คำนิยามศัพท์ของจริยศาสตร์สากล


คำนิยามศัพท์ที่ต้องเข้าใจตรงกัน

         นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาจริยศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน เพราะเมื่อเข้าใจตรงกันก็จะเกิดความชัดเจน ไม่สับสนทางด้านภาษา โดยยึดตาม “คู่มือจริยศาสตร์ตามหลักวิชาการสากล” เป็นพื้นฐานในการนิยาม ซึ่งคำศัพท์เฉพาะ (technical words) ที่ใช้ในวิชานี้ ได้แก่ (กีรติ บุญเจือ, 2551)

ศัพท์ ความหมาย คำอธิบาย
accountability ความพร้อมรับผิด ความรับผิดชอบที่เน้นผลกระทบทางลบเป็นสำคัญ
action การกระทำ การเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏของสสารหน่วยหนึ่งครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ลมพัด น้ำไหล ใบไม้ร่วง คนตกต้นไม้
activity กิจกรรม ชุดหนึ่งของการกระทำที่เกิดผลรวมอย่างหนึ่ง เช่น การรักษาพยาบาล เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ประกอบด้วยการกระทำหลายอย่าง เช่น การตรวจโรค การฉีดยา ฯลฯ
amoral อศีลธรรม ลักษณะของความประพฤติที่ไม่เกี่ยวกับศีลธรรม มักจะใช้กินความไปถึงพฤติกรรมที่ไม่เกี่ยวกับจริยธรรมโดยทั่วไปด้วย เช่น การหายใจ การเดิน การพักผ่อน การเลี้ยวซ้ายเพื่อเลี่ยงรถติด
bad conduct ความประพฤติเลว การกระทำฝืนมโนธรรมเป็นครั้ง ๆ (หากเลวมาก ๆ เรียกว่า ความประพฤติชั่ว)
behavior พฤติกรรม การกระทำโดยมีสัญชาตญาณกำหนดเป้าหมาย (ไม่มีเสรีภาพที่จะปฏิเสธ) เช่น คนหายใจเหมือนตุ๊กแกหายใจ
code of conduct จรรยาบรรณ ระบบจริยธรรมของกลุ่มอาชีพแต่ละกลุ่มที่ประกาศใช้โดยกลุ่ม เพื่อควบคุมกันเองและลงโทษกันเอง จริยธรรมอาชีพก็เรียก
conduct ความประพฤติ พฤติกรรมที่มีมโนธรรมกำหนดเป้าหมาย (มีเสรีภาพที่จะปฏิเสธ) เช่น คนขว้างก้อนหินใส่คน ไม่เหมือนลิงขว้างก้อนหินใส่คน
conscience มโนธรรม ความสำนึกดี/ชั่ว
ศัพท์ ความหมาย คำอธิบาย
equity ความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาค การได้คนละเท่ากัน
ethic จริยธรรม คุณธรรมชุดหนึ่ง ๆ ที่ทำให้คนคนหนึ่ง หรือคนประเภทหนึ่งเป็นคนดี
ethical norms จริยธรรม ประมวลหลักเกณฑ์ความประพฤติ
ethics จริยศาสตร์ วิชาว่าด้วยความประพฤติ
ethnicity การมีจริยธรรม สภาพทางจริยธรรม
ethos จริยธรรม ดู ethic
good conduct ความประพฤติดี พฤติกรรมแต่ละครั้งตามที่มโนธรรมชี้แนะ
good governance ธรรมาภิบาล การบริหารงานที่ดี ทั้งในภาครัฐ เอกชน และส่วนบุคคล ซึ่งมีการจำแนกชัดเจนว่าอะไรอยู่ในเกณฑ์บังคับหรือเกณฑ์จำเป็น (necessary standard) เช่น กฎหมาย อะไรอยู่ในเกณฑ์เสริม (supplementary which may become complimentary) เช่น ศาสนา และอะไรอยู่ในเกณฑ์ส่งเสริม (supporting standard) เช่น สมาคมอิสระที่มีอุดมคติ จะทำอะไรก็ได้ที่กฎหมายบ้านเมืองและองค์การศาสนาของชาติครอบคลุมไม่ถึง
honesty ความสุจริต การมีกายวาจาใจตรงกัน คือ ความคิด คำพูด และการกระทำตรงกัน
ศัพท์ ความหมาย คำอธิบาย
humanness ความเป็นคน, มนุษยธรรม จริยธรรมสากล
immoral ผิดศีลธรรม ความประพฤติที่ฝืนมโนธรรม, ความประพฤติที่ผิดศีลธรรม เป็นความประพฤติผิดที่เลว ผลก็คือมีบาปอยู่ในจิตใจ, หลักปฏิบัติที่นำไปสู่การปฏิบัติที่ผิดศีลธรรม เรียกว่า “ทุศีล” มักจะใช้กินความไปถึงความประพฤติที่ขัดกับจริยธรรมโดยทั่วไปด้วย
integrity ความเปี่ยมคุณงาม ความดี ความสมบูรณ์พร้อม ความเปี่ยมคุณธรรม จริยธรรม
law กฎหมาย ระบบความประพฤติที่ประกาศอย่างเป็นทางการโดยรัฐ ซึ่งอาจจะไม่บังคับในมโนธรรม แต่จะต้องไม่ขัดกับมนุษยธรรม
morality การมีศีลธรรม สถานภาพทางศีลธรรม จริยธรรม, ประมวลคุณธรรม, คุณธรรมชุดหนึ่งที่ทำให้คนคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งเป็นคนดีตามอุดมคติหนึ่ง
morals ศีลธรรม ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง
norm มาตรการ, เกณฑ์ ระดับการทำดีที่แต่ละคนหรือแต่ละหมู่คณะใช้ ซึ่งอาจจะถึงขั้นมาตรฐานที่สังคมยอมรับหรือไม่ก็ได้
norm of conduct มาตรการความประพฤติ ดู norm และ conduct ร่วมกัน
reconciliation สมานฉันท์ จะเกิดขึ้นได้ก็โดยทุกฝ่ายยอมรับปรัชญาแห่งการไม่ยึดมั่นถือมั่น คือ แต่ละฝ่ายแต่ละคนมีหลักยึดเหนี่ยวต่างจากของตนแต่ยอมรับกันได้ ในทางปฏิบัติต้องเสวนากันเพื่อแสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง จุดร่วมคือจุดที่ต้องร่วมมือกัน จุดต่างถือว่าเป็นพรสวรรค์ที่แต่ละคนพึงใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม
ศัพท์ ความหมาย คำอธิบาย
regulation ระเบียบวินัย กฎหมายที่ใช้บังคับกลุ่มชนอย่างเป็นทางการพร้อมบทลงโทษ
responsibility ความรับผิดชอบ ความพร้อมรับผลกระทบอันเกิดจากการกระทำของตน ทั้งแง่บวกและแง่ลบ
solidarity เอกภาพแข็งแกร่ง การร่วมแรงแข็งขัน ผนึกกำลังกันอย่างเหนียวแน่นมีคุณธรรม
standard มาตรฐาน มาตรการณ์หรือเกณฑ์ขั้นต่ำที่สังคมยอมรับว่าใช้ได้
standard of conduct มาตรฐานความประพฤติ ดู standard และ conduct ร่วมกัน
sufficiency economy ความพอเพียง คุณธรรมสายกลางที่ไม่ขาดไม่เกิน กล่าวคือ เลือกส่วนดีจากสุดขั้ว 2 ข้างมาปฏิบัติร่วมกัน
vice กิเลส ความประพฤติเลว (หรือชั่ว) จนเคยชินในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น โมโหจนเคยชิน
virtue คุณธรรม ความประพฤติดีจนเคยชินเป็นนิสัยแต่ละด้าน

         จริยศาสตร์เป็นวิชาหรือศาสตร์ที่ศึกษาถึงความประพฤติของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความดีความชั่ว ตลอดถึงเกณฑ์ตัดสินพฤติกรรมดีชั่วเหล่านั้น

          ส่วนจริยธรรมเป็นเนื้อหาของวิชาจริยศาสตร์ ที่ว่าด้วยประมวลข้อธรรมที่ควรและไม่ควรประพฤติ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ให้ทุกคนในสังคมเป็นคนดี มีความสุขจากความประพฤติดี และเป็นการทำดีเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีทั้งส่วนจริยธรรมสากลและจริยธรรมทางศาสนา

แหล่งอ้างอิง

เมธา หริมเทพาธิป. (2565). ผศ. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์สมัยใหม่ (PHE 8107). สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. หน้า 28 - 32.

หมายเลขบันทึก: 710637เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2022 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2022 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท