ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ปัญหาท้าทายรัฐบาล


ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ปัญหาท้าทายรัฐบาล

15 เมษายน 2565

: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น)[1]

 

ปัญหา “ฝุ่นละออง PM2.5” กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ 

 

ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 17 มีนาคม 2558 มอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นเจ้าภาพหลักบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินการป้องกันและแก้ไข “ปัญหาหมอกควัน” อย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ (มติ ครม.เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2558) ซึ่งปัญหาฝุ่นพิษขนาดเล็ก (PM2.5) มีปริมาณฝุ่นละอองที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะภาคเหนือ 9 จังหวัดภาคเหนือ(ตอนบน) เขตภูเขา ในช่วงหน้าแล้งจะมีมากขึ้น ซึ่ง “จังหวัดเชียงใหม่” ครองแชมป์เมืองมลพิษสูงที่สุดในโลกมาตลอดกว่า 10 ปี ไม่แพ้ฝุ่นมลพิษที่เกิดจากควันรถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานครที่เกินเกณฑ์มาตรฐานในหลายพื้นที่เช่นกัน

 

ค่ามาตรฐานความปลอดภัยของฝุ่น PM 2.5 ตาม WHO กับแผนจัดการฝุ่นละออง PM2.5 ของไทย

รัฐบาลโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ซึ่งมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นกรรมการและเลขานุการ[2] อ้างว่า มี “แผนบริหารจัดการ PM2.5” คือ แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง”(2563) [3] อยู่แล้ว แต่ข้อเท็จจริงนั้นเห็นว่า แผนดังกล่าวใช้ไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากบริบทของปัญหาฝุ่นพิษมีมากมาย แตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ ชุมชนเมือง ชุมชนชนบท ท้องที่การเกษตร ป่าเขาฯลฯ 

ปัญหาสำคัญที่ทำให้รัฐบาลแก้ปัญหา PM2.5 ล้มเหลวประการสำคัญ คือ “ค่ามาตรฐาน PM2.5W ตามประกาศของ กก.วล. มีตัวเลขสูงมากเมื่อเทียบกับตัวเลขที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด[4] คือ ค่ามาตรฐานความปลอดภัยของฝุ่น PM 2.5 ให้สูงขึ้น กล่าวคือ ค่าเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ที่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยจะไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) จากเดิมที่ 10 มคก./ลบ.ม. และค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม. จากเดิม 25 มคก./ลบ.ม. การปรับครั้งนี้ทำให้ค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ของไทยตามหลังเกณฑ์แนะนำของ WHO หลายเท่าตัว โดยปัจจุบันค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ของไทยเฉลี่ยรายปีคือไม่เกิน 25 มคก./ลบ.ม. และเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.

สรุปว่าค่าที่[5] “เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ” (PM2.5 = 51-90 มคก./ลบ.ก.) และหากค่าเกิน 200 “ทุกคน” ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือเป็นค่า “มีผลกระทบต่อสุขภาพ” (PM2.5 = น้อยกว่า 90 มคก./ลบ.ม) 

จากมาตรฐานที่ต่างจาก WHO กำหนดไว้ที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในระยะเวลา 24 ชม. ดังกล่าว จึงมีชาวบ้านได้ยื่นฟ้อง “คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมชาติแห่งชาติ” (กก.วล.) ต่อศาลปกครองเชียงใหม่[6] ซึ่งศาลได้มีคำสั่งรับฟ้องและสั่งให้ กก.วล. ทำคำให้การแก้คำฟ้องยื่นต่อศาลปกครอง แต่ กก.วล. ไม่ทำคำให้การแก้คำฟ้องยื่นต่อศาลตามกำหนดเวลา กก.วล. ได้ขอขยายเวลาทำคำให้การแก้คำฟ้องยื่นต่อศาลถึง 4 ครั้ง เมื่อคราวศาลเรียกไต่สวนคู่ความในคดีหมายเลขดำที่ ส.1/2564 ว่ารัฐบาลมีแผนบริหารจัดการฝุ่นละอองขนาดเล็ก “PM2.5” ให้หมดสิ้นไปโดยรัฐอ้างว่า “ไม่จำเป็นประกาศเขตควบคุมมลพิษ” ตามคำขอท้ายฟ้องในคดีดังกล่าว ที่ให้ กก.วล. ประกาศเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่ 4 จังหวัด คือเชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน, แม่ฮ่องสอน 

ซึ่งต่อมาศาลปกครองเชียงใหม่มีคำพิพากษาให้ กก.วล. ประกาศเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่ 4 จังหวัดดังกล่าว โดยอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ผู้รับมอบอำนาจจาก กก.วล.(ผู้อุทธรณ์) ตามมติ กก.วล.ในคราวการประชุมครั้งที่ 3/2557 เมื่อ 17 ธันวาคม 2557 อธิบดี คพ.ได้ยื่นคัดค้านคำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ดังกล่าว ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด ตามคดีหมายเลขดำที่ ส.1/2564 คดีหมายเลขแดงที่ ส.1/2564 (8 เมษายน 2564) 

เห็นได้ชัดเจนว่า ตามแผนบริหารจัดการ PM2.5 ที่ กก.วล. ได้อ้างต่อศาลปกครองนั้นใช้ไม่ได้ผลในทางปฏิบัติจริง แน่นอนว่า สองปีที่ผ่านมาเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าในพื้นที่ภาคเหนือได้ลดลงจริง แต่ปริมาณ PM2.5 ไม่ได้ลดลงไปด้วย เพราะแหล่งกำเนิด PM2.5 ไม่ได้มีเฉพาะแหล่งกำเนิดจากไฟไหม้ป่าเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลให้ความสนใจแต่ไฟไหม้ป่าโดยละเลยแหล่งกำเนิด PM2.5 อื่น ปัจจุบันอยู่ในระหว่าง กก.วล.อุทธรณ์ต่อศาลสูง สรุปสาระสำคัญคำฟ้องคดีก็คือ เพื่อให้ กก.วล. ประกาศมาตรฐาน PM2.5 “ให้มีค่าเฉลี่ย 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร” ในระยะเวลา 24 ชม.[7] ตามค่าเฉลี่ยรายปีของไทยคือไม่เกิน 25 มคก./ลบ.ม. และเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.

 

มีคำถามว่ามาตรฐาน PM2.5 มีผลต่อการแก้ไข “ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” อย่างไร 

การแพร่กระจายฝุ่นพิษ PM2.5 เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย ตัวฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่นๆ[8] ผลกระทบจากฝุ่นพิษ PM2.5 มีได้หลายรูปแบบ[9] ตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ มีอาการอักเสบแฝงในระบบอวัยวะจนเกิดอาการผิดปกติ ซึ่งเกิดได้ทั้งฉับพลันทันทีทันใด และแบบเรื้อรัง โดยผลกระทบตามระยะต่างๆ อาจทำให้เกิดโรคขึ้นใหม่ หรือทำให้โรคเดิมรุนแรงขึ้นทำให้เซลล์ของอวัยวะต่างๆ เสื่อมจนทำให้อวัยวะทำงานเสื่อมเร็วและรุนแรงขึ้นอาจทำให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง มีผลกระทบต่อระบบอวัยวะสำคัญหลักในการดำรงชีวิต ทั้งต่อระบบการหายใจ ระบบหัวใจ ระบบหลอดเลือด ระบบสมอง

จากหลักการแพทย์ระบุว่า มนุษย์เราอยู่ในสภาพอากาศที่มี PM2.5 ปริมาณมากเกิน 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในระยะเวลา 24 ชม. ตามที่ WHO กำหนดจะมีอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะคนป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ จึงต้องกำหนดให้มาตรฐาน PM2.5 ให้มีปริมาณในระดับที่ร่างกายรับได้ อันเป็น “ข้อบังคับสำคัญ” ที่รัฐบาลต้องควบคุมไม่ให้ PM2.5 มีปริมาณมากจนเกินกว่ามาตรฐานโลกที่กำหนดไว้

ข้อสังเกตในสาเหตุประการสำคัญที่ทำให้รัฐบาลแก้ปัญหา PM2.5 ไม่ได้ เพราะแหล่งกำเนิด PM2.5 ส่วนหนึ่งมีคนเป็นผู้ก่อขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย[10] โดยมีนายทุนผู้เป็นเจ้าของกิจการขนาดใหญ่เกี่ยวข้อง ซึ่งนายทุนเหล่านี้อยู่เบื้องหลังรัฐบาลมาตลอด ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงไม่กล้าแก้ปัญหา PM2.5 อย่างจริงจัง โดยเฉพาะแหล่งกำเนิด PM2.5 ที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมและแปลงเกษตรขนาดใหญ่ เช่น ไร่อ้อย แน่นอนว่า ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาทุกรัฐบาลไม่มีนโยบายแก้ปัญหา PM2.5[11]ที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมได้

ปัจจุบันปัญหา PM2.5 เป็นปัญหาที่ท้าทายอำนาจรัฐ เพราะมีผลกระทบหลายด้าน[12]มิใช่มีผลกระทบเพียงต่อสุขภาพของประชาชนเท่านั้น และประชาชนยังมีความรู้เกี่ยวกับปัญหา PM2.5 น้อยมากหรือไม่รู้เรื่องก็มีมิใช่น้อย ปัญหา PM2.5 สะสมมานานจนประชาชนคุ้นเคยชินแล้ว จึงไม่เห็นถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น ประกอบกับปัญหา PM2.5 เพิ่งเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมโลกอย่างจริงจังไม่กี่ปีมานี้ สืบเนื่องมาจากปัญหาโลกร้อน (Global Warming)[13] จากปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green House Effect)[14] ที่มีผลจากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นมาก ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงไม่สนใจแก้ปัญหา PM2.5 เพราะไม่มีประชาชนออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหา แม้มีนักวิชาการและ NGOs ออกมาเรียกร้องอยู่บ้างแต่คนกลุ่มนี้มีจำนวนน้อยเพียงหยิบมือ จึงไม่มีผลต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล รัฐบาลจึงเพิกเฉยต่อปัญหา PM2.5 อย่างจริงจังมาโดยตลอด ดังนั้น พื้นที่ชนบทที่มีปริมาณ PM2.5 และมีคนยากจนอยู่เป็นจำนวนมาก PM2.5 มีผลต่อสุขภาพโดยตรงต่อประชาชนคนยากจน ปัญหา PM2.5 ใหญ่โตเกินกำลังที่คนยากจนจะแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ จึงจำเป็นที่ประชาชนทุกคนต้องไม่เพิกเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้มีภาพปัญหาได้ปรากฏตามสื่อต่างๆ ในทุกช่องทาง ต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหา PM2.5 อย่างจริงจัง มิใช่ปล่อยให้รัฐบาลแก้ปัญหาไปเรื่อยๆ อย่างที่เห็นจนชินตาไปทุกวัน โดยที่ปัญหาไม่ได้ถูกแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมตามที่เห็น

 

กล่าวโดยสรุป นอกจากรัฐบาลต้องทำให้แผนบริหารจัดการ PM2.5 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้ปัญหา PM2.5 เป็นวาระแห่งชาติมีผลทางปฏิบัติแล้ว รัฐบาลต้องประกาศมาตรฐาน PM2.5 ให้มีค่าเฉลี่ยไม่เกิน 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในระยะเวลา 24 ชม. โดยขณะนี้ร่างประกาศดังกล่าวได้ผ่านการรับฟังความเห็นจากประชาชนแล้ว


 

[1]Phachern Thammasarangkoon & Bhumi Wachara Charoenplidpol, ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น), บทความพิเศษ, สยามรัฐออนไลน์, 22 เมษายน 2565, https://siamrath.co.th/n/341592 

[2]ดู พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 37 วันที่ 4 เมษายน 2535 หน้า 1, พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 พ.ศ.2545, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 102 ก วันที่ 8 ตุลาคม 2545 หน้า 66, http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%CA08/%CA08-20-9999-update.pdfhttp://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER0/DRAWER052/GENERAL/DATA0000/00000066.PDF

มาตรา 12ให้มีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมไม่เกินแปดคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ ในจำนวนนี้จะต้องมีผู้แทนภาคเอกชนร่วมอยู่ด้วยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ

การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้พิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีผลงานและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

[3]PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ เล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ ในร่างกายได้ ตัวฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่นๆ 

ดู PM2.5 คืออะไร อันตรายและการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก, ไดกิ้น, 8 มกราคม 2563, https://www.daikin.co.th/service-knowledge/pm-2-5/ 

& “แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2562” ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบตั้งแค่ปลายปี 2562 รัฐบาลประกาศให้ปัญหา PM 2.5 เป็นวาระแห่งชาติอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2562 ซึ่งก่อนหน้านั้น จีนเห็นความสำคัญของปัญหานี้ และได้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติที่เรียกว่า “2013-2017 Clean Air Action Plan” (ปี พ.ศ.2556-2560) 

ดู ตรวจการบ้าน วาระแห่งชาติ PM 2.5, โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์, ใน the101, 25 กุมภาพันธ์ 2564, https://www.the101.world/pm-2-5-homework/ 

& วาระแห่งชาติ หรือ “National Agenda” ควรใช้ว่า “ระเบียบวาระแห่งชาติ” ซึ่งหมายถึง การจัดลำดับภารกิจแห่งชาติที่จะพิจารณาดำเนินการก่อนหลัง ข้อมูลเรื่องนี้ราชบัณฑิตยสถานเคยแจ้งแล้ว

ดู เปิด28'วาระแห่งชาติ'ไปถึงไหน หวังใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ-สังคม หลายเรื่องค้างเติ่ง-ไม่เห็นทางจบ โดย ชนากานต์ อาทรประชาชิต, ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ thai online), 21 พฤษภาคม 2556, https://www.tcijthai.com/news/2013/21/scoop/2571 

[4]ดู ฝุ่น PM2.5 : ไทยยังไม่ปรับค่ามาตรฐานฝุ่นตามองค์การอนามัยโลก เพราะอะไรและจะเกิดอะไรขึ้น, โดยสมิตานัน หยงสตาร์, บีบีซีไทย, 12 พฤศจิกายน 2564, https://www.bbc.com/thai/thailand-59260334 & คุณภาพอากาศและการจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษ (เรียลไทม์), https://www.iqair.com/th/world-air-quality-ranking

[5]ดู วิกฤตหมอก (ฝุ่น) ควันภาคเหนือ ใครรับผิดชอบ, กรุงเทพธุรกิจ, 21 มีนาคม 2563,https://www.bangkokbiznews.com/social/871991 

[6]ดูเอกสารตามนี้ คำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ คดีหมายเลขดำที่ ส.1/2564 คดีหมายเลขแดงที่ ส.1/2564 (8 เมษายน 2564), https://www.mediafire.com/file/wfyru3q8c3uwuk2/AdminEnviJudgeCMcourt8apr2564.pdf/file

คำอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดี คดีหมายเลขแดงที่ ส.1/2564(6 พฤษภาคม 2564) รวม 54 หน้า, https://www.mediafire.com/file/mymzmz29im83ddc/AppealEnvBoard64.pdf/file

คำชี้แจง (ค.3) คดีหมายเลขดำที่ ส.1/2564(31 มีนาคม 2564) รวม 14 หน้า, https://www.mediafire.com/file/4qodw47o0oo7h36/NatEnviCasePM25CM.pdf/file

สรุปข้อเท็จจริงคดีหมายเลขดำที่ ส.1/2564(- เมษายน 2564) ของตุลาการเจ้าของสำนวน ต.17 รวม 62 หน้า, https://www.mediafire.com/file/ko8ml7k47o27tuk/%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2597%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AA.1-2564.pdf/file

คำฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คดีหมายเลขดำที่ ส.1/2564(15 มีนาคม 2564) รวม 7 หน้า, https://www.mediafire.com/file/do9jnib74o84gmd/%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%259F%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%2593%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B4%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25AB%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B4.pdf/file

[7]ดูคำฟ้อง(ใหม่) โดยนายภูมิ วชร เจริญผลิตผล ราษฎรชาวจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง หมายเลขคดีดำที่ ส. 22/2564 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2564 (ศาลรับคำฟ้องเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564) คำฟ้องขอให้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ประกาศมาตรฐานฝุ่น ที่ 37 มคก./ลบ.ม.ตามมาตรฐาน FRM : Federal Reference Method องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ศาลปกครองกลางสั่งให้ กก.วล. ชี้แจงภายใน 30 วัน วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 แต่ กก.วล. ขอขยายเวลา ซึ่งศาลปกครองกลางได้อนุญาตให้ กก.วล.ขยายเวลาคำชี้แจงแล้ว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 (ตามคำขอวันที่ 23 มีนาคม 2565) 

รายละเอียดเบื้องต้นตามนี้, https://www.mediafire.com/file/hq1xwkjrgthwnh8/PM25Env22-64-28oct64.pdf/file

[8]ดู PM2.5 คืออะไร อันตรายและการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก, ไดกิ้น, 8 มกราคม 2563, อ้างแล้ว

[9]ผลกระทบของ PM2.5 ต่อร่างกาย ด้วยขนาดของ PM2.5 เล็กมากทำให้สามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายและกระแสเลือดไปก่อให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆภายในของร่างกายได้โดยตรง จนก่อให้เกิดอาการที่ผิดปกติได้หลายระบบ ตั้งแต่ ระบบทางเดินหายใจ แสบจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ แน่นหน้าอก ภูมิแพ้กำเริบ ระบบผิวหนัง ตุ่ม ผืน นูนแดง ระบบดวงตา แสบเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล นอกจากนี้ การที่ร่างกายได้รับ PM2.5 เข้าไปติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ในร่างกาย เพิ่มความเสียงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และถือเป็นสารก่อมะเร็งก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้

ดู ผลกระทบของ pm2.5 ต่อร่างกาย, The Bangkok Christian Hospital, 2 ธันวาคม 2563, https://www.bch.in.th/pm-25-article/ 

& สัญญาณเตือนจากร่างกาย ให้ระวังฝุ่น PM 2.5, ไทยรัฐ, 11 มีนาคม 2565, https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2338691

[10]PM2.5 มาจากหลายสาเหตุ ที่สำคัญได้แก่ (1) ควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลัก (2) ควันและฝุ่นที่เกิดการจากเผา เช่น เผาป่า เผาหญ้า (3) ฝุ่นละอองจากภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง ดู ฝุ่นพิษคลุ้ง 8 พื้นที่โซนสีแดง กรุงเทพฯอ่วมติดอันดับ8โลก, สยามรัฐออนไลน์, 12 เมษายน 2565, https://siamrath.co.th/n/339273& กทม.พบฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน 68 พื้นที่ จับตา “ดอนเมือง บางเขน หลักสี่”, สยามรัฐออนไลน์, 10 เมษายน 2565, https://siamrath.co.th/n/338776

[11]ดู ตรวจการบ้าน วาระแห่งชาติ PM 2.5, โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์, ใน the101, 25 กุมภาพันธ์ 2564, อ้างแล้ว

& ฝุ่น PM 2.5 กลับมาวิกฤต รัฐบาลทำอะไรไปแล้วบ้างหลังประกาศเป็น “วาระแห่งชาติ”, ข่าวสด, 8 มกราคม 2563, https://www.khaosod.co.th/politics/hot-topics/news_3348695

[12]ผลกระทบด้านอื่นๆ ก็มีมาก มลพิษทางอากาศทำให้สูญเสียโดยประมาณ 10,000 ผู้เสียชีวิต ในปักกิ่งในปี 2021 มลพิษทางอากาศทำให้เสียค่าใช้จ่าย $5,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐโดยประมาณในปักกิ่งในปี 2021 

ในช่วงต้นปี 2562 สถานการณ์หมอกควันและมลพิษจากฝุ่นละอองในประเทศไทยทำให้เกิดภาวะวิกฤตคุณภาพอากาศ ส่งผลให้ดัชนีคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครติดอันดับ 1 ใน 10 เมืองของโลกที่มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานความปลอดภัย มีการประมาณการในเบื้องต้นว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาที่ประสบอยู่นี้หากเกิดขึ้นในกรอบเวลา 1 เดือน จะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นเงินขั้นต่ำ 2,600 ล้านบาท หรืออาจพุ่งสูงถึง 6,600 ล้านบาท ในกรณีเลวร้าย ทั้งในประเด็นสุขภาพ ต้นทุนค่าเสียโอกาสการใช้จ่ายและการท่องเที่ยว 

ดู ค่าใช้จ่ายของมลพิษทางอากาศ, IQAir, https://www.iqair.com/th/china/beijing

& ถอดบทเรียนวิกฤต PM 2.5The Crisis Lessons from PM 2.5 Air Pollution, โดย ธีรพงศ์ บริรักษ์, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย,ใน วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน-ธันวาคม 2562, EAU HERITAGE JOURNAL Science and Technology, Vol. 13 No. 3 September-December 2019, https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/download/231508/157720/

[13]ปัญหาโลกร้อน คือ ปัญหาภาวะโลกร้อน (Global warming)หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง พ.ศ.2548 อากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส ภาวะโลกร้อน คือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) ด้วยอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากภาวะเรือนกระจก (Green house effect), วิกิพีเดีย

ดู “คุณกล้าดียังไง” 20 เรื่องที่ควรรู้ของ “เกรต้า ธันเบิร์ก” (Greta Thunberg)นักประท้วงลดโลกร้อนที่ชี้หน้าด่าผู้นำโลกใจร้าย, ShopBack Blog TH Team, 2019-09-25, 25 กันยายน 2562, https://www.shopback.co.th/blog/trend-%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%99/

[14]ปรากฏการณ์เรือนกระจก หรือ ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect) ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) 

ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect) คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นผ่านลงมายังผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อน ให้กระจายอยู่ภายใน ชั้นบรรยากาศและพื้นผิวโลก จึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก แต่ในปัจจุบันมีก๊าซบางชนิดสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมากเกินสมดุล ซึ่งก๊าซเหล่านี้สามารถดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดและคายพลังงานความร้อนได้ดีพื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศ จึงมีอุณหภูมิสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของโลก และสิ่งมีชีวิตพื้นผิวโลกอย่างมากมาย

ดู ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect) คืออะไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร, กรมอุตุนิยมวิทยา, https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=20

& ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ซึ่งเป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีอินฟาเรดได้ดี เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF6) เป็นต้น ซึ่งเมื่อก๊าซเหล่านี้ ลอยขึ้นสู่บรรยากาศจะดูดซับความร้อนไว้และถ้ามีปริมาณที่เหมาะสม จะรักษาอุณหภูมิโลกให้พอเหมาะอุ่นสบาย แต่เมื่อใดที่ก๊าซเหล่านี้มีปริมาณมากเกินไป จะส่งผลให้ชั้นบรรยากาศมีการกักเก็บรังสีความร้อนไว้มากขึ้น ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของชั้นบรรยากาศ เพิ่มขึ้น ทำให้ร้อนมากขึ้นด้วย

ดู ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases : GHGs), กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, https://actionforclimate.deqp.go.th/knowledge/2537/

หมายเลขบันทึก: 702202เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2022 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2022 00:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Another excellent article on PM2.5. I support reduction of air pollution at ‘national level’, at local government level, at factory level, on farm and in every home.

May I suggest copying the url’s with Thai characters in 2 (or more) chunks eg. https://www.mediafire.com/file/ko8ml7k47o27tuk/ สรุปข้อเท็จจริงคดีหมายเลขดำที่ส.1-2564 25AA.1-2564.pdf/file or its alternative url: https://www.mediafire.com/file/ko8ml7k47o27tuk/25AA.1-2564.pdf/file They look nicer ;-)

I see. Atleast, I think that the draft “act of clean air” shall enact on the year of 2022.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท