ถอดบทเรียนในรายวิชา การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตลอดทุกช่วงวัย PTOT262


 

เรื่องเงินเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชากรมนุษย์ โดยเฉพาะในวัยทำงาน ที่ต้องทำงานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงชีพตนเอง หรือหาเลี้ยงครอบครัว และต้องใช้เงินในการซื้ออาหารในการดำรงชีวิต จาก สถิติความสุขในที่ทำงานของไทยปี 2021 จาก Milieu Insight พบว่า ความสุขในที่ทำงาน ของคนไทยเกิดจาก เงินเดือน 48% ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน 45% การจัดการงานปัจจุบัน 36% และความหมายในการทำงาน 33% 

Milieu Insight ได้สำรวจความสุขในที่ทำงานของพนักงานทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 6,800 คน ทั้งจากประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เวียดนามและไทย พบว่า คนไทยกว่า 44% รู้สึกว่าปีนี้ไม่มีความสุขมากกว่าปีที่แล้ว ซึ่งเป็นประเทศที่ ไม่มีความสุขสูงที่สุดในกลุ่มตัวอย่างอีกด้วย 

จากความสัมพันธ์ที่พบ คือ ความสุขในการทำงานของคนไทยมาจากความต้องการเงิน และพบว่าคนไทยมีความสุขน้อยลง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คนที่ทำงานจำเป็นต้องการเงินเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานก่อน หนึ่งในนั้น คือ การซื้ออาหารและน้ำ เพื่อการบริโภค ในบริบทของประเทศไทยที่มีค่าแรงขั้นต่ำที่ไม่เอื่อต่อการเลือกในการใช้จ่าย จาก ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) พบว่า อัตราค่าแรงขั้นต่ำ ของประเทศไทยก่อน 1 ตุลาคม 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 324.5 บาทต่อวัน ทำให้คนไทยมีโอกาสไม่เท่ากัน เกิดความไม่เท่าเทียมในการทำงาน 

และพบว่า จากราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวทั่วไทยในรอบปี แพงขึ้น 3.66 บาท หรือ 6.7% (เทียบระหว่างพฤษภาคม 2564 และพฤษภาคม 2565)  ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวของปี 2565 กลับเพิ่มขึ้นจากปี 2564 อย่างชัดเจน ราคาเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2565 อยู่ที่ 55.33 บาท  

 

สัดส่วนที่น่าสนใจคือ อัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อค่าใช้จ่ายอาหารในประเทศไทย

จากรายงาน “ค่าแรงขั้นต่ำทั่วโลก” ที่จัดทำโดย Picodi.com พบว่าในปี 2563 ค่าแรงขั้นต่ำคนไทยสูงขึ้น 1.6% แต่เกินครึ่งต้องถูกใช้ไปเป็นค่าอาหารถึง 51.6% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงสุดติดอันดับ 45 ของโลก

.

จากสัดส่วนค่าแรงขั้นต่ำต่อค่าใช้จ่ายอาหารที่ไม่เหมาะสม กับราคาของอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้คนทำงานมีความรู้สึกเครียด และไม่มีความสุขในการทำงานได้

เพราะฉะนั้น....

Happy workplace เป็นแนวความคิด ให้คนเกิดความสุขในสถานที่ทำงาน การที่เราจะเกิดความสุขได้ เราต้องอาศัยความต้องการขั้นพื้นฐานของร่างกาย (Physiological needs จาก Maslow’s theory) ให้ถูกเติมเต็ม และหนึ่งในความต้องการขั้นพื้นฐาน คือ สารอาหาร เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานในการทำกิจกรรมในการดำเนินชีวิตได้  

ในบริบทของสถานที่ทำงานมี 2 ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสุขนั้นคือ ตัวของบุคคล และตัวของสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานหรือเป็นปัจจัยองค์กร เช่น สภาพอากาศ นโยบายองค์กร เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น ตัวของสิ่งแวดล้อมภายนอกตัวบุคคลเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก ต้องผ่านการออกแบบและจัดระเบียบให้เหมาะสมและยืดหยุ่น

 Parameters of Workplace Happiness 

 

จากปัจจัยในด้านขององค์เองที่ส่งผลต่อความสุขในสถานที่ทำงานทำให้ การทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ (multidisciplinary) มีความจำเป็น เช่น การเข้าไปทำงานร่วมกันระหว่างนักกิจกรรมบำบัด และฝ่ายทรัพยากรบุคคล ; Human resource (HR) เพื่อให้เกิดความเข้าใจในตัวของกิจกรรมที่คนทำงาน กระทำในทุกๆวัน จาก ผลการศึกษาทบทวนอย่างเป็นระบบพบว่านายจ้างที่ส่งเสริมกิจกรรม เช่น ความมีอิาระในการทำงาน ปรับโครงสร้างการทำงานใหม่ และลดแรงกดดันในการทำงาน จะส่งผลดีต่อสุขภาพจิต ลดความเครียด อาการวิตกกังวล และซึมเศร้าลง และทำให้รู้สึกมีความภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น มีความพึงพอใจในงานและผลผลิตงานดีขึ้น

 

ปัจจัยส่วนบุคคล สามารถแก้ได้ผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับกิจวัตรประจำวัน การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเพื่อนร่วมงาน ในแนวความคิดของนักศึกษามีการมองจากจุดเริ่มต้นของปัญหาดังนี้

บุคคลในสถานที่ทำงาน มีความตั้งใจที่จะทำงาน เพื่อหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัว โดยสนใจไปที่เรื่องของตัวเงินที่ได้ ให้คุณค่าของเงินมากกว่าความสุขในงานที่ตนเองทำ จนนำไปสู่การไม่ให้คุณค่าในตนเอง ไม่ดูแลสุขภาพ มีความเชื่อที่ผิด เกิดนิสัยที่ไม่ดีในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ไม่เลือกรับประทานอาหาร, เคี้ยวอาหารไม่ละเอียดจากความเร่งรีบ, ไม่รับประทานข้าวเช้า เป็นต้น เกิด Unhealthy routein ทำให้บทบาทของคนทำงานมีความสามารถในการทำงานที่ลดลง ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ ร่างกายไม่แข็งแรง ป่วย มีความเครียด และเกิดความเสี่ยงในชีวิตที่เพิ่มขึ้น  

 

นักกิจกรรมบำบัดได้ระบุความเสี่ยงไว้ 4 รูปแบบตามหลักการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร

Risk Identification at the Organizational Level

Hazard risk : ความเสี่ยงที่อันตรายสามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิตไปจนถึงการเสียชีวิต เป็นโรคจากการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ไม่มีคุณภาพ หรือมากจนเกินไป และจากความเครียด เช่น โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน, โรคมะเร็ง, โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น สิ่งที่นักกิจกรรมบำบัดทำ คือ การให้ความรู้ในการหลีกเลี่ยง (Avoid) สาเหตุของการเกิดโรค ให้กับผู้คนทุกช่วงวัย และส่งเสริมการดูแลสุขภาพ (Health promotion)

 

Financial risk : ไม่มีเงินออม ไม่มีเงินพอใช้จ่ายในแต่ละวัน นักกิจกรรมบำบัดไม่สามารถที่จะสนับสนุนเรื่องของเงินให้ผู้รับบริการ แต่สามารถส่งต่อให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การเรียกร้องสิทธิให้ผู้รับบริการ การให้ความรู้ในการวางแผนเรื่องการเงิน (Tranfer for learning ) 

 

Operational risk : การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ผู้รับบริการมีความเสี่ยงจากการถูกตำหนิ หรือถูกไล่ออก จากงานหากทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งมาจาการที่ไม่มีความสุขในสถานที่ทำงาน  นักกิจกรรมบำบัด สามารถที่จะประเมินความเครียด ให้คำปรึกษา ปรับสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ออกแบบเวลาในการทำงานให้เหมาะสม เพื่อผู้รับบริการ เกิดการปรับตัวและทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ (Modify)  

 

Strategic risk : ความเสี่ยงที่อยู่นอกเหนือภายใต้การควบคุม นโยบายองค์กร ค่าแรงขั้นต่ำ นักกิจกรรมบำบัดสามารถวางแผนรองรับกับเหตุปัจจัยที่ไม่ขาดคิดได้ในเบื่องต้นจากการประเมินผ่าน PEOP ในระดับของผู้รับบริการ องค์กร และประชากร ใช้การคิดเชิงบวก หาความเป็นไปได้ มองวิกฤติให้เป็นโอกาส  คงความสามารถในการทำงานเพื่อรอจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมในการพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ (Retaining to Exploit)

 

ในด้านของการให้ความรู้และฝึกทักษะ ให้คนทำงานนั้นเกิดการเรียนรู้ที่จะปรับตัวด้วยตนเอง มีการบริหารจัดการเงินได้ด้วยตัวเองและยังสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างได้ เห็นคุณค่าในงานที่ตนเองทำ ผ่านการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต  โดยต้องอาศัยการทำงาน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันจากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพแบบทีมสุขภาพ interprofessional collaboration เพื่อทำให้คนทำงานมีความมั่นใจ กล้าที่จะเปิดใจตั้งคำถามกับสิ่งที่เป็นอยู่และหันกลับมาดูแลสุขภาพ นำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี

 

ตัวอย่างที่น่าสนใจในการวางแผน สำหรับคนที่มีรายได้น้อย จาก Youtube : Loy Academy

งบอาหารต้องไม่เกิน 40% ของรายได้ หรือใช้เงินในการซื้ออาหาร วันละ 100 บาท รวมสัปดาห์ละ 700 บาท เพื่อให้มีเงินเก็บและเงินที่ต้องใช้จ่าย เน้นการให้ความรู้ แนวทาง ในให้ผู้รับบริการทำอาหารรับประทานเอง เพื่อให้เกิดการวางแผนและบริหารจัดการเงินได้ เลือกวัตถุดิบให้หลากหลาย ไม่ก่อโรค และได้สารอาหารครบ ราคาถูก สามารถ

ดูคลิปเพิ่มเติม :  

ติดตามแนวทางจากผู้ทดลองใช้จริง จาก กลุ่มสาธารณะ Facebook “กินน้อยอิ่มนาน”

 

จากงานวิจัยการประเมินทางเศรษฐกิจของการส่งเสริมสุขภาพในสถานที่ทำงานต่างๆการแทรกแซงช่วยให้การจัดการทรัพยากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยในการตัดสินใจทางการเมืองและธุรกิจ มีสุขภาพที่ดีขึ้นในสถานที่ทำงาน

ผลการวิจัยพบว่าการแทรกแซงส่วนมากมีประสิทธิภาพในการบรรลุวัตถุประสงค์ของการลด LDL-C (เป็นการวัดปริมาณไขมันชนิดร้าย เพื่อประเมินภาวะโรคไขมันในเลือด), การลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ, เพิ่มขึ้นของการออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก การสูญเสียรอบเอว การเพิ่มขึ้นของ QALY ( จำนวนของปีที่มีอายุ x ค่าอรรถประโยชน์ • ค่าอรรถประโยชน์ (0 – 1) ; 1 = สุขภาพสมบูรณ์, 0 = ตาย Quality-Adjusted Life Years (QALYs) การขาดงานลดลง และเป็นการลดการใช้ทรัพยากร

 

จากการถอดบทเรียนในรายวิชา การสร้างเสริมและป้องกันสุขภาพตลอดช่วงวัย PTOT262 ในหัวข้อ Happy workplace และ Nutrition  ของนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 2 พบว่า นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทในการที่จะส่งเสริมการวางแผนการทำกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของตนเองให้เกิด Healthy routein นำไปสู่การทำงานอย่างมีความสุข ภายใต้ สุขภาวะที่ดี และมีความท้าทายในการทำให้ผู้คนเกิดการตั้งคำถาม ปรับเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ ให้มีเหตุผล หันกลับมาดูแลสุขภาพของตนเอง มากกว่าการคิดที่จะหาเงิน ภายใต้บริบททางเศรษฐกิจที่ไม่เอื่อต่อการดูแลสุขภาพในประเทศไทย 

 

 

งานวิจัยการประเมินทางเศรษฐกิจของการส่งเสริมสุขภาพในสถานที่ทำงานต่างๆ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:Review : Economic evaluation of workplace health promotion interventions focused on Lifestyle: Systematic review and meta-analysis Received: 27 July 2020 | Revised: 14 January 2021 | Accepted: 21 March 2021

อาหารจานเดียวราคาพุ่งพรวด กทม.ขึ้นสูงสุดจานละ 8 บาท [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://www.dailynews.co.th/news/1191704/

อัตราค่าแรงขั้นต่ำ[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://www.itax.in.th/media/

 Parameters of Workplace Happiness  [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:INTERNATIONAL JOURNAL OF SCIENTIFIC & TECHNOLOGY RESEARCH VOLUME 9, ISSUE 01, JANUARY 2020 ISSN 2277-8616

…………………………………………………………………………………………………………………..6423024 พีรพัฒน์ ห่านชัย

หมายเลขบันทึก: 710298เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2022 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2022 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท