หลอมรวม Cognitive learning  กับ experiential learning


 

การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมองและร่างกายของมนุษย์    เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการรับถ่ายทอด ซึ่งเป็น passive learning   

Cognition แปลว่าความรู้ความเข้าใจ    cognitive learning จึงหมายถึงการเรียนในรูปแบบที่ทำให้เกิดความเข้าใจลึก หรือรู้จริง (๑)    ซึ่งจะต้องเกิดจากการนำเอาความรู้ใหม่ไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม     ดังอธิบายไว้ในหนังสือ การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร(๒)     และ ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง (๓)     อาจกล่าวได้ว่า นี่คือการเรียนรู้ภาควิชาการ

Experiential แปลว่า อันได้จากประสบการณ์    experiential learning จึงหมายถึงการเรียนรู้ในรูปแบบที่ได้จากประสบการณ์    หรือการเรียนรู้ภาคประสบการณ์    โดยหลักการ Kolb’s Experiential Learning Cycle (๔) แนะนำว่า จะให้เป็นการเรียนรู้ที่มีพลัง ต้องใคร่ครวญสะท้อนคิดสู่หลักการ (concept)   และต้องฝึกความเป็นคนช่างสังเกต        

จะเห็นว่า ในความเป็นจริงแล้ว การเรียนรู้ทั้งสองแบบไม่ได้แยกกันอย่างเด็ดขาด    แต่มีความเชื่อมโยงกัน     โดยทั้ง cognitive learning  และexperiential learning ต่างก็ต้องอาศัยการปฏิบัติของผู้เรียนเป็นหลัก    และโค้ชหรือ facilitator ที่ดี มีส่วนช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ได้มากในการเรียนรู้ทั้งสองแบบ    รวมทั้งการโค้ชโดยการตั้งคำถามที่เหมาะสม ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้อย่างมาก   

ความแตกต่างน่าจะอยู่ที่ cognitive learning เป็นการเรียนรู้ในระบบนิเวศที่ค่อนข้างเป็นทางการ    เป้าหมายหลักอยู่ที่การเรียนรู้ การปฏิบัติเป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้   แต่ experiential learning มีระบบนิเวศของการทำงาน   เป้าหมายหลักคือผลงาน   มีการเรียนรู้เป็นเป้าหมายรอง    และในหลายกรณีถูกละเลยหรือลืม    หน่วยงานหรือองค์กรที่ละเลย experiential learning เป็นหน่วยงานที่ไม่เรียนรู้    ไม่เป็น learning organization   

ตัวร่วมของการเรียนรู้ทั้ง ๒ แบบ คือ reflective learning คือการนำเอาข้อสังเกตจากการปฏิบัติมาใคร่ครวญสะท้อนคิด    เพื่อทำความเข้าใจทั้งวิธีการและหลักการ    ที่ผมเรียกว่า การฝึกทักษะเรียนรู้ (learning skills)    โดยที่ต้องเป็นทักษะสะท้อนคิด ร่วมกับทักษะตั้งคำถาม   

ทักษะและจริตในการตั้งคำถาม มาจากกระบวนทัศน์ไม่เชื่อง่าย หรือขี้สงสัย (inquisitive mind)    เป็นตัวร่วมของการเรียนรู้ทั้งสองแบบ

วิจารณ์ พานิช

๒๔ ส.ค. ๖๕

        

หมายเลขบันทึก: 707919เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2022 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2022 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I know an 85+ years old who has problems with seeing, hearing and remembering (common problems for aging people). Without good sensory perception, his only learning is from thinking (on/using old data he previously collected and/or generated). Though technologies can help, he resists technologies.

Many ‘established’ organizations are in the same category as this man. I think many organizations in Thailand don’t look at themselves often ;-)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท