Diversional therapy ในผู้รับบริการทางจิตเวช


    ดิฉัน นางสาวณัฐกุล เพื่อนฝูง นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันนี้ดิฉันจะมาพูดถึงการใช้ Diversional therapy กับผู้รับบริการทางจิตเวช ณ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จ.นนทบุรี 

      ผู้รับบริการเพศชาย อายุ 34 ปี มีประวัติติดสารเสพติด(ยาบ้า)และพฤติกรรมทางเพศ(ข่มขืนน้องสาวแท้ๆ) มีการจับกุมที่บ้านพักของตนเองจากนั้นจึงนำตัวส่งโรงพยาบาลและได้ส่งต่อมาที่สถานคนไร้ที่พึงนนทบุรี โดยมีระยะเวลาในการบำบัดรักษารวมแล้วประมาณ 1 ปี ผู้รับบริการทานยาจิตเวชตอนเช้า 3 เม็ดและตอนเย็น 5 เม็ด รวม 8 เม็ด/วัน ผู้รับบริการมีความรู้สึกคิดถึงบ้าน โดยผู้รับบริการคิดว่าการที่จะออกจากที่นี่นั้นต้องให้ญาติมารับออกไปจากที่นี่เพียงเท่านั้น ผู้รับบริการไม่ได้สนใจทำกิจกรรมใดเป็นพิเศษ แต่เคยเล่นกีฬาฟุตบอลและรู้สึกชอบ มีความต้องการอยากเรียนหนังสือต่อที่ กศน. (การศึกษาสูงสุด ม.3) เนื่องจากอยู่เฉยๆไม่รู้จะทำอะไร หากเรียนจบแล้วออกไปจากที่นี่ได้ก็จะไปบวชเรียน ผู้รับบริการสามารถดูแลตนเองได้ ทำความสะอาดเรือนนอนและซักผ้าได้ ผู้รับบริการมีความสามารถทางกายและการรู้คิดที่ดี แต่ตอบสนองช้า ใช้เวลาในการตอบคำถามนานในครั้งแรกที่เจอและมีสีหน้าที่นิ่ง เรียบเฉย มักมองและจ้องหน้าตลอดระยะเวลาที่พูดคุย

กิจกรรมการวาดภาพสีน้ำ

ปัญหาที่พบ: ผู้รับบริการไม่สามารถเริ่มวาดภาพตามโจทย์ ภาพตนเองในอนาคตได้ แม้จะมีการใช้ Verbal cues แล้ว หลังจาก Grade down ให้วาดสิ่งที่ตนเองอยากวาดแล้วผู้รับบริการก็ใช้เวลาคิดค่อนข้างนานก่อนที่จะเริ่มทำการวาด เมื่อวาเสร็จภาพที่ออกมามีความรู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกอัดอั้นภายในใจ รู้สึกผิดและแปลกแยกออกมาจากคนอื่น

กิจกรรม Diversional activity: กิจกรรมกีฬาฟุตบอลแบบประยุกต์เป็นเกม Bowling

เหตุผลที่เลือกกิจกรรมนี้: เนื่องจากกิจกรรมเล่นกีฬาฟุตบอลเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการรู้สึกชอบและเมื่อให้ผู้รับบริการเลือกกีฬาที่ให้เล่นหรือกิจกรรมอื่นๆที่สนใจ ผู้รับบริการมีสีหน้าท่าทางที่สนใจในการเล่นฟุตบอลมากกว่ากิจกรรมอื่นๆ นอกจากนี้กิจกรรมนี้ยังช่วยให้ผู้รับบริการได้ขยับร่างกาย มีความพึงพอใจและผ่อนคลายเพื่อเบี่ยงเบนจิตต่อความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจ เป็นการระบายความรู้สึกอัดอั้นภายในใจ ความรู้สึกผิดออกมาผ่านทางกิจกรรมทางกายอีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมทักษะทางสังคมอีกด้วย

กระบวนการใช้ Diversional activity: กิจกรรมกีฬาฟุตบอลแบบประยุกต์เป็นเกม Bowling

ระยะเวลาในการทำกิจกรรม: 40 นาที

อุปกรณ์ที่ต้องใช้:

  • ขวดน้ำสีแดง 4 ขวด, สีฟ้า 3 ขวด, สีเขียว 2 ขวด, สีเหลือง 1 ขวด
  • ลูกบอล 2 ลูก
  • กรวยระบุตำแหน่ง 2 อัน
  1. แนะนำกลุ่มและตนเอง อธิบายวัตถุประสงค์และวิธีการเล่นกิจกรรมฟุตบอลแบบประยุกต์เป็นเกม Bowling โดยให้เตะลูกบอลจากจุดที่กำหนดให้ไปให้โดยขวดน้ำที่วางไว้อยู่ข้างหน้าให้ได้มากที่สุดแต่ละทีมจะได้เล่นทั้งหมด 3 รอบ


2. ยืดเหยียดร่างกายก่อนเริ่มทำกิจกรรมเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและกระตุ้นความตื่นตัวก่อนทำกิจกรรม

                                               อ้างอิง:https://youtu.be/g6yqW7dw994

3. เริ่มเล่นโดยให้ทดลองเล่นก่อนเพื่อให้ทำความคุ้นเคยกับการเตะบอล เนื่องจากผู้รับบริการไม่ได้เตะบอลมาเป็นระยะเวลาที่นาน

4. เริ่มเล่นแบบนับคะแนน ซึ่งจะให้ผู้รับบริการเล่นทั้งหมด 3 รอบเพื่อเป็นการเรียนรู้ข้อผิดพลาด จัดระเบียบทางความคิดและร่างกายหรือปรับปรุงตนเองเพื่อที่จะเล่นรอบต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หากผู้รับบริการไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองให้กระตุ้นโดยใช้ verbal cue ช่วยร่วมด้วย
5. ในการเล่นรอบที่ 3 Grade up โดยการเพิ่มกฎกติกาโดยขวดแต่ละอันจะมีคะแนนไม่เท่ากัน เช่น ขวดสีแดง 5 คะแนน, ขวดสีฟ้า 4 คะแนน, สีเขียว 2 คะแนน และ สีเหลือง 1 คะแนน เป็นต้น จากนั้นทวนว่าสีไหนนับกี่คะแนนเพื่อเป็นการกระตุ้นหรือประเมิน Short term memory ร่วมด้วย

6. เล่นจนจบครบทั้งหมด 3 รอบจากนั้นจึงรวมคะแนนทั้ง 3 รอบและปิดกลุ่ม สอบถามความรู้สึกของผู้รับบริการพร้อมทั้งสังเกตสีหน้าท่าทางของผู้รับบริการทั้งก่อน ระหว่างและหลังร่วมกิจกรรมร่วมด้วย

 

6323011 นางสาวณัฐกุล เพื่อนฝูง 

นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3

หมายเลขบันทึก: 709365เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2022 08:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท