เทคนิคการตัดสินใจ


การตัดสินใจเลือกคู่ครอง คำโบราณที่คนรุ่นปู่ รุ่นย่า ตายายเคยสอนชายไว้ว่า ก่อนจะมีคู่สมรสให้บวชก่อนเบียด นั้นหมายถึงว่า สังคมไทยเรา ให้เกียรติผู้ชายว่า เป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ ชายบริหาร หญิงบริการ นั้น คือ ชายบริหาร ชายบริหาร คือ ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน เพื่อหาเงิน มาจุนเจือครอบครัว งานหาจึงเป็นหน้าที่หลักของฝ่ายชาย การที่ฝ่ายชายหรือเจ้าบ่าว จะเป็นผู้นำครอบครัวได้ดีนั้น ต้องผ่านการฝึกฝนอบรมจิตให้มีใจหนักแน่นพอ สุขุมรอบคอบ ฝึกเป็นคนให้มีนิสัยซื่อสัตย์ต่อคู่สมรส รู้จักข่มจิตข่มใจไว้ได้ ในยามมีอารมณ์โกรธ อารมณ์ยั่วยุ รู้จักทำหน้าที่ผู้นำครอบครัว ที่ดีได้ และวางตัวให้ภรรยามั่นใจในความประพฤติปฏิบัติว่า จะไม่เถลไถลนอกแถว เป็นต้น นอกจากนี้ ก็มีความขยันอดทน ในการทำมาหากิน ประกอบอาชีพโดยสุจริต การที่จะฝึกจิต ฝึกใจได้นั้น ก็คือให้ “บวชเรียนก่อน” ตามระยะเวลาพอสมควร เพื่อให้รู้ดี รู้ชั่ว และทำใจให้ผ่องใส และก็สามารถนำมาถ่ายทอดให้แก่ภรรยาหรือคู่สมรสได้ เพราะ เธอไม่มีโอกาสได้บวช เพราะการบวชสำหรับสตรีนั้น ถือว่า ไม่ปลอดภัย จะไปอยู่ตามป่า ตามเขา หรือที่ไม่ปลอดภัยลำพังคนเดียวไม่ได้ แม้ในครุธรรม 8 ข้อ ในข้อหนึ่งระบุไว้ว่า ภิกษุณี จะไปจำพรรษาในที่ไม่มีภิกษุอยู่จำพรรษาไม่ได้ หรือจะไปอยู่ร่วมกับผู้ชายทั่วไปก็ไม่ได้ ดังนั้น จึงพูดว่า “บวชก่อนเบียด” นั่นเอง โดยคู่สมรสที่จะถ้อว่าดี คือ ซี่อสัตย์ต่อคู่สมรส รู้จัก ข่มจิตข่มใจเอาไว้ได้ในยามอารมณ์โกรธ อารมณ์ไม่ดี เป็นต้น รู้จักทำหน้าที่ต่อครอบครัว และก็ทำตัวเสมอต้นเสมอปลาย หญิงบริการ มีความเชื่อตั้งแต่โบราณว่า หญิงจะต้องนำเงินหรือ สิ่งของที่ชายหามา มาจัดบริการให้สมาชิกในครอบครัว ได้อยู่ได้กิน ได้ใช้ เช่น ทำอาหาร ทำงานบ้าน การดูแล ความสะอาดเสื้อผ้า การจัดหาเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น โดยอาจจะมอบหมายให้สามีดูแลช่วยได้เป็นครั้งคราวได้ นอกจากนี้ก็รักษาความเป็นกุลสตรีเอาไว้ เพราะผู้หญิงนั้น สังคมคาดหวัง ในความประพฤติ หรือกิริยามรรยาทสูงมาก แม้จะไม่ ได้บวชเรียน แต่ก็ผ่านการฝึกฝนโดยกระบวนการทาง สังคมที่กำหนดไว้สำหรับหญิง ในการตัดสินใจเลือกคู่สมรส ก็เลือกคนที่จะทำให้ ชีวิตเราอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ไม่ก่อให้เกิดปัญหา และผ่านการดูใจกันมาพอสมควร จนรู้ข้อมูลอย่างละเอียด ถี่ถ้วนพอ

เทคนิคการตัดสินใจ

 เทคนิคการตัดสินใจ

ดร.ถวิล  อรัญเวศ

        การตัดสินใจ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญต่อตัวบุคคล

กลุ่มบุคคล หน่วยงาน สังคม และประเทศชาติ

        การตัดสินใจมีหลายระดับ ทั้งระดับบุคคล ระดับ

กลุ่มบุคคล สมาคม หรือชมรม ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด

กรม กระทรวง และรัฐบาลหรือประเทศ

        การตัดสินใจระดับบุคล เช่น การเลือกสาขาที่เรียน

เพื่อหวังจะประกอบอาชีพในอนาคต การเลิอกคู่ครองจะ

เลือกคนสวย คนรวย คนหล่อ หรือทั้งสวยทั้งรวยและหล่อ

แต่ถ้ามีข้อจำกัด ก็ควรลดเงื่อนไขลงให้มองในสิ่งที่จะเป็น

ไปได้ในทางปฏิบัติ

        การตัดสินใจระดับประเทศ หรือรัฐบาล ก็ต้องมี

ข้อมูลจากหลาย ๆ ฝ่ายที่เสนอเข้ามา ทั้งระดับ กอง กรม

และกระทรวง ข้อมูลต้องชัดเจน ทั้งในประเทศ และ

ต่างประเทศ และนานาประเทศ

 

การตัดสินใจคืออะไร

        การตัดสินใจ (Decision Making) คือกระบวนการเลือกทางเลือก ทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง จากหลาย ๆ ทางเลือกที่ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วนแล้ว หรือประเมินอย่างดีที่สุดแล้วว่า เป็นทางเลือกที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายสำหรับบุคคลนั้น ๆ กลุ่มคนนั้น ๆ หรือองค์กรนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี

        การตัดสินใจนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และเกี่ยวข้องกับอนาคตของบุคคลนั้นๆ  กลุ่มบุคคล องค์กร สังคม ตลอดทั้งประเทศนั้น ๆ

        ดังนั้น หลายคน จึงเชื่อว่า การตัดสินใจนั้น เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร หรือการจัดการเกือบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การประสานงาน และการควบคุม ตลอดทั้งการจัดทำวิสัยทัศน์ นโยบายของพรรคการเมือง รวมทั้งนโยบายของกระทรวง ทบวง กรม

 

 ความหมายของการตัดสินใจ

      มีนักบริหาร นักปราชญ์ และนักวิชาการได้ให้ความหมาย มุมมองของการตัดสินใจไว้ ดังนี้

     1.การตัดสินใจเป็นกระบวนการ (process)

        คือ การตัดสินใจจะต้องผ่านกระบวนการคิด พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์สภาพภายในภายนอกแล้ว ค่อยตัดสินใจเลือกทางที่ดีที่สุด โดยมีการวางแผนหรือวิสัยทัศน์ไว้

     2. การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับทางเลือก (solution)

        คือการตัดสินใจ เป็นการเลือกทางเลือกให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทางเลือกที่น้อยอาจปิดโอกาสให้เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือทางเลือกที่ดีกว่าได้ ดังนั้น ผู้บริหารที่ดีจำเป็นต้องมีการฝึกฝนการเลือก และสร้างทางเลือกที่มากขึ้น หลากหลายด้วยวิธีการคิดแบบริเริ่ม (initiative) คิดแบบสร้างสรรค์ อย่างมีวิจารณญาณ

     3. การตัดสินใจนั้นเกี่ยวข้องกับโครงสร้างขององค์การ

        คือผู้บริหารในแต่ละระดับชั้น ก็มีบทบาทหน้าที่ในการตัดสินใจต่างกัน กล่าวคือ

            ผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (strategic decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางที่ถูกต้องเพื่อใช้ทรัพยากรที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่กำหนดไว้

           ผู้บริหารระดับกลางจะตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ (management decision) เป็นการตัดสินใจเพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

           ผู้บริหารระดับต้นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการ (Operational decision) เป็นการตัดสินใจดำเนินการควบคุมงานให้สำเร็จตามระยะเวลาและเป้าหมายที่กำหนดไว้

     4. การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคน

          นั้นก็คือ การตัดสินใจเกี่ยวข้องตั้งแต่คนเดียว กลุ่มและทั้งองค์การ ซึ่งพฤติกรรมคนแต่ละคนก็แตกต่างกัน ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความเข้าใจและมีจิตวิทยาเกี่ยวข้องกับบุคคล กลุ่ม และองค์การที่ดีพอจึงจะทำให้การตัดสินใจประสบผลสำเร็จได้

         ดังนั้น การตัดสินใจ คือผลสรุปหรือผลขั้นสุดท้ายของกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลเพื่อเลือกแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ ทรัพยากร และบุคคล สามารถนำไปปฏิบัติและทำให้งานบรรลุเป้าหมายและ

มองให้ชัด ให้ขาด และไม่ประมาทในระหว่างทางหรือ

ช่วงการดำเนินงาน อาจจะมีข้อมูลใหม่ ๆ ที่สามารถนำมา

ปรับแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพเหตุการณ์ในปัจจุบันได้

         ดังนั้น การตัดสินใจ จึงถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของบทบาทของผู้บริหารที่เกิดจากตำแหน่งและอำนาจที่เป็นทางการ คือบทบาทการเป็นผู้ประกอบการ บทบาทผู้จัดการสถานการณ์ที่เป็นปัญหา บทบาทผู้จัดการทรัพยากรและบทบาทผู้เจรจาต่อรอง  เป็นต้น

 

ลักษณะของการตัดสินใจ

         การตัดสินใจนั้น มีลักษณะ ดังนี้

1.  เป็นกระบวนการของการเปรียบเทียบผลตอบแทน

หรือผลประโยชน์ที่จะได้รับจากทางเลือกหลาย ๆ ทาง

          นั้น คือหนทางใดก็ตาม ที่จทำให้ได้รับข้อดีมากกว่าข้อเสียได้กำไร ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ได้อนาคตที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ก็ให้ตัดสินใจเลือก

2.  เป็นหน้าที่ที่จำเป็นสำหรับบุคคล กลุ่มบุคคลหน่วยงาน กรม กระทรวง และรัฐบาล


ทั้งนี้เพราะเพราะทรัพยากรมีจำกัด และมนุษย์มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด จึงจำเป็นต้องมีการตัดสินใจ เพื่อให้ได้รับประโยชน์และ ความพอใจจากการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างคุ้มค่าสูงสุด และสามารถใช้ได้นานจนตลอดชั่วลูกชั่วหลาน

          3. เป็นหน้าที่ของผู้นำ ผู้บริหารที่จะต้องกระทำ

              กล่าวคือ ในการปฏิบัติงานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์การ ตลอดทั้งหน่วยงาน กลุ่มบุคคล ตลอดทั้งพรรคการเมือง อาจจะมีการขัดแย้งกันในหลาย ๆ ฝ่าย เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายบุคคล ฝ่ายการเงินการบัญชี ฝ่ายการบริหารงานบุคคล แต่ละฝ่ายอาจมีเป้าหมายของการทำงานขัดแย้งกัน ดังนั้น ต้องให้ผู้บริหารหรือผู้นำเป็นผู้ตัดสินใจชี้ขาด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การโดยส่วนรวม

          4. การตัดสินใจประกอบดัวยสองส่วน

              นั้นคือ กระบวนการตัดสินใจประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ข้อจำกัด การกำหนดทางเลือก ส่วนที่สอง เป็นการเลือกทางเลือกหรือ กลยุทธ์ที่ดีที่สุดตามสภาวการณ์

 

           5. การตัดสินใจมีหลายรูปแบบ

              กล่าวคือ การตัดสินใจมีแนวทางที่หลากหลายไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและลักษณะของปัญหา เช่น อาจแบ่งออกได้เป็นการตัดสินใจตามลำดับขั้น ซึ่งมักเป็นงานประจำ เช่น การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ตารางการทำงาน เป็นต้น และการตัดสินใจที่ไม่เป็นไปตามลำดับขั้น เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการริเริ่มต้นงานใหม่ การตั้งคณะใหม่ หรือการขยายโรงงาน สาขาใหม่ เป็นต้น

 

ชนิดของการตัดสินใจ

      การตัดสินใจ มีหลายชนิด เช่น

     1. การตัดสินใจที่มีแบบหรือโปรแกรม โครงการไว้ล่วงหน้า (Programmed decisions)

          เป็นการตัดสินใจตามระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบแผนที่เคยปฏิบัติมาจนกลายเป็นงานประจำ เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการขออนุญาตตามระเบียบกฎหมาย เช่น การลาป่วย ลากิจ ลาบวช การอนุมัติการเบิกจ่ายเงิน การอนุมัติผลการศึกษา เป็นต้น การตัดสินใจแบบกำหนดไว้ล่วงหน้านี้ เปิดโอกาสให้ผู้บริหารเลือกทางเลือกได้น้อย เพราะว่าเป็น

การตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์ที่มีระเบียบกฎเกณฑ์ไว้เป็นที่แน่นอนไว้แล้ว

        2. การตัดสินใจที่ไม่มีแบบอย่างไว้ล่วงหน้า (Nonprogrammed decisions)

           เป็นการตัดสินใจในเรื่องใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน ไม่มีระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบแผนที่แน่นอน ที่เคยปฏิบัติมาก่อน จึงเป็นเรื่องยุ่งยาก สลับซับซ้อนแก่ผู้ตัดสินใจ โดยที่ผู้บริหาร หรือผู้ตัดสินใจ จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเอาไว้ด้วย เช่น การตัดสินใจนำเงินไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนหรือผลกำไรในธุรกิจ การตัดสินใจผลิตสินค้าตัวใหม่ ๆ การตัดสินใจในการขยายกิจการ สาขา เป็นต้น

 

กระบวนการตัดสินใจ (Process of decision making)

      หมายถึง ขั้นตอนของการตัดสินใจ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกไป จนถึง ขั้นตอนสุดท้าย การตัดสินใจโดยมีลำดับขั้นของกระบวนการ ดังกล่าว เป็นการตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผลและมีกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นการตัดสินใจ โดยใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือช่วยในการหาข้อสรุปเพื่อการตัดสินใจ ซึ่งขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น

       1. ต้องมีการระบุปัญหา

          ทางพุทธศาสนา เรียกว่า ทุกข์ เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะการระบุปัญหาได้ถูกต้องหรือไม่ ย่อมมีผลต่อการดำเนินการในขั้นต่อ ๆ ไปของกระบวนการตัดสินใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการตัดสินใจด้วย

         ดังนั้น ผู้บริหารจึง ควรระมัดระวังมิให้เกิดความผิดพลาดในการระบุปัญหาขององค์การ ทั้งนี้ ผู้บริหารควรแยกแยะความแตกต่าง ระหว่าง อาการแสดง (symptom) ที่เกิดขึ้นกับตัวปัญหาที่แท้จริงเสียก่อน เช่น กรณีที่ยอดขายของบริษัทลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจาก คุณภาพสินค้าต่ำ จะเห็นว่าการที่ยอดขายลดลง เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขได้แก่ การที่คุณภาพสินค้าต่ำ ดังนั้นผู้บริหาร ที่ชาญฉลาดต้องคอยสังเกตอาการแสดงต่าง ๆ ทั้งต้องรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการค้นหา สาเหตุของอาการ แสดงอาการเหล่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่การระบุปัญหาที่แท้จริงได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

 

3.  การระบุข้อจำกัดของปัจจัย

กล่าวค้อ เมื่อสามารถระบุปัญหาได้ถูกต้องแล้วผู้บริหารก็ควรจะพิจารณาถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ของหน่วยงาน โดยพิจารณาจากทรัพยากรซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนการผลิต ได้แก่ กำลังคน เงินทุน เครื่องจักร สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ รวมทั้งเวลาซึ่งมักเป็นปัจจัยจำกัดที่พบอยู่เสมอ ๆ การรู้ถึงข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงได้ จะช่วยให้ผู้บริหารกำหนดขอบเขตในการพัฒนาทางเลือกให้แคบลงได้ เช่น ถ้ามีเงื่อนไขว่าต้องส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าภายในเวลา 1 เดือน ทางเลือกของการแก้ไขปัญหาการผลิตสินค้าไม่เพียงพอ ที่มีระยะเวลา ดำเนินการมากกว่า 1 เดือน ก็ควรถูกตัดทิ้งไป

4.  การพัฒนาทางเลือก

ขั้นตอนต่อไป ผู้บริหารควรทำการพัฒนาทางเลือกต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งทางเลือกเหล่านั้นควรเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพและมีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาให้น้อยลงหรือให้ประโยชน์สูงสุด เช่น กรณีที่องค์การประสบปัญหาเวลา

การผลิตไม่เพียงพอ ผู้บริหารอาจพิจารณาทางเลือก เช่นเพิ่มการทำงานกะพิเศษ เพิ่มการทำงานล่วงเวลาโดยใช้ตารางปกติ เพิ่มจำนวนพนักงาน หรือ ไม่ทำอะไรเลย ในการพัฒนาทางเลือกผู้บริหาร อาจขอความ คิดเห็น จากนักบริหารอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จทั้งภายในและภายนอกขององค์การ ซึ่งอาจใช้วิธีการปรึกษาหารือเป็นรายบุคคล หรือจัดการประชุมกลุ่มย่อยขึ้น ข้อมูลที่ได้รับจากบุคคลเหล่านั้น เมื่อผนวกรวมกับ สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์และประสบการณ์ของตนเอง จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถที่จะพัฒนา ทางเลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

5.  การวิเคราะห์ทางเลือก

เมื่อผู้บริหารได้ทำการพัฒนาทางเลือกต่าง ๆ โดยจะ

นำเอาข้อดีและข้อเสีย ของแต่ละทางเลือกมาเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบ และควรวิเคราะห์ทางเลือกในสองแนวทาง คือ

           1) ทางเลือกนั้นนำมาใช้แล้ว จะเกิดผลต่อเนื่องอะไรตามมา เช่น ถ้าโควตาปกติในการผลิตมอเตอร์ของแผนกผลิตเท่ากับ 500 เครื่องต่อเดือน แต่แผนกผลิตต้องผลิตมอเตอร์ให้ได้ 1,000 เครื่อง ภายในสิ้นเดือนนี้ โดยมีข้อจำกัดด้านต้นทุนขององค์การว่า จะจ่ายค่าจ้างพนักงาน เพิ่มขึ้น ไม่เกิน 10,000 บาท/เดือเท่านั้น

         2) ทางเลือกหนึ่งของการแก้ปัญหา อาจทำได้โดยการจ้างพนักงาน ทำงานล่วงเวลา ในวันหยุด และเวลากลางคืน แต่เมื่อ ประเมินได้แล้ว พบว่า วิธีนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึง 17,000 บาทต่อคนต่อเดือน ผู้บริหารก็ควรตัดทางเลือกนี้ทิ้งไป เพราะไม่สามารถ นำมาใช้ได้ภายใต้ ข้อจำกัดด้านต้นทุน

          อย่างไรก็ตามทางเลือกบางทางเลือกที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดขององค์การก็อาจทำให้เกิดผลต่อเนื่องที่ไม่พึงประสงค์ตามมา เช่น ทางเลือกหนึ่ง ของการเพิ่มผลผลิต ได้แก่การลงทุนติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้แก้ปัญหาได้ แต่อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการลดลงของขวัญกำลังใจของพนักงานในระยะต่อมา เป็นต้น

6.  การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด

เมื่อผู้บริหารได้ทำการ วิเคราะห์และประเมินทางเลือกต่าง ๆ แล้ว ผู้บริหารควรเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเดียว ทางเลือกที่ดีที่สุด ควรมีผลเสียต่อเนื่องในภายหลังน้อยที่สุด และให้ผลประโยชน์มากที่สุด แต่บางครั้งผู้บริหาร อาจตัดสินใจเลือก ทางเลือกแบบประนีประนอม โดยพิจารณาองค์ประกอบที่ดีที่สุดของแต่ละทางเลือกนำมาผสมผสานกัน

7.  การนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ

           เมื่อผู้บริหารได้ทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว ก็ควรมีการนำผลการตัดสินใจนั้น ๆ ไปปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารควรกำหนดโปรแกรมของการตัดสินใจ โดยระบุถึง ตารางเวลาการดำเนินงาน งบประมาณ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ ควรมีการมอบหมายอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจน และจัดให้มีระบบ

การติดต่อสื่อสารที่จะช่วยให้การตัดสินใจเป็นที่ยอมรับ นอกจากนี้ผู้บริหารควรกำหนดระเบียบวิธี กฎ และนโยบาย ซึ่งมีส่วนสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

8.  การสร้างระบบควบคุมและประเมินผล

ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตัดสินใจ ได้แก่การสร้างระบบการควบคุมและการประเมินผล ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหาร ได้รับข้อมูล ย้อนกลับ เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ข้อมูลย้อนกลับจะช่วยให้ผู้บริหารแก้ปัญหา หรือทำการตัดสินใจใหม่ได้โดยได้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติที่ดีที่สุด

 

รูปแบบหรือเทคนิคของการตัดสินใจ

          การตัดสินใจเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในหน่วยงาน การตัดสินใจอาจกระทำโดยบุคคลเพียงคนเดียว หรือเป็นกลุ่มบุคคลแล้วแต่ความเหมาะสมของกรณี รูปแบบของการตัดสินใจโดยถือเอาจำนวนคนที่ร่วมตัดสินใจ เป็นเกณฑ์สามารถ จำแนกออกได้ 2 รูปแบบ ดังนี้


 

1.   การตัดสินใจโดยบุคคลคนเดียว (Individual decision making)

ใช้สำหรับการตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ที่ผู้ทำการตัดสินใจ ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว หรือเรื่องเร่งด่วนฉุกเฉินที่ไม่มีเวลาพอสำหรับการปรึกษาหารือกับบุคคลอื่น

                     2. การตัดสินใจโดยกลุ่มบุคคล (Group decision making) เป็นการตัดสินใจโดยให้ผู้ที่มีหน้าที่ที่จะต้อง ปฏิบัติตามผล ของ การตัดสินใจ นั้น ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูล การตัดสินใจโดยกลุ่มบุคคลนี้ เหมาะสำหรับ การตัดสินใจ ในเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน หรือเรื่องที่ผู้บริหารไม่มีข้อมูลข่าวสารเพียงพอหรือยังขาดประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ หรือไม่มีความชำนาญ ทางด้านนั้นอย่างเพียงพอ จึงจำเป็นต้องฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ แล้วประมวลความคิดเห็นเหล่านั้น มาเป็น สิ่งกำหนดการตัดสินใจ กลุ่มบุคคล ดังกล่าว อาจได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าส่วนต่าง ๆ ของหน่วยงาน คณะกรรมการเฉพาะกิจ ซึ่งอาจประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกัน วิธีการตัดสินใจโดย กลุ่มอาจทำได้ใน ลักษณะต่างๆ

          (1) การตัดสินใจโดยใช้ข้อยุติที่เป็นมติในเสียงข้างมาก อาจใช้ระบบเสียงข้างมากเกินครึ่งหนึ่ง หรือระบบสองในสามของกลุ่ม แล้วแต่ความสำคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ

          (2) การตัดสินใจโดยข้อยุติเป็นเอกฉันท์คือการที่สมาชิกทุกคนเห็นพร้องต้องกันโดยไม่มีความขัดแย้ง และ

          (3) สมาชิกในที่ประชุมเสนอความคิดเห็น แล้วให้ผู้บริหารนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจเอง

 สภาวการณ์หรือสถานการณ์ของการตัดสินใจ

           โดยปกติแล้ว ผู้นำหรือผู้บริหารมักจะต้องทำการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์หรือสภาวการณ์ต่างกัน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือ การควบคุมของผู้นำ แต่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอย่างยิ่งจึงต้องนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ สภาวการณ์หรือสถานการณ์ ของ การตัดสินใจสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ ดังนี้

          1. การตัดสินใจภายใต้ความที่แน่นอน (Decision-making under certainty)

          2. การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง (Decision-making under risk)

          3. การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน (Decision-making under uncertainty)

1.    การตัดสินใจภายใต้ความแน่นอน

คือการตัดสินใจที่ทราบผลลัพธ์การตัดสินใจล่วงหน้า

อย่างแน่นอนแล้วว่า ถ้าเลือกทางเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ลักษณะของการตัดสินใจประเภทนี้ คือ

         (1) ผู้ตัดสินใจมีข้อมูลอย่างเพียงพอในการตัดสินใจ และทราบถึงผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือก

         (2) ผลลัพธ์จะเกิดขึ้นแน่นอนคือเกือบไม่มีการเสี่ยงใด ๆ เลย

         (3) การตัดสินใจจะเลือกทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด

 2.    การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง

คือ การตัดสินใจที่ทราบผลลัพธ์ของการตัดสินใจน้อยกว่า

การตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอน แต่พอจะคาดคะเนความน่าจะเป็นหรือโอกาสที่น่าจะเกิดขึ้น (probability)

        ลักษณะสำคัญของการตัดสินใจประเภทนี้ได้แก่

        (1) ผู้ตัดสินใจมีข้อมูลสำหรับการตัดสินใจไม่เพียงพอ

        (2) การตัดสินใจอยู่ภายใต้ความเสี่ยงคือผู้ตัดสินใจจะต้องคาดคะเนถึงโอกาสหรือความน่าจะเกิดขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์ร่วมด้วย

            (3) การตัดสินใจจะพิจารณาเลือกทางเลือกที่ผลตอบแทนสูงสุดและโอกาสที่จะเกิดขึ้นของทางเลือกด้วย

 

3.    การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน

คือ การตัดสินใจที่ไม่สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์และ

โอกาส หรือความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นได้เลย การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอนจะมีลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้คือ

        (1) ผู้ตัดสินใจไม่ทราบผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของแต่ละทางเลือก เพราะไม่มีข้อมูลที่จะใช้ประกอบในการตัดสินใจ

        (2) ผู้ตัดสินใจไม่ทราบถึงโอกาสที่จะเป็นไปได้ และ

        (3) มีสภาวะนอกบังคับ (State of Nature) หรือตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ หรือตัวแปรที่ผู้ตัดสินใจไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเกิดขึ้น เช่น ภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง หรือซบเซา ภาวะเงินเฟ้อ การเมือง แรงงาน การแข่งขันจากภายนอกประเทศ กฎหมายการค้า วัฒนธรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เป็นต้น การตัดสินใจแบบนี้ ผู้นำต้องอาศัยประสบการณ์ ความเชื่อมั่น และลางสังหรณ์มาคาดการณ์ โอกาสที่จะเป็นไปได้ แล้วจึงทำการตัดสินใจ การตัดสินใจแบบนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยมาก ในยุคของการสื่อสาร และระบบข้อมูลสาร สนเทศ เจริญก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่เหมือนในปัจจุบัน ยกเว้นในกรณีที่มีเวลามาเป็นตัวกำหนด ให้ต้องทำการตัดสินใจ เท่านั้น

          คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มีนิสัยอย่างนึงที่เหมือนกันคือ การตัดสินใจที่รวดเร็ว คิดเร็ว ทำเร็ว และการตัดสินใจมักไม่ค่อยผิดพลาด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่ตัดสินใจช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปจะผิด เพราะการตัดสินใจที่ดีควรเริ่มต้นจากการมีข้อมูลมาเปรียบเทียบ และหาเหตุผลหลายๆ ด้านมาประกอบ ซึ่งบางทีก็ต้องใช้เวลาคิด พิจารณาสักหน่อย

         แต่ถ้าจะให้ดีไปกว่านั้น เมื่อเราสามารถตัดสินใจได้รวดเร็วทันใจแถมยังเป็นการตัดสินใจที่ดี มีคุณภาพ ตรงใจมากที่สุด

 

เทคนิคการตัดสินใจ

1.  ลดตัวเลือกให้น้อยลง

          เราต้องรู้จักลดตัวเลือกที่เข้ามาให้เราตัดสินใจให้น้อยลง โดยใช้วิธีการตัดตัวเลือก หรือสิ่งที่ไม่ใช่แน่นอนออกไปก่อนแล้วค่อยพิจารณาตัวเลือกที่เหลืออยู่ที่มีคุณสมบัติพอๆ กันเพราะยิ่งตัวเลือกเรามีเยอะเท่าไหร่ก็จะทำให้เราตัดสินใจได้ช้าลง เราควรเล่อกตัวเลือกที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

        2. ความคิดที่ไตร่ตรองรอบคอบจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

           กล่าวคือ มองให้ไกล อย่าคิดแคบคิดสั้นเพียงหนีง

วัน หนึ่งสัปดาห์ หรือหนี่งเดือนเท่านั้น แต่ควรมองอนาคตเราด้วยว่าชีวิตเราจะต้องอยู่หลายปี

2.  ฝึกใช้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นปัจจุบันและทันสมัย

ก่อนตัดสินใจ เราต้องมีข้อมูลเพียงพอ มีข้อมูล

พร้อมถูกต้อง เป็นปัจจุบัน

3.  ตั้งเวลาให้กับตัวเอง

เราจะต้องใช้เวลากับงานนั้นๆ  เพียงใดจึงจะ

ทำให้เราเกิดทักษะ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ และ

ประสบความสำเร็จในชีวิต

4.  ลงมือทำ

เมื่อคิด มีข้อมูลเพียงพอ ถูกต้องเป็นปัจจุบัน เรา

ก็ลงมือทำ ลงมือปฏิบัติ

           5. มีแผนสำรองเสมอ

            บุคคล กลุ่มบุคคล หรือนักบริหารที่จะตัดสินใจได้ดีจะต้องเตรียมรับมือกับผลลัพธ์ที่นอกเหนือความคาดหมายซึ่งอาจจะกิดขึ้นด้วยการมีแผนสำรองเสมอ โดยพิจารณาทางเลือกหลายทาง สามารถลองทางเลือกอื่น แล้วเริ่มกระบวนการใหม่อีกครั้ง เพราะการมีแผนสำรองทำให้เราตัดสินใจอะไรได้ง่ายขึ้น ไม่เสียเวลามานั่งวิตกกังวลและหาทางเลือกใหม่

           การตัดสินใจได้อย่างมั่นใจคือให้เรารู้จักเชื่อสัญชาตญาณตัวเองบ้าง เพราะในความเป็นจริงเราไม่สามารถรู้ข้อเท็จจริงทุกอย่าง แต่ก็ต้องพยายามหาข้อมูลเพื่อประกอบ

การตัดสินใจให้มากเข้าไว้ เมื่อเรานำความรู้ที่มีกับสัญชาตญาณของเราก็เป็นผลมาจากความรู้และประสบการณ์ที่เคยประสบหรือทดลองทำมาหลายครั้ง ก็จะทำให้การตัดสินใจของเราเป็นการตัดสินใจที่ดี มีคุณภาพและรวดเร็ว ไม่ลังเล

 

การตัดสินใจเลือกอาชีพ

            การตัดสินใจเลือกอาชีพ นับว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตมนุษย์ อาจกล่าวได้ว่า
“งานคือชีวิต”  หรือ “งานคือเกียรติยศ คนที่ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คือผู้มีเกียรติยศ”

          ดังนั้นในการเลือกอาชีพจำเป็นต้องมีการเริ่มต้นด้วยการวางแผนชีวิตด้านอาชีพ ตั้งแต่วัยเรียน ซึ่งเป็นการวางแผนระยะยาวที่ต้องใช้เวลานานมาก และใช้ความพยายามอย่างมาก ผลตอบแทนที่
ได้รับก็คุ้มค่า

              สิ่งสำคัญในการตัดสินใจเลือกอาชีพ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ

 

ประการที่ 1 : ปัจจัยภายนอก

       ได้แก่ ข้อมูลด้านอาชีพ ซึ่งมีหลายอาชีพ เป็นข้อมูลที่มีขอบข่ายกว้างขวางมาก ซึ่งขอบข่ายของข้อมูลด้านอาชีพพอสรุปได้ดังนี้

 

แนวโน้มของตลาดแรงงาน

           เป็นข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการผู้ทำงานในด้าน

ต่าง ๆ ในปัจจุบัน และการพยากรณ์ที่จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นหรือลดลงในอนาคต

 

ลักษณะงาน

         งานที่จะต้องทำเป็นประจำมีลักษณะอย่างไร ผู้ทำงานจะต้องทำอะไรบ้าง เป็นงานที่ทำให้เกิดความเพลิดเพลินหรือก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย งานใหญ่หรืองานเล็ก มีความรับผิดชอบที่สำคัญหรือไม่ ต้องเกี่ยวข้องกับตัวเลข สิ่งของ หรือคน ต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์มากหรือไม่ ต้องนั่งทำงาน ยืนทำงาน ต้องเดินทางหรือไม่ ตลอดทั้งการทำงานเป็นช่วงกลางวัน กลางคืน เป็นต้น เราสามารถรับได้ไหม มีปึญหา

อุปสรรคต่อเราไหม เป็นต้น

 

สภาพแวดล้อมของงาน

            ได้แก่ สภาพแวดล้อมและบรรยากาศของงาน เช่น ร้อน เย็น ชื้น แห้ง เปียก ฝุ่นละออง สกปรก เสียงดัง ในอาคาร กลางแจ้ง ในโรงงาน มีสารพิษ มีสารกัมมันตภาพรังสี มี

ความขัดแย้งมากน้อยเพียงใด เป็นต้น

 

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

           อายุ ได้มีการกำหนดช่วงอายุในการทำงานและเกษียณไว้อย่างไร เพศ อาชีพนั้น ๆ โดยทั่วไปเป็นอาชีพสำหรับเพศหญิงหรือเพศชาย หรือให้ โอกาสแก่ทั้งหญิงทั้งชาย หรือให้โอกาสแก่เพศใดเพศหนึ่งมากกว่า

  

การเข้าประกอบอาชีพ

            การเข้าประกอบอาชีพต้องมีวิธีการอย่างไร โดย

การสมัครงานกับนายจ้างด้วยตนเองต้องมีการสอบสัมภาษณ์หรือต้องสอบข้อเขียนด้วย ถ้าเป็นการประกอบอาชีพอิสระต้องใช้ทุนทรัพย์เพื่อดำเนินกิจการมากน้อยเพียงใด

รายได้

           ในการประกอบอาชีพนั้น ๆ จะมีรายได้เป็นวัน สัปดาห์ เดือน ปี โดยเฉลี่ยแล้วเป็นเงินเท่าใด

 

ความก้าวหน้า

            อาชีพนั้น ๆ จะมีความก้าวหน้าเพียงใด จะต้องมีการศึกษาอบรมเพิ่มเติม มีความสามารถหรือประสบการณ์อย่างไรจึงจะได้เลื่อนขั้นมากน้อยเพียง ใด การประกอบอาชีพเดิมนำไปสู่อาชีพใหม่หรือไม่

 

การกระจายของผู้ประกอบอาชีพ

           มีผู้ประกอบอาชีพมากน้อยเพียงใดและกระจายอยู่ทั่วประเทศหรือมีอยู่เพียงบางจังหวัด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ผู้ประกอบอาชีพที่ใดก็ได้หรือจะต้อง อยู่ที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ

 

ข้อดีและข้อเสีย

            อาชีพแต่ละอย่างย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งขึ้นอยู่กับความพอใจและความต้องการของผู้ประกอบอาชีพของแต่ละคน หรือมีใจรักงานเป็นสำคัญ งานบางอย่างอาจมี

การทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันเสาร์อาทิตย์ หรือ วันหยุด และการเดินทางไปปฏิบัติในท้องที่อื่นๆ งานบางอาชีพมี

ความมั่นคงกว่างานอาชีพอื่น เช่น บางคนอาจจะชอบงาน

ราชการน้ำซึมบ่อทรายดูแลตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน ดูแล

ทั้งตนเองและคนในครอบครัวในเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ แต่

รายได้อาจจะไม่มาก ไม่เหมือนอาชีพดารานักแสดง แต่

บางคน อาจจะชอบงานที่ท้าทาย มีรายได้สูงแม้จะ

หลักประกันสังคม ก็ยอมรับได้

 

ประการที่ 2 : ปัจจัยภายใน ได้แก่

ปัจจัยส่วนบุคคล

– ความสนใจ

– บุคลิกภาพ

– สติปัญญา

– ความถนัด

– ทักษะ

– ความสัมฤทธิผล

– ประสบการณ์

– แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิผล

– ความรับผิดชอบ

– ความอุตสาหะ

– ความตรงต่อเวลา

– ความอบอุ่น

– ระดับการกล้าเสี่ยง

– ความเป็นคนเปิดเผย

– ความไม่ยืดหยุ่น

– ความแกร่งของจิตใจ

– ความรู้สึกเกี่ยวกับคุณค่าแห่งตน

– ความสามารถในการตัดสินใจ

– วุฒิภาวะทางอาชีพ

– เพศ

– เชื้อชาติ

– อายุ

– ความแข็งแรงของร่างกาย

– สุขภาพ

– ฯลฯ

 

ปัจจัยเกี่ยวกับโครงสร้างของค่านิยม

 

– ค่านิยมทั่ว ๆ ไป

– ค่านิยมทางการงาน

– จุดมุ่งหมายชีวิต

– จุดมุ่งหมายทางอาชีพ

– การรับรู้เกียรติและชื่อเสียงของอาชีพ

– ทัศนคติต่ออาชีพต่าง ๆ

– ความเข้าใจอาชีพที่เกี่ยวกับคน/ข้อมูล

– จริยธรรมในการทำงาน

– การใช้เวลาว่าง

– ความต้องการเปลี่ยนแปลง

– ความต้องการกฎเกณฑ์

– ความต้องการสนับสนุน/ช่วยเหลือ

– ความต้องการอำนาจ

– ความมั่นคง

– ความปลอดภัย

– การทำงานให้เป็นประโยชน์กับผู้อื่น

– ฯลฯ

 

จะทราบได้อย่างไรว่าอาชีพไหนเหมาะสมกับเรา

          คนเรามีความถนัด ความสามารถ และความสนใจในงานอาชีพแตกต่างกัน บางคนเหมาะที่จะ ทำงานด้านหัตถกรรม บางคนเหมาะสมที่จะทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรืองานที่เกี่ยวข้องกับด้าน วิทยาศาสตร์ ส่วนบางคนอาจจะเหมาะสมที่จะทำงานเกี่ยวกับการสอนดนตรี การช่วยเหลือติดต่อ ประชาชน เหล่านี้เป็นต้น แต่ละคนมีพรสวรรค์ไม่เหมือนกัน ไม่สามารถทำงานชนิดเดียวกันได้หมด ทุก คน ข้อสำคัญก็คือ ท่านต้องรู้จักตัวเอง และรู้จักงานอาชีพต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งพิจารณา ดู ว่ามีงานอะไรบ้างที่ท่านชอบและสนใจมากที่สุด และงานนั้นๆ เหมาะสมกับอุปนิสัยและบุคลิกลักษณะ ของท่านหรือไม่

 

ปัญหาก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนหรือผู้สมัครงาน

1.    ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการประกอบอาชีพ

กล่าวคือ ไม่มีความรู้ ขาดทักษะและรายละเอียด

ข้อมูล เกี่ยวกับโลก อาชีพ เช่น ลักษณะของงานอาชีพ กระบวนการทำงานในงานอาชีพนั้นๆ ความก้าวหน้าในอาชีพการ ทำงาน และความต้องการของตลาดแรงงานในงานสาขาอาชีพนั้น ๆ

            2. นักเรียนและผู้สมัครงาน ต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา แนะนำ แนะแนวอาชีพ แนะแนวการศึกษาต่อ และการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ ตลาดแรงงาน

            3. นักเรียนและผู้สมัครงาน จะต้องรู้ขีดจำกัดหรือความสามารถ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจ และ

ความพร้อมในการเลือกประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับตนเอง

            4. ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ นักเรียนและผู้สมัครงาน จะต้องมีความรู้ในเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลตั้งแต่การเลือกเรียนต่อหรือศึกษาเพิ่มเติมในสาขา วิชาที่ใช้เงินทุนจำนวนน้อย และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจน การฝึกพัฒนา ฝีมือตนเองเพิ่มเติมเพื่อให้คุณลักษณะเด่น ในการสมัครงาน สรุปข้อ

 แนะนำก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ

           1. ผู้ตัดสินใจเลือกอาชีพควรรู้จักตนเองให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะในด้านอุปนิสัย ความรู้ ความถนัด ความสามารถ ความสนใจ บุคลิกลักษณะ สุขภาพ นิสัย ทัศนคติเกี่ยวกับอาชีพนั้น ๆ และฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ฯลฯ

            2. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ลักษณะของงานอาชีพ ค่าจ้าง สวัสดิการ ความก้าวหน้า และความมั่นคงของงาน ตลอดจนความต้องการ ของตลาดแรงงาน ฯลฯ

 การตัดสินใจเลือกคู่ครอง

      คำโบราณที่คนรุ่นปู่ รุ่นย่า ตายายเคยสอนชายไว้ว่า ก่อนจะมีคู่สมรสให้บวชก่อนเบียด  นั้นหมายถึงว่า สังคมไทยเราให้เกียรติผู้ชายว่า เป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ ชายบริหารหญิงบริการ นั้น คือ

 

ชายบริหาร

      ชายบริหาร คือ ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน เพื่อหาเงิน

มาจุนเจือครอบครัว งานหาจึงเป็นหน้าที่หลักของฝ่ายชาย

      การที่ฝ่ายชายหรือเจ้าบ่าว จะเป็นผู้นำครอบครัวได้ดีนั้น

ต้องผ่านการฝึกฝนอบรมจิตให้มีใจหนักแน่นพอ สุขุมรอบคอบ

ฝึกเป็นคนให้มีนิสัยซื่อสัตย์ต่อคู่สมรส รู้จักข่มจิตข่มใจไว้ได้

ในยามมีอารมณ์โกรธ อารมณ์ยั่วยุ รู้จักทำหน้าที่ผู้นำครอบครัว

ที่ดีได้  และวางตัวให้ภรรยามั่นใจในความประพฤติปฏิบัติว่า

จะไม่เถลไถลนอกแถว เป็นต้น นอกจากนี้ ก็มีความขยันอดทน

ในการทำมาหากิน ประกอบอาชีพโดยสุจริต

      การที่จะฝึกจิต ฝึกใจได้นั้น ก็คือให้ “บวชเรียนก่อน” ตามระยะเวลาพอสมควร เพื่อให้รู้ดี รู้ชั่ว และทำใจให้ผ่องใส และก็สามารถนำมาถ่ายทอดให้แก่ภรรยาหรือคู่สมรสได้ เพราะ

เธอไม่มีโอกาสได้บวช เพราะการบวชสำหรับสตรีนั้น ถือว่า

ไม่ปลอดภัย จะไปอยู่ตามป่า ตามเขา หรือที่ไม่ปลอดภัยลำพังคนเดียวไม่ได้ แม้ในครุธรรม 8 ข้อ ในข้อหนึ่งระบุไว้ว่า ภิกษุณี

จะไปจำพรรษาในที่ไม่มีภิกษุอยู่จำพรรษาไม่ได้ หรือจะไปอยู่ร่วมกับผู้ชายทั่วไปก็ไม่ได้ ดังนั้น จึงพูดว่า “บวชก่อนเบียด”

นั่นเอง โดยคู่สมรสที่จะถ้อว่าดี คือ ซี่อสัตย์ต่อคู่สมรส รู้จัก

ข่มจิตข่มใจเอาไว้ได้ในยามอารมณ์โกรธ อารมณ์ไม่ดี เป็นต้น

รู้จักทำหน้าที่ต่อครอบครัว และก็ทำตัวเสมอต้นเสมอปลาย

 

หญิงบริการ

     มีความเชื่อตั้งแต่โบราณว่า หญิงจะต้องนำเงินหรือ

สิ่งของที่ชายหามา มาจัดบริการให้สมาชิกในครอบครัว

ได้อยู่ได้กิน ได้ใช้ เช่น ทำอาหาร ทำงานบ้าน การดูแล

ความสะอาดเสื้อผ้า การจัดหาเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น โดยอาจจะมอบหมายให้สามีดูแลช่วยได้เป็นครั้งคราวได้ นอกจากนี้ก็รักษาความเป็นกุลสตรีเอาไว้ เพราะผู้หญิงนั้น สังคมคาดหวัง

ในความประพฤติ หรือกิริยามรรยาทสูงมาก แม้จะไม่

ได้บวชเรียน แต่ก็ผ่านการฝึกฝนโดยกระบวนการทาง

สังคมที่กำหนดไว้สำหรับหญิง

     ในการตัดสินใจเลือกคู่สมรส ก็เลือกคนที่จะทำให้

ชีวิตเราอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ไม่ก่อให้เกิดปัญหา

และผ่านการดูใจกันมาพอสมควร จนรู้ข้อมูลอย่างละเอียด

ถี่ถ้วนพอ

 

สรุป

       การตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหา หรือเลือกทางเลือกนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตและการทำงานของบุคคล และถือเป็นบทบาทที่สำคัญของผู้นำหรือผู้บริหารในการจัดการหรือบริหารงานซึ่งจะนำพาให้เกิดความอยู่รอดหรือไม่ ของกลุ่ม หน่วยงาน หรือองค์การ การตัดสินใจที่ดีนั้นจะก่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด ดังนั้นผู้ที่จะตัดสินใจจึงจะต้องหาข้อมูลหรือมีข้อมูลที่ดีและมีกระบวนการที่ดีให้การตัดสินใจ ตลอดจนตระหนักถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการตัดสินใจผิดพลาดอีกด้วย การตัดสินใจก็จะเกิดผลดีมากที่สุดและเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดเมื่อเรามีข้อมูลประกอบในการตัดสินใจที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และผ่านการไตร่ตรอง กลั่นกรองให้รอบคอบแล้ว....

 

 

-----------------

 

 

 

แหล่งข้อมูล

https://play.google.com/books/reader?id=0LdUMAAAAEAJ&pg=GBS.PA0

http://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/Decision_Making.htm

 

http://www.digitalschool.club/digitalschool/health4-6/health6_2/lesson2/item1.php

 

https://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/Decision_Making.htm

 

https://bit.ly/3Vjch2h

https://www.stou.ac.th/offices/rdec/udon/upload/socities.html

 

https://www.gotoknow.org/posts/284784

 

https://www.mangozero.com/6-ways-to-decide-too-fast/

https://bit.ly/3BXmL0l

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 710972เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2022 02:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2022 02:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Very comprehensive and useful material for ‘thought’.

Because most people don’t read (beyond 8 lines), this good material is lost in the jungle. Sigh!

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท