จุดอ่อนที่เป็นโอกาสพัฒนางานวิจัยทางการพยาบาล


“GAP ของน้องๆ ส่วนใหญ่…จะมอง Nursing ไม่ออก ทำงานจนเพลินจนเนียนเนื้อ ต้องย้ำกันบ่อยๆ ค่ะ ว่า…อะไรคือ Activity และ Process ของ Nurse ตลอดจน Outcome และ KPI ของ Nurse”

 

ในการขับเคลื่อนงานงานวิจัยทางการพยาบาล…

หัวใจสำคัญต้องวิเคราะห์ให้ออกเกี่ยวกับกิจกรรมทางการพยาบาล ส่วนใหญ่มักมุ่งไปทางการรักษาและผลลัพธ์จากการรักษา มากกว่าผลลัพธ์ที่น่าจะเกิดหรือได้จากกิจกรรมการพยาบาล หรือการพัฒนากระบวนการทางการพยาบาล

จากที่ได้คลุกคลีและลงหน้างาน

พบว่า… เราทำ Routine จนคุ้นชินและเพลิน เมื่อถูกถามในมิติ Out come ทางการพยาบาลเราก็มักจะหลงลืม

นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายของการขับเคลื่องานวิจัยทางการพยาบาลเพื่อให้ได้ผลงานและองค์รู้ใหม่ๆ 

14-06-65

หมายเลขบันทึก: 703048เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2022 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2022 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ถ้าระดับ ชนพ และ ชช

เราควรใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล เพราะจะกล่าวหลักการนำโปรแกรมทางการพยาบาลมาใช้ ตามขั้นตอน และผลลัพธ์ที่เป็น Nursing outcome ชัดเจน สามารถหาถึง clinical outcome ก็ได้ค่ะ

โปรแกรมการพยาบาลที่เรานำมาใช้ ต้องนำผลวิจัยที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนา เพื่อให้ได้ well program ค่ะ

ส่วน nursing outcome ดูจากตัวชี้วัดของสภาการพยาบาลก็ได้ หรือ การสอนน้องให้ทำวิจัย หัวข้อ outcome research เน้นบ่อยๆเลยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะพี่แก้ว เป็นความเห็นที่มีคุณค่าและมีความหมายก่อเกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานวิจัยต่อเลยค่ะ

ประสบการณ์การเป็นพี่เลี้ยงในการทำผลงาน ถึงระเบียบวิธีวิจัยถูกต้องทุกอย่าง แต่ผลงานไม่ได้แสดงถึงการพัฒนางานในหน้าที่ ผลลัพธ์ที่วัดไม่บ่งบอกถึง nursing outcome ถึงแม้ว่าพยาบาลจะมีส่วนที่ทำให้เกิด outcome ตัวนั้นก็ตาม งานเรื่องนั้นก็ไม่ผ่านค่ะ

ใช่เลยค่ะพี่แก้ว …อย่างเช่นมักไปตอบตัวชี้วัดของ service plan และใน service plan เองก็ไม่ได้มีการระบุ nursing outcome ดังนั้นพยาบาลต้องมากำหนด KPI ของ Nurse ในแต่ละสาขา

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท