วารสารวิชาการกับบทบาท advocacy


วารสารวิชาการกับบทบาท advocacy

บทบรรณาธิการของวารสาร Science เรื่อง The lessons of Lander   และเรื่อง Science and social media ลงในวารสารฉบับวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ สะกิดให้ผมนึกถึงหัวข้อบันทึกนี้   

ไม่ว่าวงการใด ต้องแสดงบทบาททางการเมืองด้วยเสมอ   โดยเน้นที่เป้าหมายความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคงของสังคม    ไม่ใช่เล่นการเมืองเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์     

ในบทบรรณาธิการเรื่อง  Science and social media  ผู้เขียนใช้คำว่า “public resistance to facts”    ที่สะกิดให้ผมนึกถึงคำ manipulation of facts   ซึ่งหมายถึง fake news นั่นเอง    เราอยู่ในสังคมที่มีทั้งข่าวจริง ข่าวลวง    ในสังคมมีทั้งคนที่มั่นคงในคุณธรม และคนที่ทำอะไรก็ได้เพื่อผลประโยชน์ของตน   ผู้เขียนคือ H. Holden Thorp เล่าการโต้ตอบทาง Twitter กับที่ปรึกษาของ ปธน. ทรัมป์ ในขณะนั้น   

ในวารสารเล่มเดียวกัน มีบทความเรื่อง Social Media and Shared Reality    แนะนำหนังสือชื่อ Off the Edge ว่าด้วยเรื่อง ทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theory) เรื่องโลกแบน    สะท้อนให้เห็นว่า ในโลกแห่งความเป็นจริงของสังคมมนุษย์   มีสิ่งลวงอยู่ทั่วไป   คนเราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมโดยไม่ถูกพิษของความลวง   

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ก.พ. ๖๕  

 

หมายเลขบันทึก: 697657เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2022 06:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2022 06:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I have had a thought that “science is not pure” (when I read many years ago about the discovery of helix structure of DNA and later about the hardening of rubber). Science is developing from many motivations including ‘humanistic’ ones like greed/money, vanity/fame and love/bias.

So, this is just the same as ‘society development’.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท