929. จากหมดไฟมามีไฟสุดๆด้วย Appreciative Inquiry


โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์

ที่ปรึกษาการพัฒนาองค์กรแนว Appreciative Inquiry

ปัญหาที่ผมถูกถามล่าสุดคือหมดไฟทำอย่างไร อาจารย์จะใช้ Appreciative Inquiry มาช่วยได้อย่างไร

Appreciative Inquiry คือการร่วมการสิบค้นสิ่งดีๆ ประสบการณ์ดีๆ ที่อยู่ในตนเอง ในสิ่งแวดล้อมทั้งในอดีต ปัจจุบัน ไกล้ตัว ไกลตัวได้หมด มีวงจรง่ายๆ เรียกว่า  Define จะ Focus เปลี่ยนอะไร จากลบเป็นบวก Discovery ตั้งคำถามสืบค้นเรื่องดีๆ Dream การเอาเรื่องดีๆ มาสร้าง Purpose/Vision/Mission จากนั้นก็ Design การออกแบบกลยุทธ์ Design การลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลง

มาเร่ิมกันเลยครับ

Define จะ Focus เรื่องอะไร ในที่นี่ Focus เรื่องหมดไฟ แต่ต้องเปลี่ยนเป็นการ Fous ด้านบวก คือทำอย่างไรจะมีไฟ อาจ Focus ไปอีกว่าเป็นการทำงาน การใช้ชีวิต ครอบครัว เพื่อน สำหรับงานนี้เป็นเรื่องงาน ก็ต้องตั้งโจทย์ว่าทำอย่างไร จะมีไฟในการทำงาน   จากนั้นมาตั้งคำถามเชิงบวกเพื่อค้นหาประสบการณ์ดีๆ กัน เราเรียกว่า Discovery  น่าจะได้สองสามประเด็น แล้วลองถามๆ ดูในองค์กร หรือถ้าแก้ปัญหาตัวเองก็ถามตัวเอง

1. “ตอนมีไฟ คุณนึกถึงเหตุการณ์ไหน มันเกิดขึ้นยังไง อะไรเป็นสาเหตุ”   เช่น ผมไปเรียน Positive Psychology ที่อังกฤษเมื่อสี่ห้าปีก่อน ดีมากๆ ได้ทำ workshop ทดลองจริง ประมาณต้องทำ paper ส่งหลังกลับมาหนึ่งปีมันดีมากๆ เกิดไฟเลย เพราะได้ทดลองเอามาใช้ในชีวิตจริงๆ แล้วต้องเก็บข้อมูลส่งอาจารย์เป็นเวลา 1 ปี เห็นโอกาสในชีวิตอีกเยอะ รวมทั้งเห็นโอกาสเอาความรู้ไปสอน ไปช่วยคนได้อีกมาก  สรุปคือได้ไปเรียนอะไรใหม่ๆ แล้วเอาไปทำจริงทำให้เห็นโอกาส

2. “จากหมดไฟแล้วมามีไฟ คุณนึกถึงเหตุการณ์ไหน มันเกิดขึ้นยังไง อะไรเป็นสาเหตุ”  เกิดจากการถูกท้าทายเรื่องความรู้ ว่าที่เรากำลังพูดนี่เรื่องสัตว์สี่ทิศนี่เขาก็เรียนมาเป็น license มันเป็นของสำนักหนึ่ง เขาสอนมาหลายสิบรุ่นแล้ว   เลยรู้สึกอึดอัดว่าสอนเรื่องนี้ไม่ได้ เลยไปลงลึกเรื่องสัตว์สี่ทิศ ไปซื้อตำรามาสี่ห้าเล่ม ปรากฏว่าเรื่องนี้เป็นคำสอนของคนอเมริกันพื้นเมือง ไม่ใช่เป็นคนรุ่นใหม่คิด มีไปถึงอินคา มายันโบราณ มันคล้ายๆ กันมีเป็น 100 แบบ และหลากหลายการประยุกต์ ทั้งแบบโบราณและแบบใหม่ เลยสบายๆใจ ตอนนี้พัฒนาเป็นหลักสูตรใหม่ๆ เพียบ สรุปสาเหตุคือ มีไฟ เพราะได้ค้นคว้าเจอความรู้ที่ทำให้ก้าวข้ามความอึดอัด เพราะไม่อยากเอาเปรียบใคร

3. “นึกถึงใครที่มีไฟสุด เขาไม่เหมือนคนอื่นตรงไหน”  เห็นเพื่อนร่วมงาน พอดีไปเจออะไรใหม่ๆ เลยพัฒนามาเป็นธุรกิจของเขา ประมาณไปเจอวิทยากรต่างชาติเลยไปเรียนต่อแล้วเอา Model และ Connection ของเขามาต่อยอดเมืองไทย นี่ชัดเลยสาเหตุคือคือไปเจอสิ่งใหม่ๆ แล้วเอามาขยายผลตอ

จะเห็นว่าไม่วาจะเป็นคำถามไหนก็มีอะไรเหมือนกันคือการได้ความรู้ใหม่ๆ ทำให้เห็นโอกาสแล้วเอามาเชื่อมโยงเป็นโอกาสใหม่ๆ ตรงนี้เขาเรียกว่า Positive Core จากนั้นมา Dream คือวิสัยทัศน์

Dream คือ What’s the world is calling for?  ท่านจะสร้างความแตกต่างอะไรให้โลกใบนี้  (Purpose/Mission/Vision)

Purpose อยากเอาความรู้ไปทำให้คนไทยมีชีวิตที่ง่ายขึ้น

Mission

เอาเรื่องผู้นำสี่ทิศไปช่วยคน

เอาจิตวิทยาเชิงบวกไปขยายผลในกลุ่มต่างๆ ที่ต่างออกไปจากโลกของธุรกิจ

สุดๆ กับ Appreciative Inquiry เอามาสร้าง Model ใหม่ๆ

ไปเชื่อมโยงกับคนเก่งๆ ระดับโลก

Vision จะเกิดอะไรดีๆ ขึ้นใน 5-10-15 ปี ชัดมากๆ คนไทยจำนวนมากจะมีความสุข ชีวิตดีกว่าเดิม มีเครื่องมือง่ายๆ มาใช้ในการทำงาน ไม่หมดไฟ ต่อให้หมดไฟ ก็จะค้นพบวิธีการ แถมกลายเป็นโอกาสใหม่ๆ 

จากนั้นมา Design หรือออกแบบ แปลว่า จะทำอะไรให้ต่างออกไปจากวันนี้ ผมก็คิดว่า พัฒนา Model ใหม่ๆ ต้องรีบออกแบบหลักสูตรแล้วสอนเลยภายในเดือนนี้

สำหรับจิตวิทยาเชิงบวก ตอนนี้ยังไม่ได้เครื่องมือมาใช้อีกเพียบ ต้องพัฒนาหลักสูตรใหม่อีก

จากนั้นก็ทำจริง เราเรียกว่า Desitny คือการลงมือเปลี่ยนแปลง

Destiny ตอนนี้ผมประยุกต์แนวคิดใหม่เข้ามาอีกเอา ออกแบบขั้นตอนนี้

1.แรงบันดาลใจ ว๊าวถ้าสำเร็จ ชีวิตมั้นคง สนุกขึ้นอีกจม คนได้ประโยชน์ด้วย เกิดวิชาการมุมใหม่ๆ ไม่เหมือนใคร

2.Skill ต้องเรียนอะไรใหม่อีก หาอ่านเรื่องการตลาด เพราะจะต้องไปเผยแพร่อีก ส่วนเรื่องสี่ทิศไปอ่านฝั่งสาย Application ด้านจิตวิทยาเพิ่มจะได้ลึกไปอีก

3.แนวร่วม นึกถึงลูกศิษย์และเพื่อน

4.สร้างแนวร่วมยังไง ไปเล่าให้ฟัง แล้วชวน Co-create สร้างสรรค์หลักสูตรร่วมกัน

5.รางวัล ถ้าสำเร็จ ได้หลักสูตรใหม่ 1 หลักสูตรจะไปกินหมูกะทะกับเพื่อน

6. โครงสร้าง ถ้าหมดไฟอีกก็อ่านอีก แล้วสนุกไปเลย ใครทำให้คุณหมดไฟเดินไปหา เดวอาจเจอโอกาสใหม่ๆ อีก และใครเจ๋งๆ ก็ไปหาจะได้โอกาสใหม่ๆ เช่นกัน น่าสนุก

และสุดท้ายทำแล้วนัดประเมิน ปรับเปลี่ยน วัดผลกันเรื่องระดับการมีไฟมีมากขึ้นไหม และมีหลักสูตรเพิ่มไหม

นี่ครับ Appreciative Inquiry สำหรับโจทย์

และคุณล่ะ คิดอย่างไร

 

สงวนลิขสิทธิ์บทความ @ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2565

 

 

หมายเลขบันทึก: 702206เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2022 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2022 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท