ยูเครน กับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน


ยูเครน (อังกฤษ: Ukraine; ยูเครน: Украї́на, อักษรโรมัน: Ukraïna, เป็นประเทศหนึ่งในยุโรปตะวันออก เป็นประเทศที่มีเนื้อที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในยุโรปรองจากรัสเซีย อาณาเขต อาณาเขตติดต่อทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ]รัสเซีย นี้ยังมีอาณาเขตติดต่อกับเบลารุสทางทิศเหนือ ติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการีทางทิศตะวันตก ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวาทางทิศใต้ และมีแนวชายฝั่งจรดทะเลอะซอฟและทะเลดำ เนื้อที่ ยูเครนมีเนื้อที่ 603,628 ตารางกิโลเมตร (233,062 ตารางไมล์) ปราชากร มีประชากรประมาณ 41.3 ล้านคน และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในยุโรป เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ คือเคียฟ (กือยิว) ยูเครนได้รับเอกราชหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 หรือ พ.ศ. 2534 หลังจากที่ได้รับเอกราช ยูเครนประกาศตนเป็นรัฐที่เป็นกลาง โดยจัดตั้ง ความร่วมมือทางการทหารอย่างจำกัดกับรัสเซียและประเทศอื่น ๆ ในเครือรัฐเอกราช ในขณะเดียวกันก็สถาปนาความเป็นหุ้นส่วนกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือใน ค.ศ. 1994 ( 2537) ใน ค.ศ. 2013 (2556) หลังจากที่รัฐบาลของประธานาธิบดีวิกตอร์ ยานูกอวึช ตัดสินใจระงับความตกลงสมาคมระหว่างยูเครนกับสหภาพยุโรปและแสวงหาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับรัสเซีย คลื่นการเดินขบวนและการประท้วงที่รู้จักกันในชื่อยูโรไมดานก็เริ่มขึ้นและกินเวลานานหลายเดือนจนกระทั่งบานปลายเป็นการปฏิวัติแห่งศักดิ์ศรีซึ่งนำไปสู่การโค่นอำนาจยานูกอวึชและการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ สถานการณ์ที่ชายแดนตอนนี้เป็นอย่างไร สหรัฐ และนาโต้ มองว่าความเคลื่อนไหวและความตึงเครียดทางทหารทั้งในและพื้นที่โดยรอบยูเครน มีความ “ผิดปกติ” แม้จะมีคำเตือนจากประธานาธิบดี “โจ ไบเดน” ของสหรัฐ รวมถึงผู้นำหลายชาติในยุโรป ว่า การรุกรานของปูตินจะทำให้เกิดหายนะ แต่กองทหารรัสเซียมากกว่า 100,000 นาย ยังคงประจำการอยู่ใกล้ชายแดนยูเครน ตามข้อสรุปของหน่วยข่าวกรองสหรัฐ ที่เผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคม ระบุว่า รัสเซียอาจเริ่มปฏิบัติการทางทหารในยูเครนในปีนี้ หวั่นเกิดสงครามเต็มรูปแบบ หากรัสเซียเพิ่มกำลังทหารในยูเครนหรือในประเทศต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตรนาโต้ ความขัดแย้งในยูเครนเสี่ยงที่จะทวีความรุนแรงขึ้น และอาจนำไปสู่สงครามเต็มรูปแบบ ความเคลื่อนไหวของรัสเซียทำให้เกิดความกังวลว่า เหล่าประเทศพันธมิตรนาโต้จะออกมาตอบโต้รัสเซีย จากเหตุการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนนั้น ดูเสมือนว่า รัสเซียกับ ยูเครน นั้น พิจารณาดูความเป็นมาแล้ว มีความเกี่ยวข้องกันมาก่อน หรือเป็นส่วนหนึ่งที่ รัสเซียที่ต้องดูแลในเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นภายในยูเครน เพราะชนชาติพันธุ์ในยูเครนก็ มีส่วนหนึ่งซึ่งเป็นชนชาติรัสเซีย ใช้ภาษารัสเซีย ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้นำรัสเซียอยาก จะดูแลคนในยูเครน แม้ยูเครน จะกลายมาเป็นประเทศใหม่ มีอธิปไตยเป็นของตนเอง อย่างแล้วก็ตาม แต่รัสเซียก็ยังมีความรู้สึกเดิม ๆ ว่าเหมือนเป็นประเทศเดียวกัน อยู่แม้ในเชิงลึก (อาจจะมีรายะเอียดอาจจะมากกว่านี้) แต่รัสเซียก็ยังมีความพยายามว่า อยากจะดูแลคนของตนเอง เมื่อยูเครนไม่ยอม ก็อาจจะมีสัญญาณเตือนโดยใช้กำลัง ทหารหรือสงครามเพื่อให้ตระหนักว่าต้องทำตาม จนทำให้หลายชาติเป็นห่วงเป็นใยว่า อาจจะเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวอาจทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ได้ เพราะยูเครนก็มีนาโต หนุนหลังอยู่ (แม้จะเป็นสมาชิกแล้วหรือยังไม่เป็นก็ตาม) แต่ถ้าจะให้ไม่เกิดปัญหาแล้ว ควรนำหลักทฤษฎีของพุทธศาสนามาใช้ คือ อริยสัจ 4 ตระหนักในปัญหาที่จะตามมา วิเคราะห์สาเหตุแห่งปัญหา หาทางแก้ปัญหา และเลือกเอาวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดมาใช้ (เชิงสันติภาพ) และการรู้จักปล่อยวาง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นตัวกู ชองกู เพราะ สรรพสิ่งในโลกนี้ตกอยู่ในสภาพสามัญฃลักษณะ คืออนิจจัง ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่จีรังยั่งยืน ทุกขัง มีสภาพไม่ทนต่อการเปลี่ยนแปลง หรือทนได้ยาก ยากที่จะไม่ให้ เปลี่ยนแปลง และอนัตตา ไม่มีใครจะไปบังคับไม่ให้เปลี่ยนแปลง หรือให้เป็นไปตาม ที่เราปรารถนา หรือห้ามการเปลี่ยนแปลงได้ ดังคนเราเกิดมาก็ย่อมมีแก่เจ็บ และตาย ในที่สุด เพราะสรรพสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ถ้าเราคิดว่าเป็นผู้นำระดับโลกแล้ว เราจำต้องยอมรับความเป็นจริง คือยอมรับหลักชองการเปลี่ยนแปลง หรือผู้นำ การเปลี่ยนแปลง ผู้นำคงไม่อาจจะฃหลีกเลี่ยงความเปลี่ยนแปลงไปได้ เพราะถ้า ไม่เช่นนั้น ก็อาจจะเป็นเหมือนปรารถนาดี แต่เหมือนมุ่งร้ายก็ได้ หลักธรรมที่สำคัญ คือ “พรมวิหาร 4” เมตตา ความรักความปรารถนาดีต่อผู้น้อย (ผู้อยากเป็นตัวของ ตัวเอง) กรุณา  มีความสงสาร เอ็นดู เป็นห่วงเป็นใย คอยอยู่ห่าง ๆ  ไม่ต้องไปควบคุม เสมือนว่าลูกเขาโตแล้วแล้วแต่เขาจะฃตัดสินใจในชีวิตของเขา  มุทิตา พลอยยินดี เมื่อ ผู้น้อยได้ดี และอุเบกขา ต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คิดว่าปัญหา ระหว่างรัสเซีย (เสมือนพ่อแม่หรือพี่) และยูเครน (เสมือนลูกหรือน้อง) คงจะมีทางออก ด้วยดีด้วยการเจรจาทางการทูต หลักสันติภาพโลก หลักอหิงสา และหลักของความเป็น พี่เป็นน้อง และกาอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี  .........

ยูเครน กับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน

 

ยูเครน กับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน

ดร.ถวิล  อรัญเวศ

          ยูเครน (อังกฤษ: Ukraine; ยูเครน: Украї́на, อักษรโรมัน: Ukraïna,

เป็นประเทศหนึ่งในยุโรปตะวันออก เป็นประเทศที่มีเนื้อที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2
ในยุโรปรองจากรัสเซีย

          อาณาเขต

          อาณาเขตติดต่อทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ]รัสเซีย นี้ยังมีอาณาเขตติดต่อกับเบลารุสทางทิศเหนือ ติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการีทางทิศตะวันตก ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวาทางทิศใต้ และมีแนวชายฝั่งจรดทะเลอะซอฟและทะเลดำ

          เนื้อที่

          ยูเครนมีเนื้อที่ 603,628 ตารางกิโลเมตร (233,062 ตารางไมล์)

          ปราชากร

          มีประชากรประมาณ 41.3 ล้านคน และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในยุโรป

         เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ   คือเคียฟ (กือยิว)

 

ศาสนาในยูเครน

         ศาสนาในยูเครนมีความหลากหลายที่มีประชากรส่วนใหญ่ยึดมั่นในศาสนาคริสต์ การสำรวจในปี 2018 ที่จัดทำโดย Razumkov Centerพบว่า 71.7% ของประชากรประกาศตัวว่าเชื่อ ประชากรประมาณ 67.3% ประกาศว่ายึดมั่นในศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์หนึ่งหรืออีกกลุ่มหนึ่ง (28.7% ของKyiv Patriarchate , 23.4% ระบุว่าเป็นเพียง 'Orthodox' โดยไม่มีการประกาศว่าพวกเขาเป็นสมาชิกของ Patriarchate, 12.8% ของMoscow Patriarchate , 0.3 % คริสตจักรออร์โธดอกซ์ยูเครน Autocephalous และออร์โธดอกซ์ประเภทอื่น ๆ 1.9%) ' คริสเตียน ' 7.7% ที่ไม่มีการประกาศสังกัดนิกาย, 9.4%ยูเครนไบเซนไทน์พระราชพิธีคาทอลิก 2.2% โปรเตสแตนต์และ 0.8% ละตินพระราชพิธีคาทอลิก 2.5% ศาสนาอิสลาม , ศาสนายิวเป็นศาสนาของ 0.4% นั้น ในขณะที่ร้อยละขนาดเล็กทำตามศาสนาฮินดู , พุทธศาสนาและลัทธิ

( Rodnovery ) อีก 11.0% ประกาศว่าตัวเองไม่นับถือศาสนาหรือไม่เกี่ยวข้อง จาก

การสำรวจของ Razumkov ในช่วงปี 2000 และต้นปี 2010 สัดส่วนดังกล่าวยังคงค่อนข้างคงที่ตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมาในขณะที่สัดส่วนของผู้ศรัทธาโดยรวมลดลงจาก 76% ในปี 2014 เป็น 70% ในปี 2016 และ 72% ใน 2018. 

 

วิหารประกาศใน คาร์คิฟเป็นหนึ่งใน ที่สูงที่สุดในคริสตจักรออร์โธดอกในโลก
การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2431

           ในปี 2018 ศาสนาคริสต์มีความเข้มแข็งเป็นพิเศษในภูมิภาคทางตะวันตกสุดของยูเครนซึ่งชาวกรีกคาทอลิกส่วนใหญ่อาศัย ในพื้นที่ภาคกลาง, ภาคใต้และภาคตะวันออกคริสเตียนถือว่าเป็นสัดส่วนที่เล็กกว่าของประชากรทั้งหมดในระดับต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคตะวันออกของDonbas [2]ศาสนาอื่นที่มีอยู่ในยูเครนนอกเหนือจากศาสนาคริสต์คือRodnovery (ความเชื่อพื้นเมืองของชาวสลาฟ) ซึ่งประกอบด้วยชุมชนภาษายูเครนและภาษารัสเซีย (องค์กร Rodnover บางแห่งเรียกศาสนาว่าПравослав'я Pravoslavya "Orthodoxy" จึงทำงานร่วมกับ คริสตจักรคริสเตียนออร์โธดอกซ์)  ไครเมียตาตาร์อ้างศาสนาอิสลามแทนเป็นส่วนสำคัญของประชากรในแหลมไครเมียซึ่งก่อน 2014 เป็นเรื่องของยูเครนแต่ได้รับตั้งแต่ปีที่ครอบครองโดยรัสเซีย ในปี 2559 หากไม่มีไครเมียซึ่งมีชาวมุสลิมรวมตัวกัน 15% ของประชากรในปี 2556 [5]มีเพียงดอนบาสเท่านั้นที่มีชุมชนชาวมุสลิมที่ใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ในยูเครน (6%) 

             ตั้งแต่ก่อนการปะทุของสงครามใน Donbasในปี 2014 แต่ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ นับจากปีนั้นเป็นต้นมามีความไม่สงบระหว่างกลุ่มศาสนาที่สนับสนุนยูเครนและกลุ่มศาสนาที่สนับสนุนรัสเซียในประเทศ

 

ประวัติศาสตร์

        อาสนวิหารเซนต์โซเฟียเคียฟได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และในช่วงต้นยุคกลางดินแดนของยูเครนในปัจจุบันสนับสนุนชนเผ่าต่างๆที่นับถือศาสนานอกรีตดั้งเดิมของตน (แม้ว่าจะสังเกตเห็นเช่นนิกายเต็งริสม์ของบัลแกเรียผู้ยิ่งใหญ่ในดินแดนยูเครนในคริสตศักราชศตวรรษที่ 7) ศาสนาคริสต์แบบไบแซนไทน์เริ่มมีความโดดเด่นเป็นครั้งแรกในช่วงเปลี่ยนสหัสวรรษแรก ประเพณีและตำนานในเวลาต่อมาเกี่ยวข้องว่าในศตวรรษแรกคริสตศักราชอัครสาวกแอนดรูว์เองได้ไปเยี่ยมชมสถานที่ซึ่งเมืองเคียฟจะเกิดขึ้นในภายหลัง 

          ในศตวรรษที่ 10 รัฐที่เกิดขึ้นใหม่ของKyivan Rusได้เข้ามาอยู่ภายใต้อิทธิพลทางวัฒนธรรมของจักรวรรดิไบแซนไทน์มากขึ้น บันทึกแรกมาตุภูมิแปลงตะวันออกดั้งเดิม, ปริ๊นเซเซนต์ Olgaเยี่ยมคอนสแตนติใน 945 หรือ 957. ใน 980s ตามประเพณีหลานชายของ Olga, Knyaz (เจ้าชาย) วลาดิมีคนของเขาบัพติศมาในแม่น้ำนีเปอร์ สิ่งนี้เริ่มต้นประวัติศาสตร์อันยาวนานของการครอบงำของอีสเทิร์นออร์โธดอกซ์ในรูเธเนียซึ่งเป็นอำนาจทางศาสนาที่จะมีอิทธิพลต่อทั้งยูเครนและรัสเซียในเวลาต่อมา การปกครองของLittle RussiaโดยGreat Russia (ตั้งแต่ปี 1721) นำไปสู่การเสื่อมถอยของUniate Catholicism (ก่อตั้งอย่างเป็นทางการในปี 1596) ในดินแดนยูเครนภายใต้การควบคุมของซาร์

  

ดินแดนยูเครน

         ดินแดนที่เป็นประเทศยูเครนสมัยใหม่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่ 32,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยกลาง พื้นที่นี้เป็นศูนย์กลางสำคัญแห่งหนึ่งของวัฒนธรรมสลาฟตะวันออก โดยมีสหพันธ์เผ่าชนแห่งรุสเคียฟก่อตัวเป็นรากฐานของอัตลักษณ์ยูเครน หลังจากที่รุสเคียฟแตกออกเป็นหลายราชรัฐในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ประกอบกับหายนะที่เกิดจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกล ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของดินแดนก็เสื่อมสลายและบริเวณนี้ก็ถูกแย่งชิง แบ่งแยก และปกครองโดยมหาอำนาจต่าง ๆ ซึ่งได้แก่เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย จักรวรรดิออสเตรีย–ฮังการี จักรวรรดิออตโตมัน และอาณาจักรซาร์รัสเซีย รัฐผู้บัญชาการคอสแซ็กของชาวยูเครนปรากฏขึ้นและเจริญรุ่งเรืองในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 แต่ในที่สุดดินแดนของรัฐนี้ก็ถูกแบ่งกันระหว่างโปแลนด์–ลิทัวเนียกับจักรวรรดิรัสเซีย

           ต่อมาเกิดขบวนการชาตินิยมยูเครนขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิวัติรัสเซียและมีการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนยูเครนเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1917 หรือ พ.ศ. 2460 โดยได้รับการรับรองจากนานาชาติ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนตะวันตกของยูเครนได้รวมเข้ากับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ยูเครนและทั้งประเทศก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

          ยูเครนได้รับเอกราชหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 หรือ พ.ศ. 2534

          หลังจากที่ได้รับเอกราช ยูเครนประกาศตนเป็นรัฐที่เป็นกลาง โดยจัดตั้งความร่วมมือทางการทหารอย่างจำกัดกับรัสเซียและประเทศอื่น ๆ ในเครือรัฐเอกราช ในขณะเดียวกันก็สถาปนาความเป็นหุ้นส่วนกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือใน ค.ศ. 1994 ( 2537) ใน ค.ศ. 2013 (2556)

         หลังจากที่รัฐบาลของประธานาธิบดีวิกตอร์ ยานูกอวึช ตัดสินใจระงับความตกลงสมาคมระหว่างยูเครนกับสหภาพยุโรปและแสวงหาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับรัสเซีย คลื่นการเดินขบวนและการประท้วงที่รู้จักกันในชื่อยูโรไมดานก็เริ่มขึ้นและกินเวลานานหลายเดือนจนกระทั่งบานปลายเป็นการปฏิวัติแห่งศักดิ์ศรีซึ่งนำไปสู่การโค่นอำนาจยานูกอวึชและการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่

        เหตุการณ์เหล่านี้กลายเป็นภูมิหลังของการผนวกไครเมียเข้ากับรัสเซียในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 (2557) และสงครามในดอนบัสในเดือนเมษายน ปีเดียวกัน

         อย่างไรก็ตาม ยูเครนได้เริ่มใช้ข้อตกลงการค้าเสรีเชิงลึกและครอบคลุมกับสหภาพยุโรปมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2016 (Z559)

         ยูเครนเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์อยู่ในอันดับที่ 74 เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในยุโรป โดยประสบปัญหาความยากจนและการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่ในอัตราสูงมาก

         อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์และกว้างขวาง ยูเครนจึงเป็นหนึ่งในผู้ส่งธัญพืชออกรายใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีกองทัพที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ในยุโรป รองจากรัสเซียและฝรั่งเศส

        ยูเครนเป็นสาธารณรัฐเดี่ยวภายใต้ระบบกึ่งประธานาธิบดี โดยแบ่งแยกอำนาจออกเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ประเทศนี้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ สภายุโรป องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป องค์การกวามเพื่อประชาธิปไตยและการพัฒนาเศรษฐกิจ และสามเหลี่ยมลูบลิน และเป็นหนึ่งในรัฐผู้ก่อตั้งเครือรัฐเอกราชแม้ว่าจะไม่เคยเป็นสมาชิกขององค์การนี้ก็ตาม

           นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าชาว Nomad โดยเฉพาะชาวไซเทีย เป็นพวกแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในยูเครนในช่วงก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น ชาวเผ่าสลาฟได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลางและตะวันออกของยูเครน

           อย่างไรก็ดี ชนชาติสำคัญที่มีบทบาทในการรวบรวมดินแดนบริเวณนี้ให้เป็นปึกแผ่นคือชาวรุส (Rus) ที่มาจากสแกนดิเนเวีย โดยต่อมาชาวรุสได้สถาปนาจักรวรรดิรุสเคียฟขึ้นในศตวรรษที่ 6 และปกครองชาวสลาฟที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ และต่อมาได้ขยายดินแดนออกไปรวบรวมเผ่าสลาฟและชนชาติต่าง ๆ จนเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปในศตวรรษที่ 11 แต่ในศตวรรษที่ 12 อาณาจักรนี้ได้เสื่อมสลายลง เนื่องจากสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ และการรุกรานจากชาวมองโกลในศตวรรษต่อมา หลังจากนั้น ดินแดนบางส่วนของยูเครนได้ถูกผนวกรวมกับอาณาจักรต่าง ๆ เช่น ลิทัวเนีย โปแลนด์ ออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิรัสเซียริสต์ศตวรรษที่ 19 และคริสต์ศตวรรษที่ 20     

          ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยูเครนได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิรัสเซียและราชวงศ์ฮับสบวร์กเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1918 (2461) แต่ต่อมากระแสการปฏิวัติในรัสเซียได้ลุกลามมายังยูเครน ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองและสงครามประกาศเอกราชขึ้น เกิดการก่อตั้งรัฐเอกราชยูเครนในช่วงระยะสั้น ๆ สมัยต่าง ๆ ดังนี้ สาธารณรัฐประชาชนยูเครน, สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตก และ รัฐยูเครน

 

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน

          ปี ค.ศ.1922 (2465) ดินแดนส่วนตะวันตกของยูเครนได้ถูกผนวกรวมกับโปแลนด์ ในขณะที่ดินแดนตอนกลางและตะวันออกถูกผนวกรวมกับรัสเซียในฐานะสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต เมื่อภายใต้ระบอบ ระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ชาวยูเครนถูกบังคับให้เลิกใช้ภาษาของตนเอง นอกจากนี้ ในช่วงปี ค.ศ. 1932 - 1933 โจเซฟ สตาลิน แห่งสหภาพโซเวียต ยังได้ใช้มาตรการ “โฮโลโดมอร์” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายระบบนารวมของสหภาพโซเวียตกับชาวยูเครน อันส่งผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงและการขาดแคลนอาหารขึ้นทั่วประเทศ และชาวยูเครนกว่า 7 ล้านคนต้องเสียชีวิตลง ชาวนาและปัญญาชนที่ต่อต้านระบบดังกล่าวถูกกวาดล้างหรือเนรเทศไปยังไซบีเรีย

 

สงครามโลกครั้งที่ 2

             ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยูเครนให้การสนับสนุนกองทัพนาซีเยอรมันเพื่อเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต แต่ต่อมาได้หันไปต่อต้าน เนื่องจากกองทัพนาซีเยอรมันที่ปกครองอย่างกดขี่ และ ทารุณ โดยในช่วงดังกล่าว ชาวยิวในยูเครนกว่า1 ล้านคนถูกสังหารหมู่ และ เคียฟ ถูกเผาทำลาย อย่างไรก็ดี หลังจากที่กองทัพนาซีบุกครองโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1939 (2482) ดินแดนส่วนตะวันตกของยูเครนที่เดิมอยู่ภายใต้โปแลนด์ ได้ถูกผนวกรวมกับสหภาพโซเวียต

 

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

              หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระแสชาตินิยมในยูเครนขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุผลต่าง ๆ ได้แก่ ความไร้ประสิทธิภาพของระบบสหภาพโซเวียต ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วสหภาพโซเวียตและการพยายามปิดบังข้อมูลของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพโซเวียตต่อกรณีการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล ที่ตั้งอยู่ในยูเครนในปี ค.ศ. 1986 (2523) และเมื่อประธานาธิบดีกอร์บาชอฟดำเนินนโยบายเปิดกว้างทางการเมือง ได้ส่งผลให้รัฐบาลของสหภาพโซเวียตจำเป็นต้องให้อำนาจแก่สาธารณรัฐและดินแดนปกครองตนเองต่าง ๆ มากขึ้น กระแสการเรียกร้องสิทธิที่จะปกครองตนเองในยูเครนดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง

 

การประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต

           ในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1990 (ชาวยูเครนกว่า 300,000 คน ได้มาเรียงแถวเป็นโซ่มนุษย์เพื่ออิสรภาพของยูเครนระหว่างเคียฟและลวิว เพื่อรำลึกถึงการรวมตัวกันของสาธารณรัฐประชาชนยูเครนและสาธารณรัฐยูเครนตะวันตกใน ค.ศ. 1919 (2462) ประชาชนออกมาที่ถนนและทางหลวงเรียงแถวเป็นโซ่มนุษย์ด้วยการจับมือกันเพื่อสนับสนุนความสามัคคี

        วันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 (2533) รัฐสภาชุดใหม่ได้รับรองคำประกาศอธิปไตยแห่งรัฐยูเครน คำประกาศนี้กำหนดหลักการของการกำหนดตนเอง ประชาธิปไตย ความเป็นอิสระ และความสำคัญของกฎหมายยูเครนที่เหนือกฎหมายของสหภาพโซเวียต ซึ่งหนึ่งเดือนก่อนหน้านั้น รัฐสภาของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียได้ประกาศใช้คำประกาศในลักษณะเดียวกันนี้ นี่เป็นจุดเริ่มต้นของ

การเผชิญหน้ากับทางการโซเวียต ในวันที่ 2-17 ตุลาคม ค.ศ. 1990 (2533) ได้เกิดเหตุการณ์การปฏิวัติที่หินแกรนิตในยูเครน วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินการคือเพื่อป้องกันการลงนามในสนธิสัญญาสหภาพใหม่ของสหภาพโซเวียต ความต้องการของนักเรียนพึงพอใจด้วยการลงนามในมติของแวร์คอว์นาราดา (รัฐสภายูเครน) ซึ่งรับประกันการดำเนินการของพวกเขา

           ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1991 (2534) มีความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตที่จะทำการก่อรัฐประหารเพื่อถอดมีฮาอิล กอร์บาชอฟให้ออกจากตำแหน่งและฟื้นฟูอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ หลังจากความพยายามก่อรัฐประหารที่ล้มเหลว วันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1991 (2534) รัฐสภายูเครนได้รับรองรัฐบัญญัติประกาศอิสรภาพยูเครน

           แลออนิด เกราชุก ประธานาธิบดียูเครน ประธานสภาสูงสุดแห่งสาธารณรัฐเบลารุส และ บอริส เยลต์ซิน ประธานาธิบดีรัสเซีย ลงนามในข้อตกลงเบลาเวจา ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (2534)

         การลงประชามติและการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (2534) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่า 92% แสดงการสนับสนุนรัฐบัญญัติประกาศอิสรภาพ และเลือกแลออนิด เกราชุก ประธานรัฐสภาเป็นประธานาธิบดีคนแรกของยูเครน ในการประชุมที่เมืองเบรสต์ ประเทศเบลารุสเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ตามด้วยการประชุมที่อัลมา-อาตา เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ผู้นำเบลารุส รัสเซีย และยูเครนได้ยุบสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการและก่อตั้งเครือรัฐเอกราช (CIS) และในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (2534) สภาสาธารณรัฐแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียตได้รับรองคำประกาศ "เกี่ยวกับการก่อตั้งเครือรัฐเอกราช" (รัสเซีย: В связи с созданием Содружества Независимых Государств) ซึ่งยุบสหภาพโซเวียตโดยนิตินัยและในคืนวันนั้นธงชาติสหภาพโซเวียตได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่เครมลิน รัฐสภายูเครนไม่ได้ให้สัตยาบันภาคยานุวัติ ซึ่งกล่าวคือ ยูเครนไม่เคยเป็นสมาชิกของเครือรัฐเอกราช

            เดิมที่ ยูเครนถูกมองว่ามีภาวะเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ของสหภาพโซเวียต

           อย่างไรก็ตาม ยูเครนประสบปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในอดีตสหภาพโซเวียต ในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ยูเครนสูญเสียจีดีพีถึง 60 % ตั้งแต่ ค.ศ. 1991 ถึง ค.ศ. 1999 และมีอัตราเงินเฟ้อถึง 5 หลัก ความไม่พอใจกับสภาพเศรษฐกิจเช่นเดียวกับจำนวนอาชญากรรมและการทุจริตในยูเครนที่มากขึ้น ชาวยูเครนจึงประท้วงและนัดหยุดงาน

             เศรษฐกิจยูเครนมีเสถียรภาพในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 มีการประกาศใช้สกุลเงินฮรึวเนีย ซึ่งเป็นสกุลเงินใหม่ โดยถูกนำมาใช้ใน ค.ศ. 1996 (2539) หลัง ค.ศ. 2000 (2543) ยูเครนมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยประมาณเจ็ดเปอร์เซ็นต์ต่อปี

            รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของยูเครนได้รับการรับรองภายใต้การนำของแลออนิด กุชมา ประธานาธิบดีคนที่สองใน ค.ศ. 1996 (2539) ซึ่งเปลี่ยนยูเครนให้เป็นสาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดีและก่อตั้งระบบการเมืองที่มั่นคง

              อย่างไรก็ตาม กุชมาถูกฝ่ายตรงข้ามวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการทุจริต การโกงเลือกตั้ง ซึ่งทำให้หมดกำลังใจในการพูด และการเพ่งความสนใจไปที่การใช้อำนาจที่มากเกินไปในตำแหน่งของเขา

            ยูเครนยังดำเนินการปลดอาวุธนิวเคลียร์อย่างเต็มรูปแบบ โดยสละคลังอาวุธนิวเคลียร์ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และรื้อถอนหรือถอดเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ทั้งหมดในอาณาเขตของตนเพื่อแลกกับการรับรองต่าง ๆ

   

การปฏิวัติส้ม

          ผู้ประท้วงที่จัตุรัสอิสรภาพในวันแรกของการปฏิวัติส้มใน ค.ศ. 2004 วิกตอร์ ยานูกอวึช ซึ่งในขณะนั้นยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งถูกควบคุมโดยส่วนใหญ่ตามคำตัดสินของศาลฎีกายูเครน ผลการเลือกตั้งทำให้เกิดเสียงไม่พอใจของประชาชนที่สนับสนุนวิกตอร์ ยุชแชนกอ ผู้สมัครฝ่ายค้านซึ่งคัดค้านผลการเลือกตั้ง ในช่วงหลายเดือนแห่งการปฏิวัติที่วุ่นวาย ผู้สมัครยุชแชนกอก็ป่วยหนัก และในเวลาไม่นาน กลุ่มแพทย์อิสระหลายกลุ่มพบว่าเขาได้รับพิษจากสารทีซีดีดีไดออกซิน[36][37] ยุชแชนกอสงสัยอย่างยิ่งว่ารัสเซียมีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางยาพิษของเขา[38] ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดการปฏิวัติส้มที่สงบ และนำวิกตอร์ ยุชแชนกอ และยูลียา ตือมอแชนกอ ขึ้นสู่อำนาจ ในขณะที่วิกตอร์ ยานูกอวึช เป็นฝ่ายค้าน

            ยูลียา ตือมอแชนกอ (ขวา), อังเกลา แมร์เคิล และ มีเคอิล ซาคัชวีลีนักเคลื่อนไหวของการปฏิวัติส้มได้รับทุนและการฝึกอบรมเกี่ยวกับยุทธวิธีขององค์กรทางการเมืองและการต่อต้านอย่างสันติโดยผู้สำรวจความคิดเห็นจากตะวันตกและที่ปรึกษามืออาชีพซึ่งได้รับทุนบางส่วนจากรัฐบาลตะวันตก[โปรดขยายความ] และหน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐ[ใคร?] แต่ได้รับเงินทุนส่วนใหญ่จากแหล่งในประเทศ[40] ตามรายงานของ เดอะการ์เดียน ผู้บริจาคจากต่างประเทศมีได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ และ หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ ร่วมกับสถาบันประชาธิปไตยแห่งชาติ, สถาบันรีพับลิกันอินเตอร์เนชันเนล, องค์การฟรีดอมเฮาส์ และมูลนิธิ Open Society Foundations ของจอร์จ โซรอส[41] กองทุนแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยได้สนับสนุนความพยายามในการสร้างประชาธิปไตยในยูเครนตั้งแต่ ค.ศ. 1988[42] งานเขียนเกี่ยวกับการต่อสู้อย่างสันติโดยจีน ชาร์ป มีส่วนในการสร้างพื้นฐานเชิงกลยุทธ์ของการรณรงค์ของนักเรียน[43]

               ทางการรัสเซียให้การสนับสนุนผ่านที่ปรึกษาเช่นเกล็บ ปัฟลอฟสกี ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำให้ภาพลักษณ์ของยุชแชนกอมืดมนผ่านสื่อของรัฐ รวมถึงกดดันให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ขึ้นกับรัฐลงคะแนนเสียงให้ยานูกอวึชและเทคนิคการลงคะแนนเสียงเช่นการลงคะแนนเสียงแบบ "แคโรเซลโหวตอิงค์" หลายครั้งและการลงคะแนนเสียง "วิญญาณที่ตายแล้ว"

             ยานูกอวึชกลับมาสู่อำนาจอีกครั้งใน ค.ศ. 2006 ในฐานะนายกรัฐมนตรีในกลุ่มพันธมิตรแห่งเอกภาพแห่งชาติ จนกระทั่งการเลือกตั้งอย่างฉับพลันในเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 ได้ทำให้ตือมอแชนกอเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ท่ามกลางวิกฤตการณ์ทางการเงินของยูเครนใน ค.ศ. 2008–09 เศรษฐกิจของยูเครนลดลง 15% ข้อพิพาทกับรัสเซียทำให้การจ่ายก๊าซทั้งหมดไปยังยูเครนหยุดชะงักไปชั่วคราวใน ค.ศ. 2006 และอีกครั้งใน ค.ศ. 2009 ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนก๊าซในประเทศอื่น ๆ วิกตอร์ ยานูกอวึชได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2010 (2553) ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 48

 

ยูโรไมดานและการปฏิวัติแห่งศักดิ์ศรี

      การเดินขบวนของฝ่ายสนับสนุนสหภาพยุโรปในวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 (2556) ในช่วงการประท้วงยูโรไมดานการประท้วงยูโรไมดาน (ยูเครน: Євромайдан ความหมายตามอักษร "จัตุรัสยูโร") เริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 หลังจากที่ประธานาธิบดีวิกตอร์ ยานูกอวึช ตัดสินใจระงับความตกลงสมาคมระหว่างยูเครนกับสหภาพยุโรปและแสวงหาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับรัสเซีย ชาวยูเครนบางส่วนออกไปตามท้องถนนเพื่อแสดงการสนับสนุนสำหรับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับยุโรป

              ในขณะเดียวกัน ทางตะวันออกของประเทศที่ประชากรพูดภาษารัสเซียเป็นส่วนใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่ต่อต้านการประท้วง ยูโรไมดาน แทนที่จะสนับสนุนรัฐบาลยานูกอวึช เมื่อเวลาผ่านไป ยูโรไมดาน ได้อธิบายถึงกระแสของการประท้วงและความไม่สงบในยูเครน ขอบเขตของการพัฒนาที่รวมถึงการเรียกร้องให้ประธานาธิบดียานูกอวึชและรัฐบาลของเขาลาออก

            ความรุนแรงเพิ่มขึ้นหลังจากวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2014 เมื่อรัฐบาลยอมรับกฎหมายต่อต้านการประท้วงฉบับใหม่ ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่มีความรุนแรงเข้ายึดอาคารในใจกลางกรุงเคียฟ รวมถึงอาคารกระทรวงยุติธรรม และการจลาจลทำให้มีผู้เสียชีวิต 98 ราย บาดเจ็บประมาณ 15,000 คน และสูญหายประมาณ 100 รายตั้งแต่วันที่ 18 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ และในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ประธานาธิบดียานูกอวึชได้ลงนามในข้อตกลงประนีประนอมกับผู้นำฝ่ายค้านที่สัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเพื่อฟื้นฟูอำนาจบางอย่างให้รัฐสภาและเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งในช่วงต้นเดือนธันวาคม

            อย่างไรก็ตาม สมาชิกรัฐสภายูเครนลงมติเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ให้ถอดถอนประธานาธิบดีและกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 25 พฤษภาคม เพื่อเลือกประธานาธิบดีคนใหม่

           การขับไล่ยานูกอวึช ทำให้วลาดีมีร์ ปูติน เริ่มเตรียมการผนวกไครเมียในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 (2557) แปตรอ ปอรอแชนกอ ผู้ซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนสหภาพยุโรป ชนะด้วยคะแนนเสียงมากกว่าร้อยละ 50 จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องมีการเลือกตั้งรอบที่สอง ในระหว่างการเลือกตั้งของเขา ปอรอแชนกอประกาศว่าลำดับความสำคัญในทันทีของเขาคือการดำเนินการกับเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคตะวันออกของยูเครนและการแก้ไขความสัมพันธ์กับรัสเซีย

             ปอรอแชนกอเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2014 (2557) ตามที่โฆษกหญิงของเขา Irina Friz ประกาศก่อนหน้านี้ พิธีเข้ารับตำแหน่งจะเป็นพิธีที่ไม่สำคัญโดยและไม่มีการเฉลิมฉลองที่จัตุรัสอิสรภาพในกรุงเคียฟ (ศูนย์กลางของการประท้วง ยูโรไมดาน สำหรับพิธีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 มีการจัดการเลือกตั้งรัฐสภา กลุ่ม "โซลิดาริตี" ของปอรอแชนกอ ได้ที่นั่งไป 132 ที่นั่งจากทั้งหมด 423 ที่นั่ง

 

การแทรกแซงของรัสเซียในลูฮันสก์และดอแนตสก์และการบุกครองไครเมีย

          การบุกครองโดยรัสเซีย ค.ศ. 2022 (2565)

           ในฤดูใบไม้ผลิของ ค.ศ. 2021 (2564) รัสเซียเริ่มระดมกองกำลังไปประจำการตามแนวชายแดนยูเครน-รัสเซีย

         เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 (2565) วลาดีมีร์ ปูติน ได้สั่งให้กองกำลังรัสเซียเคลื่อนเข้าไปยังสาธารณรัฐดอแนตสก์และลูฮันสก์ของยูเครนที่แยกตัวออกมาจากประเทศแม่ โดยเรียกกองกำลังเหล่านี้ว่า "กองกำลังรักษาสันติภาพ"

         ปูตินยังได้รับรองอย่างเป็นทางการว่า อดีตพื้นที่ของยูเครนเหล่านี้ได้กลายเป็นรัฐอธิปไตยและเป็นอิสระจากรัฐบาลยูเครนอย่างเต็มรูปแบบ

          ในช่วงเช้าของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 (2565) วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ได้ประกาศ "ปฏิบัติการทางทหารพิเศษ" เพื่อทำให้ยูเครนนั้นปลอดทหาร ต่อมาภายในวันเดียวกัน รัฐบาลยูเครนประกาศว่า รัสเซียได้เข้าไปควบคุมเชอร์โนบิล เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

   

การเมืองการปกครอง

ฝ่ายบริหาร

           ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยสภาสูงสุดเป็นผู้เสนอชื่อ และประธานาธิบดีเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ

 

ฝ่ายนิติบัญญัติ

         ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นระบบสภาเดียว คือ สภาสูงสุด (Supreme Rada) มีสมาชิก 450 คน (เลือกตั้งโดยตรง 225 ที่นั่ง แบบสัดส่วน 225 ที่นั่ง) โดยมีการเลือกตั้งทุก ๆ 4 ปี

 

นโยบายต่างประเทศ

          ยูเครนดำเนินนโยบายมุ่งสู่ตะวันตกมาโดยตลอด ในช่วงแรกหลังการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต โดยตั้งเป้าที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาของทวีปยุโรปและแยกตัวออกจากกรอบความสัมพันธ์กับรัสเซียและประเทศอดีตสหภาพโซเวียต แต่ต่อมา ยูเครนได้ปรับทิศทางของนโยบายต่างประเทศให้สมดุลมากขึ้น โดยหันมาให้ความสำคัญกับรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) ด้วย ในปัจจุบัน กล่าวได้ว่า นโยบายต่างประเทศของยูเครนอยู่บนพื้นฐานของการสร้างดุลยภาพระหว่างการบูรณาการกับตะวันตกและการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความผูกพันทางเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์การเมือง

  

ทิศทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของยูเครนในปัจจุบัน

          การดำเนินนโยบายต่างประเทศของยูเครนภายใต้รัฐบาลของนาง Tymoshenko ยังคงมุ่งเน้นปัจจัยหลัก 3 ประการ เช่นเดียวกับรัฐบาลชุดก่อน ได้แก่ พัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีกับรัฐต่าง ๆ โดยเฉพาะเทศเพื่อนบ้าน ประเทศมหาอำนาจ และประเทศหุ้นส่วนสำคัญทางยุทธศาสตร์

 การบูรณาการเข้าสู่สหภาพยุโรปและนาโต้

ความร่วมมือในกรอบพหุภาคี

ความสัมพันธ์กับรัสเซีย

            ช่วงแรก ในช่วง 10 ปีแรก หลังการแยกตัวจากสหภาพโซเวียต ยูเครนดำเนินนโยบายมุ่งสู่ตะวันตก หันไปให้ความสำคัญกับสหรัฐ ฯ และประเทศตะวันตก และพยายามหลีกหนีอิทธิพลของรัสเซีย ในขณะที่รัสเซียก็ไม่สามารถยอมรับการเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ของยูเครนได้ เนื่องจากยูเครนหรือ Little Russia ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซียมาโดยตลอด พร้อมกันนี้ ความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวยูเครนกับชาวรัสเซียที่อาศัยอยู่ในยูเครนได้ปะทุขึ้นภายหลังจากที่ยูเครนประกาศเอกราชจากรัสเซีย ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดสถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียกับยูเครนหลายครั้ง เช่น การแย่งชิงคาบสมุทรไครเมีย และปัญหากรรมสิทธิกองเรือของรัสเซียในทะเลดำ เป็นต้น ทั้งนี้ ความพยายามลดการพึ่งพารัสเซียทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดได้แก่ การที่ยูเครนพยายามแสวงหาแหล่งน้ำมันและพลังงานจากแหล่งอื่น ๆ นอกเหนือจากรัสเซีย เช่น อิหร่าน และดินแดนปกครองตนเองในรัสเซีย

           ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนกับรัสเซียได้กลับมาใกล้ชิดกันมากขึ้น หลังจากที่ได้ห่างเหินเป็นเวลายาวนานในช่วงหลังการประกาศอิสรภาพ การปรับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งเริ่มจากการลงนามในความตกลงเพื่อหาข้อยุติสำหรับปัญหากองเรือทะเลดำเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 ทั้งนี้ ความตกลงฯ ได้กำหนดให้รัสเซียได้สิทธิในการเช่าฐานทัพเรือยูเครนที่เมืองเซวาสโตโพล (Sevastopol) เพื่อเป็นที่ตั้งกองเรือของตนต่อไปอีก 20 ปี

             ทั้งสองประเทศได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษเพื่อร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ (Bilateral Commission) และรวมไปถึงการพิจารณาปัญหาความขัดแย้งในการปักปันเขตแดน การจัดทำแผนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ 10 ปี (ปี ค.ศ. 1998 - 2007) ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างสองประเทศในเรื่องการปฏิรูปเศรษฐกิจ แนวทางในการร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและแนวทางในการขยายปริมาณการค้าระหว่างกัน รวมทั้งความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ กว่า 100 โครงการ เช่น ด้านการบิน การพลังงาน การสำรวจอวกาศ เป็นต้น ซึ่งแผนความร่วมมือดังกล่าว จะเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมปริมาณการค้าและการลงทุนระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งมีมูลค่า 14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ เมื่อปี ค.ศ. 1997 ให้เพิ่มขึ้นอีกสองเท่าครึ่งในอีก 10 ปี ข้างหน้า นอกจากนั้น ยังมีความตกลงระหว่างรัฐบาลอีกหลายฉบับ เช่น ความร่วมมือด้านการสื่อสาร การศึกษาและการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมร่วม เพื่อกระตุ้นให้เห็นถึงพัฒนาการความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัสเซียกับยูเครน รวมทั้งได้มีการลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือและมิตรภาพ (Treaty of Friendship, Co-operation and Partnership) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1997 เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรบนพื้นฐานของการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (strategic partnership) การเคารพซึ่งกันและกัน และในฐานะเพื่อนบ้านที่ดีระหว่างกันอย่างแน่นแฟ้นต่อไป และผู้นำทั้งสองเห็นพ้องที่จะให้จัดตั้งคณะทำงานร่วม anti - crisis group เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และยืนยันที่จะผลักดันรัฐบาลของแต่ละฝ่ายให้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ

             เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2002 นายกรัฐมนตรี Mikhail Kasyanov ของรัสเซียและนายกรัฐมนตรี Anatoliy Kinakh ของยูเครนในขณะนั้น ได้ลงนามร่วมกันในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ นาย Alexei Miller ประธานกรรมการบริษัท Gazprom ของรัสเซียก็ได้ลงนามในเอกสารร่วมกับนาย Yury Buiko ประธานกรรมการบริษัท Nallogaz Ukrainy ของยูเครน เพื่อการจัดตั้งองค์กรร่วมทุนระหว่างประเทศ (international consortium) เพื่อพัฒนาและดำเนินการเกี่ยวกับระบบการขนส่งก๊าซในยูเครน โดยองค์กรดังกล่าวจะจัดตั้ง จดทะเบียน และดำเนินการภายใต้กฎหมายของยูเครน โดยสำนักงานจะตั้งอยู่ที่เคียฟ และในอนาคตรัสเซียและยูเครนจะเปิดโอกาสให้บริษัทต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปเข้ามามีส่วนร่วมในองค์กรร่วมทุนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ รัสเซียและยูเครนได้เคยลงนามในสัญญาร่วมกันเพื่อการขนส่งก๊าซจากรัสเซียผ่านท่อก๊าซของยูเครนถึงปีค.ศ. 2013 ไม่ต่ำกว่า 110 พันล้านคิวบิกเมตร และปัจจุบัน รัสเซียส่งก๊าซไปยังยุโรปโดยผ่านระบบท่อส่งก๊าซในยูเครนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของนาง Tymoshenko น่าจะลดความสำคัญในการร่วมมือกับรัสเซียลงกว่ารัฐบาลชุดที่แล้ว

 

ความขัดแย้งเรื่องราคาก๊าซธรรมชาติระหว่างยูเครนกับรัสเซีย

             ก่อนหน้านี้ ยูเครนและรัสเซีย ได้เจรจาข้อขัดแย้งในกรณีที่รัสเซียระงับการจ่ายก๊าซธรรมชาติให้ยูเครน หลังจากที่ยูเครนไม่ยอมตามที่รัสเซียประกาศจะขึ้นราคาก๊าซ 4 เท่า จากเดิม 50 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร เป็น 220 - 230 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ตามราคาตลาดยุโรป เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ยูเครน และประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ซึ่งนำเข้าก๊าซจากรัสเซียผ่านท่อก๊าซในยูเครน ประสบกับปัญหาด้านพลังงาน ท่ามกลางภูมิอากาศที่หนาวเย็นที่สุดในรอบหลายปี ในเบื้องต้น ยูเครนและรัสเซียสามารถตกลงกันได้ในระดับหนึ่ง โดยยูเครนจะนำเข้าก๊าซจากรัสเซียผ่านบริษัท Rosukrenergo ซึ่งรัสเซีย ถือหุ้นอยู่ครึ่งหนึ่ง โดยบริษัท Rosukrenergo จะซื้อก๊าซจากรัสเซียในราคา 230 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร และขายก๊าซที่ตนซื้อจากเติร์กเมนิสถาน ซึ่งมีราคาถูกกว่าให้ยูเครนในราคา 95 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร เป็นเวลา 5 ปี ทั้งนี้ สำหรับปี 2551 รัฐบาลยูเครนภายใต้การนำของนาย Viktor Yanukovych อดีต นรม. ได้ลงนามความตกลงกับรัสเซียที่จะนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียในราคา 179.5 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งขึ้นจาก 130 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2550

 

ความขัดแย้งบริเวณช่องแคบเคียร์ช

              ช่องแคบ Kerch ตั้งอยู่ระหว่างเกาะ Tuzla ของยูเครนและ Taman Peninsula ของรัสเซีย และเป็นช่องทางผ่านจากทะเล Azov เข้าสู่ทะเลดำ ซึ่งนับตั้งแต่การประกาศเอกราชของยูเครนจากสหภาพโซเวียต ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถบรรลุการเจรจาปักปันเขตแดนในบริเวณนี้ แต่เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2003 รัสเซียได้เริ่มสร้างเขื่อนในบริเวณช่องแคบ Kerch เพื่อเชื่อมชายฝั่งบริเวณคาบสมุทร Taman ของรัสเซีย เข้ากับเกาะ Tuzla ของยูเครน โดยอ้างว่าเขื่อนดังกล่าวจะช่วยลดการพังทลายของพื้นที่ชายฝั่งของรัสเซีย แต่ยูเครนเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดอธิปไตยทางดินแดนของตน จึงได้ส่งกองทัพเข้าไปประจำการในเกาะ Tuzla และทำการซ้อมรบในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งรัฐสภายูเครนได้ลงมติว่า การกระทำของรัสเซียถือได้ว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นมิตร ทำให้เกิดสถานการณ์การเผชิญหน้าที่ตึงเครียดระหว่างสองประเทศ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายได้พยายามเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวในหลายระดับ โดยการเจรจาครั้งสำคัญมีขึ้นระหว่างประธานาธิบดี Kuchma ของยูเครน และประธานาธิบดี Vladimir Putin ของรัสเซีย ที่แหลมไครเมีย เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2003 ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการใช้ประโยชน์ร่วมกันบริเวณช่องแคบ Kerch และทะเล Azov และล่าสุดมีรายงานข่าวว่า การเจรจาระหว่างยูเครนและรัสเซียรอบแรกว่าด้วยการปักปันเขตแดนทางทะเลบริเวณช่องแคบ Kerch และทะเล Azov จะจัดขึ้นที่กรุงมอสโก ระหว่างวันที่ 29 - 30 มกราคม ค.ศ. 2004

 

ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มเครือรัฐเอกราช

            ยูเครนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับโปแลนด์ และมีบทบาทสำคัญในกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) รองจากรัสเซีย รวมทั้งมีบทบาทนำในองค์กรในระดับอนุภูมิภาค เช่น กลุ่ม GUUAM (Georgia - Ukraine - Uzbekistan - Azerbaijan - Moldova) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศ CIS ที่นิยมตะวันตกและสนับสนุนให้ CIS รวมตัวเฉพาะทางเศรษฐกิจเท่านั้น กลุ่ม Organization for Black Sea Economic Cooperation และอยู่ในกลุ่มความร่วมมือ Common Economic Space (CES) ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างรัสเซีย ยูเครน เบลารุส และคาซัคสถาน นอกจากนี้ ยูเครนยังมีแผนที่จะร่วมมือกับอาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย และมอลโดวา                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                  

ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก

สหภาพยุโรป

             ยูเครนและสหภาพยุโรปได้จัดทำความตกลงภายใต้ Partnership and Cooperation Agreement ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2541 อย่างไรก็ตาม ความตกลงดังกล่าวมิได้ขยายไปถึงการจัดทำ Association Agreement ตามที่ยูเครนแสดงความประสงค์ โดยสหภาพยุโรปได้แต่ยอมรับถึงความประสงค์ของยูเครนที่จะยกระดับความสัมพันธ์ไปสู่การเป็น Association ระหว่างกันเท่านั้น ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการเข้าร่วมเป็นสมาชิก EU ของยูเครนคือ การที่ยูเครนยังไม่ได้รับการยอมรับว่ามีเศรษฐกิจระบบตลาดและยังมีปัญหาในเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอยู่มาก

             รัฐบาลภายใต้การนำของนาง Tymoshenko น่าจะดำเนินนโยบายที่มุ่งกระชับความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปมากกว่ารัฐบาลชุดก่อน โดยเน้นการรวมตัวกับสหภาพยุโรปเป็นหลัก โดยเฉพาะการจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป เพื่อทดแทน Parnership and Cooperation Agreement ซึ่งสิ้นอายุไปเมื่อปลายปี 2550 ทั้งนี้ คาดว่ายูเครนยังคงไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปในรัฐบาลชุดนี้ได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่ายูเครนยังจะสามารถเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกได้ในปี 2551 ภายหลังจากที่ได้ดำเนินการเจรจาทวิภาคีกับประเทศที่เกี่ยวข้องเมื่อปี 2550 ซึ่งน่าจะปูทางไปสู่การเข้าเป็นสมาชิก EU ได้ต่อไปในอนาคต

 

สหรัฐ

              ความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนกับสหรัฐดำเนินภายใต้โครงการความช่วยเหลือ Freedom for Russia and Emerging Eurasian Democracies and Open Markets Support Act ซึ่งผ่านการรับรองจากรัฐสภาสหรัฐเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1992 (2535) โดยมียอดเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในบรรดาประเทศอดีตสหภาพโซเวียต ยูเครนได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากสหรัฐมากที่สุด โดยในปี ค.ศ. 2000 (2543) ยูเครนได้รับเงินช่วยเหลือ 168 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากยอดรวม 216 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งกำหนดที่จะให้ประเทศ CIS ทั้งหมด นอกจากนี้ ยูเครนยังได้รับเงินสนับสนุนจากสหรัฐอีก จำนวน 74 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายใต้โครงการ Western NIS Enterprise Fund ซึ่งเป็นเงินช่วยเหลือแก่วิสาหกิจเอกชนของยูเครน แต่ภายหลังที่มีข่าวเรื่องยูเครนขายอาวุธให้แก่อิรักแล้ว มีรายงานข่าวว่า ในปี ค.ศ. 2003 รัฐบาลสหรัฐได้ปฏิเสธการให้เงินช่วยเหลือจำนวน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่รัฐบาลยูเครน และจะโอนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่หน่วยงานหรือกลุ่มผู้รณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนในยูเครนแทน อย่างไรก็ดี ยูเครนได้ส่งทหารจำนวน 1,600 นาย เข้าไปร่วมกับกองกำลังของพันธมิตรในการฟื้นฟูบูรณะอิรัก เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2003 ซึ่งคาดว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความพยายามที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับสหรัฐ อันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนให้ยูเครนได้เข้าเป็นสมาชิก NATO ได้ในอนาคต อนึ่ง ยูเครนเข้าร่วมใน OSCE ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 เป็นสมาชิกของ North Atlantic Cooperation Council และเป็นสมาชิก Partnership for Peace ในกรอบนาโต อย่างไรก็ดี นโยบายที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO ของนาง Tymoshenko อาจถูกต่อต้านจากฝ่ายค้านและประชาชนจำนวนมากที่ให้การสนับสนุนพรรคฝ่ายค้าน

 

ความสัมพันธ์กับไทย

การทูต

          ความสัมพันธ์ทวิภาคีดำเนินไปอย่างราบรื่น มีกลไกที่พร้อมสนับสนุนการพัฒนาความสัมพันธ์ในระดับหนึ่ง โดยไทยมอบหมายสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก มีเขตอาณาดูแลยูเครน ขณะที่ยูเครนจัดตั้งสถานเอกอัคราชทูตขึ้นที่ประเทศไทย มีความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (Joint Commission) ระหว่างไทยกับยูเครน ความตกลงระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับสภาหอการค้าและอุตสหกรรมยูเครน เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทสายการบิน Aerosvit ของยูเครนได้เปิดเส้นทางการบินตรงระหว่างไทยกับยูเครนสัปดาห์ละ 3 เที่ยวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ใน พ.ศ. 2549 มีนักท่องเที่ยวยูเครนมาไทยถึง 15,000 คน ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยไปยูเครนประมาณ 50 คน

  

การเมือง

            ไทยมีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับยูเครนตั้งแต่ยูเครนยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย และ สหภาพโซเวียตตามลำดับ หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในช่วงปลาย พ.ศ. 2534 โดยสาธารณรัฐต่าง ๆ ซึ่งเคยรวมเป็นสหภาพโซเวียต ได้แยกตัวออกเป็นอิสระ และประกาศตัวเป็นเอกราชรวม 12 ประเทศ ไทยได้ให้การรับรองเอกราชของประเทศเหล่านี้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ต่อมาไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับยูเครน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยให้อยู่ในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก และใน พ.ศ. 2550 ได้แต่งตั้งนายมิโคโล ราดุดสกี (Mykhajlo Radoutskyy) เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำยูเครน ส่วนยูเครนได้ตั้งสถานเอกอัครราชทูตยูเครนประจำประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยมีนายอีกอร์ ฮูเมนนี (Ihor Humennyi) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตยูเครนประจำประเทศไทย และ มีนายปรีชา ถิรกิจพงศ์ ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ยูเครนประจำประเทศไทย

 

การแบ่งเขตการปกครอง

            ยูเครนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 24 แคว้น (о́бласть) 1 สาธารณรัฐปกครองตนเอง (автоно́мна респу́бліка) และ 2 นครสถานะพิเศษ (мі́сто зі спеціа́льним ста́тусом) ได้แก่

            ยูเครนยังมีอาณาเขตทางทิศใต้ติดต่อกับคาบสมุทรไครเมียในทางพฤตินัย โดยรัสเซียผนวกไครเมียมาจากยูเครนใน ค.ศ. 2014 แต่ยูเครนยังคงอ้างสิทธิ์ว่าคาบสมุทรนี้เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตนและได้รับการสนับสนุนจากนานาชาติในประเด็นนี้ รวมดินแดนคาบสมุทรไครเมียซึ่งเป็นกรณีพิพาทอยู่ ไม่รวมดินแดนคาบสมุทรไครเมียซึ่งเป็นกรณีพิพาทอยู่

 

ทำไมรัสเซียจึงทาสงครามกับยูเครน

        จุดเริ่มต้นความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 ที่กรุงเคียฟของยูเครน มีการประท้วงต่อต้านประธานาธิบดี “วิกตอร์ ยากูโนวิช” ที่ปฏิเสธแผนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับสหภาพยุโรป ระหว่างการประท้วงในยูเครน รัสเซียให้การสนับสนุนยากูโนวิช ขณะที่สหรัฐและยุโรปสนับสนุนผู้ประท้วง24 ก.พ. 2565

 

รัสเซีย-ยูเครน: สรุปที่มาความขัดแย้ง รวมทุกเรื่องที่ควรรู้

               ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน สร้างความกังวลว่าจะนำไปสู่สงครามเต็มรูปแบบ

 เรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ?

           วันที่ 24 มกราคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่อาจนำไปสู่สงครามเต็มรูปแบบ มีชนวนจากการแย่งชิงอำนาจเชิงยุทธศาสตร์ และข้อพิพาทเรื่องพรมแดน

         พยากรณ์อากาศ กรมอุตุฯเตือนรับมือ “พายุฤดูร้อน” 26 จังหวัดเจอหนักสุด

วิล สมิธ ตบหน้า คริส ร็อก เล่นมุกล้อทรงผมภรรยาบนเวทีออสการ์รู้ยัง! เพิ่มคุ้มครองประกันรถใหม่ ตายรับขั้นต่ำ 1 ล้านต่อราย ดีเดย์ 1 เม.ย.นี้

ฝั่งรัสเซียมองว่ายูเครนเป็นกันชนสำคัญในการต้านอิทธิพลจากองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ ส่วนยูเครนมองว่ารัสเซียเป็นผู้บุกรุกที่ยึดครองดินแดนของตนไปแล้วบางส่วน

               ต่อไปนี้คือประเด็นที่จะช่วยให้เข้าใจที่มาของความขัดแย้ง และสถานการณ์ในปัจจุบัน

 จุดเริ่มต้นความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน

               ยูเครนเป็นประเทศที่มีขนาด 603,628 ตารางกิโลเมตร คั่นกลางระหว่างรัสเซียกับยุโรป

              ยูเครนเป็นสมาชิกของสหภาพโซเวียตถึงปี 2534 หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็กลายเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์ เศรษฐกิจซบเซา และนโยบายต่างประเทศอ่อนแอ แกว่งไปมาระหว่างการสนับสนุนรัสเซียกับการสนับสนุนยุโรป

              เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 ที่กรุงเคียฟของยูเครน มีการประท้วงต่อต้านประธานาธิบดี “วิกตอร์ ยากูโนวิช” ที่ปฏิเสธแผนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับสหภาพยุโรป

             ระหว่างการประท้วงในยูเครน รัสเซียให้การสนับสนุนยากูโนวิช ขณะที่สหรัฐและยุโรปสนับสนุนผู้ประท้วง

             ประธานาธิบดียากูโนวิชหลบหนีออกนอกประเทศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557 หลังกองกำลังความมั่นคงของยูเครนปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรง ทำให้การประท้วงลุกลามขึ้น ซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลง

            ในเวลาไล่เลี่ยกัน ชาวไครเมียตัดสินใจอยู่ฝั่งเดียวกับสหพันธรัฐรัสเซีย ผ่านการลงประชามติหาข้อสรุปในพื้นที่พิพาท เมื่อเดือนมีนาคม 2557  กองทัพรัสเซียจึงได้เข้ายึดครองภูมิภาคไครเมีย ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของยูเครน ก่อนการผนวกรวมอย่างถูกกฎหมาย

                ประธานาธิบดี “วลาดิมีร์ ปูติน” ของรัสเซีย ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการรักษาสิทธิของชาวรัสเซียและผู้ที่ใช้ภาษารัสเซีย ทั้งในไครเมียและทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครน ตลอดมา

                 เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความตึงเครียดทางชาติพันธุ์รุนแรงขึ้น และผู้แบ่งแยกดินแดนซึ่งสนับสนุนรัสเซีย ในภูมิภาคดาเนียตสก์ และภูมิภาคลูกานสก์ ทางตะวันออกของยูเครน ได้จัดการลงประชามติในอีก 2 เดือนต่อมา เพื่อประกาศอิสรภาพจากยูเครน

 

ความพยายามเพื่อสันติภาพ

               การนองเลือดเกิดขึ้นนานหลายเดือน หลังผู้แบ่งแยกดินแดนในภูมิภาคดาเนียตสก์ และภูมิภาคลูกานสก์ ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อประกาศอิสรภาพจากยูเครน

               แม้ว่ายูเครนกับรัสเซียจะลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพที่กรุงมินสค์เมื่อปี 2558 แล้วก็ตาม ทั้งนี้ สนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสและเยอรมนี อย่างไรก็ตาม มีการละเมิดการหยุดยิงหลายต่อหลายครั้ง

           สหประชาชาติประมาณการว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557 มีพลเรือนมากกว่า 3,000 คน ที่ต้องสังเวยชีวิตในยูเครนตะวันออก ผลจากความขัดแย้งดังกล่าว

          บรรดาผู้นำของรัสเซีย ยูเครน ฝรั่งเศส และเยอรมนี ร่วมประชุมกันที่กรุงปารีส เมื่อเดือนธันวาคม 2562 เพื่อย้ำจุดยืนที่เคยแสดงไว้ต่อข้อตกลงสันติภาพเมื่อปี 2558 แต่การประชุมครั้งนั้น มีความคืบหน้าเรื่องการระงับข้อพิพาททางการเมืองเพียงเล็กน้อย

 

ยูเครนเข้าร่วมนาโต้ สำคัญอย่างไรกับปูติน?

           นาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2492 เพื่อตอบโต้การรุกรานของสหภาพโซเวียต

          นับตั้งแต่นั้นมา พันธมิตรของนาโต้ก็เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีทั้งหมด 30 ประเทศ ซึ่งรวมถึงลิทัวเนีย เอสโตเนีย และลัตเวีย ทั้งหมดนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตมาก่อน

          ตามสนธิสัญญาของนาโต้ หากประเทศพันธมิตรนาโต้ถูกรุกรานหรือโจมตีโดยประเทศนอกกลุ่ม ประเทศพันธมิตรทั้งหมดจะต้องระดมกำลังเพื่อปกป้อง

           ทางการรัสเซียต้องการให้นาโต้รับรองว่า ยูเครนและจอร์เจีย จะไม่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรนาโต้ ทั้งนี้ สองประเทศดังกล่าวเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตเช่นกัน และรัสเซียเคยบุกรุกในช่วงสั้น ๆ เมื่อปี 2551

          ปูตินไม่สามารถปฏิเสธสิทธิของยูเครนได้ แต่ตามคำบอกเล่าของทีมบริหารไบเดนและพันธมิตรนาโต้ คาดว่านาโต้เองก็ยังไม่มีแผนมอบสมาชิกภาพให้กับยูเครนในเร็ว ๆ นี้

 สถานการณ์ที่ชายแดนตอนนี้เป็นอย่างไร

               สหรัฐ และนาโต้ มองว่าความเคลื่อนไหวและความตึงเครียดทางทหารทั้งในและพื้นที่โดยรอบยูเครน มีความ “ผิดปกติ”

              แม้จะมีคำเตือนจากประธานาธิบดี “โจ ไบเดน” ของสหรัฐ รวมถึงผู้นำหลายชาติในยุโรป ว่า การรุกรานของปูตินจะทำให้เกิดหายนะ แต่กองทหารรัสเซียมากกว่า 100,000 นาย ยังคงประจำการอยู่ใกล้ชายแดนยูเครน

              ตามข้อสรุปของหน่วยข่าวกรองสหรัฐ ที่เผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคม ระบุว่า รัสเซียอาจเริ่มปฏิบัติการทางทหารในยูเครนในปีนี้

 หวั่นเกิดสงครามเต็มรูปแบบ

           หากรัสเซียเพิ่มกำลังทหารในยูเครนหรือในประเทศต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตรนาโต้ ความขัดแย้งในยูเครนเสี่ยงที่จะทวีความรุนแรงขึ้น และอาจนำไปสู่สงครามเต็มรูปแบบ

          ความเคลื่อนไหวของรัสเซียทำให้เกิดความกังวลว่า เหล่าประเทศพันธมิตรนาโต้จะออกมาตอบโต้รัสเซีย

            การสู้รบในอดีตได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐและยุโรปตึงเครียดขึ้น ทั้งยังส่งผลเสียต่อโอกาสในการร่วมมือกันในด้านอื่น ๆ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย, การควบคุมอาวุธ และการแก้ปัญหาทางการเมืองในซีเรีย

 

รัสเซีย-ยูเครน: ความขัดแย้งในชาติยุโรป โอกาสที่ดีที่สุดของ “ปูติน”

 ทำไมรัสเซียถึงบุกยูเครน : คำตอบในภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์

 

รัสเซีย" ขัดแย้งกับ "ยูเครน" เพราะอะไร

              เปิดที่มาความขัดแย้งระหว่างยูเครน และรัสเซีย ว่าเกิดอะไรขึ้นบริเวณชายแดน ขณะที่สหรัฐฯ และนาโต มีความสำคัญยังไง หากเกิดสงครามแล้วจะส่งผลอย่างไร

            วันนี้ (22 ก.พ.2565) "ยูเครน" เป็นประเทศที่คั้นกลางระหว่างรัสเซีย และยุโรป ด้านบน เป็นเบลารุส ด้านซ้ายเป็นโปแลนด์ ซึ่งตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ทหารรัสเซียไปประจำการบริเวณชายแดน มีทั้งรถถัง ปืนใหญ่ เครื่องกระสุน และกำลังทางอากาศ แม้ว่าผู้นำรัสเซียจะยืนยันว่าไม่ได้ตั้งใจจะบุกยูเครน แต่นานาชาติกังวล และระบุว่ามีความเป็นไปได้สูงที่รัสเซียจะบุกยูเครน

 

นักวิชาการมองรัสเซียรื้อฟื้น "จักรวรรดินิยม"

            นายอดุลย์ กำไลทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านรัสเซีย เปิดเผยว่า ทางยุโรปรู้ว่ารัสเซียกำลังคืบคลาน โดยการรื้อฟื้นระบบจักรวรรดินิยมแบบโซเวียตกลับมาใหม่อีกครั้ง และผลที่เห็นชัดคือได้ไครเมียไปแล้ว และอนาคตถัดไปอาจจะเป็นยูเครนตะวันออก หรืออาจจะเป็นยูเครนทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงมีความหวาดระแวงกัน

 ขณะเดียวกัน ทางรัสเซียมีความไม่สบายใจ และคิดว่าเกมที่สหรัฐฯ และตะวันตกพยายามเข้ามา ทำให้ยูเครนเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) จะเป็นข้ออ้างสำคัญในการนำไครเมียมาให้ยูเครน

 

"ยูเครน" แยกตัวออกมาหลังโซเวียตล่มสลาย

              ในอดีต รัสเซียและยูเครนเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ต่อมาในปี 1991 สหภาพโซเวียตล่มสลาย ทำให้ยูเครนประกาศอิสรภาพ แยกตัวออกมา แต่ยูเครน ถือว่าเป็นประเทศที่ไม่ได้มีประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ เพราะว่ามีนโยบายการต่างประเทศที่ไม่ชัดเจนว่าจะสนับสนุนรัสเซีย หรือสนับสนุนยุโรป

            ปี 2013 คือบททดสอบว่ายูเครนจะเข้าร่วมฝั่งตะวันตกอย่างยุโรป หรือจะกลับไปสู่อ้อมอกของรัสเซียอีกครั้ง ซึ่งในขณะนั้น ยูเครนภายใต้การนำของประธานาธิบดี วิกเตอร์ ยานูโควิช กำลังจะเข้าร่วมกับสหภาพยุโรป (อียู) แต่สุดท้ายไปลงนามกับรัสเซีย จับไม้จับมือกับ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย

               ชาวยูเครนหลายคนเลยมองว่านี่อาจจะเป็นการกดดันจากรัสเซีย ทำให้เกิดการประท้วงต่อต้านประธานาธิบดี วิกเตอร์ ที่ถูกมองว่าเข้าข้างรัสเซีย ที่กรุงเคียฟในยูเครน หากพูดให้เห็นภาพคือรัสเซียสนับสนุน วิกเตอร์ ยานูโควิช ส่วนสหรัฐฯ และยุโรป สนับสนุนผู้ประท้วง

              ในปี 2014 กองกำลังความมั่นคงของยูเครน ปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรง สถานการณ์แย่ลงเรื่อย ๆ ทำให้ประธานาธิบดี ยานูโควิช ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ สุดท้ายประธานาธิบดีคนใหม่ของยูเครน ได้ลงนามข้อตกลงกับอียู

 

"รัสเซีย" ใช้กำลังผนวกไครเมียในปี 2014

               ในเวลาเดียวกัน ในเดือน มี.ค.2014 รัสเซียใช้กำลังผนวกเขตไครเมีย ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน โดยอ้างว่าเพื่อคุ้มครองชาวรัสเซียในเขตไครเมีย โดยคนส่วนใหญ่ที่ไครเมีย พูดภาษารัสเซีย

               จากนั้น จัดการลงประชามติ ส่งผลให้ไครเมียประกาศอิสรภาพจากยูเครน และผนวกดินแดนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย แต่นานาชาติไม่รับรองความชอบธรรมในการออกเสียงในครั้งนั้น

 

ยุโรปหวั่นเสียท่า "รัสเซีย-ปูติน" อีกครั้ง

           นายอดุลย์ กล่าวว่า เหตุการณ์ปี 2014 เป็นเหตุการณ์ที่ใครก็คิดไม่ถึงว่าปูติน จะมามุกนี้ ซึ่งจริงๆ เหตุการณ์ปี 2014 เกิดจากการที่ก่อนปี 2014 รัฐบาลยูเครนเป็นรัฐบาลที่สนับสนุนรัสเซีย ขณะที่ตะวันตกสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงแต่พอได้ผู้นำใหม่ที่สนับสนุนตะวันตก ก็เกิดปะทะกันในสงครามการเมืองก่อน และรัสเซียใช้เหตุการณ์นี้เข้ามาเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของชาวรัสเซียที่อยู่ในไครเมีย แล้วเลยกลายเป็นการประกาศเอกราชขึ้นมา และเข้ามาอยู่รวมกับรัสเซีย

             สำหรับเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่คิดไม่ถึง แต่กลายเป็นว่าพอเกิดขึ้นแล้ว จึงกลายเป็นโดมิโน เอฟเฟกต์ กับแคว้นต่างๆ ทางตะวันตกไม่อยากให้มีการซ้ำรอย และมองว่ารัสเซียน่าจะใช้กลยุทธ์เดิม ๆ

             แต่มองว่าการกระทำของยุโรปตอนนี้กลัวว่าเสียท่ารัสเซียและปูตินอีกครั้ง เพราะรัสเซียน่าจะมีแผนอะไรบางอย่างที่สามารถที่จะยึดอะไรบางอย่างได้และหาความชอบธรรมเหมือนที่เคยทำแล้วในกรณีของไครเมีย

   

พลเรือนเสียชีวิตนับหมื่นจากเหตุบุกดอนบาส

             นอกจากการสู้รบที่ไครเมีย รัสเซียส่งกำลังพลบุกเขตดอนบาสอย่างหนัก ซึ่งการสู้รบทางตะวันออกของยูเครนในปี 2014 ทำให้พลเรือนเสียชีวิตมากกว่า 10,000 คน และมีผู้คนที่พลัดถิ่นมากกว่า 1,000,000 คน

              จากความขัดแย้งนี้นำไปสู่ข้อตกลงสนธิสัญญาที่กรุงมินสค์ ของประเทศเบลารุส ในปี 2015 หนึ่งในข้อตกลงคือการหยุดยิง แต่รัสเซียก็ยังมีการละเมิดข้อตกลงนี้หลายครั้ง

           ปี 2019 ผู้นำของรัสเซีย ยูเครน เยอรมนี และฝรั่งเศส ร่วมประชุมอีกครั้งที่กรุงปารีส ย้ำถึงข้อตกลงที่เคยคุยกันในปี 2015

 

เปิดที่มา "นาโต" อีกตัวละครที่สำคัญ

           ส่วนอีก 1 ตัวละครที่สำคัญ คือนาโต ซึ่งป็นกลุ่มพันธมิตรทางการทหารของประเทศประชาธิปไตย ฝั่งซีกโลกเหนือ ก่อตั้งขึ้่นหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ ซึ่งในขณะนั้นคือสหภาพโซเวียต ซึ่งยึดถือหลักการว่าการโจมตีประเทศใดประเทศหนึ่ง ถือเป็นการโจมตีประเทศสมาชิกทั้งหมด

            นายวิบูลพงศ์ พูนประสิทธิ์ ที่ปรึกษาสมาคมอเมริกาศึกษาในประเทศไทย กล่าวว่า ตามกฎบัตรของนาโต ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งที่เป็นสมาชิกนาโต ถูกรุกราน สมาชิกนาโตทั้งหมดจะเข้าช่วย

              อย่างไรก็ตาม เบลารุส และยูเครน ไม่ใช่สมาชิกของนาโต การที่รัสเซียบุกเข้าไปในยูเครน ไม่เป็นผลทำให้นาโตต้องตอบโต้ในแง่ของนาโต แต่จะเป็นในแง่ของกฎหมายระหว่างประเทศ ในแง่ของยูเครนเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งจะต้องโต้ในประเด็นนั้น

 

"ปูติน" หวั่นยูเครนเป็นสมาชิกนาโต

                 วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย กล่าวว่า ลองนึกดูว่ายูเครนเป็นสมาชิกของนาโตที่เต็มไปด้วยอาวุธ พร้อมระบบโจมตีที่ทันสมัยในลักษณะเดียวกับโปแลนด์และโรมาเนีย ใครจะหยุดยั้งได้ และเริ่มดำเนินการในไครเมีย ผมยังไม่ได้พูดถึงในเขตดอนบาสด้วยซ้ำ นี่คืออาณาเขตของรัสเซียที่มีอำนาจอธิปไตย

             ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านรัสเซีย กล่าวว่า เมื่อใดก็ตามที่ยูเครนเป็นสมาชิกนาโต ประธานาธิบดีปูตินเพิ่งมาพูดเองล่าสุดว่า เขารู้เกมทันทีว่าพอยูเครนเป็นสมาชิกนาโตเมื่อไหร่ จะมีการปะทะกันทันทีว่ายูเครนจะต้องเอาไครเมียคืนมา ซึ่งจะเป็นสงครามครั้งใหม่ และไม่ยอมแพ้ ซึ่งรัสเซียไม่ยอมอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นทันที ถ้ายูเครนเป็นสมาชิกของนาโต

            แต่ว่านอกเหนือจากเหตุการณ์ความรุนแรง เป็นเรื่องของความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ของรัสเซียด้วย เพราะว่าไครเมียเหมือนเป็นรั้วบ้านของรัสเซีย การที่คู่แข่งตลอดกาลของรัสเซียเข้ามาสหรัฐฯ และพันธมิตร คือเป็นการล้อมรั้วบ้านซึ่งรัสเซียรู้สึกว่าไม่สามารถขยับไปไหนได้อีกแล้ว ซึ่งรัสเซียยอมไม่ได้ เพราะฉะนั้น จุดยืนตอนนี้คือมีทางเดียวที่ปูตินจะยอมก็คือต้องมีการลงนาม หรือยืนยันเป็นทางการว่าไม่ให้ยูเครนเป็นสมาชิกของนาโต

              สาเหตุที่นาโตกำลังเป็นตัวละครสำคัญ เพราะนาโตได้ส่งกองกำลังไปประจำการบริเวณโดยรอบของยูเครน ซึ่งถ้าเทียบขุมกำลังของรัสเซีย และยูเครน จะเห็นได้ว่ายูเครนยังห่างไกลจากรัสเซียมาก นาโตจึงต้องส่งกองกำลังไปสนับสนุน ในขณะที่ยูเครนไม่ได้เป็นสมาชิกนาโต

             ประธานาธิบดีปูติน จึงกล่าวหาชาติตะวันตกว่ากำลังใช้นาโตเข้าปิดล้อมรัสเซีย และสหรัฐฯ กำลังละเมิดคำมั่นในปี 1990 ที่เคยบอกว่านาโตจะไม่ขยายอิทธิพลเข้าไปในโลกฝั่งตะวันออก

 

เทียบขุมกำลัง "ยูเครน" แพ้รัสเซียทุกประตู

               จากข้อมูลของ Global Firepower, IISS Military Balance ระบุยูเครนมีกำลังพล 1,100,000 คน เครื่องบินโจมตี 98 ลำ เฮลิคอปเตอร์โจมตี 34 ลำ รถถัง 2,596 คัน รถหุ้มเกราะ 12,303 คัน และปืนใหญ่แบบลากจูง 2,040 คัน ขณะที่รัสเซีย มีกำลังพล 2,900,000 คน เครื่องบินโจมตี 1,511 ลำ เฮลิคอปเตอร์โจมตี 544 ลำ รถถัง 12,240 คัน รถหุ้มเกราะ 30,122 คัน และปืนใหญ่แบบลากจูง 7,571 คัน

           ขณะนี้ สหรัฐฯ ส่งทหารเข้าไปประจำการที่ประเทศพันธมิตร และจะส่งทหารเข้าไปในยูเครน ถ้านาโตตัดสินใจจะตอบโต้ฉับพลัน ซึ่งสหรัฐฯ ยืนยันว่าไม่มีแผนที่จะส่งทหารเข้าไปประจำการในยูเครนด้วยตัวเอง แตว่าได้ส่งอาวุธเข้าไปช่วยเหลือทั้งเครื่องกระสุนปืนขีปนาวุธต่อต้านรถถัง และอาวุธเจาะเกราะ

  

"ไบเดน" ขู่ปูตินจะมีราคาที่ต้องจ่ายมหาศาล

             โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า ข้อแรก ผมคิดว่าปูตินยังคงไม่ต้องการให้เกิดสงครามเต็มรูปแบบ ข้อสอง ถามว่าผมคิดว่าเขาจะทดสอบตะวันตก ทดสอบสหรัฐฯ และนาโต ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้หรือไม่ ใช่ ผมคิดว่าเขาจะทำ แต่เขาจะมีราคาที่ต้องจ่ายมหาศาลสำหรับมัน ซึ่งตอนนี้เขายังไม่ได้นึกถึงว่ามันต้องแลกกับอะไร และผมคิดว่าเขาจะเสียดายที่ทำมัน

             ทั้งนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้ารัสเซียบุกยูเครน คือนาโต และประเทศพันธมิตร จะตอบโต้ในสมรภูมิรบครั้งนี้ ประชาชนจำนวนมากอาจจะเสียชีวิต และอพยพหนีการสู้รบ รวมถึงอาจจะเกิดการคว่ำบาตรระหว่างกันด้วย

 

"ปูติน" อาจอ้างส่งกำลังไปปกป้องชาวรัสเซีย

              ที่ปรึกษาสมาคมอเมริกาศึกษาในประเทศไทย กล่าวว่า ตัวหลักคือประธานาธิบดีปูตินเพียงคนเดียว เพราะว่าปัจจุบันนี้ สมมติว่ามีการส่งกำลังเข้าไปในภาคตะวันออกของยูเครน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีชาวรัสเซียอาศัยอยู่ด้วย ทางประธานาธิบดีปูตินอาจจะอ้างว่าเข้าไปปกป้องชาวรัสเซียด้วย ลักษณะการปะทะกันย่อยๆ กับยูเครน อาจจะเกิดขึ้นได้ก่อน ไม่ถึงขนาดจะเป็นการรุกรานข้ามประเทศโดยตรง

              แต่ต้องได้รับการร้องขอจากยูเครนก่อน ทางสหรัฐฯ จึงจะสามารถเข้าไปช่วยเหลือโดยตรงได้ หรือการกระทำของปูตินเป็นการขัดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง เช่น เป็นการโจมตีอย่างร้ายแรง อาจจะออกภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ หรือว่าภายใต้มติขององค์การสหประชาชาติ

                สำหรับรัสเซีย เป็นประเทศที่ครอบครองก๊าซธรรมชาติ 1 ใน 5 ของทั้่งโลก โดยแก๊สพรอม บริษัทด้านพลังงานของรัสเซีย ซึ่ยุโรปพึงพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย มากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณก๊าซธรรมชาติทั้งหมดต่อปี และยูเครนได้รับก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย ร้อยละ 50 ของที่ใช้ในยูเครน ผ่านเครือข่ายท่อส่งก๊าซหลายประเทศในยุโรป

             แต่ช่วงหลัง รัสเซียพยายามลดบทบาทของยูเครนลงด้วยการสร้างท่อส่งก๊าซนอร์ด สตรีม 1 และนอร์ด สตรีม 2 ยิงตรงไปยังเยอรมนี ผ่านทะเลบอลติก โดยเฉพาะนอร์ด สตรีม 2 ที่ยูเครนจะไม่ได้รับรายได้จากค่าผ่านทางในการเดินท่อส่งก๊าซต่อไป

 

บทวิเคราะห์/วิพากษ์

 

         จากเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 ที่กรุงเคียฟของยูเครน มีการประท้วงต่อต้าน

ประธานาธิบดี “วิกตอร์ ยากูโนวิช” ที่ปฏิเสธแผนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับ

สหภาพยุโรป ระหว่างการประท้วงในยูเครน รัสเซียให้การสนับสนุนยากูโนวิช ขณะที่

สหรัฐและยุโรปสนับสนุนผู้ประท้วง  เนื่องจากยูเครนเป็นประเทศที่มีขนาด 603,628

ตารางกิโลเมตร คั่นกลางระหว่างรัสเซียกับยุโรป ยูเครนเป็นสมาชิกของสหภาพ

โซเวียตถึงปี 2534 หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็กลายเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยไม่

สมบูรณ์ เศรษฐกิจซบเซา และนโยบายต่างประเทศอ่อนแอ แกว่งไปมาระหว่าง

การสนับสนุนรัสเซียกับการสนับสนุนยุโรป ประธานาธิบดียากูโนวิชหลบหนีออกนอก

ประเทศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557 หลังกองกำลังความมั่นคงของยูเครนปราบปราม

ผู้ประท้วงอย่างรุนแรง ทำให้การประท้วงลุกลามขึ้น ซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลง

ในเวลาไล่เลี่ยกัน ชาวไครเมียตัดสินใจอยู่ฝั่งเดียวกับสหพันธรัฐรัสเซีย ผ่านการลง

ประชามติหาข้อสรุปในพื้นที่พิพาท เมื่อเดือนมีนาคม 2557  กองทัพรัสเซียจึงได้เข้า

ยึดครองภูมิภาคไครเมีย ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของยูเครน ก่อนการผนวกรวมอย่างถูก

กฎหมาย ประธานาธิบดี “วลาดิมีร์ ปูติน” ของรัสเซีย ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นใน

การรักษาสิทธิของชาวรัสเซียและผู้ที่ใช้ภาษารัสเซีย ทั้งในไครเมียและทางตะวันออก

เฉียงใต้ของยูเครน ตลอดมา เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความตึงเครียดทางชาติพันธุ์

รุนแรงขึ้น และผู้แบ่งแยกดินแดนซึ่งสนับสนุนรัสเซีย ในภูมิภาคดาเนียตสก์ และ

ภูมิภาคลูกานสก์ ทางตะวันออกของยูเครน ได้จัดการลงประชามติในอีก 2 เดือน

ต่อมา เพื่อประกาศอิสรภาพจากยูเครน แม้จะมีความพยายามเพื่อสันติภาพ แต่ก็

เกิดการนองเลือดเกิดขึ้นนานหลายเดือน หลังผู้แบ่งแยกดินแดนในภูมิภาคดาเนียตสก์

และภูมิภาคลูกานสก์ ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อประกาศอิสรภาพจากยูเครนแม้ว่ายูเครน

กับรัสเซียจะลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพที่กรุงมินสค์เมื่อปี 2558 แล้วก็ตาม ทั้งนี้

สนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสและเยอรมนี อย่างไรก็ตาม มี

การละเมิดการหยุดยิงหลายต่อหลายครั้ง สหประชาชาติประมาณการว่า ตั้งแต่เดือน

มีนาคม 2557 มีพลเรือนมากกว่า 3,000 คน ที่ต้องสังเวยชีวิตในยูเครนตะวันออก

(และปี 2565 มีการยิงถล่มยูเครนโดยรัสเซียอย่างหนัก) ทำให้ผลจากความขัดแย้ง

ดังกล่าว ทำให้บรรดาผู้นำของรัสเซีย ยูเครน ฝรั่งเศส และเยอรมนี ร่วมประชุมกันที่

กรุงปารีส เมื่อเดือนธันวาคม 2562 เพื่อย้ำจุดยืนที่เคยแสดงไว้ต่อข้อตกลงสันติภาพ

เมื่อปี 2558 แต่การประชุมครั้งนั้น มีความคืบหน้าเรื่องการระงับข้อพิพาททาง

การเมืองเพียงเล็กน้อย ยูเครนเข้าร่วมนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาป้องกัน

แอตแลนติกเหนือ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2492 เพื่อตอบโต้การรุกรานของสหภาพโซเวียต

นับตั้งแต่นั้นมา พันธมิตรของนาโต้ก็เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีทั้งหมด 30 ประเทศ ซึ่งรวมถึง

ลิทัวเนีย เอสโตเนีย และลัตเวีย ทั้งหมดนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตมาก่อน

ตามสนธิสัญญาของนาโต้ หากประเทศพันธมิตรนาโต้ถูกรุกรานหรือโจมตีโดยประเทศ

นอกกลุ่ม ประเทศพันธมิตรทั้งหมดจะต้องระดมกำลังเพื่อปกป้อง รัสเซียต้องการ

ให้นาโต้รับรองว่า ยูเครนและจอร์เจีย จะไม่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรนาโต้ ทั้งนี้ สองประเทศ

ดังกล่าวเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตเช่นกัน และรัสเซียเคยบุกรุกในช่วงสั้น ๆ

เมื่อปี 2551 ปูตินไม่สามารถปฏิเสธสิทธิของยูเครนได้ แต่ตามคำบอกเล่าของทีม

บริหารไบเดนและพันธมิตรนาโต้ คาดว่านาโต้เองก็ยังไม่มีแผนมอบสมาชิกภาพให้กับ

ยูเครนในเร็ว ๆ นี้ สหรัฐ และนาโต้ มองว่าความเคลื่อนไหวและความตึงเครียดทางทหาร

ทั้งในและพื้นที่โดยรอบยูเครน มีความ “ผิดปกติ” แม้จะมีคำเตือนจากประธานาธิบดี

“โจ ไบเดน” ของสหรัฐ รวมถึงผู้นำหลายชาติในยุโรป ว่า การรุกรานของปูตินจะทำให้

เกิดหายนะ แต่กองทหารรัสเซียมากกว่า 100,000 นาย ยังคงประจำการอยู่ใกล้ชายแดน

ยูเครนตามข้อสรุปของหน่วยข่าวกรองสหรัฐ ที่เผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคม ระบุว่า รัสเซีย

อาจเริ่มปฏิบัติการทางทหารในยูเครนในปีนี้ ทำให้หวั่นเกิดสงครามเต็มรูปแบบ

หากรัสเซียเพิ่มกำลังทหารในยูเครนหรือในประเทศต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตรนาโต้

ความขัดแย้งในยูเครนเสี่ยงที่จะทวีความรุนแรงขึ้น และอาจนำไปสู่สงครามเต็ม

รูปแบบ ความเคลื่อนไหวของรัสเซียทำให้เกิดความกังวลว่า เหล่าประเทศพันธมิตร

นาโต้จะออกมาตอบโต้รัสเซียการสู้รบในอดีตได้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับ

สหรัฐและยุโรปตึงเครียดขึ้น ทั้งยังส่งผลเสียต่อโอกาสในการร่วมมือกันในด้านอื่น ๆ

เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย, การควบคุมอาวุธ (หัวขีปนาวุธ) และการแก้ปัญหาทาง

การเมืองในซีเรียรัสเซีย-ยูเครน: ความขัดแย้งในชาติยุโรป และเรื่องดังกล่าวอาจจะส่งผล

ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สามได้


 

          จากเหตุการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนนั้น ดูเสมือนว่า รัสเซียกับ

ยูเครน นั้น พิจารณาดูความเป็นมาแล้ว มีความเกี่ยวข้องกันมาก่อน หรือเป็นส่วนหนึ่งที่

รัสเซียที่ต้องดูแลในเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นภายในยูเครน เพราะชนชาติพันธุ์ในยูเครนก็

มีส่วนหนึ่งซึ่งเป็นชนชาติรัสเซีย ใช้ภาษารัสเซีย ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้นำรัสเซียอยาก

จะดูแลคนในยูเครน แม้ยูเครน จะกลายมาเป็นประเทศใหม่ มีอธิปไตยเป็นของตนเอง

อย่างแล้วก็ตาม แต่รัสเซียก็ยังมีความรู้สึกเดิม ๆ ว่าเหมือนเป็นประเทศเดียวกัน

อยู่แม้ในเชิงลึก (อาจจะมีรายะเอียดอาจจะมากกว่านี้) แต่รัสเซียก็ยังมีความพยายามว่า

อยากจะดูแลคนของตนเอง เมื่อยูเครนไม่ยอม ก็อาจจะมีสัญญาณเตือนโดยใช้กำลัง

ทหารหรือสงครามเพื่อให้ตระหนักว่าต้องทำตาม จนทำให้หลายชาติเป็นห่วงเป็นใยว่า

อาจจะเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวอาจทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ได้ เพราะยูเครนก็มีนาโต

หนุนหลังอยู่ (แม้จะเป็นสมาชิกแล้วหรือยังไม่เป็นก็ตาม) แต่ถ้าจะให้ไม่เกิดปัญหาแล้ว

ควรนำหลักทฤษฎีของพุทธศาสนามาใช้ คือ อริยสัจ 4 ตระหนักในปัญหาที่จะตามมา

วิเคราะห์สาเหตุแห่งปัญหา หาทางแก้ปัญหา และเลือกเอาวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดมาใช้

(เชิงสันติภาพ) และการรู้จักปล่อยวาง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นตัวกู ชองกู เพราะ

สรรพสิ่งในโลกนี้ตกอยู่ในสภาพสามัญฃลักษณะ คืออนิจจัง ต้องมีการเปลี่ยนแปลง

ไม่จีรังยั่งยืน ทุกขัง มีสภาพไม่ทนต่อการเปลี่ยนแปลง หรือทนได้ยาก ยากที่จะไม่ให้

เปลี่ยนแปลง และอนัตตา ไม่มีใครจะไปบังคับไม่ให้เปลี่ยนแปลง หรือให้เป็นไปตาม

ที่เราปรารถนา หรือห้ามการเปลี่ยนแปลงได้ ดังคนเราเกิดมาก็ย่อมมีแก่เจ็บ และตาย

ในที่สุด เพราะสรรพสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ถ้าเราคิดว่าเป็นผู้นำระดับโลกแล้ว

เราจำต้องยอมรับความเป็นจริง คือยอมรับหลักชองการเปลี่ยนแปลง หรือผู้นำ

การเปลี่ยนแปลง ผู้นำคงไม่อาจจะฃหลีกเลี่ยงความเปลี่ยนแปลงไปได้ เพราะถ้า

ไม่เช่นนั้น ก็อาจจะเป็นเหมือนปรารถนาดี แต่เหมือนมุ่งร้ายก็ได้ หลักธรรมที่สำคัญ

คือ “พรมวิหาร 4” เมตตา ความรักความปรารถนาดีต่อผู้น้อย (ผู้อยากเป็นตัวของ

ตัวเอง) กรุณา  มีความสงสาร เอ็นดู เป็นห่วงเป็นใย คอยอยู่ห่าง ๆ  ไม่ต้องไปควบคุม

เสมือนว่าลูกเขาโตแล้วแล้วแต่เขาจะฃตัดสินใจในชีวิตของเขา  มุทิตา พลอยยินดี เมื่อ

ผู้น้อยได้ดี และอุเบกขา ต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คิดว่าปัญหา

ระหว่างรัสเซีย (เสมือนพ่อแม่หรือพี่) และยูเครน (เสมือนลูกหรือน้อง) คงจะมีทางออก

ด้วยดีด้วยการเจรจาทางการทูต หลักสันติภาพโลก หลักอหิงสา และหลักของความเป็น

พี่เป็นน้อง และกาอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี  .........

 

  

 

 

แหล่งข้อมูล

https://bit.ly/3NB3nKF

https://news.thaipbs.or.th/content/312955

https://www.thairath.co.th/scoop/world/2327081

https://www.bbc.com/thai/international-60600407

https://workpointtoday.com/explainer-war/

https://www.thaipost.net/x-cite-news/94307/

https://www.bbc.com/thai/international-60563319

https://www.cbc.ca/news/world/china-support-russia-ukraine-1.6376298

https://www.bloomberg.com/opinion/articles/2022-03-08/why-china-won-t-help-russia-around-sanctions?sref=CVqPBMVg

https://www.cbc.ca/news/world/china-support-russia-ukraine-1.6376298

https://www.bloomberg.com/opinion/articles/2022-03-08/why-china-won-t-help-russia-around-sanctions?sref=CVqPBMVg

https://hmong.in.th/wiki/Religion_in_Ukraine


หมายเลขบันทึก: 700327เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2022 04:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2022 04:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you for the collection (of commentary/bibliography?) from many sources. A definite ‘food for thought’ ;-)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท