การจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้กิจกรรมบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี)


ชื่องานวิจัย  :   รายงานผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้กิจกรรมบูรณาการ

                    เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี)

ผู้วิจัย         :   นางสุทธินันท์  อัคชาติ

ปีการศึกษา  :   2564

 

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้กิจกรรมบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) โดยให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 มีคะแนนความสามารถการคิดแก้ปัญหาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง ที่มีอายุ 3-4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ใน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลสามขา 2 ตำบลสามขา อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564  จำนวน 40 คน เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา คือ สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว ประกอบด้วย 3 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) หน่วยข้าวมหัศจรรย์ 2) หน่วยผักและผลไม้ และ 
3) หน่วยต้นไม้แสนรัก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้กิจกรรมบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) และ 2) แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ 

          สรุปผลการศึกษา ดังนี้

          1. ผลการประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลสามขา 2 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 168.15 คิดเป็นร้อยละ 93.42 เมื่อจำแนกความสามารถรายด้าน ในด้านการกำหนดปัญหา มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด เท่ากับ 43.55 คิดเป็นร้อยละ 96.78 และด้านการปฏิบัติ มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด เท่ากับ 39.63 คิดเป็นร้อยละ 88.06 ด้านการเลือกวิธีการในการแก้ปัญหา มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 41.88 คิดเป็นร้อยละ 93.06 และด้านการประเมินผล 
มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 43.10 คิดเป็นร้อยละ 95.78 ตามลำดับ

          2. ผลการประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลสามขา 2 จำนวน ทั้งหมด 40 คน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 มีจำนวน 40 คน 
คิดเป็นร้อยละ 100  ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 มีผลการประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม

หมายเลขบันทึก: 711356เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2023 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2023 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท