การปลดล็อกกฎหมายกัญชากัญชง (3)


การปลดล็อกกฎหมายกัญชากัญชง (3)

17 มิถุนายน 2565

: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น)

 

(ข้อมูลดิบต่อตั้งแต่ 3 มิถุนายน 2565)

ข้อคิด“เป็นเวลากว่าหลายสิบปีที่กัญชาถูกทำให้กลายเป็นสมุนไพรซึ่งผิดกฎหมาย ด้วยอำนาจและผลประโยชน์ จากมือที่มองไม่เห็น ประชาชนที่เจ็บป่วยมากมายขาดโอกาสในการใช้ยาสมุนไพรราคาถูกในการรักษาโรค ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะตั้งคำถามกันในเรื่องนี้อย่างจริงจัง” (จาก khaoganja.com)

“โยนกัญชาให้หมาหมาชื่นชอบ พากันหมอบเมามายนอนหงายกลิ้ง สิ้นฤทธิ์เดชหยุดเห่าเพราะเมาจริง นอนกันนิ่งปกครองง่ายให้ควายนำ” (annomymous)

 

รายงานการวิจัยที่น่าสนใจ 3 เรื่อง

(1) ประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัญชา โดย R Suphanchaimat นพ.ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ และ โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, รพ.บ้านไผ่ สำนักงานเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, ใน วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2561, http://ihppthaigov.net/DB/publication/attachdomestic/291/Full-text.pdf 

 

บทคัดย่อ

กัญชาเป็นพืชที่มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและที่ก่อให้เกิดการเสพติดซึ่งมีทั้งประโยชน์และโทษหลายประการ กัญชา ถูกจัดไว้ในรายการยาเสพติดตามกฎหมายของหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ในปี พ.ศ.2558-2559 มีความเคลื่อนไหว จากหน่วยงานของทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย เรียกร้องให้มีการทบทวนแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เพื่อถอดกัญชาออกจากรายการยาเสพติดรายงานฉบับนี้จึงได้จัดทำขึ้น เพื่อทบทวนสถานการณ์ของการใช้กัญชาทางการ แพทย์ และประสบการณ์การเปิดเสรีการใช้กัญชาในต่างประเทศ (อาศัยประเทศเนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และอุรุกวัย เป็นกรณีศึกษา) งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัย คือ การทบทวนวรรณกรรมจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างย่ิง Medline และรายงานขององค์การอนามัยโลก ผลการศึกษาพบว่า งานวิจัยที่เกี่ยวกับกัญชาส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยในห้อง ปฏิบัติการหรือทำในสัตว์ทดลอง หากเป็นงานวิจัยในมนุษย์ก็มักเป็นงานวิจัยขนาดเล็กและมักเป็นการเปรียบเทียบผลการ รักษาด้วยกัญชากับยาหลอก การเปิดกว้างต่อการใช้กัญชาในต่างประเทศมีหลายระดับ ตั้งแต่อนุญาตให้ใช้ยาที่ผลิตจากสาร สกัดจากกัญชาเพื่อเป็นยาเสริม หรือใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาปกติ บางประเทศอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อการผ่อนคลาย บางประเทศลดโทษทางอาญาในการเสพและถือครอง แนวทางการเปิดกว้างการใช้กัญชาที่คล้ายกันในหลายประเทศ คือ 

(1) การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับกัญชามักทำในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และ 

(2) มีการวางมาตรการอื่นๆ เสริมอย่าง เข้มข้นเพื่อป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิดไปจากวัตถุประสงค์ของกฎหมาย 

หากประเทศไทยจะดำเนินนโยบายที่เปิดกว้าง ต่อการใช้กัญชา การแยกประเด็นอภิปรายเรื่องการเปิดเสรีการใช้กัญชาออกจากการใช้กัญชาทางการแพทย์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อลดความสับสนในการสื่อสารกับสังคม รวมถึงรัฐไทยพึงประเมินขีดความสามารถของตนว่าสามารถกำกับดูแล การใช้กัญชาได้มากน้อยเพียงใด

 

(2) ปัญหากฎหมายการเปิดเสรีกัญชาของประเทศไทยเปรียบเทียบญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา* (Law Problems of Cannabis Liberalization of Thailand Compare with Japan United Kingdom and The United States), โดย ศิวัช นุกูลกิจ Siwat Nukulkij มหาวิทยาลัยปทุมธานี Pathumthani University, Thailand.E-mail: [email protected], Received: 22 October 2020; Revised: 13 November 2020; Accepted: 3 December 2020, ใน วารสารปัญญาปณิธาน Pañña Panithan Journal, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2563) Vol.5 No.2 (July – December 2020), https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/download/247558/168671/870025

 

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายการเปิดเสรีกัญชาของประเทศไทย โดยพิจารณาจากปัญหา

(1) การเปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการ

(2) ผลกระทบจากการเปิดเสรีกัญชา

(3) มาตรการทางกฎหมายในการเปิดเสรีกัญชา โดยจะทำการศึกษาเปรียบเทียบกับของญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากเอกสารผลการวิจัยพบว่า

(1) การเปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการเกิดจากผู้เสพมีปัญหาส่วนตัว ครอบครัวเศรษฐกิจ การว่างงาน หนี้สินมาก เมื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ ก็ไปเสพกัญชาผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล รู้สึกสนุกสนาน เคลิบเคลิ้มมีความสุข จึงทำให้ประชาชนบางส่วนต้องการให้มีการเปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการ

(2) ผลกระทบจากการเปิดเสรีกัญชา จะมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ผู้เสพจะก่อให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ ในญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร ไม่อนุญาตให้เปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการ

(3) มาตรการทางกฎหมายในการเปิดเสรีกัญชาในประเทศไทย ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ไม่อนุญาตให้มีการเปิดเสรีกัญชาในด้านนันทนาการ เนื่องจากเกรงว่าจะมีผลกระทบในสังคม แต่อนุญาตให้เปิดเสรีกัญชาทางการแพทย์ หรืองานวิจัย เป็นต้น ส่วนในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลกลางจะอนุญาตให้เปิดเสรีกัญชา เพื่อใช้ในทางการแพทย์ การศึกษา วิจัย เพื่อประโยชน์ของทางราชการ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด แต่มีบางรัฐฝ่าฝืนกฎหมายของรัฐบาลกลาง โดยเปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการได้

ผู้วิจัยจึงเห็นว่า การเปิดเสรีกัญชาซึ่งมีพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลได้เสนอให้กัญชาเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่ก็มีเสียงคัดค้านว่าการเปิดเสรีกัญชา จะสร้างผลกระทบในด้านสังคม เพราะสังคมไทยขาดภูมิคุ้มกันในด้านการคิด หากเปิดเสรีกัญชาจะยิ่งทำให้ปัญหาเยาวชนไทย จากที่มีการเสพกัญชากันอย่างแพร่หลายยิ่งมากขึ้นไปอีก และกัญชาเป็นพืชที่มีสารออกฤทธิ์ที่มีผลต่อร่างกายและสมอง ถ้าเสพเข้าไปจะทำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายกับติดยาเสพติดประเภทอื่น ๆ สำหรับประเทศไทยจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ห้ามบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้รับอนุญาตจะผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง ถือว่าเป็นความผิด แต่อีกนัยหนึ่ง ก็สร้างความสูญเสียโอกาสทางการพัฒนาด้านการแพทย์ ยารักษาโรค ทำให้ไทยยังขาดดุลการค้า และพึ่งพาการนำเข้ายาจากต่างประเทศ แต่ในชนบทบางพื้นที่ หมอชาวบ้านยังคงมีการใช้กัญชาในการรักษาคนไข้ตามภูมิปัญญาดั้งเดิม จึงควรทำการศึกษาเปรียบเทียบการเปิดเสรีกัญชาของประเทศไทยเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลของแต่ละภูมิภาคแล้วนำผลดีมาใช้กับประเทศไทย

สรุป/ข้อเสนอแนะ

จากการที่ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหากฎหมายการเปิดเสรีกัญชาของประเทศไทยญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ทำให้ทราบมูลเหตุการณ์เปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการ การเปิดเสรีกัญชาในทางการแพทย์ ทราบถึงผลกระทบจากการเปิดเสรีกัญชาในประเทศไทยซึ่งทำให้เกิดผลเสียต่อสังคมอย่างกว้าง ทราบนโยบายในการป้องกันปัญหายาเสพติดตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายการเปิดเสรีกัญชาของต่างประเทศ จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 

(1) การเปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการกฎหมายต้องไม่อนุญาตให้เปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการ เนื่องจากผู้เสพกัญชาจะใช้กัญชาเป็นสิ่งผ่อนคลายความวิตกกังวล รู้สึกสนุกสนาน เคลิบเคลิ้มมีความสุข จะมีผลกระทบต่อผู้เสพเอง ต่อครอบครัวและสังคม เกิดความเสียหายระดับประเทศ ในประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ใช้กัญชาในการนันทนาการ แต่ในสหรัฐอเมริกาบางรัฐ สามารถใช้กัญชาในการนันทนาการได้ไม่ผิดกฎหมายของรัฐนั้น ๆ ในประเทศไทยจึงไม่สมควรที่จะเปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการ

(2) ผลกระทบจากการเปิดเสรีกัญชากฎหมายต้องอนุญาตให้เปิดเสรีกัญชาในทางการแพทย์ เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ทางด้านการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์หรือเภสัชกรรม หรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการเท่านั้น เนื่องจากการเปิดเสรีกัญชาจะทำให้ผู้เสพสามารถเข้าถึงกัญชาได้ง่ายขึ้น และจะมีผลกระทบตัวผู้เสพเอง สร้างความเดือดร้อนแก่ครอบครัว ด้านเศรษฐกิจ และสังคม เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ประเทศชาติจะขาดความก้าวหน้า คุณภาพของประชากรลดน้อยลงไป ในญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร จะไม่อนุญาตให้เปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการ ในประเทศไทยจึงไม่ควรเปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการ

(3) กฎหมายในการเปิดเสรีกัญชาในญี่ปุ่น มีกฎหมายควบคุมการนำเข้า ส่งออก การผลิต กัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ในสหราชอาณาจักร กฎหมายบัญญัติให้กัญชาเป็นยาเสพติดในบัญชี ข ห้ามมิให้ใช้ด้านนันทนาการ ห้ามการปลูก การผลิต การมีไว้ในครอบครอง หรือการปลูกกัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนายาที่ใช้กัญชาเป็นฐาน การวิจัยทางคลินิกขออนุญาตทำได้ ในสหรัฐอเมริกามีกฎหมายควบคุมยาเสพติดของรัฐบาลกลางควบคุมการผลิตนำเข้า ครอบครอง การใช้ และการกระจายตัวของสารบางชนิด แต่มีหลายรัฐไม่ยึดหลักกฎหมายของรัฐบาลกลาง โดยกำหนดให้กัญชา ใช้เพื่อความบันเทิงได้ด้วย ซึ่งก็เป็นส่วนน้อย ในประเทศไทยจึงไม่ควรเปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการ

 

(3) ปัญหาการพัฒนากฎหมายยาเสพติด: ศึกษากรณีการเปิดเสรีกัญชา. (Problems of Drug Law Development: Case Study of Cannabis Liberalization) โดย อัครพนธ์ เอี้ยวรัตนวดี, นักวิจัยอิสระด้านสาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330, Received: March 27, 2020 Revised: May 11, 2020 Accepted: May 22, 2020 ในวารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2563, http://www.niti.ubru.ac.th/lawjournal/fileuploads/2-2563/บทความ--อัครพนธ์.pdf 

 

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกฎหมายยาเสพติดต่อการพัฒนาการเปิดเสรีกัญชา ตลอดจนเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

ผลการศึกษาพบว่า กัญชาถูกจัดเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ภายใต้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แต่จากกระแสการปฏิรูปของนโยบายยาเสพติดในระดับนานาชาติ จึงมีความเป็นไปได้ต่อการพัฒนา เพื่อเปิดเสรีกัญชาหรือเพื่อสันทนาการ แต่ทั้งนี้ ในประเทศไทยนั้น ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาการเปิด เสรีกัญชานั้นคือ ผลจากข้อตกลงที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกภาคีในระดับนานาชาติ ประกอบกับบทบัญญัติของ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถดำเนินการพัฒนาเสรีกัญชา ได้ แต่อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าในการพัฒนานโยบายด้านการเปิดเสรีกัญชานั้นสามารถทำได้ในส่วนของการแก้ไขและปฏิรูปกฎหมายยาเสพติดภายในประเทศ และเจรจาต่อรองกับองค์การสหประชาชาติ โดยส่งผลดี ต่อนโยบายยาเสพติดของประเทศไทย คือ

1) ลดภาระด้านงบประมาณและงานพิจารณาคดีในระบบกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญา อีกทั้งลดจำนวนผู้ต้องขังในคดีใช้กัญชาที่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ทางการแพทย์มากยิ่งขึ้น,

2) ประชาชนได้บริโภคกัญชาที่มีคุณภาพอย่างแท้จริงภายใต้การควบคุมจากรัฐบาล,

3) นำระบบการควบคุมกัญชา คืนมาจากองค์กรอาชญากรรมมาสู่รัฐบาล,

4) ประเทศมีรายได้จากการเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นและ

5) ป้องกันเยาวชนที่เข้าถึงกัญชาโดยวิธีการควบคุมเช่นเดียวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่โดยรวมแล้ว ถือเป็นผลดีต่อการ พัฒนาการเปิดเสรีกัญชาในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ประเทศที่กัญชาถูกกฎหมาย (จากฐานเศรษฐกิจ)

กัญชาถูกกฎหมาย หรือ ปลดล็อกกัญชา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ประชาชนสามารถปลูกพืชนี้ได้ในครัวเรือนและเชิงพาณิชย์ ส่วนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่าย ทั้งอาหาร เครื่องสำอาง และยาสมุนไพร ยังคงต้องขออนุญาต

เพื่อเป็นการรับกระแสปลดล็อกกัญชาในไทย พาไปดูว่ามีประเทศไทยบ้าง “กัญชาถูกกฎหมาย” ทั้งนี้ประเทศที่มีการปลดล็อกกัญชาแล้วมีอยู่หลายประเทศและหลายภูมิภาคทั่วโลก แต่บางประเทศมีการปลดล็อกให้ใช้ได้อย่างเสรี บางประเทศ ปลดล็อกแค่เฉพาะใช้ในการแพทย์เท่านั้น

ประเทศที่มีกฎหมายที่ให้ใช้กัญชาแบบเสรีหรือถูกกฎหมายทั้งทางสันทนาการและการแพทย์ ได้แก่

แคนนาดา จอร์เจีย แอฟริกาใต้ อุรุกวัย 

ประเทศที่มีกฎหมายให้ใช้กัญชาเพื่อการแพทย์แบบถูกกฎหมาย และการใช้กัญชาเพื่อสันทนาการยังไม่ถูกกฎหมายแต่มีการจำกัดการใช้ นิรโทษกรรม และไม่ถูกบังคับ ได้แก่

เนเธอร์แลนด์ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย เบอร์มิวดา ชิลี โคลอมเบีย โครเอเชีย สาธารณรัฐเช็ค ฟินแลนด์เยอรมันนี อิสราเอล อิตาลี จาไมก้า ลักแซมเบริก มอลตา เปรู โปแลนด์ โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ 

ประเทศที่มีกฎหมายให้ใช้กัญชาเพื่อการแพทย์แบบถูกกฎหมาย แต่การใช้กัญชาเพื่อสันทนาการถือว่าผิดกฎหมาย ได้แก่

นอร์เวย์ ไซปรัส เดนมาร์ก กรีซ ไอร์แลนด์ ลิทัวเนีย มาซิโดเนีย ซานมารีโน ศรีลังกา อังกฤษ วานูอาตู ซิมบับเว นิวซีแลนด์ 

ประเทศที่มีกฎหมายให้ใช้กัญชาเพื่อการแพทย์และการสันทนาการแบบมีเงื่อนไข (จำกัดปริมาณ ใช้อนุพันธ์ของกัญชา หรือ ใช้ในบางรัฐ) ได้แก่

สหรัฐอเมริกา สเปน ออสเตรีย เบลเยียม บราซิล เอสโตเนีย เม็กซิโก สโลเวเนีย

 

ประเด็นปัญหาทางกฎหมายจากการปลดกัญชาออกจากยาเสพติด แต่ขาดกลไกการควบคุม (จากอุดม งามเมืองสกุล, 9 มิถุนายน 2565)

1. ทุกส่วนของกัญชาปลูก ครอบครอง ขาย เสพ ไม่ผิดกฎหมาย

2. สารสกัดจากกัญชาที่มี THC เกิน 0.2% โดยน้ำหนัก ยังถือเป็นยาเสพติด (ตรวจสอบอย่างไร)

3. สารสกัดจากกัญชาที่มี THC แม้ต่ำกว่า 0.2% โดยน้ำหนัก แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการสกัด (ขออนุญาตจากหน่วยงานไหน) ยังถือเป็นยาเสพติด

4. ไม่มีกฎหมายควบคุมการจำหน่วยแก่เด็กเยาวชน (น่าห่วงกังวลมาก หากเทียบกับสุรา/ยาสูบ)

5. การนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชาจากต่างประเทศต้องเป็นไปตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชา กัญชง พ.ศ.2565

6. โฆษณา จัดจำหน่าย ออดอ้างสรรพคุณว่าเป็นยา มีความผิดตาม พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510, พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562

7. หากนำมาเป็นอาหารเพื่อจำหน่าย ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานและการคุ้มครองผู้บริโภคพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522

8. กรณีขับขี่รถในขณะมึนเมากัญชา (แค่ไหนคือเมา) จะเป็นความผิดตามมาตรา 43 (2) พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 หรือไม่ (ตรวจสอบอย่างไร)

 

ข้อดีของการปลดล็อกกัญชาแบบบ้านๆ (เชิงประชดแต่จริง)

1. คนไทยเลิกทะเลาะเบาะแว้งกัน เพราะคนสูบกัญชาจะอารมณ์ดี หัวเราะได้ทั้งวัน

2. ลดปัญหาข่มขืน เพราะคนสูบกัญชามักจะไม่มีอารมณ์ทางเพศ

3. คนเสพยาบ้าลดลงหรือหมดไปเลย เพราะมีราคาแพง กัญชาถูกกว่าและไม่ผิดกฎหมาย

4. พ่อค้าแม่ค้าขนมหวาน น้ำแข็งไส ขายดีขึ้น เพราะคนสูบกัญชาชอบกินของหวาน

5. ลดปัญหาการฆ่าหรือทำร้ายพ่อแม่บุพการีและจับผู้อื่นเป็นตัวประกัน เพราะคนสูบกัญชาไม่เคยทำร้ายผู้ใด

6. ลดการทะเลาะวิวาทหรือตีกันหน้าเวทีหมอลำเพราะคนสูบกัญชาจะขี้ขลาดตาขาว ไม่สู้คน

7. ลดจำนวนคนดื่มเหล้า เพราะคนสูบกัญชาไม่นิยมดื่มเหล้าไปด้วย

8. ทำให้รัฐบาลได้รับเสียงสนับสนุนมากขึ้นจากนักร้อง นักดนตรี นักแสดง ศิลปินแขนงต่างๆ เพราะคนกลุ่มนี้ชอบสูบกัญชา

9. ลดรายจ่ายค่ากับข้าวในครอบครัว เพราะสูบกัญชาแล้วกินข้าวเปล่าได้เป็นหม้อๆ

10. ทำให้ต้มไก่อร่อย

 

อ้างอิง

กฎหมาย

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกระทำให้เกิดกลิ่น หรือ ควันกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใดเป็นเหตุรำคาญ พ.ศ.2565 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2565, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 134 ง วันที่ 14 มิถุนายน 2565 หน้า 2, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/134/T_0002.PDF

สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ.2565 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2565, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 137 ง วันที่ 16 มิถุนายน 2565 หน้า 9, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/134/T_0002.PDF?

 

ข่าว

จะเกิดอะไรขึ้น หลังปลดล็อกกัญชา พ้นยาเสพติด 9 มิ.ย. 65, ฐานเศรษฐกิจ, 5 มิถุนายน 2565, 11:55 น, ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,789 หน้า 5 วันที่ 5 - 8 มิถุนายน 2565, https://www.thansettakij.com/blogs/columnist/527362 

โดย เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด คณะแพทย์ นักวิจัย และนักวิชาการ ด้านยาเสพติด เยาวชน และสุขภาพจิตระดับประเทศ 20 คน ในฐานะ “เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด” 

สธ.แจง เจ้าหน้าที่เห็นสูบ “กัญชา”เอาผิดได้ ควันเป็น “เหตุรำคาญ” ต่างจากบุหรี่, ข่าวสดออนไลน์, 5 มิถุนายน 2565, https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7094507 

ราชทัณฑ์จ่อปล่อยตัวผู้ต้องขัง 4103 ราย หลังปลดล็อกกัญชา 9 มิ.ย.นี้, workpointTODAY, 6 มิถุนายน 2565, https://workpointtoday.com/marijuana-0606/ 

กัญชง กัญชา : “ปลดล็อก” แล้ว ปลูก ใช้ จำหน่าย อย่างไร ให้ถูกกฎหมาย, BBC News ไทย, 6 มิถุนายน 2565, https://www.bbc.com/thai/thailand-61703618 

วิธีจดแจ้งปลูกกัญชา กัญชง ผ่านแอปฯ “ปลูกกัญ” เช็กเลย 3 ขั้นตอนง่ายๆ, กรุงเทพธุรกิจ, 8 มิถุนายน 2565, 9:49 น., https://www.bangkokbiznews.com/news/1008756 

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ ห่วงพิษภัยกัญชา กระทบกลุ่มเปราะบาง หลังปลดล็อก 9 มิ.ย., 8 มิถุนายน 2565, https://siamrath.co.th/n/354920 

ประเด็นปัญหาทางกฎหมายจากการปลดกัญชาออกจากยาเสพติด แต่ขาดกลไกการควบคุม, อ้างจากเฟซบุ๊ก อุดม งามเมืองสกุล, 9 มิถุนายน 2565

5 ข้อหมอเด็กแถลงจุดยืนต่อกัญชาเสรี, สยามรัฐออนไลน์, 10 มิถุนายน 2565, https://siamrath.co.th/n/355701

ฮือฮา “ปลาร้ากัญชา” ในงาน “มหกรรม 360 องศา ปลดล็อกกัญชา”, สยามรัฐออนไลน์, 10 มิถุนายน 2565, https://siamrath.co.th/n/355705 

เจ้าหน้าที่หน่วยกองร้อยป้องกันชายเเดนที่ 1 คุมเข้มบริเวณรั้วชายแดนที่กั้นกลางระหว่างไทยและมาเลเซีย ในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยเฉพาะในจุดที่มีช่วงแคบ, ThaiPBS ศูนย์ข่าวภาคใต้, 11 มิถุนายน 2565

เกาะสมุยวางขายต้นกัญชาริมถนน, Thai PBS ศูนย์ข่าวภาคใต้, 12 มิถุนายน 2565, 20:29 น.

มาเลเซีย สั่งคุมเข้มที่ชายแดนทั้งทางบกและทะเล หลังไทยปลดล็อกกัญชา, Thai PBS ศูนย์ข่าวภาคใต้, 13 มิถุนายน 2565, 11:08 น.

โดยเจ้าหน้าที่ทางการมาเลเซีย ทั้งตำรวจและทหารจะเพิ่มการตรวจตราและเฝ้าระวังพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย ทั้งทางบกและทางทะเล เพื่อควบคุมการลักลอบนำเข้ากัญชาจากประเทศไทย

มหกรรมกัญชาบุรีรัมย์ ยอดเงินสะพัดเกือบ 10 ล้านบาท ต้นกล้า-หมดเกลี้ยง, ไทยรัฐออนไลน์, 13 มิถุนายน 2565 13:58 น., https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2417777 

มีรายงานพบผู้ป่วยเสพกัญชาเกินขนาด เสียชีวิต 1 คน อยู่ใน ICU 1 คน และป่วยอีก 2 คน ในพื้นที่ กทม., Thai PBS ศูนย์ข่าวภาคใต้, 14 มิถุนายน 2565, 15:11 น., https://news.thaipbs.or.th/content/316568 

ผู้ว่าฯออกประกาศ ให้โรงเรียนในสังกัด 436 แห่ง และร้านอาหารหน้าโรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดกัญชา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร

ช่วงนี้ขอถามอีกคำถามหนึ่งง่ายๆ ว่า “คุณจะห้ามการสูบกัญชาอย่างไร ในเมื่อการครอบครองกัญชาสามารถทำได้โดยเสรี ?”, อ้างจากเฟซบุ๊ก Chaturon Chaisang, 14 มิถุนายน 2565

กรมสุขภาพจิตห่วงประชาชนใช้กัญชาเปิดสายด่วน'ปรึกษากัญ1667', สยามรัฐออนไลน์, 15 มิถุนายน 2565, https://siamrath.co.th/n/356792 

ไม่ต้องโอเวอร์โดสก็ตายได้ เพจดังยกงานวิจัยต่างชาติ เตือนคนเป็นโรคหัวใจ ระวังใช้กัญชา, สยามรัฐออนไลน์, 15 มิถุนายน 2565, https://siamrath.co.th/n/356793

ยังคึกคัก ปชช.เข้าใช้แอปฯ “ปลูกกัญ” ทะลุ 38 ล้านครั้ง, สยามรัฐออนไลน์, 15 มิถุนายน 2565, https://siamrath.co.th/n/356804 

นายกฯจี้คุมกัญชา, สยามรัฐออนไลน์, 16 มิถุนายน 2565, https://siamrath.co.th/n/357143

วันที่ 16 มิถุนายน 2565 เวลา 09.30 น.,ข่าว workpointTODAY, กรมวิชาการเกษตร แจกกัญชาฟรี 2 ต้น ลงทะเบียนที่ ศวพ. หรือเว็บไซต์ https://register.doa.go.th/guncha/

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการ

เงื่อนไขการรับต้นกัญชาฟรีครัวเรือนละ 2 ต้น

1. จำกัดรับต้นกล้ากัญชา กัญชง 1 ครัวเรือน ต่อ 2 ต้น

2. ที่อยู่ (ตามบัตรประชาชน)

3. สถานที่รับต้นกล้ากัญชา กัญชง ต้องเป็นที่อยู่ตามบัตรประชาชน

4. ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2565 จนถึง 16 พฤศจิกายน 2565 หรือจนกว่าจะครบ 1 ล้านต้น

5. รับต้นกล้ากัญชา กัญชง ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาของกรมวิชาการเกษตร ครอบคลุม 77 จังหวัด

เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ตรวจสอบสิทธิรับต้นกล้ากัญชา กัญชง หลังจากลงทะเบียน 7 วัน ผ่านเว็บไซต์ของกรมวิชาการเกษตร

นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรได้ตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จพืชกัญชา กัญชง กระท่อม ที่ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสายด่วน (hotline) 1174

เครือข่ายองค์กรมุสลิม ค้านกัญชาเสรี, ThaiPBS ศูนย์ข่าวภาคใต้, 16 มิถุนายน 2565, https://fb.watch/dGTkpV2LH3/ 

 

บทความ

10 ข้อควรระวังใช้ผลิตภัณฑ์จาก “กัญชา”, ข้อระวังการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา ฉบับวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ของศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี, 8 มิถุนายน 2565, อ้างจาก เฟซบุ๊กอุดม งามเมืองสกุล, 9 มิถุนายน 2565,

ทุกส่วนของกัญชา รวมถึง “ช่อดอก” ถูกปลดพ้นบัญชียาเสพติดในประเทศไทย การปลูก การครอบครอง การขาย การเสพ ยังไม่มีกฎหมายที่จะมาใช้ในการกำกับดูแลด้านการบริโภค ซึ่งหากใช้ผิดวิธีหรือเกินความเหมาะสมอาจกระทบกับสุขภาพ และอาจะถูกผู้ประกอบการใช้ในการหลอกลวงสรรพคุณเกินจริง

สธ.เตรียมรองรับผลกระทบใช้ “กัญชา” ไม่เหมาะสม ย้ำ ห้ามจำหน่าย 3 กลุ่ม, Hfocus.org, 8 มิถุนายน 2565, https://www.hfocus.org/content/2022/06/25266 

เช็คลิสต์ประเทศ “กัญชาถูกกฎหมาย” หลังไทยปลดล็อกกัญชา, ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล, 10 มิถุนายน 2565 เวลา 9:27 น., https://www.thansettakij.com/general-news/528262 

ข้อดี ข้อเสีย ของน้องกัญ โดย Site กระท่อมกัญชา, https://sites.google.com/site/yudgvkjkjd/he-y-cring-xa/khxdi-khx-seiy

กัญชาถูกกฎหมาย จะช่วยหรือบ่อนทำลายประเทศชาติ, สถาบัน​สำรวจและติดตามการปลูกพืชเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม, ที่มา : http://www.khaoganja.com & https://www.oncb.go.th/ncsmi/cannabis2/กัญชาถูกกฏหมาย%20จะช่วยหรือบ่อนทำลายประเทศชาติ.pdf 

 

เผยแพร่ในเพจ สิทธิมนุษยชนและการแรงงาน, 17 มิถุนายน 2565, 

https://www.facebook.com/625602934236723/posts/pfbid02vdNokqVQuPZRNhFtBFqxWWYbJwhMxuh54p3Uk3vxcrNpicUARnDW1iji77zwhH3cl/?d=n 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท