การทำผลงานเพื่อเลื่อนระดับให้เข้าตากรรมการ ทำอย่างไรดี?


การทำผลงานของพยาบาลเพื่อเลื่อนระดับให้เข้าตากรรมการ ทำอย่างไรดี?

จากการฟัง อ ผศ ดร วาสนา รวยสูงเนิน บรรยาย เรื่อง เขียนผลงานอย่างไร ให้ปัง ให้เข้าตา ถึงใจผู้อ่าน เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.00-15.30 ทางซูม ขอสรุปดังนี้:-

   การทำผลงานเพื่อเลื่อนระดับให้มีคุณภาพ ผลงานนั้นต้องแสดงให้เห็น 

       1) ความรู้ /ความสามารถของผู้ทำผลงาน 

       2) ความชำนาญ/ความเชี่ยวชาญ สามารถดูจากผลงานที่นำเสนอและการนำไปใช้ในวงกว้างและจากประวัติที่ผ่านมา  

        3) มีหลักฐานการวิเคราะห์และการพัฒนางาน คือ ผลงานที่ยื่นขอ

หมายเหตุ

       จากประสบการณ์ในการเป็นพี่เลี้ยง บางผลงานไม่ผ่าน บางผลงานให้นำมาแก้ไข ส่วนใหญ่ผลงานที่ผู้ทรงคุณวุฒิให้ไม่ผ่าน มักจะเป็นผลงานที่ยื่นขอไม่เหมาะกับตำแหน่งที่ยื่นขอ หรือ เอกสารที่แสดงถึงความชำนาญและความเชี่ยวชาญที่เขียนในเอกสารหมายเลข 4 อาจไม่เหมาะกับตำแหน่งที่ยื่นขอ เช่นผลงานระดับ ชนก ขอบเขตผลงาน สามารถทำในหอผู้ป่วยที่สังกัด  ชนพ ผลงานระดับ แผนกหรือทีม CoP และผลงานระดับเชี่ยวชาญ ควรทำระดับโรงพยาบาลและเครือข่ายระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ รวมทั้งมีการนำเสนอผลงานระดับชาติและนานาชาติ เป็นต้น

  ลักษณะผลงานที่ส่ง      

  • ผลงานที่ส่งทุกระดับส่วนใหญ่จะต้องมีสองเรื่อง ควรสอดคล้องกัน ตัวอย่างการส่งผลงานที่ไม่สอดคล้อง ของระดับ ชนก  เช่น เล่มแรกส่งคู่มือการดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ เล่มสอง ส่งการวิเคราะห์ภาวะโภชาการของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี เป็นต้น  
  • ต้องอธิบายความสำคัญของงานที่ทำ เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่ยื่นขอ 
  • มีแนวคิดที่นำมาใช้ในการพัฒนางานนั้นๆ
  • ติดตามประเมินตัวชี้วัดที่สำคัญของความสำเร็จของผลงาน
  • มีหลักฐานการนำไปใช้ด้วย 

หมายเหตุ 

       จากประสบการณ์ของการเป็นพี่เลี้ยง มีผลงานที่ส่งแล้วยังขาดหลักฐานการนำไปใช้หรือเขียนไม่ชัดเจน ผู้ทรงคุณวุฒิขอหลักฐานการนำไปใช้เพิ่มเติม ทำให้เสียเวลา และการเลื่อนระดับล่าช้าได้ ดังนั้นผู้ขอผลงานควรระบุให้ชัดเจนว่า ผลงานของเรานำไปใช้ที่ไหน อย่างไร อาจเขียนการนำไปใช้จริงในผู้ใช้บริการ ผลลัพธ์เป็นอย่างไร นำไปเสนอผลงานที่ใด นำไปให้ห้องสมุดไหน และมีใบตอบรับด้วย หรือ มีผู้มาศึกษาดูงานขอนำโปรแกรมฯหรือคู่มือไปใช้ เป็นต้น

      การพัฒนางาน 

  • การเขียนที่มาของการพัฒนางาน ต้องอธิบายรายละเอียดของปัญหา เกิดจากสาเหตุอะไร มีผู้ใดเกี่ยวข้องบ้าง หรือวิเคราะห์ปัญหาเชิงระบบทั้งโครงสร้าง กระบวนการและผลลัพธ์ 
  • ผลกระทบของปัญหาเกิดขึ้นกับ ผู้ป่วย ผู้ปฏิบัติงานและองค์กรอย่างไร

       จุดอ่อนของการเขียนผลงานที่ตรวจพบส่วนใหญ่ 

  • ผลงานที่ทำไม่มีการ review literature หรือ ทบทวนไม่ครอบคลุม 
  • ไม่อ้างอิง เช่น คัดลอกจากอินเตอร์เนต มาใส่ในเนื้อหาโดยไม่อ้างอิง 
  • หากงานไม่มีการอ้างอิง เขียนเฉพาะปัญหาหน้างาน จะไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ได้ 

หมายเหตุ

    จากประสบการณ์เป็นพี่เลี้ยง การทบทวนงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องเลือกผลงานที่เกี่ยวข้องและสรุปว่าเรานำส่วนไหนมาใช้ได้กับผลงานของเรา หากนำผลงานที่ไม่เกี่ยวข้องหรือการทบทวนแบบ General มาใช้ ผลงานอาจจะต้องนำมาแก้ไขได้เช่นกัน ยกตัวอย่างที่ผู้ทรงคุณวุฒิให้นำกลับมาแก้ไข เช่น การทบทวนงานที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยมะเร็งปอดดังนั้นการทบทวนงานที่เกี่ยวข้องจะต้องทบทวนในผู้ป่วยมะเร็งปอด ที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวข้องกับโรคที่เรานำมาศึกษาให้ครอบคลุม และอีกประเด็นที่พบ คือ การใช้เอกสารอ้างอิงเก่าเกิน 10 ปี  เป็นต้น 

 ผลงานที่ควรทำ       

  • การพัฒนางาน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ขอ ระยะเวลาที่ผู้ขออยู่ในระบบงานนั้นๆ และความซับซ้อน ความยากง่ายของงานที่พัฒนา 
  • การพัฒนางานขึ้นอยู่กับมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งของแต่ละระดับ สามารถอ่านตามกรอบมาตรฐานของ กพ ลองศึกษาได้ หรือ ตามกรอบที่ระบุใน ประกาศคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 10และ 11 /2560) เรื่อง  คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้ง ข้าราชการและ พนักงานมหาวิทยาลัย ให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
  • หากขอผลงานระดับเชี่ยวชาญ ที่เป็นกรอบตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบสูง การพัฒนางานควรเป็นเชิงระบบ แสดงให้เห็นความซับซ้อนของงาน เวลาที่ทำงานในหน่วยงานนั้นนานเท่าไหร่ พอที่จะเห็นปัญหาและตกผลึกประเด็นปัญหานั้นๆได้ แสดงให้เห็นความซับซ้อนของระบบหรือไม่
  • การทำผลงานหากมีแนวคิด(concept) ชัดเจน จะทำให้เดินตามได้ง่าย โดยวิเคราะห์ประเด็นปัญหาเชิงระบบ มีใครเกี่ยวข้องบ้าง มีบทบาทรับผิดชอบอะไรบ้าง มุ่งผลลัพธ์ใด เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายใด มีกรอบแนวคิดทฤษฏีใดมาใช้แก้ไขปัญหาและติดตามผลลัพธ์ที่เป็น Nursing outcomes 
  •  การเลือกกรอบแนวคิด แนวคิดที่จะอธิบายการพัฒนางาน แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทพยาบาล ที่สามารถติดตามผลลัพธ์ได้ มีหลายแนวคิด เช่น model of self-management, self- efficacy model, cronic care model, health promotion, evidence base model ฯลฯ

     วิธีเก็บผลลัพธ์ 

  • ให้ใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐานในการวัดผลลัพธ์ 
  • มีการเก็บบันทึกให้เป็นระบบ 
  • มีระยะเวลาในการติดตามบันทึกผลลัพธ์ที่เหมาะสม 
  • นำเสนอให้เข้าใจง่าย เห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง เช่น เปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้วิธีการปฏิบัติฯนั้นๆ ทำให้เกิดความมั่นใจว่า ผลลัพธ์นั้นเกิดจากการปฏิบัติของเรา ไม่ใช่มาจากปัจจัยอื่นๆ
  • การเลือก outcomes ที่เหมาะสม วิทยากรอธิบายว่า IT's often difficult to tell the difference between general ptient outcomes (multidiscipilinary care) and nures-senstive patient outcomes (nursing care outcomes) เช่น อัตราตาย จำนวนวันนอน ภาวะแทรกซ้อน เป็นต้น

      สรุป

        การทำผลงานต้องแสดงให้เห็นความรู้ ความสามารถ เป็นการนำความรู้มาใช้ในการดูแลผู้ใช้บริการของเรา ความชำนาญ เชี่ยวชาญ แสดงได้จากการปฏิบัติจนได้วิธีปฏิบัติที่ดี และนำเสนอในวงกว้าง เช่น นำเสนอผลงาน ผลงานได้รับการตีพิมพ์ มีผู้นำไปใช้อย่างแพร่หลาย และผลงานที่ส่งแสดงให้เห็นความซับซ้อนตามระดับของการขอผลงานนั้นๆ ตรงใจกรรมการแน่นอนค่ะ

 

ประเด็นอื่นๆที่อาจนำมาแก้ไข

          ผู้ถอดบทเรียน ขอเพิ่มเติมข้อมูลบางประเด็นตามประสบการณ์ของผู้เขียนในฐานะพี่เลี้ยงในการทำผลงานและจากผลงานที่ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ให้ผ่าน รวมทั้งผลงานที่ให้นำมาแก้ไขใหม่ค่ะ 

  1. คู่มือการพยาบาล ไม่ครอบคลุมการดูแลแบบองค์รวม 
  2. การเขียน case study เลือกกรณีศึกษาที่ไม่มีอาการและอาการแสดงอย่างครอบคลุม ทำให้ประเด็นปัญหาไม่ครบถ้วน ทำให้เห็นปัญหาแบบ general 
  3. การนำแนวคิดทฤษฎีมาใช้ จะต้องใช้ให้ถูกต้องตามทฤษฎี
  4. การพิมพ์คำถูกผิดก็ต้องตรวจสอบให้เรียบร้อย เพราะมีหลายงานที่ได้นำกลับมาแก้ไข

 

 

………………..

อุบล จ๋วงพานิช

บันทึกวันที่ 20-02-2022



ความเห็น (2)

ดีจังเลย อาจารย์เป็นอะไรกับดร.แสวงครับพี่แก้ว

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท