เกษตรกร อาชีพที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน


“เกษตรกร อาชีพที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน”

เงินประกันรายได้เกษตรกร" ธ.ก.ส. โอนงวดที่ 10 ยังไม่ได้เงิน
เยียวยาเกษตรกร ผ่านเกณฑ์แล้ว ต้องใช้หลักฐานอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ -  ACCESSTRADE TH
เกษตรกร ต้องลงทะเบียน www.เราชนะ.com รับเงินเยียวยา 3500 บาท -  ทุกเรื่องโปรโมชั่น ที่อัพเดทที่สุด

   -ด้วยเมืองไทยเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อาชีพเกษตรกรจึงถือเป็นรายได้หลักมาอย่างช้านาน แม้ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่จำนวนมากจะเลือกเข้ามามองหางานทำในเมืองหลวงรวมถึงเลือกทำงานประเภทอื่น ๆ มากขึ้น แต่เกษตรกรก็ยังถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสร้างผลผลิตให้กับคนไทยและอีกหลายล้านคนบนโลกมีอาหารดี ๆ ได้ทานเพื่อดำรงชีวิตอยู่ตลอด จึงอยากพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับอาชีพนี้ให้มากขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งมีเรื่องราวดี ๆ มาฝากกันด้วย

*จำแนกประเภทเกษตรกร

    -จริง ๆ แล้วอาชีพเกษตรกรสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ โดยมีประเภทของเกษตรกรดังนี้

-ด้านการปลูกพืชผล

   -เป็นกลุ่มอาชีพที่พบเจอได้มากสุดของเมืองไทย ทั้งนี้จะแยกย่อยออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกพืชผลชนิดนั้น ๆ แม้นักวิชาการจะมีการแยกย่อยประเภทออกไปตามลักษณะการปลูก การดูแลรักษา การใช้ประโยชน์ แต่ขออธิบายประเภทขั้นต้นให้เห็นภาพกันง่ายกว่า

-พืชนา

   พูดง่าย ๆ ก็คือกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกนาข้าวเป็นหลัก ทั้งนี้เมื่อหมดฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวก็สามารถเปลี่ยนเป็นการเกษตรด้านอื่น ๆ ได้

-พืชไร่

   กลุ่มพืชที่ต้องอาศัยพื้นที่ในการปลูกเยอะ แต่พืชจะมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว ขั้นตอนการดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก พืชบางชนิดปลูกแค่ 2 เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ทันที โดยพืชไร่นั้นถือเป็นอีกกลุ่มเกษตรที่สำคัญต่อทั้งการบริโภคของผู้คนในประเทศและการส่งออกสร้างรายได้ เช่น อ้อย, ข้าวโพด, มันสำปะหลัง, ถั่วหลากชนิด, ฝ้าย เป็นต้น

-พืชสวน

   กลุ่มพืชชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เยอะเหมือนกับพืชไร่ แต่ต้องอาศัยการใส่ใจดูแลมากกว่า มีระยะเวลาในการให้ผลผลิตนานกว่า แต่มูลค่าก็สูงตามประเภทของสายพันธุ์นั้น ๆ ด้วยเหมือนกัน

*ด้านปศุสัตว์

    จริง ๆ เป็นกลุ่มการเกษตรที่อยู่คู่กับการปลูกพืชมายาวนาน เช่น ชาวบ้านที่ทำนาก็จะเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เพื่อใช้แรงงาน หรือสร้างผลผลิตรูปแบบอื่น ๆ ทว่าในปัจจุบันอาชีพเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์โดยตรงก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่แค่เลี้ยงไว้ใช้ทำประโยชน์ในด้านแรงงานเพียงอย่างเดียว โดยแยกประเภทการทำเกษตรด้านปศุสัตว์ไว้ดังนี้

  -ด้านอาหาร

    เป็นกลุ่มปศุสัตว์ที่เลี้ยงสัตว์ขึ้นมาเพื่อใช้ทำเป็นอาหารโดยตรง เช่น ฟาร์มหมู, ฟาร์มวัว, ฟาร์มไก่, ฟาร์มปลา ฯลฯ ซึ่งสัตว์เหล่านี้เมื่อเจริญพันธุ์เหมาะสมกับการขายก็จะนำไปทำเป็นเนื้อสัตว์หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ต่อไป

   -ด้านความสวยงาม

     การเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้มักถูกเรียกว่า การเพาะพันธุ์ คือ พยายามเพาะพันธุ์สัตว์ที่มีความสวยงามให้ได้ราคามากยิ่งขึ้น เช่น บรรดานกชนิดต่าง ๆ, สุนัข, แมว ฯลฯ สามารถขายได้ราคาดี แม้ว่าจะมีขั้นตอนการดูแลยุ่งยาก และต้องมองหาตลาดให้ถูกต้องก็ตาม

    -ด้านการใช้งาน

    ยังมีการทำปศุสัตว์อีกรูปแบบที่ถูกเลี้ยงเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านแรงงานต่อไป เช่น ฟาร์มม้า, ฟาร์มโคนม, ฟาร์มช้าง เป็นต้น โดยสัตว์เหล่านี้จะไม่เน้นเรื่องการทำเป็นอาหารหรือเพาะพันธุ์ขาย แต่จะนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นแทน เช่น น้ำนมจากโคนม เป็นต้น

*ด้านการประมง

   ด้วยพื้นที่ของประเทศไทยมีแหล่งน้ำให้เกษตรกรได้หารายได้เลี้ยงชีพกันมาโดยตลอด การทำประมงจึงกลายเป็นอีกอาชีพที่มีความสำคัญและได้รับความนิยมสูงมากในกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตริมน้ำ ทั้งนี้ต้องแยกให้ออกว่าการทำประมงจะต่างกับการปศุสัตว์คือ ประมงจะเป็นการจับสัตว์น้ำที่มีตามแหล่งธรรมชาติหรือเน้นสัตว์น้ำเท่านั้น ขณะที่ปศุสัตว์จะเป็นการเลี้ยงดู ซึ่งสามารถแยกประเภทการประมงได้ดังนี้

*ประมงน้ำจืด

  -เป็นอาชีพเกษตรกรที่ใช้การหาสัตว์น้ำในแหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ, ลำคลอง, บึง, หรือการสร้างบ่อ โดยสัตว์น้ำในกลุ่มประมงน้ำจืดก็มีหลายชนิดโดยเฉพาะปลา เช่น ปลาช่อน, ปลาดุก, ปลาตะเพียน, ปลานิล, ปลาไน, ปลาไหล, ปลาสลิด รวมถึงกุ้งก้ามกรามก็จัดเป็นประมงน้ำจืดชนิดหนึ่งด้วยเช่นกัน

*ประมงน้ำเค็ม

  -เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ทำอาชีพในการจับสัตว์เค็ม หรือสัตว์น้ำในทะเล ทั้งนี้จะเป็นการออกไปจับนอกชายฝั่ง หรือการเลี้ยงสัตว์ทะเลบริเวณชายฝั่งก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยสัตว์ทะเลจะมีความหลากหลายมาก ๆ ไล่ตั้งแต่ กุ้ง, หอย, ปู, ปลา ซึ่งถือเป็นอาหารจานโปรดของใครหลาย ๆ คนเมื่อผ่านขั้นตอนการทำเรียบร้อยแล้ว

 *ด้านเกษตรแบบผสมผสาน

   จริง ๆ แล้วนี่เป็นแนวคิดใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้นมาได้ไม่นานนัก หลัก ๆ คือ การรวมเอารูปแบบเกษตรต่าง ๆ มาผสมผสานเอาไว้ในพื้นที่เดียวกัน เช่น นอกจากปลูกข้าวแล้วยังมีการเลี้ยงปลาตามร่องคันนา เพื่อช่วยสร้างรายได้ให้กับตนเองมากกว่าเดิม, การทำฟาร์มไก่โดยให้กรงตั้งอยู่บนบ่อปลาดุกเพื่อปลาจะได้กินเศษอาหารที่ไก่ทำร่วงเอาไว้ เป็นต้น

  -ความคุ้มค่าของเกษตรแบบผสมผสาน

ในปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนมากเลือกหันมาทำการเกษตรแบบผสมผสานมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม นั่นเพราะลดความเสี่ยงต่อการขาดทุนหากเลือกทำเกษตรแบบใดแบบหนึ่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไรมากนัก เพียงแค่นำพื้นที่ซึ่งเหลือจากการเกษตรหลักของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

   แม้ว่ายุคก่อนหน้าอาชีพเกษตรกรจะมีจำนวนลดลง แต่ปัจจุบันมักเริ่มเห็นคนรุ่นใหม่หันไปเลือกทำเกษตรกรกันมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเพราะเมื่อได้อยู่กับธรรมชาติจริง ๆ แล้วสามารถสร้างความสุขในชีวิตมากกว่าการอยู่ในเมืองที่ต้องเจอกับความเครียดนานัปการก็ได้

*เกษตรกรรุ่นใหม่ สร้างคุณค่าสู่ทรัพยากรท้องถิ่น

 

คำสำคัญ (Tags): #“เกษตรกร"
หมายเลขบันทึก: 707934เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2022 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2022 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท