Social Education กับการป้องกันภัยพิบัติ


Social Education กับการป้องกันภัยพิบัติ

จดหมายตีพิมพ์ในวารสาร Science  เรื่อง Education can improve response to flash floods   นำสู่บันทึกนี้    จะเห็นว่า โลกยุคนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในมหานคร เมือง หรือชนบท ต่างก็มีโอกาสเผชิญภัยพิบัติในหลากหลายรู้แบบได้เสมอ    บทความนี้จับที่ภัยพิบัติจากน้ำท่วมฉับพลัน    ยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นในจีน และที่มหานครนิวยอร์ก   

นำสู่ประเด็น “การศึกษาเชิงสังคม” (social education)    ผมได้เรียนรู้ว่า นี่คือแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์   ที่ว่าด้วย วิธีการสื่อสารให้เกิดประสิทธิผลสูง    เพราะในเรื่องน้ำท่วมฉับพลันทั้งสองที่ ที่เขายกมานั้น มีคนไม่เชื่อ ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ    ส่งผลให้มีคนเสียชีวิต    เรื่องนี้ในบ้านเราที่ท้าทายมากไม่ใช่เรื่องน้ำท่วมฉับพลัน    แต่เป็นเรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนน         

เขาแนะนำว่า องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นพระเอก/นางเอก ในเรื่องนี้    โดยต้องดำเนินการให้การศึกษาผ่าน ๓ ช่องทางหลักคือ โรงเรียน  สื่อสังคม  และเครือข่ายสังคม    โดยเขาแนะนำให้มีการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ    เน้นทั้งการดำเนินการในสภาพการดำรงชีวิตตามปกติ    และชวนกันคิดถึงบริบทที่มักละเลย เช่นสถานที่พักของนักท่องเที่ยว   

พอดีวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๕ ผมจะต้องเข้าประชุมออนไลน์ ให้ความเห็นต่อคณะอนุกรรมการกำกับทิศทางแผนงานความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕  ที่เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก    แนวคิดให้การศึกษาผ่าน ๓ ช่องทางดังกล่าว   และการฝึกซ้อมสถานการณ์สมมติ น่าจะเป็นแนวทางที่ทีมงานของ แผนงานความปลอดภัยทางถนน น่าจะได้พิจารณา

วิจารณ์ พานิช

๒๓ ก.ย. ๖๕

หมายเลขบันทึก: 707793เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2022 05:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2022 05:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท