ภาวะผู้นำดิจิทัล (Digital Leadership)


          เกรงว่าท่านที่อ่านบทเขียนของผมเรื่องความแตกต่างระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลกับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลอาจจะยังค้าง ใจในความเห็นอยู่ วันนี้ก็เลยจะนำแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำดิจิทัลที่​ ​Sheninger (2014, 2019 2nd ed.) ที่เขียนหนังสือชื่อว่า  Digital Leadership: Changing Paradigms for Changing Times ซึ่งเป็นนักวิชาการคนหนึ่งที่บุกเบิกเรื่องนี้ และเป็นหนังสือที่อ้างอิงมากที่สุดเล่มหนึ่งในวงวิชาการของไทย  มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเทียบเคียงกับแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลที่นำเสนอไปแล้วครับ 

        Sheninger อธิบายว่าภาวะผู้นำดิจิทัลเกิดจากการผสมผสานของฐานคิด (mindset) พฤติกรรม (behaviors) และทักษะ (​skills) ที่นำใช้ในการเปลี่ยนแปลงและสร้างวัฒนาองค์ของสถานศึกษาใหม่ด้วยการใช้เทคโนโลยี และชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีดิจิทัลได้นำไปใช้ในหลายรูปแบบ เช่น การเชื่อมต่อไม่จำกัดสถานที่ เทคโนโลยีแบบเปิด เครื่องมือสื่อสารพกพา และการบริการแบบเจาะจงบุคคล เป็นต้น ​Sheninger นิยามภาวะผู้นำดิจิทัลว่าเป็นการกำหนดทิศทาง การมีอิทธิพลต่อบุคลอื่น การริเริมการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนด้วยการใช้สารสนเทศและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการที่จะคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ 

          Sheninger เสนอ 7 เสาหลักในการเป็นผู้นำดิจิทัลโดยเชื่อว่าเสาหลักทั้งเจ็ดประการนี้จะหลอมรวมวัฒนธรรมในสถานศึกษาที่จะพัฒนาหรือมีโอกาสจะพัฒนายิ่งขึ้นผ่านการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่โดยเฉพาะสื่อสังคม (ออนไลน์) ครับ และเสาหลักทั้งเจ็ดประการนั้นมีสาระโดยสรุปดังนี้ 

          1. การสื่อสาร (Communication) ในปัจจุบันนี้ผู้นำสามารถสื่อสารสาระสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสียแบบเรียลไทม์ และแบบสองทางด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ ซึ่งจะแตกต่างจากอดีตที่เป็นการสื่อสารทางเดียวด้วยการใช้จดหมายข่าว หรือกระดานข่าว ผู้นำสามารถใช้เครื่องมือสื่อสังคมที่ให้บริการฟรีในการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องที่ง่ายและคล่องตัวครับ 

           2. ความสัมพันธ์กับชุมชน (​Public relations) ถ้าเราไม่เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นกับเรา คนอื่นจะทำหน้าที่นี้แทน และโดยปกติแล้วคนที่เล่าเรื่องของเราให้คนอื่นฟังนั้นมักจะเป็นคนละเรื่องกับที่เป็นจริง ผู้นำต้องเป็นผู้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง (สิ่งที่ผู้ว่าชัดชาติ ทำนั้นเข้าหลักนี้เป้ะครับ) 

           3. สร้างแบรนด์หรือยี่ห้อของตนเอง (Branding) เรื่องนี้รู้กันมานานแล้วในทางธุรกิจว่า แบรนด์หรือยี่ห้อส่งผลสำคัญต่อทัศนคติของผู้บริโภค ผู้นำสามารถสร้งสื่อสังคมที่สร้างทัศนะเชิงบวกต่อแบรนด์ด้วยการนำเสนอวัฒนธรรมที่ดีของสถุานศึกษาให้คนรับรู้ ทำให้สังคมภาคภูมิใจ และเมื่อถึงเวลาจะส่งลูกหลานเข้าเรียน คนจะนึกถึงสถานศึกษาของเราครับ

           4. การมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและการเรียนรู้ของผู้เรียน (Student engagement/learning) เราคงไม่สามารถคาดหวังให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี หรือสูงได้ถ้าผู้เรียนไม่เรียนรู้ ผู้เรียนที่ไม่มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างจริงจังนั้นมีแนวโน้มที่จะไม่เกิดการเรียนรู้ (จริง ผมเคยเขียนไว้ในหนังสือ “รู้งาน รู้ชีวิต” ในปี 2539 ว่า "ผู้เรียนคือต้นตอของการเรียนรู้ทั้งมวล) ผู้นำจำเป็นต้องเข้าใจว่าโรงเรียนที่ดีต้องสะท้อนชีวิตจริงและผู้เรียนต้องนำใช้สิ่งที่เรียนให้เกิดประโยชน์ได้โดยการใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ในการนำเสนอผลงานและการสื่อสารกับสังคมทั้งในประเทศและทั่วโลก 

             5. การพัฒนาและความเจริญงอกงามในวิชาชีพ (Professional growth/ development) ด้วยเทคโนโลยี (ดิจิทัล) อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โรงเรียนไม่ใช่ไซโล (​silo) ความรู้อีกต่อไปแล้ว และผู้นำก็ไม่ต้องรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดายที่ผู้คนเข้าถึงยาก และได้รับข้อมูลป้อนกลับ เทคโนโลยีปัจจุบันเป็นทั้งแหล่งข้อมูล แหล่งเรียนรู้ และเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด จงใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาตนเองและการพัฒนาวิชาชีพให้เกิดประโยชน์ครับ 

             6. ปรับวิสัยทัศน์พื้นที่การเรียนรู้และสภาพแล้วล้อมใหม่ (​​Reenvisioning learning spaces and evironments) คือหลังจากที่ผู้บริหารเข้าใจ (และทำตาม) หลักการเป็นผู้นำดิจิทัลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้นำก็จะเห็นว่าหลักเหล่านั้นจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนได้อย่างไร ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่จะทำความเข้าใจและเร่ิมปรับเปลี่ยนพื้นที่และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนและการนำใช้สิ่งที่เรียนรู้ในสภาพจริง ผู้นำต้องเร่ิมต้นสร้างวิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์ในการสร้างพื้นที่และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในโรงเรียนใหม่ในอันที่จะเอื้อและส่งเสริมการเรียนรู้ในโลกของเทคโนโลยีดิจิทัล ในการที่จะบรรลุวัตถประสงค์ดังกล่าว ผู้นำต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะและพลวัตรที่เป็นเนื้อในของนวัตกรรมพื้นที่การเรียนและสภาพแวดล้อม 

              7. สร้างโอกาส (​Opportunity) สิ่งสำคัญที่ผู้นำพึงกระทำคือการมุ่งมั่นในการหาทางปรับปรุงแผนงาน จัดหาทรัพยากร และการพัฒนาวิชาชีพอยู่เสมอ จากพลังร่วมในการดำเนินงานตามหลักการทั้งหกที่นำเสนอไปแล้วน้ัน จะเห็นความสำคัญและพลังของการใช้เทคโนโลยีในการสร้างโอกาสในการพัฒนางานในหลายมิติวัฒนธรรมของโรงเรียนซึ่งจะนำมาของความร่วมมือ โอกาส และทรัพยากรที่จะพัฒนาโรงเรียนต่อไป 

               ผมนำเรื่องนี้มาเล่าเพื่อชี้ให้เห็นว่า “ภาวะผู้นำดิจิทัล” ตามแนวคิดของ​ ​Sheninger นี้เป็นเพียงหนึ่งของภารภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล (แปลว่ายังมีรูปแบบอื่นอีก) และที่สำคัญเฉพาะแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำดิจิทัลก็มีหลายแนวคิดที่นำเสนอโดยนักวิชาการอีกหลายคน ดังนั้นถ้าจะทำวิจัยหรือเขียนหนังสือเกี่ยวกับ “ภาวะดิจิทัล” ก็ควรสังเคราะห์แนวคิดที่มีผู้เขียนเกี่ยวกับ “digital leadership” เป็นหลัก แต่ถ้าจะศึกษาเกี่ยวกับ “ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล” ต้องขยายกรอบการศึกษาให้คอบคลุมภาวะผู้นำอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับการนำในยุคดิจิทัล ซึ่ง ​digital leadership เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น และอื่น ๆ ก็มีอีก เช่น "ภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยน (transformational leadership) เป็นต้น 

สมาน อัศวภูมิ

22 มิถุนายน 2565

          

หมายเลขบันทึก: 703154เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2022 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2022 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นเนื้อหาที่ดีมากค่ะ

ของคุณมาก​ Paeng77 ด้วย Sheninger เขาเป็นคนเขียนเรื่องนี้เป็นกลุ่มแรก ๆ ครับ มีผู้อ้างเขาเยอะ แต่ยังมีสาระที่คาดเคลือนพอสมควร ผมเลยนำแนวคิดเขามาแชร์ และอีกเครื่องคือความเข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง digital leadership กับ​ leadership in digital era ซึ่งผมได้เขียนเกี่ยวกับประเด็นนี้ไว้ในบทเขียนก่อนหน้านี้ครับ สมาน อัศวภูมิ (25 มิถุนายน 2565)

ขออภัยที่พิมพ์ผิดไปหลายที่ ของคุณมาก ​ ที่ถูกคือ ขอบคุณครับ คาดเคลื่อน ที่ถูกคือ คลาดเคลื่อน อีกเครื่องคือ ที่ถูกคือ อีกเรื่องคือ

เป็นครั้งแรกที่ตอบข้อมูลป้อนกลับครับ ได้บทเรียนที่ต้องระมัดระวังมากเลยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท