คนไม่เข้าบล็อกเขาจัดการความรู้ได้อย่างไร


คนที่จะเข้าบล็อก ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย แล้วคนที่ไม่เข้าบล็อกก็คือคนที่ผ่านขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไม่ได้ แล้วเขาทำอะไรกันครับ โดยเฉพาะด้านการจัดการความรู้

คนไม่เข้าบล็อกเขาจัดความรู้ได้อย่างไร ผมเข้าใจถึงความพยายามของ สคส.ที่จะทำให้ทุกคนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในบล็อก เพราะทำให้ สคส.และคนอื่นๆ ติดตามงานของทุกคนได้เป็นรายวินาที ว่าใครเข้ามาตอนไหน ออกไปตอนไหน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับใคร เรื่องอะไร อย่างละเอียดยิบ ไม่เล็ดรอดแม้แต่ตาแมลงหวี่

อันนี้ผมประทับใจมากครับ  แต่ท่านทราบไหมครับ กว่าคนจะฝ่าด่าน 18 อรหันต์ 38 มงกุฎ เข้ามาเขียนบล็อกอย่างสนุกสนาน เป็นชีวิตชีวานั้น ยากเหลือเกิน ยากยังไง? ครับ 

  1. ต้องรู้วิธีการใช้คอมพิวเตอร์ มีคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง หรือสามารถไปเช่าหรือไปใช้ที่หนึ่งที่ใดได้โดยสะดวก และการเข้าระบบอินเตอร์เน็ตอย่างสะดวก หรือมิเช่นนั้นก็ต้องยืมมือคนอื่นทำ ซึ่งก็จะทำให้เป็นปัญหาในขั้นสุดท้าย ก็คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะไม่ค่อยเกิด
  2. ต้องเข้าใจหลักการจัดการความรู้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ว่ามีวิธีการ หลักการอย่างไร จึงจะทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีชีวิตชีวา สนุกสนาน และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง
  3. ต้องมีความคิดและจินตนาการในการกำหนดหัวข้อเพื่อนำเสนอที่จะทำให้คนอื่นสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนาน และสร้างสรรค์
  4. ต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์และประเมินว่าเรื่องใดที่ควรมานำเสนอ ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น
  5. ต้องมีความสามารถในการคิด อธิบาย และให้ข้อเสนอแนะกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
  6. ต้องมีเวลาและความสามารถในการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่อง
  7. ต้องมีใจรักที่จะอดทน ต่อสู้ กับปัญหาอุปสรรคของระบบบล็อก ที่มีอยู่บ้างเป็นธรรมดา
  8. จะต้องอดทน ที่จะตอบคำถามและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้อื่นอย่างสนุกสนานและใจเป็นธรรม
  9. ฯลฯ
 ดังนั้น จะเห็นได้ว่า คนที่จะเข้าบล็อก ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย แล้วคนที่ไม่เข้าบล็อกก็คือคนที่ผ่านขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไม่ได้ แล้วเขาทำอะไรกันครับ โดยเฉพาะด้านการจัดการความรู้ เท่าที่ทราบนะครับ มีดังนี้
  1. เขาใช้ความรู้เพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง โดยอาจจะคุยกับผู้อื่นบ้าง หรืออ่านหนังสือบ้าง
  2. เขาใช้ความรู้เพื่อการนำเสนอต่อที่สาธารณะและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสถานที่สาธารณะทั่วไป
  3. เขาตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งที่เป็นเอกสารธรรมดาและเอกสารทางวิชาการ
  4. เขานำเสนองานในระบบอินเตอร์เน็ตโดยทั่วไป แต่ไม่ได้มาเชื่อมโยงกับผู้อื่นในบล็อก

 เห็นไหมครับ เขาก็มีวิธีการทำงานของเขาเองอยู่แล้ว

และบางคนบอกว่า เข้ามาในบล็อกเสียเวลา หรือไม่มีเวลาจะเข้ามา หรือไม่ถนัดที่จะเข้ามา สารพัดล่ะครับ..

เพราะฉะนั้น เราอย่าพึ่งประเมินเขาต่ำได้ไหมครับ เขาอาจจะฉลาด ก็ได้ครับ

หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คนเขียนบล็อก ครับ

อีกไม่นานเกินรอ เราคงรู้ว่าใครฉลาดกว่าใคร

เพราะผมก็ไม่แน่ในว่า บล็อก จะครอบคลุมประชากรได้มากแค่ไหน

เพราะขีดจำกัดดังกล่าวข้างต้น 

แต่เป้าหมายของ สคส.ก็คือ การจัดการความรู้ทุกหย่อมหญ้า

ถ้าเรามาเน้นบล็อก ผมเกรงจะเสียลูกค้ากลุ่มใหญ่ไปนะครับ เราเปิดช่องไว้หลายๆ ช่องได้ไหมครับ หรือมีวิธีอื่นด้วยก็ทำไป

ห้ทุกคนหายใจสบาย และโล่งอก

แล้วผมเชื่อว่า พลังการจัดการความรู้จะเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้าจริงๆ ครับ 

ใครมีความเห็นอะไรเชิญเสนอได้ครับ...

 

คำสำคัญ (Tags): #kmธรรมชาติ
หมายเลขบันทึก: 70111เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2006 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)
ผมมีปัญหาแถบเครื่องมือหายครับ
ผมว่าปัญหาอยู่ที่เนต เพิ่งทำได้ ผมใช้วิธีนั้นในการแก้ไขแถบเครื่องมือหายไปนานแล้วไม่เคยได้เลย

เชื่อว่า GotoKnow เป็นเพียงเครื่องมือตัวหนึ่งเท่านั้นแหละค่ะ เพียงแต่เป็นเครื่องมืออันทรงพลังอย่างที่เราได้เห็นกันมาแล้ว และเป็นเครื่องมือที่เอื้ออำนวยต่อการปลดปล่อย ต่อยอด จัดเก็บ ค้นหาความรู้ที่ค่อยๆก่อเกิดขึ้นมา หากผู้ที่ใช้ได้ ใช้เป็น ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ที่เข้าไม่ถึง ไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตาม (ได้เห็นมาแล้วตัวอย่างหนึ่ง จาก คุณวิไลลักษณ์ อยู่สำราญ ซึ่งเธอเป็นผู้ที่ได้รางวัลสุดคะนึงเมื่อช่วงต้นปีด้วย) ก็จะเป็นการช่วยให้ความรู้เหล่านั้น ได้รับการเก็บเข้ามาสู่คลังแห่งนี้ได้ แต่ก็ไม่ใช่หนทางเดียวอยู่แล้วค่ะ 

สิ่งสำคัญก็คือเราต้องเปิดใจ จริงใจ พร้อมเสมอที่จะทำความเข้าใจและช่วยเหลือ กันและกันค่ะ

มายกมืออีกคนค่ะ ว่าแถบเครื่องมือหายบ่อยค่ะ  แต่ยังไม่ถึงกับประจำนะคะ  ^__*  แก้ไม่ค่อยหายค่ะ  สงสัยต้องคาถาเรียกมั๊งคะ

คุณโอ๋-อโณ

ผมรู้สึกว่าเราจำกัดวงมากไป กลัวงานระดับชาติจะไม่เกิดนะครับ

ผมคิดว่าถ้าเรามีหลายๆช่องน่าจะทำให้คนมีทางเลือกนะครับ

โดยเฉพาะระดับชุมชนทั่วไป

ผมเขียนแบบโยนก้อนหินถามทาง เผื่อผมจะมีโอกาสเข้าใจอะไรมากขึ้นครับ

เรื่องเครื่องมือหาย ผมเจอประจำ ใครมีวิธีแก้ที่ดีกว่าที่เขียนไว้บ้าง

เพราะทำแล้วเหมือนยาผีบอก บางทีก็ได้ บางทีก็ไม่ได้ บางทีไม่ต้องทำอะไร ก็มาเฉยๆ หายไปเฉยๆ

คำที่ ดร จันทวรรณ อธิบาย ไม่ค่อยสื่อถึงการมาๆหายๆเลยครับ

เคลียร์ files ทุก ๑๐ นาทียังไม่ค่อย work เลยครับ

ขอบคุณครับคุณหนิง

รูปที่ไหนครับสวยจัง

แถวถนนสุขุมวิท กทม ค่ะอาจารย์  ประดับไฟสวยทั้งถนนเลยค่ะ

เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ เพราะเห็นว่าคนที่ไม่ใช่นักวิชาการนั้นการจัดการความรู้มีหลายแบบ และจุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อการมีชื่อเสียง การจัดการความรู้จะเพื่อการอยู่รอดในสภาวะต่างๆกันไปไม่ว่าจะรอดจากโรคภัย รอดจากความอดอยาก รอดจากตำรวจหรือผู้ที่ทำงานบนอำเภอ(แม้จะไม่ได้ทำผิด) ฯลฯ โดยที่เขาเหล่านั้นไม่ได้เข้าบล็อกก็จัดการความรู้อยู่ทุกวัน การเข้าบล็อกทุกวันบางทีอาจได้แต่เรียนรู้โดยไม่ได้จัดการอะไร และถ้าสื่อสารไม่เป็นการจัดการก็อาจกลายเป็นการเน้นการจัดการความรู้เรื่องเทคโนโลยีอินเตอร์เนตล้วนๆ อย่างเดียวก็เป็นได้ค่ะ....

ขอบคุณครับคุณจันทรรัตน์

ผมกำลังเตรียมเสนอแนะให้ สคส ปรับแนวทางการทำงาน

ก็แล้วแต่ทางนโยบายครับ

เราแค่บอกก็คงแค่นั้น

       บล็อกเป็นอีกหนึ่งเส้นทางการของการเรียนรู้  แต่ไม่ใช่คำตอบทั้งหมด เพราะผู้คนในโลกนี้ต่างก็มีวิธีการเรียนรู้และบอกต่อมากมาย

       แต่สำคัญที่ว่า เมื่อได้เรียนรู้แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดผลหรือไม่

       เพราะบางคนรู้แล้วยังตาใสไม่ยอมทำหรือไม่ยอมเข้าใจก็มีเยอะ

       แฮะ ๆๆ

อาจารย์ พันดา

  • คุณว่าใคร
  • ขว้างงูให้แรงๆหน่อยเน้อ มันซิพันคอเจ้าเน้อ

หวังว่าโลกหน้าจะดีกว่าโลกนี้นะครับ

สวัสดีค่ะท่าน  ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • ครูอ้อยเข้ามาใน G2K  ตามที่ท่านเขียนทุกข้อ
  • ครูอ้อยมีปัญหากับทำอย่างไรครูเพื่อนของครูอ้อยจะเขียนบันทึกจัดการความรู้บ้าง

ขอบคุณค่ะ

ผมว่าจริตคนแก้ไขยาก ถ้าแก้ไม่ดี ก็จะเป็น "ดัดจริต" ไปซะอีก

ว่ากันตามศักยภาพแต่ละคนดีกว่าครับ

อย่าทำให้เขาต้อง "ดัด" จริตเลยครับ เขาจะทุกข์ไปเปล่าๆ

เราสุขอย่างนี้ เราก็ทำอย่างนี้ ก็แล้วกันนะครับ

บล็อก รึ ครับ  เริ่มจาก เบลอๆ

แล้วมาเป็นบ๊องๆบวมๆ

แล้วมาเป็นบิดๆเบี้ยวๆ

แล้วมาเป็น เบิกบาน แจ่มใส

พบโลกใหม่แห่งการเรียนรู้

  อยู่บนโลก  ก็ต้องรับสภาพโลกและโรคอยู่แล้ว
หมุนกลับอย่างไรครับอาจารย์
   เริ่มจาก  เบิกบาน แจ่มใส  แล้วไปจบที่ เบลอๆ บวมๆ  ใช่มั้ยครับ .. ถ้าเป็นเช่นนั้น ผมจะยืนกระทืบเท้า พร้อมตะโกน " ไม่เอา ๆ .. เราไม่ยอม .. เราไม่ยอม ! "

ผมก็พยายามต้านสุดฤทธิ์นี่แหละครับ อาจารย์พินิจ

ผมก็ว่าไม่ยอมเหมือนกันครับ

การจัดให้มีการ ถาม และตอบระหว่างผู้คนภายในประเทศอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิ์ภาพโดยภาครัฐสามารถทำได้ครับ แต่ควรเริ่มทีจังหวัดนำร่องก่อน พร้อมมากขึ้นค่อยขยายเป็นระดับประเทศ  วิธีการคร่าวๆคือ ก่อนที่ละครทีวีช่องใดก็ได้จะเริ่มออกอากาศในทุกวันศุกร์ ให้ผู้ประกาศรายการ ประกาศว่า ยกตัวอย่างนะครับ "ข่าดีสำหรับพี่น้องเกษตรกรชาว จ.ขอนแก่นที่มีปัญหาเรื่องน้ำในการทำนา วันพรุ่งนี้เวลา20.00น.ดร.แสวง รวยสูงเนิน พร้อมทีมงานจะรอไขข้อข้องให้ท่าน ทางหมายเลข 2222ซึ่งเป็นหมายเลขโทรฟรีค่ะ"ผมว่าประเทศเรามีเทคโนโลยีก้าวหน้าพอที่จะวางระบบให้ทีมวิทยากรผู้ทำหน้าที่ไขข้อข้องใจ สามารถรอรับสายที่บ้านของตัวเองได้โดยตรง  ช่วงบุกเบิกอาจจะมีปัญหาค่อนข้างมากเป็นธรรมดาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท