเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วย หรือ กรณีปัญหาทางจริยธรรมทางการพยาบาล (ethics case analysis) Root cause analysis ประเด็นปัญหาทางจริยธรรมและกฎหมาย วิเคราะห์แนวทางการแก้ไข (ความเสี่ยง และการป้องกันปัญหาทางจริยธรรม) ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยด้านคุณธรรมจริยธรรม รายงานการวิเคราะห์อุบัติการณ์ความเสี่ยงหรือประเด็นปัญหาทางจริยธรรมและการวางแผนแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม และวางแผนนำแบบประเมิน MITH ประเมินนักศึกษาในกลุ่ม B และ C จากนั้นจะนำผลฯ นำเสนอฯ ในเวทีฯ ครั้งที่ 3
  • วิชาปฏิบัติสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช  จัดการเรียนการสอน โดยฝึกการให้การพยาบาลด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ท้ังใน รพ.พุทธชินราช รพ.สต. สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งวังทอง จากนั้นนำมาพัฒนานวัตกรรมฯ และนำไปใช้กับผู้รับบริการ ได้ประยุกต์ MITH model มาใช้ในการถอดบทเรียน ในวันสัมมนา แต่ไม่ได้นำมาคิดเป็นคะแนน วางแผนประเมินให้ครบทุกกลุ่ม และนำเสนอผลฯ ในเวทีฯ ครั้งที่ 3

 วิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน 2 มอบหมายงานวิเคราะห์กรณีศึกษาบนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมโดยไม่มีการประเมินคะแนน กำหนดประเด็น เช่น บรรยายสถานการณ์ระบุประเด็นปัญหาจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล ให้นักศึกษาวิเคราะห์สาเหตุปัญหาจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล และวิธีการป้องกันการเกิดปัญหาจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล และวิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นมอบหมายงานวิเคราะห์กรณีศึกษาบนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมโดยมีการประเมินคะแนน ประเด็นปัญหาเชิงจริยธรรม วิเคราะห์ปัญหาเชิงจริยธรรม (Route cause analysis) หลักศาสนาที่ใช้ในการวิเคราะห์จริยธรรมทางการพยาบาล การเคารพสิทธิผู้ป่วยใช้ในการวิเคราะห์จริยธรรมทางการพยาบาล หลักทฤษฎีจริยธรรมทางการพยาบาลและจรรยาบรรณวิชาชีพ และแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักหลักทฤษฎีจริยธรรมทางการพยาบาลและจรรยาบรรณวิชาชีพ วางแผนนำเสนอผลฯ ในเวทีฯ ครั้งที่ 3

  • วิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 มีการประยุกต์ใช้ MITH Model ในวิชา โดยมีการเตรียมความพร้อมก่อนฝึกโดยฝ่ายวิชาการ และปฐมนิเทศนักศึกษาว่าจะมีการประเมิน MITH แต่ไม่ได้มีการนำมาคิดคะแนน และจะมีการถอดบทเรียนในวันประเมินโครงการ กิจกรรมทำ Ethic reflection ในช่วงเวลาการทำ pre-post conference วางแผนถอดบทเรียนกลุ่มแรกในวันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้แบบคัดกรองภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็กวัยก่อนเรียน อายุ 2-5 ปี ด้วยปิงปองจราจร 7 สีในวิชาทฤษฎีการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น อยู่ระหว่างนำเครื่องมือฯ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ วางแผนนำเสนอผลฯ ในเวทีฯ ครั้งที่ 3
  • วิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2 ในรายวิชามีการมอบหมายให้นักศึกษาวิเคราะห์ กรณีศึกษา ประเด็น “Patient safety” ณ แผนกฝากครรภ์ เกี่ยวกับประเด็นจริยธรรม ได้แก่ การเช็นต์ยินยอมการเจาะเลือด HIV / การบอกผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยประเมินจากความถูกต้องของผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา ประเมินด้านคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งวางแผนชี้ประเด็น MITH ในด้าน  Integrity รวมทั้ง Ethics Conference เรื่องประเด็น การเคารพเอกสิทธิ์ (Respect for autonomy) การรักษาความลับ การบอกความจริง (Veracity or truth telling) และบทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ (Nurse role) แต่ผู้นำเสนอได้ทดลองนำ Ethic round ไปใช้ในระหว่างฝึกภาคปฏิบัติที่แผนกสูติกรรมหลังคลอด พบว่า นักศึกษาอย่างน้อย 1 คน เปลี่ยนมุมมองการให้บริการ จากเดิมภายหลังเรียนจบ คาดว่าจะลาออก เพราะเกิดความเบื่อหน่าย แต่เมื่อนักศึกษาได้ให้การดูแลมารดาหลังคลอดที่เป็นมะเร็งระยะลุกลาม และอาจารย์นิเทศได้นำ Ethic round มาสะท้อนคิด ทำให้นักศึกษาเปลี่ยนความคิด และเกิดคำว่า นักศึกษาเข้าใจการให้บริการด้วย              หัวใจความเป็นมนุษย์ ที่แท้จริง และสัมผัสได้ รายวิชาฯ วางแผนประเมิน MITH model กับนักศึกษาภายหลังฝึกในวันสัมมนา และถอดบทเรียน วางแผนนำเสนอผลฯ ในเวทีฯ ครั้งที่ 3

ผลจากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 พบว่า ภาพรวมอาจารย์มีความพึงพอใจ ในการเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.71, S.D. = 0.51) โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้อาจารย์ได้รับการเสริมสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาจริยธรรมของนักศึกษาสู่อัตลักษณ์จริยธรรม MITH model (ค่าเฉลี่ย = 4.83, S.D. = 0.38) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ท่านมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาจริยธรรมของนักศึกษาสู่อัตลักษณ์จริยธรรม MITH model (ค่าเฉลี่ย = 4.59, S.D. = 0.57)   มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

  • ควรส่งเสริมให้อาจารย์ และนักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักถึงการนำจริยธรรมทางการพยาบาล อย่างต่อเนื่อง
  • กระตุ้นให้อาจารย์ นำจริยธรรมทางการพยาบาล รวมทั้งอัตลักษณ์คุณธรรมจริยธรรม MITH ไปประยุกต์ใช้ในการฝึกภาคปฏิบัติของแต่ละสาขาวิชา 
  • พัฒนาเครื่องมือในการวัด และประเมินผลอัตลักษณ์คุณธรรมจริยธรรม MITH ทางการพยาบาลสำหรับอาจารย์และนักศึกษา
  • อาจารย์ได้เห็นแต่ละสาขาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่แตกต่างกันแต่สามารถนำไปสู่การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้นักศึกษาได้
  • ควรมีการจัดแบบนี้ทุกภาคการศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างและร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อพัฒนานักศึกษา

 

บทสรุป ครั้งที่ 2

การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี พุทธชินราช “มิตร” (ม…..มีน้ำใจ  ต.....ซื่อตรง  ร......ร่วมแรงร่วมใจและรู้คุณ) “MITH” (M = Mankind,    I = Integrity, T = Trustworthy, H = Harmony) ของแต่ละสาขาวิชา มีการดำเนินการที่สอดคล้องไปกับการจัดเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) รายละเอียดนำเสนอ เปรียบเทียบดังตาราง

 

ประเด็น การจัดเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยฯ “มิตร” “MITH”
1) ผู้สอน   การทำความเข้าใจในวิธีการสอน ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการให้นักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลง

- การเตรียมความรู้ ทำความเข้าใจ และเสริมสร้างความพร้อมในการนำอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยฯ  MITH มาใช้ในการสอนภาคทฤษฎี และการฝึกภาคปฏิบัติ

- การออกแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี เช่น Project-Based Learning กรณีศึกษาเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ กรณีศึกษาจากสถานการณ์จำลอง เป็นต้น

- การออกแบบวิธีการสอนในคลินิก ภาคปฏิบัติ เช่น การเยี่ยมตรวจทางจริยธรรม (ethics rounds) การสะท้อนคิดทางจริยธรรม (ethics reflection) ประชุมวิเคราะห์ประเด็นจริยธรรม (ethics case conference) การจัดการความเสี่ยงทางจริยธรรม (ethics risk management) โดยมอบหมายงานประเด็นจริยธรรมเมื่อ น.ศ. พบขณะฝึกภาคปฏิบัติ 

2) สื่อการสอน การจัดแผนการสอนในคลินิก VDO Clip สถานการณ์ที่จะใช้กับหุ่น Simulation หรือเป็นสถานการณ์จริงในหอผู้ป่วยหรือในชุมชน ที่จะช่วยให้นักศึกษาการเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ 

การเตรียมใบงาน เตรียมสื่อ หรือกรณีศึกษาทั้งในรูปแบบสถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์จริง รวมทั้งแผนการสอน

 

 

ประเด็น การจัดเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยฯ “มิตร” “MITH”
3) เครื่องมือวัดผล การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้วัดผลลัพธ์การเรียนรู้ ควรเป็นเครื่องมือที่สามารถวัดผลการเรียนรู้ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง เช่น ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นักศึกษามีการไตร่ตรองสะท้อนคิด นักศึกษามีความเอื้ออาทรกัน (Caring) ปฏิบัติการพยาบาลโดยคำนึงถึงหัวใจความเป็นมนุษย์ พฤติกรรมจริยธรรม พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา และการเปลี่ยนแปลงของวัยผู้สูงอายุ การประเมินผลอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยฯ “มิตร” “MITH”โดยใช้แบบประเมิน MITH ซึ่งนำไปให้เป็นคะแนน และหรือไม่นับเป็นคะแนน ตามแต่ละวิชา รวมทั้งถอดบทเรียน
4) วิธีการสอน ต้องมีขั้นตอนวิธีการที่ชัดเจน ปฏิบัติได้ง่าย นักศึกษาเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามที่ครูวางแผนไว้ได้ การออกแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี เช่น กรณีศึกษาเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ กรณีศึกษาจากสถานการณ์จำลอง Project-Based Learning เป็นต้น การออกแบบวิธีการสอนในคลินิก ภาคปฏิบัติ เช่น การเยี่ยมตรวจทางจริยธรรม (ethics rounds) การสะท้อนคิดทางจริยธรรม (ethics reflection) ประชุมวิเคราะห์ประเด็นจริยธรรม (ethics case conference) การจัดการความเสี่ยงทางจริยธรรม (ethics risk management) เป็นต้น
5) การประเมินผล การประเมินผลการเรียนรู้ตามที่ได้ออกแบบไว้ ด้วยเครื่องมือที่กำหนดไว้ และถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป การประเมินผลการส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยฯ จากการมอบหมายชิ้นงาน หรือกิจกรรม โดยนำแบบประเมิน MITH ไปให้เป็นคะแนน และหรือไม่นับเป็นคะแนน รวมทั้งการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ และถอดบทเรียน

 

ทั้งนี้ วางแผนการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ภายหลังสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอนภาคการศึกษาที่ 2 รวมทั้งสรุปผล และวางแผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา RDU based on MITH for 2P Safety @BNC ในปีการศึกษาต่อไป..วางแผนดำเนินการในวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 

หมายเลขบันทึก: 711907เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2023 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2023 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (50)

ขอเชิญชวนท่านผู้สนใจ ร่วมแลกเปลี่ยนแรียนรู้ ประเด็น การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี พุทธชินราช “มิตร” “MITH” กับการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) นะคะ..ขอบพระคุณค้า

เป็นการดำเนินงานที่มีประโยชน์มากทั้งต่อตัวอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา ทำให้ทุกคนตระหนักและเห็นความสำคัญของการประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในหลักของจริยธรรมอันดี โดยเฉพาะเมื่อเราต้องเป็นผู้ให้บริการ ทั้งในบทบาทพยาบาล และครูอาจารย์ที่ต้องเป็นแบบอย่างให้กับนักศึกษา จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำให้ทราบถึงมุมมอง วิธีคิด และแนวปฏิบัติของแต่ละสาขาวิชา สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติได้

ดร.พนารัตน์ เจนจบ

ได้เห็นแนวทางและประสบการณ์ที่หลากหลายที่สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

รุ่งทิวา หวังเรืองสถิตย์

เป็นการสร้างรูปแบบการบูรณาการการเรียนรู้อีกแนวทางที่เป็นประโยชน์กับอาจารย์และนักศึกษา และการให้บริการพยาบาล

เบญจมาภรณ์ นาคามดี

ได้เรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยฯ กับการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ของแต่ละสาขาวิชา เป็นประโยชน์ในการวางแผนนำไปใช้ต่อได้ดีมากเลยค่ะ

การนำ MITH ไปใช้ในรายวิชาปฏิบัติสุขภาพจิตฯ โดยการสะท้อนคิดของน.ศ.หลังการฝึกปฏิบัติในแต่ละวัน ทำให้น.ศ.เห็นภาพอัตลักษณ์ด้านคุณธรรมของตนเองได้ชัดขึ้นและสามารถเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนๆ โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันทำให้เข้าใจ MITH ได้มากขึ้น

การจัดการเรียนการสอน โดยใช้ Transformative Learning ในเวลาส้ันๆ เพียง ๓ ชั่วโมงในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย น.ศ.ให้ความสนใจและมีทัศนคติที่ดีในรูปแบบการสอน แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดสำหรับผู้เรียนที่เห็นชัดเจนคือ ความกระตือรือร้น การมองเห็นบทบาทของพยาบาลที่ชัดเจนในเรื่องน้ันๆ แต่ความคงทน ต่อเนื่อง ไม่สามารถประเมินได้ในชั่วโมงที่สอนดังน้ัน Transformative Learning เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่คงทน ต่อเนื่องควรได้กำหนดในเชิงนโยบายที่มีระยะเวลา และความต่อเนื่องอย่างชัดเจน

ได้นำ MITH ไปใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชากพย.สุขภาพจิตฯ..ในการทำ Pre-post conference และการสะท้อนคิด ซึ่งเป็นการส่งเสริมอัตลักษณ์คุณธรรมให้กับนักศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ทั้งกับนักศึกษาและผู้นับบริการค่ะ

กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์

เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มากครับ ทำให้สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรม MITH และการจัดการเรียนสู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จจิยธรรมของนักศึกษาพยาบาลได้เป็นอย่างดี

ได้นำความรู้และประสบการณ์ มาใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ วิชากพย.สุขภาพจิตฯ..ด้วยการทำ Pre-post conference และสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์คุณธรรม MITH ให้กับนักศึกษา ถือว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีและมีประโยชน์ทั้งอาจารย์ นักศึกษาและผู้รับบริการควรมีการพัฒนาและดำเนินการอย่างต่อเนื่องค่ะ

จันทร์จิรา อินจีน

เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์และสามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรวมถึงการพัฒนานักศึกษาที่ดีคะ

นางสาวสุรีรัตน์ ณ วิเชียร

ทำให้ทุกคนตระหนักและเห็นความสำคัญของการประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในหลักของจริยธรรมอันดี ทั้งในบทบาทพยาบาล และครูอาจารย์ที่ต้องเป็นแบบอย่างให้กับนักศึกษา

จิตตระการ ศุกร์ดี

เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มากครับ ทำให้สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรม MITH และการจัดการเรียนสู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ฯ เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มาก ทำให้สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการจัดการเรียนสู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จจิยธรรมของนักศึกษาIได้เป็นอย่างดีได้เป็นอย่างดี

อวินนท์ บัวประชุม

ได้เรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยฯ กับการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ของแต่ละสาขาวิชา ทำให้ทุกคนตระหนักและเห็นความสำคัญของการประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในหลักของจริยธรรมอันดี เป็นประโยชน์ในการวางแผน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติได้

วิภาพร สิทธิสาตร์

การดำเนินการควรส่งเสริมให้อาจารย์ และนักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักถึงการนำจริยธรรมทางการพยาบาล อย่างต่อเนื่อง ทั้งการเรียนภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

เป็นแนวคิดที่ดี และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยทำให้เกิดแนวทางปฏิบัติให้กับวิชาอื่นๆ และอาจารย์ท่านอื่นได้เป็นอย่างดี

สุดาวรรณ สันหมอยา

ได้รับความรู้ และความเข้าใจมากยิ่งขึ้น มองเห็นภาพได้ชัดเจน จะนำไปปรับใช้ในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบค่ะ

จินดาวรรณ เงารัศมี

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้อาจารย์ได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาต่างๆ เพื่อพัฒนาจริยธรรมของนักศึกษาสู่อัตลักษณ์จริยธรรม MITH model

เป็นกิจกรรมที่ดีมากทำให้ได้รับความรู้ด้านจริยธรรมทางการพยาบาลที่สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพนักศึกษาในการให้การพยาบาลอย่างใช้หลักจริยธรรมค่ะ

เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ช่วยให้อาจารย์ผู้สอนมีแนวทางในการการเตรียมความรู้ ทำความเข้าใจ และเสริมสร้างความพร้อมในการนำอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยฯ MITH มาใช้ในการสอนภาคทฤษฎี และการฝึกภาคปฏิบัติในวิชาทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมของวิทยาลัยฯได้อย่างดีค่ะ

วิลาวัณย์ สายสุวรรณ

มีการส่งเสริมอัตลักษณ์คุณธรรมให้กับนักศึกษา ตามหลัก “MITH” (M = Mankind, I = Integrity, T = Trustworthy, H = Harmony) ในขณะขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช ซึ่งในกิจกรรม KM เป็นกิจกรรมที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดี ได้เห็นว่าในแต่ละสาขาวิชามีการส่งเสริมพฤติกรรมคุณธรรม MITH model ของนักศึกษาอย่างไร และเทคนิคที่อาจารย์จะส่งเสริมให้นักศึกษารู้สึกภาคภูมิใจในการเเสดงพฤติกรรมคุณธรรมที่ดีอย่างไร

ดร.ศุภาณ์นาฏ สุวรรณกิจ

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาจริยธรรมของนักศึกษาสู่อัตลักษณ์จริยธรรม MITH model กับการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ของแต่ละสาขา เป็นประโยชน์มากค่ะขอชื่นชมคณะทำงานและขอชื่นชมวิทยากรทุกท่านค่ะ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้มีแนวทางในการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี และการฝึกภาคปฏิบัติในวิชาทางการพยาบาล เพื่อให้ส่งเสริมนักศึกษามีคุณธรรมจริยะรรมในการปฏิบัติการพยาบาลต่อผู้ป่วย

เกศกาญจน์ ทันประภัสสร

การแลกเปลี่ยนแต่ละสาขาวิชาทำให้เห็นแนวทางการนำMITH Model มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย และการสะท้อนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง(Transformative learning)ของนักศึกษาสามารถทำได้เมื่อออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องจนเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวชจากกลัวเปลี่ยนมาเป็นเข้าใจ เห็นใจ ยอมรับ พร้อมจะให้การพยาบาลผู้ป่วยโดยปราศจากความกลัวต้องเรียนรู้จากกิจกรรมหลายๆกิจกรรมและใช้เวลามากกว่า 1 ครั้ง

ได้ความรู้การจัดการเรียนการสอน MITH model และการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)

ดร.สุภาณี คลังฤทธิ์

กระบวนการจัดการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาสมรรถนะของนศ. มากกว่าแค่การให้นศ.ได้รับความรู้เพียวอย่างเดียว ทั้งนี้ การวางแผนกิจกรรมการสอนของอาจารย์ในรายวิชาต่างๆ ที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เกี่ยวกับการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ ด้วย MITH Model นั้น ทำให้เห็นถึงวิธีการ และแนวทางที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการขยายการปฏิบัติให้ครอบคลุมในทุกๆรายวิชา

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ได้เรียนรู้เพิ่มเติม และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนชัดเจนมากขึ้น เป็นประโยชน์มาก ชื่นชมอาจารยืที่มาร่วมแลกเปลี่ยนทุกท่านค่ะ

จุฑามาศ รัตนอัมภา

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้เห็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาที่หลากหลาย สามารถนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับรายวิชาที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อผู้เรียนอย่างสูงสุด

จิตติพร ศรีษะเกตุ

เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีมากๆ สามารถทำให้เห็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับจริยธรรมทางการพยาบาลที่หลากหลายและสามารถนำไปใช้ได้จริงรวมถึงได้เห็นแนวทางการวัดและประเมินผลนักเรียนได้ชัดเจน ซึ่งช่วยพัฒนาอันลักษณ์บัณฑิตของนักศึกษาได้ด้วย

อัญชลี แก้วสระศรี

ช่วยทำให้ได้เรียนรู้เพิ่มเติมถึงแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษามากขึ้น

เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีมากๆ เอาไปใช้ได้จริง ทำให้เห็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับจริยธรรมทางการพยาบาลในคลีนิคและชุมชนได้ชัดเจน โดยได้นำ MITH ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี พุทธชินราช มีการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จริยธรรมของ “มิตร” (ม…..มีน้ำใจ ต…..ซื่อตรง ร……ร่วมแรงร่วมใจและรู้คุณ) “MITH” (M = Mankind, I = Integrity, T = Trustworthy, H = Harmony) ของแต่ละสาขาวิชาไปใช้ โดยการกระตุ้นให้นักศึกษามีการสะท้อนคิดทางจริยธรรม (ethics reflection), มีการประชุมวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีประเด็นทางจริยธรรม (ethics case conference) ในผู้ป่วย Palliative care และการทำ Advanced care plan โดยปรึกษากับพี่พยาบาลได้โดยตรง การทำ Advanced care plan ในผู้ป่วย Stroke แล้วอยู่ในภาวะ End of life ที่ชุมชนซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีเสมหะติดในลำคอ ซึ่งญาติไม่อยากให้ CPR นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 จัดการได้ดีมาก และได้เขียนรายงานออกมา, การจัดการความเสี่ยงทางจริยธรรม (ethics risk management) ในผู้ป่วยใกล้ถึงแก่กรรม หรือผู้ป่วยที่ปฏิเสธการผ่าตัดกระดูกหัก นักศึกษาให้การพยาบาลดูแลผู้สูงอายุก่อนเสียชีวิต จนญาติมีความพึงพอใจและชื่นชมอย่างมากได้มีการให้การพยาบาลอย่างเอื้อาทร ไปร่วมงานศพและเผาศพเนื่องจากถือว่าเป็นอาจารย์ใหญ่ที่ให้ความรู้ ญาติผู้สูงอายุจะบอกกับผู้มาร่วมงานศพว่า อาจารย์และนักศึกษากลุ่มนี้เป็นคนดูแลเป็นหมอที่ดูแลคุณป้าให้คำแนะนำและการพยาบาลดีมาก โดยมีการมอบทุนเป็นการศึกษาแก่นักศึกษา วพบ.พุทธชินราช อีกด้วย

ดีมากเลยครับ การจัดการเรียนการสอนโดย มิตร ทำให้นักศึกษาดูเเลผู้ป่วยอย่างองค์รวมครับ

วิสิฏฐ์ศรี เพ็งนุ่ม

ตอนที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คิดว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่าย เพราะทุกคนได้รับการปลูกฝังกันมาตั้งแต่เด็ก แต่พอลองเอาไปใช้ในการ Pre-post conference จึงพบว่าเป็นเรื่องที่ท้าทาย ไม่ง่ายต้องมีการฝึกสะท้อนคิดตนเองอย่างต่อเนื่อง เพราะบางเรื่องเป็นสิ่งที่เรายังยึดติดความคิดของตนเอง คิดว่าถ้าให้ผู้ป่วยและญาติทำแบบนี้จะเป็นผลดี จนขาดการเคารพเอกสิทธิ์ของผู้ป่วยและญาติ

เป็นประโยชน์สำหรับอาจารย์ผู้สอนเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์รู้ตามวัตถุประสงค์ที่คาดหวัง และช่วยพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนทางการพยาบาลมากเพิ่มมากขึ้นค่ะ

อักษรศิลป์ สุขสวัสดิ์

เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ดีมากๆเลยค่ะ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของการสอนให้เข้ากับผู้เรียน มีวิธีที่หลากหลายมากขี้นจึงทำให้เหมาะกับผู้เรียน รวมทั้งยังทำให้มองเห็นภาพอย่างชัดเจนในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมทั้งยังปลูกฝังเกี่ยวกับเรื่องจริยธรรมการการเรียนการสอนด้วยค่ะ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ดีมากค่ะ

ได้เรียนรู้การสร้างรูปแบบการบูรณาการในการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์ และนำไปปรับใช้ในการพัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์คุณธรรม จริยธรรมของ นศ.

เป็นวิธีการสอนที่ได้มีการให้เข้ากับผู้เรียนมากขึ้นในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและเป็นวิธีการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของทั้งผู้สอนและผู้เรียน​ ได้เรียนรู้วิธีการสอนแบบใหม่ๆ​ นอกเหนือจากวิธีเดิมและปรับให้เข้ากับการสอนในปัจจุบันมากขึ้น

เป็นการแลกเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ MITH ทำให้ได้แนวทางพัฒนาบัณฑิตมีคุณธรรม จริยธรรม ดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพ

อภิเชษฐ์ พูลทรัพย์

เป็นการพัฒนาการเรียนสอนโดยใช้ MITH ผ่านวิธีการสอนที่หลากหลายตามบริบทของแต่ละรายวิชา ทำให้ได้รับวิธีการสอนเพื่อให้นักศึกษาเกิดอัตลักษณ์ และเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อไป

เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มากครับ ทำให้สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรม MITH และการจัดการเรียนสู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จจิยธรรมของนักศึกษาพยาบาลได้เป็นอย่างดี อนาคตต่อไปต้องมีเครื่องมือประเมินที่ชัดเจน

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้เห็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาที่หลากหลาย สามารถนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับรายวิชาที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อผู้เรียนเป็นอย่างดี

สาวิตรี ลิ้มกมลทิพย์

เป็นการแลกเปลี่ยที่ดี ทำเห็นเราเห็นถึงความแตกต่างในแต่ละสาขา แต่มีผลลัพธ์เพื่อให้เกิดMITHกับทั้งผู้เรียน ผู้สอน และผู้รับบริการ

เป็นกิจกรรมที่ทำให้ได้เรียนรู้ และส่งเสริมความเข้าใจในการนำ MITH ไปใช้ในการเรียนการสอนครับ

ได้เห็นตัวอย่างของการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริม MITH” model (M = Mankind, I = Integrity, T = Trustworthy, H = Harmony) ของแต่ละสาขาวิชา มีการดำเนินการที่สอดคล้องไปกับการจัดเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ทำให้อาจารย์มองเห็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องมากยิ่งขึ้นครับ

ได้แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายค่ะ

จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำให้ทราบถึงมุมมอง วิธีคิด และแนวปฏิบัติของแต่ละสาขาวิชา สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติได้

จันทร์จิรา ขันทะยศ

ทำให้จำง่ายในการส่งเสริมคุณธรรมให้แก่นักศึกษา

การแลกเปลี่ยนที่ดี ทำให้เห็นความแตกต่างของสาขา และมีผลลัพธ์เพื่อให้เกิดMITHกับทั้งผู้เรียน ผู้สอน และผู้รับบริการ ทำให้อาจารย์มีแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย

เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มาก ทำให้สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการจัดการเรียนสู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์จจิยธรรมของนักศึกษาIได้เป็นอย่างดีได้เป็นอย่างดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท