ม ห า วั น ร.ศ.๑๓๘๔ ตอนที่ ๒


บันทึกตอนที่ ๑ หมายเลขบันทึกสวยมาก  ๆ

สามารถอ่านได้ที่  https://www.gotoknow.org/posts/702200

 

จริง ๆ ตั้งใจจะถอดบทเรียนธรรมไว้ในบันทึกแรก แต่ความอบอุ่นแห่งความรักความผูกพันธ์

งดงามยิ่งนัก จึงบันทึกอารัมภบทไว้ยาวไปหน่อย

 

เพราะฉะนั้นในบันทึกที่ ๒ นี้จะมุ่งตรงเข้าสู่ธรรมให้ได้ หนอ

 

 

ความงดงามที่ลึกเข้าไปนั้น คือ ความงดงามของชีวิต

ยกตัวอย่าง มนุษย์ “แม่” ท่านเป็นคนที่เข้มแข็งมากคนหนึ่ง

เพราะในชีวิตของท่านนั้น ผ่านร้อน ผ่านหนาว ความสุข ความทุกข์มามากเหลือเกิน

ถ้าเทียบกับหนัง (ตอนเด็กผมชอบโดดบ้านไปดูหนังแทบทุกครั้งที่มีหนังกลางแปนมาฉาย)

เป็นหนังหลายเรื่อง ทั้งสุข เศร้า เหงา และ ทุกข์ หนอ

ยกตัวอย่าง เช่น 

 

ในด้านความสุข ความสำเร็จในชีวิตของความเป็นมนุษย์ 

  • ท่านเป็นแม่ดีเด่น
  • น้องชายท่านเป็นนายก อบต.
  • ลูกชายเป็นกำนัน
  • ลูกชายเป็น ดร.
  • ฯลฯ

 

 

 

ความเป็นจริงของสรรพสิ่ง คือ อนิจจัง “ทุกขัง” และ อนัตตา

โลกนี้ ในเมื่อมีสุขมาก เป็นธรรมชาติ ก็มีทุกขังเป็นธรรมดา เช่นกัน หนอ

 

ไม่กี่วันก่อนเดินทางไปกราบแม่ในวันปีใหม่ไทย 

ผมบังเอิญอ่านเจอ ประมาณนี้ หนอ
---------------------------------------------------------------

การตอบแทนคุณบิดามารดา ผู้เป็นบุตรธิดาสามารถกระทำได้ 3 ระดับ ดังนี้

1. ระดับต้น การตอบแทนทางกาย บุตรธิดาควรเลี้ยงดูบิดามารดาให้สะดวกสบายทางร่างกายตามความเหมาะสมแก่อัตภาพและฐานะแห่งตน ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่มีความสะอาด ถูกสุขอนามัย ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ช่วยงาน แบ่งเบาภาระของบิดามารดา

2. ระดับกลาง การตอบแทนทางใจ บุตรธิดาควรเลี้ยงดูจิตใจบิดามารดาให้มีความสุขสบายใจรักษาทรัพย์มรดกที่บิดามารดาหามาได้และเพิ่มพูนทรัพย์ต่าง ๆ ให้มากขึ้นด้วยความสุจริต กระทำตนให้บิดามารดาภาคภูมิใจ จากการประสบความสำเร็จในชีวิต เช่น การศึกษา อาชีพ หน้าที่การงาน

เป็นต้น ไม่กระทำตนเองให้เป็นที่หนักอกหนักใจแก่บิดามารดา ด้วยการประพฤติตนเป็นคนไม่ดี เช่น การประพฤติทุจริตกรรมต่าง ๆ แม้เพื่อนำปัจจัย 4 เหล่านั้นมาให้หรือเลี้ยงดูบิดามารดา และบุตรธิดาทั้งหลายไม่ทะเลาะกันเป็นต้น

3.ระดับสูง การตอบแทนทางทิฏฐิ บุตรธิดาควรส่งเสริมหรือปรับเปลี่ยนให้บิดามารดามีความเห็นที่ถูกต้อง ซึ่งมีกล่าวไว้ 4 ประการ ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก อังคุตรนิกาย ทุกนิบาต เล่มที่ 20 ข้อ34 หน้า78 (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539: 20/34/78) ดังนี้

3.1 บิดามารดาไม่มีศรัทธาที่ถูกต้อง บุตรธิดาช่วยส่งเสริมสนับสนุนหรือปรับเปลี่ยนบิดามารดาให้สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในศรัทธาที่ถูกต้องสมบูรณ์ มีโอกาสทำบุญให้ทานเป็นต้น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนทัศนคติ ความคิดความเชื่อของบิดามารดาให้ถูกต้อง

3.2 บิดามารดาไม่มีศีล บุตรธิดาช่วยส่งเสริมสนับสนุนหรือปรับเปลี่ยนบิดามารดาให้สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในศีล โดยพฤติกรรมทางกายเว้นจากการทุจริต มีการเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตเบียดเบียนทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นเป็นต้น และเว้นจากวาจาทุจริต มีการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ โดยเปลี่ยนมาเป็นสัมมาวาจามีพูดคำจริง คำที่ประสานสามัคคี คำไพเราะ คำมีประโยชน์และเหมาะกาล ซึ่งเป็นคำพูดที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนและบุคคลอื่น

3.3 บิดามารดาไม่มีการบริจาค บุตรธิดาช่วยส่งเสริมสนับสนุนหรือปรับเปลี่ยนบิดามารดาให้สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในความยินดีบริจาค เสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว สร้างประโยชน์แก่ตนและสังคมได้ หรือมีโอกาสในการฟังธรรมและปฏิบัติธรรม

3.4 บิดามารดาไม่มีปัญญา บุตรธิดาช่วยส่งเสริมสนับสนุนหรือปรับเปลี่ยนให้สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในปัญญา หรือมีโอกาสในการเจริญจิตภาวนา เห็นความจริงของชีวิต เข้าถึงสัจธรรมบรรลุเป้าหมายสูงสุด คือโลกุตรธรรม

หน้าที่ของบุตรธิดาในระดับสูง เป็นการตอบแทนสูงสุดที่บุตรธิดาทำได้ยาก เพราะช่วยปิดทางไปสู่อบายภูมิหรือนรก ในขณะเดียวกันก็เปิดทางสวรรค์และพระนิพพานให้บิดามารดาเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดที่มนุษย์พึงถึง ซึ่งเป็นที่พึ่งอันเกษมของมนุษย์ทั้งหลาย

---------------------------------------------------------------
 

ผมไม่ได้ความว่า ท่านบกพร่อง ในข้อ 3.

แต่ผมหมายถึงว่า ท่านเมตตาส่งเสริมสนับสนุนผมจนเรียนจบเป็น ดร.

มีหน้าที่การงานที่ดีในชีวิต ทำให้ได้มี “โอกาส” ได้ศึกษาปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่มากกว่า

ท่านที่ต้องมีภาระรับผิดชอบดูแลลูกหลานหลายคน ทั้งที่ช่วยเหลือตนเองได้ และ ไม่ได้

จึงมีโอกาสได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ไม่เต็มที่ 

 

แต่ก่อน ผมจะเพียรพยายามทำแค่ข้อ 1 กับ 2 

เพราะคิดว่า ข้อ 3. จะเกินเลยไปในบทบาทของความเป็นลูก

 

 

แต่เมื่อได้อ่านความรู้ข้างต้นแล้ว 

วันนี้ผมตัดสินใจเอ่ยปากขอให้แม่เข้าวัดปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น 

ท่านก็เอ่ยกลับมาว่า ท่านเข้าวัดปฏิบัติธรรมมากขึ้นบ้างแล้ว หนอ

สาธุ สาธุ สาธุ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 702201เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2022 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2022 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท