ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา


    ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment)หรือยุคสว่าง หรือ ยุคแห่งเหตุผล คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญา

ชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่า

การใช้หลัก จารีต, ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง การเคลื่อนไหวยังสนับสนุน

การแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา ต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์, โมหาคติ และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและ

รัฐบาล

ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1650 - 1700 และถูกจุดประกายโดยเหล่าปัญญาชน เช่น 

บารุค สปิโนซา (1632–1677) 

จอห์น ล็อก (1632–1704)

ปิแยร์ เบย์ล (1647–1706) 

ไอแซก นิวตัน (1643–1727) 

วอลแตร์ (1694–1778) 

นอกจากนี้เจ้าผู้ปกครองก็มักจะรับรองและคล้อยตามบุคคลสำคัญเหล่านี้ จนในที่สุดก็รับเอาแนวคิดจากชนชั้นปัญญามาปรับใช้

เข้ากับรัฐบาลของตน จึงมีการเรียกเจ้านายเหล่านี้ว่า ประมุขผู้ทรงภูมิธรรม การเรืองปัญญานี้เบ่งบานอยู่จนกระทั่งช่วง

ปี ค.ศ. 1790 - 1800 เมื่อความสำคัญของเหตุผลถูกแทนที่ด้วยความสำคัญของอารมณ์ความรู้สึกในแนวคิด แบบศิลปะ

จินตนิยม ฝ่ายต่อต้านการเรืองปัญญาจึงมีกำลังขึ้นอีกครั้ง

      ในฝรั่งเศส การเรืองปัญญาก่อกำเนิดจากการชุมนุมซาลอนและกลายมาเป็นสารานุกรม (1751-1752) ถูกแก้ไข

โดยเดนนิส ดิเดรอต (1713–1784) ด้วยการนำหลักปรัชญาชั้นนำหลายร้อยชิ้นมารวบรวมไว้ อาทิเช่น จากวอลแตร์,

ฌ็อง-ฌัก รูโซ และมงแต็สกีเยอ สำเนาของสารานุกรมชุด 35 เล่มถูกขายมากกว่า 25,000 ชุด ซึ่งครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้ถูกขาย

นอกฝรั่งเศส แรงขับเคลื่อนจากการเรืองปัญญาแพร่ขยายไปตามชุมชนเมืองทั่วทั้งยุโรป โดยเฉพาะในอังกฤษ, สกอตแลนด์, 

รัฐเยอรมันต่างๆ, เนเธอร์แลนด์, รัสเซีย, อิตาลี, ออสเตรีย และจากนั้นจึงไปขยายไปยังอาณานิคมของชาติยุโรปในทวีปอเมริกา 

ที่ซึ่งได้มีอิทธิพลต่อบุคคลสำคัญอย่างเบนจามิน แฟรงคลินและทอมัส เจฟเฟอร์สัน รวมทั้งอีกหลายๆ คน 

         นอกจากนี้ยังส่งอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิวัติอเมริกัน แนวคิดทางการเมืองจากยุคเรืองปัญญานี้เองที่มีอิทธิพลใน

คำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา, ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา, คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและ

สิทธิพลเมืองของฝรั่งเศส และรัฐธรรมนูญวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 ของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย นักปรัชญา

คนสำคัญในยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา

จอห์น ล็อก (John Locke)

        เป็นนักปรัชญา ชาวอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 หลักของเขาคือสังคมและทฤษฎีของความรู้ ได้รับการขนานนามว่า "บิดาแห่งระบอบประชาธิปไตย"

       แนวคิดของล็อกที่เกี่ยวกับ "ผู้ปกครองที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" ตีพิมพ์ลงหนังสือของเขา "ศาสตร์นิพนธ์

สองบรรพว่าด้วยการปกครอง" (Two Treaties of Government)[2] อีกทั้งแนวคิดของล็อกได้เสนอว่าอำนาจไม่ควรตกอยู่

คนเดียว และสามารถตรวจสอบอำนาจของผู้มีอำนาจได้ ซึ่งได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ อำนาจบริหารและสิทธิ

ธรรมชาติของมนุษย์ ที่เขาอธิบายว่าประกอบไปด้วย ชีวิต, เสรีภาพ, และทรัพย์สิน นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทาง

ปรัชญาการเมือง แนวคิดของเขาเป็นพื้นฐานของกฎหมายและรัฐบาลอเมริกัน ซึ่งผู้บุกเบิกได้ใช้มันเป็นเหตุผลของการปฏิวัติ

แนวคิดด้านญาณวิทยาของล็อกนั้นมีอิทธิพลสำคัญไปจนถึงช่วงของยุคแสงสว่าง. เขามีทัศนะเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ว่า 

ความรู้จะต้องเกิดหลังประสบการณ์ และความรู้จะเกิดขึ้นโดยอาศัยการสัมผัส เมื่อมนุษย์ได้สัมผัสก็จะมีความรู้สึก และความรู้สึก

จะทำให้มนุษย์นั้นคิด และความคิดนี้คือแหล่งกำเนิดแห่งความรู้ หากปราศจากการสัมผัสมนุษย์ก็จะไม่คิด เพราะจิต

โดยธรรมชาติจะมีสภาพอยู่เฉย. เขาถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับนักประสบการณ์นิยมชาวบริติช ซึ่งประกอบไปด้วยเดวิด ฮูม 

และจอร์จ บาร์กลีย์. ล็อกมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับโทมัส ฮอบบส์

ฌ็อง-ฌัก รูโซ (Jean-Jacques Rousseau)

     เป็นนักปรัชญา นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเองแห่งยุคเรืองปัญญางานเรื่อง วจนิพนธ์

ว่าด้วยความไม่เท่าเทียม และ สัญญาประชาคม ของเขาเป็นหลักสำคัญในความคิดการเมืองและสังคมสมัยใหม่       

ปรัชญาของรูโซ

          คำสอนของเขาสอนให้คนหันกลับไปหาธรรมชาติ (back to nature) เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่า "ธรรมชาติของคน

ดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้คนไม่เสมอภาคกัน" เขาบอกว่า "เหตุผลมีประโยชน์ แต่มิใช่คำตอบของชีวิต ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งความรู้สึก

 สัญชาตญาณและอารมณ์ของเราเอง ให้มากกว่าเหตุผล"

          รูโซเชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติ หรือเป็น "คนเถื่อนใจธรรม" (noble savage) เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ

 (สภาวะเดียวกันกับสัตว์อื่นๆ และเป็นสภาพที่มนุษย์อยู่มาก่อนที่จะมีการสร้างอารยธรรม และสังคม) แต่ถูกทำให้แปดเปื้อนโดย

สังคม เขามองสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเชื่อว่าการพัฒนาของสังคม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพากันในสังคม

นั้น เป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์

ความเรียงชื่อ "การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์"ที่ได้รับรางวัลของเมือง ได้อธิบายว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

และศิลปศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ เขาได้เสนอว่าพัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น และทำลาย

เสรีภาพของปัจเจกชน เขาสรุปว่าพัฒนาการเชิงวัตถุนั้น จะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความ

อิจฉา ความกลัว และ ความระแวงสงสัย

งานชิ้นถัดมาของเขา การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ ตั้งแต่ในสมัย

โบราณ จนถึงสมัยใหม่ เขาเสนอว่ามนุษย์ในยุคแรกสุดนั้น เป็นมนุษย์ครึ่งลิงและอยู่แยกกัน มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เนื่องจากมี

เจตจำนงเสรี (free will) และเป็นสิ่งที่สามารถแสวงหาความสมบูรณ์แบบได้ เขายังได้กล่าวว่ามนุษย์ยุคบุคเบิกนี้มีความต้องการ

พื้นฐาน ที่จะดูแลรักษาตนเอง และมีความรู้สึกห่วงหาอาทรหรือความสงสาร เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้ต้องมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น

เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร จึงได้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา และได้เริ่มให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคน

อื่น ๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีชีวิตที่ดีของตนเอง รูโซได้เรียกความรู้สึกใหม่นี้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิบานของมนุษย์

เดวิด ฮูม (David Hume) 

      เป็นนักปรัชญา และนักประวัติศาสตร์ ชาวสกอตแลนด์ และเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ยุคเรืองปัญญาแห่งสกอตแลนด์

 หลายคนยกย่องให้ฮูม เป็นคนหนึ่งในกลุ่มที่เรียกว่า นักประสบการณ์นิยมชาวบริเตนทั้งสาม ซึ่งฮูมถือเป็นคนที่สามในกลุ่มนี้ 

ถัดจาก จอห์น ล็อก ชาวอังกฤษ และ จอร์จ บาร์กลีย์ ชาวอังกฤษ-ไอริช นอกจากนี้ยังถือว่าฮูม เป็นคนที่มีแนวคิดทางปรัชญา

ถึงรากถึงโคนที่สุด ในทั้งสามคนนี้ด้วย. การจัด ฮูม ล็อก และ บาร์กลีย์ ไว้ด้วยกันเช่นนี้ แม้ว่าจะเป็นการจัดตามแบบดั้งเดิม 

แต่ก็นับว่าได้ละเลยอิทธิพลสำคัญ ๆ ที่ฮูมได้รับจากนักเขียนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ (Francophone) หลายคน เช่น

 ปิแยร์ เบย์ล และจากบุคคลสำคัญในแวดวงวิชาการที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (Anglophone) อีกหลายคนเช่น 

ไอแซก นิวตัน, แซมวล คลาร์ก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน และ จอเซฟ บัตเลอร์ 

ชีวิตการงาน

     ฮูมเกิดในเอดินบะระและเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระ เดิมทีนั้นเขาคิดจะประกอบอาชีพด้านกฎหมาย แต่แล้วเขากลับ

บังเกิด "ความรังเกียจอันไม่อาจเอาชนะได้ต่อทุกสิ่งทุกอย่าง จะยกเว้นก็แต่ความกวดขันในงานทางปรัชญาและความรู้ทั่วไป"

 (ตามคำของฮูมเอง)

ฮูมศึกษาด้วยตนเองในฝรั่งเศส ที่ซึ่งเขาได้เขียนความเรียงว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์จนเสร็จสมบูรณ์ ขณะนั้นฮูมมีอายุได้ 26 ปี

 แม้ว่านักวิชาการจำนวนมากในปัจจุบันจะเห็นว่าความเรียงฯ เป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดของฮูม อีกทั้งยังเป็นหนังสือเล่มสำคัญที่สุด

เล่มหนึ่งในประวัติศาสตร์ปรัชญา แต่สารธารณชนในอังกฤษสมัยนั้นดูจะไม่คิดเช่นนั้น ฮูมถึงกับบรรยายปฏิกิริยาที่สาธารณชนมี

ต่อการตีพิมพ์ความเรียงฯ ในปี ค.ศ. 1739–40 ไว้ในข้อเขียนของเขาว่าหนังสือเล่มดังกล่าว "แท้งตั้งแต่อยู่บนแท่นพิมพ์"

หลังจากทำงานรับใช้บุคคลสำคัญทางการเมืองและการทหารหลายคนได้ราวสองสามปี ฮูมก็กลับไปทำงานค้นคว้าต่ออีกครั้ง 

เมื่อฮูมตัดสินใจได้ว่าปัญหาของความเรียงฯ มิได้อยู่ที่เนื้อหา หากแต่อยู่ที่ลีลาการประพันธ์ เขาจึงนำเนื้อหาบางส่วนในความเรียงฯ

มาปรับปรุงแก้ไขใหม่ให้สาธารณชนอ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น แล้วตีพิมพ์ในชื่อ การไต่สวนถึงความเข้าใจของมนุษย์ ถึงแม้การไต่

สวนฯจะมิได้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามก็ตามแต่อย่างน้อยงานชิ้นนี้ก็ได้รับความนิยมมากกว่าความเรียงฯ

ฮูมพลาดโอกาสที่จะได้เป็นศาสตราจารย์ทางปรัชญาทั้งที่เอดินบะระและที่กลาสโกว์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะข้อกล่าวหาว่าฮูมไม่นับถือ

พระเป็นเจ้า และอาจเป็นเพราะการต่อต้านจากทอมัส เรด ผู้ซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งที่วิพากษ์งานของฮูมอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม

 ระหว่างที่ฮูมกำลังกวดขันกับงานทางปรัชญาของเขาอยู่นั้นเอง ฮูมก็ได้รับเกียรติทางวรรณกรรมทั้งในฐานะนักเขียนบทความ

และนักประวัติศาสตร์ กว่าที่งานของฮูมจะได้เป็นจุดสนใจของวงการปรัชญานั้น ก็เมื่ออิมมานูเอิล คานท์ นักปรัชญาคนสำคัญใน

ยุคต่อมา ได้เขียนให้เกียรติฮูมในฐานะที่ได้ปลุกตนให้ตื่นจาก "การหลับใหลอยู่กับหลักความเชื่อ" (ราว ค.ศ. 1770)

มรดกทางปรัชญาของฮูม

แม้งานของฮูมจะเขียนขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็ตาม แต่งานเหล่านั้นยังคงมีความสำคัญในฐานะหัวข้อถกเถียงในวงการ

ปรัชญาปัจจุบัน ซึ่งถือว่าไม่ธรรมดาเลยเมื่อเปรียบเทียบกับงานของนักปรัชญาคนอื่น ๆ ในสมัยเดียวกัน งานทางปรัชญาชิ้น

สำคัญ ๆ ของฮูมอาจพอสรุปได้ดังต่อไปนี้

ปัญหาว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล

ปัญหาว่าด้วยการนิรนัย

ทฤษฎีความสืบเนื่องของตัวตน

การใช้เหตุผลเชิงปฏิบัติ : อุปกรณ์นิยมและสุญนิยม

ลัทธิปฏิสัจนิยมทางศีลธรรมและแรงจูงใจ

เจตจำนงเสรีกับลัทธิอนิยัตินิยม

ปัญหาว่าด้วยสิ่งที่เป็น-สิ่งที่ควร

อรรถประโยชน์นิยม

ปัญหาว่าด้วยปาฏิหาริย์

ข้อถกเถียงเรื่องการออกแบบโดยพระเป็นเจ้า

อนุรักษนิยมและทฤษฎีการเมือง

มงแต็สกีเยอ

     ชาร์ล-หลุยส์ เดอ เซอกงดา บารอนแห่งลาแบรดและมงแต็สกีเยอ (Charles-Louis de Secondat, baron de La Brède

  et de Montesquieu) หรือรู้จักกันในชื่อ มงแต็สกีเยอ ( Montesquieu)

เป็นนักวิพากษ์สังคมและนักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ในยุคเรืองปัญญา มีชื่อเสียงเกี่ยวกับทฤษฎีการแบ่งแยก

อำนาจที่พูดถึงในการปกครองสมัยใหม่และใช้ในรัฐธรรมนูญในหลายประเทศ และเป็นผู้ที่ทำให้คำว่าระบบเจ้าขุนมูลนายและ

จักรวรรดิไบแซนไทน์ใช้กันอย่างแพร่หลาย

หลักปรัชญาแห่งประวัติศาสตร์ของมงแต็สกีเยอได้ลดบทบาทของเหตุการณ์ย่อยและปัจเจกบุคคลลง ซึ่งเขาได้อธิบายทรรศนะนี้ไว้

ใน กงซีเดราซียง ซูร์ เล โกซ เดอ ลา กร็องเดอร์ เด รอแม็ง เอ เดอ เลอร์ เดกาด็องส์ ว่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์แต่ละครั้ง

ล้วนแล้วแต่ถูกขับเคลื่อนโดยกระบวนการความเป็นไปของโลก

ในข้ออภิปรายเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองของโรมันจากสาธารณรัฐไปสู่จักรวรรดิ มงแต็สกีเยอได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า 

หากจูเลียส ซีซาร์ และปอมเปย์ไม่ได้กระตือรือร้นที่จะช่วงชิงอำนาจจากรัฐบาลสาธารณรัฐแล้ว อย่างไรก็ดีจะต้องมีบุคคลผู้อื่นมาก

ระทำการนี้แทนเขาสองคนอย่างแน่นอน ชี้ให้เห็นว่าต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่เกิดจากตัวจูเลียส ซีซาร์ และปอมเปย์

 หากแต่เกิดจากความทะเยอทะยานของมนุษย์ชาวโรมันนั่นเอง

มงแต็สกีเยอถือว่าเป็นหนึ่งในนักปรัชญาแถวหน้าของมานุษยวิทยาร่วมกับเฮโรโดตุสและแทซิทัส ที่เป็นหนึ่งในบุคคลกลุ่มแรก ๆ

 ของโลกที่ตีแผ่ข้อเปรียบเทียบของกระบวนการจำแนกรูปแบบทางการเมืองในสังคมมนุษย์ อันที่จริงแล้วนักมานุษยวิทยาการเมือง

ชาวฝรั่งเศสที่ชื่อว่ายอร์ช บาล็องดิแยร์ พิจารณามงแต็สกีเยอว่าเป็น "ผู้ริเริ่มองค์กรทางวิทยาศาสตร์ที่ครั้งหนึ่งเคยมีส่วนสำคัญ

อย่างมากต่อวงการมานุษยวิทยาทางวัฒนธรรมและสังคม"[3] ตามคำกล่าวอ้างของดี.เอฟ. โพคอค นักมานุษยวิทยาทางสังคม

 "จิตวิญญาณของกฎหมายของมงแต็สกีเยอคือความพยายามครั้งแรกในการที่จะสำรวจความหลากหลายของสังคมมนุษย์, 

เพื่อที่จะจำแนกและเปรียบเทียบ และเพื่อศึกษาระบบการทำงานระหว่างสถาบันในสังคม"[4] และหลักมานุษยวิทยาทางการเมืองนี้

เองได้นำเขาไปสู่การคิดค้นทฤษฎีว่าด้วยรัฐบาลในเวลาต่อมา

ผลงานเขียนที่มีอิทธิพลมากที่สุดของเขาได้แบ่งแยกฝรั่งเศสออกเป็นสามชนชั้นได้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน, อภิสิทธิ์ชน และ

ราษฎร แล้วเขายังมองเห็นรูปแบบอำนาจของรัฐออกเป็นสองแบบคืออำนาจอธิปไตยและอำนาจบริหารรัฐกิจ ซึ่งอำนาจบริหาร

รัฐกิจประกอบด้วยอำนาจบริหาร, อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ โดยแต่ละอำนาจควรเป็นอิสระและแยกออกจากกัน ทำให้อำนาจใดอำนาจหนึ่งไม่สามารถก้าวก่ายอีกสองอำนาจที่เหลือหรือรวมกันเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จได้ หากพิจารณาในแบบ

ยุคสมัยของมงแต็สกีเยอแล้ว แนวคิดนี้จะถูกพิจารณาว่าเป็นแนวคิดหัวรุนแรง เพราะหลักการของแนวคิดดังกล่าวเท่ากับเป็น

การล้มล้างการปกครองของฝรั่งเศสในสมัยนั้นที่ยึดถือฐานันดรแห่งราชอาณาจักรอย่างสิ้นเชิง โดยฐานันดรแห่งรัฐประกอบด้วยสามฐานันดรคือ เคลอจี, อภิสิทธิ์ชนหรือขุนนาง และประชาชนทั่วไป ซึ่งฐานันดรสุดท้ายมีผู้แทนในสภาฐานันดรมากที่สุด 

และท้ายที่สุดแนวคิดนี้จะเป็นแนวคิดที่ทำลายระบบฟิวดัลในฝรั่งเศสลง

ขณะเดียวกันมงแต็สกีเยอได้ออกแบบรูปแบบการปกครองออกเป็นสามแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบถูกสนับสนุนด้วย หลักการทางสังคม

 ของตัวมันเอง ได้แก่

ราชาธิปไตย (รัฐบาลอิสระที่มีประมุขเป็นบุคคลจากการสืบตระกูล เช่น กษัตริย์, จักรพรรดิ หรือราชินี) เป็นระบอบที่ยึดถือบน

หลักการของเกียรติยศ

สาธารณรัฐ (รัฐบาลอิสระที่มีประมุขเป็นบุคคลที่ได้รับเลือกจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน) เป็นระบอบที่ยึดถือบนหลักการของ

คุณธรรม

เผด็จการ (รัฐบาลกดขี่ที่มีประมุขเป็นผู้นำเผด็จการ) เป็นระบอบที่ยึดถือบนหลักการของความยำเกรง

วอลแตร์ (Voltaire)

เป็นปราชญ์, นักเขียน และนักประวัติศาสตร์ในยุคเรืองปัญญาของฝรั่งเศส เขาเป็นผู้โจมตีการจัดตั้งศาสนจักรคาทอลิกในฝรั่งเศส

 และยังสนับสนุนเสรีภาพทางศาสนา, เสรีภาพในการพูด และยังผลักดันให้มีการแบ่งแยกศาสนจักรออกจากรัฐ

ผลงานของวอลแตร์มีจำนวนมากมาย หลากหลายประเภททั้งบทละคร นิยาย นิทานเชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และบทกวี 

เขาได้รับยกย่องจากคนร่วมสมัยว่าเป็นนักเขียนบทละครชั้นนำและกวีชั้นนำ แต่ในปัจจุบันเขากลับเป็นที่ยกย่องในฐานะนักเขียน

เชิงเสียดสี วิพากษ์วิจารณ์ (Le symbole de l’esprit critique) ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ความคิดทางปรัชญาไปสู่สาธารณชน เพื่อปลุกความคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้แก่ชาวฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านความคิดระบบสถาบันแบบเก่า การต่อสู้เพื่อ

ขจัดความอยุติธรรมในสังคม รวมทั้งความเชื่อที่งมงายและความบ้าคลั่งทางศาสนา นอกจากนี้เขายังส่งเสริมเรียกร้องสิทธิ

 เสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นอีกด้วย

อิทธิพลของวอลแตร์

ผลงานตลอดชีวิตของวอลแตร์ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความคิดวิพากษ์วิจารณ์” (L‘esprit critique) แก่ชาวฝรั่งเศสโดยรวม

 ความคิดวิพากวิจารณ์นี้ทำให้ชาวฝรั่งเศสตั้งคำถามต่อทุกเรื่องทุกเหตุการณ์ที่ปรากฏในสังคมของตน ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน

สถาบันการเมืองการปกครอง โดยเขาได้โจมตีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาบันกษัตริย์ การใช้อำนาจตาม

อำเภอใจของกษัตริย์ สถาบันศาสนา โจมตีคำสอนความเชื่อที่งมงาย วอลแตร์ได้นำหลักการใช้เหตุผล (L’esprit scientifique) มาแพร่หลายให้แก่ประชาชน เพื่อมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการใช้เหตุผลแก้ปัญหา และรู้จักคิดพิจารณาก่อน

จะเชื่ออะไรง่าย ๆ เขาใช้ผลงานของเขามาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่แนวความคิดทางปรัชญาและนำไปสู่สาธารณชน

 เพื่อทำให้ประชาชนได้เห็นได้เข้าใจและตระหนักถึงสิ่งเหล่านั้น ซึ่งแนวคิดและความรู้เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนกับแสงสว่างทาง

ปัญญาให้แก่ประชาชน วอลแตร์จึงเป็นผู้ที่มีส่วนทำให้ประชาชนมีเสรีภาพทางความคิดและทำให้ผู้คนสนใจการเมืองการปกครอง

แบบอังกฤษ

ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าวอลแตร์มีอิทธิพลต่อคริสตวรรษที่ 18 เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทั้งทาง

ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศาสนา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789”

อดัม สมิธ (Adam Smith) 

       นักปรัชญาศีลธรรม และ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองผู้บุกเบิกชาวสกอตแลนด์ สมิธเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการกำหนด

แนวคิดเศรษฐศาสตร์แนวตลาดเสรี เป็นบุคคลสำคัญในขบวนการที่เป็นที่รู้จักในชื่อว่า "ยุคเรืองปัญญาของสกอตแลนด์"

 (Scottish Enlightenment) โดยเป็นที่รู้จักในฐานะผู้แต่งศาสตรนิพนธ์ 2 เรื่องคือ ทฤษฎีว่าด้วยทรรศนะทางศีลธรรม 

(ค.ศ. 1759) และ การสอบสวนธรรมชาติและสาเหตุแห่งความมั่งคั่งของประชาชาติ (ค.ศ. 1776) ซึ่งศาสตรนิพนธ์เรื่องหลัง

นับเป็นความพยายามในยุคแรกๆ ของการศึกษาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของการพัฒนาอุตสาหกรรมและ

พานิชยกรรมในยุโรป และเป็นการโจมตีลัทธิพาณิชยนิยมในยุคนั้น

งานสำคัญ

ทฤษฎีว่าด้วยศีลธรรมเร้าอารมณ์ (The Theory of Moral Sentiments)

การสอบสวนธรรมชาติและสาเหตุแห่งความมั่งคั่งของประชาชาติ (An Inquiry Into the Nature and Causes of the

 Wealth of Nations)

ความเรียงต่างๆ ว่าด้วยเรื่องของปรัชญา (Essays on Philosophical Subjects)

หลักการภาษีของอดัม สมิธ ในหนังสือ An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations  

แอดัม สมิธได้กำหนดหลัก (maxim) 4 ข้อเกี่ยวกับการภาษีโดยทั่วไป ดังนี้ (ที่ ภาค 5 บทที่ 2 ย่อหน้า 24 หรือย่อว่า V.2.24)

1.คนในบังคับของรัฐทุกรัฐพึงจ่ายเงินค้ำจุนรัฐบาลตามส่วนกับความสามารถของตน นั่นคือ ตามส่วนกับประโยชน์ที่ตนได้รับ

ภายใต้การคุ้มครองของรัฐ

2.ภาษีที่แต่ละคนต้องจ่ายพึงมีความแน่นอน ไม่ใช่กำหนดตามอำเภอใจ กำหนดเวลาชำระ วิธีชำระ และจำนวนที่ต้องชำระพึง

มีความชัดเจน เข้าใจง่ายสำหรับผู้ชำระและทุกราย

3. พึงเก็บภาษีทุกชนิดในเวลาหรือโดยวิธีที่น่าจะสะดวกที่สุดสำหรับผู้จ่าย

4. พึงคิดหาวิธีที่สิ้นเปลืองน้อยที่สุดในการจัดเก็บภาษีทุกชนิดแก่ทั้งรัฐและผู้จ่ายภาษี ความสิ้นเปลืองนี้แบ่งได้เป็น 4 ประการ คือ

          1.ใช้เจ้าหน้าที่จำนวนมาก หรือต้องตั้งรางวัลมาก

          2.ภาษีอาจขัดขวางความอุตสาหะของราษฎร พลอยทำให้การมีงานทำและรายได้ลดลง

3.การริบทรัพย์หรือปรับผู้ที่พยายามหลบเลี่ยงภาษีมักทำให้พวกเขาหมดตัว ทำให้กลายเป็นคนไร้

ประโยชน์ต่อสังคม ภาษีที่เลวมักล่อใจให้คนลักลอบค้าของเถื่อน และโทษก็จะเพิ่มขึ้นตามแรงดึงดูดใจ ในขั้นแรกกฎหมาย

ซึ่งขัดกับหลักยุติธรรมจะล่อใจให้อยากละเมิด แล้วก็จะลงโทษอย่างรุนแรงในสถานการณ์ซึ่งควรลดแรงล่อใจให้ก่ออาชญากรรม

4.การที่ราษฎรถูกเยี่ยมกรายบ่อยและถูกตรวจสอบอย่างน่ารังเกียจจะก่อความเดือดร้อน รบกวน และกดขี่

อย่างมากโดยไม่จำเป็น แม้การรบกวนจะมิใช่ค่าใช้จ่าย แต่ทุกคนก็ยินดีจ่ายเพื่อไถ่ตนเองให้พ้นจากการรบกวนนี้

อดัม สมิธเห็นว่าภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีกำไร (ส่วนใหญ่คือดอกเบี้ยสำหรับทุน) จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเกินไป

ในการเก็บ เช่น ภาษีสรรพสามิต หรือทำให้ผู้ผลิตท้อถอย เช่น ภาษีกำไร สมิธคัดค้านภาษีที่เปิดโอกาสให้มีการรุกล้ำความเป็น

ส่วนตัว สำหรับภาษีสรรพสามิตนั้น ท่านกล่าวว่า “ทำให้ทุกครอบครัวอาจถูกเยี่ยมกรายและตรวจสอบอย่างน่ารังเกียจจากเจ้า

พนักงานภาษี...ไม่สอดคล้องกับเสรีภาพเลย” (V.3.75)

       ภาษีที่อดัม สมิธเสนอแนะให้เก็บมี 2 ชนิด คือ ภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย และ ภาษีค่าเช่าที่ดิน (มูลค่าครอบครองที่ดินรายปี)

       สำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย อดัม สมิธอธิบายคำว่า ‘จำเป็น’ ว่าอาจเปลี่ยนไปได้แล้วแต่สถานที่และเวลา ซึ่งขณะนั้น เสื้อผ้าลินิน

 รองเท้าหนัง อาหารและที่อยู่อาศัยขั้นต่ำถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น ท่านตำหนิรุนแรงว่าภาษีที่เก็บจากสินค้าจำพวกเกลือ สบู่ ฯลฯ

 เป็นการเอาจากคนที่ยากจนที่สุดโดยไม่เป็นธรรม ท่านถือว่าภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย เช่นยาสูบ เป็นภาษีที่ดีเลิศ เพราะไม่มีใครถูก

บังคับให้ต้องจ่าย “ภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยไม่มีแนวโน้มที่จะไปเพิ่มราคาโภคภัณฑ์อื่น ๆ เว้นแต่โภคภัณฑ์ที่ถูกเก็บภาษี … ภาษีสินค้า

ฟุ่มเฟือยนั้นในที่สุดผู้บริโภคสิ่งนั้นจะเป็นผู้จ่ายโดยไม่ใช่เป็นการลงโทษ” (V.2.154)

       ภาษีที่น่ายกย่องมากกว่าคือภาษีที่ดิน “ทั้งค่าเช่าที่ดินที่ตั้งอาคาร (ground-rents) และค่าเช่าที่ดินเกษตร (ordinary

 rent of land) ต่างเป็นรายได้ชนิดที่ส่วนมากเจ้าของได้รับโดยตนเองมิต้องเอาใจใส่หรือสนใจ แม้จะแบ่งรายได้นี้ส่วนหนึ่งไปเป็นค่า

ใช้จ่ายของรัฐก็จะไม่เกิดการท้อถอยแก่อุตสาหกรรมใด ๆ ผลผลิตรายปีของที่ดินและแรงงานแห่งสังคม ซึ่งเป็นทรัพย์และรายได้จริง

ของประชาชนส่วนใหญ่ จะยังคงเดิมหลังจากมีการเก็บภาษีนี้ ดังนั้นค่าเช่าที่ดินที่ตั้งอาคารและค่าเช่าที่ดินเกษตรอาจเป็นรายได้ล

ชนิดที่สามารถจะเก็บภาษีเป็นพิเศษได้ดีที่สุด” (V.2.75)

ในภาคแรกอดัม สมิธกล่าวไว้ว่า “ดังนั้นค่าเช่าที่ดิน ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่จ่ายสำหรับการใช้ที่ดิน จึงเป็นราคาแบบผูกขาด

โดยธรรมชาติ มิใช่เป็นอัตราส่วนกับการซึ่งเจ้าที่ดินอาจลงทุนไปเพื่อปรับปรุงที่ดินแต่อย่างใดเลย หรือมิใช่ตามส่วนกับ

ความสามารถที่เขาจะเรียกเอา แต่เป็นตามส่วนกับความสามารถของชาวนาที่จะให้” (I.11.5)

และในตอนสรุปของบทนี้ของภาคแรก อดัม สมิธได้ตั้งข้อสังเกตว่า “การทำให้สภาวการณ์ของสังคมดีขึ้นทุกอย่างมีแนวโน้ม

ที่จะทำให้ค่าเช่าแท้จริงของที่ดินสูงขึ้นไม่ทางตรงก็ทางอ้อม จะเพิ่มความมั่งคั่งแท้จริงให้แก่เจ้าที่ดิน เพิ่มกำลังซื้อของเขา

ต่อแรงงาน หรือผลผลิตแห่งแรงงานของผู้อื่น” (I.11.255)

“การขยายสิ่งปรับปรุงและการเพาะปลูกมักจะทำให้ค่าเช่าที่ดินสูงขึ้นโดยตรง ส่วนแบ่งของเจ้าที่ดินในผลผลิตย่อมจะต้องเพิ่มขึ้น

เมื่อผลผลิตเพิ่มขึ้น” (I.11.256)

ภาษีที่สมิธคัดค้านรุนแรงที่สุดคือภาษีที่เก็บจากค่าแรงของผู้ใช้แรงงาน - “ในทุกกรณี ภาษีทางตรงที่เก็บจากค่าแรง ในระยะยาว

แล้วย่อมจะทำให้ทั้งค่าเช่าที่ดินลดลงมากกว่าและราคาสินค้าประดิษฐกรรมแพงขึ้นมากกว่าที่จะเป็นถ้ามีการประเมินเก็บภาษี

ส่วนหนึ่งจากค่าเช่าที่ดินและอีกส่วนหนึ่งจากสินค้าแทน (ภาษีจากค่าแรง) ” (V.2.132)

 

หมายเลขบันทึก: 698014เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2022 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2022 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท