ฉลาดทางอารมณ์ เฉียบคมทางปัญญา


งานวิจัยยืนยันว่า คนที่มี IQ ดี มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จในชีวิต เช่น การทำงาน การเรียน เพียงแค่ประมาณ 20% เท่านั้น ส่วนคนที่มี EQ และ MQ สูงจะสามารถประสบความสำเร็จได้ประมาณ 70%-90% ยิ่งถ้าเพิ่ม Q ที่เหลือเข้าไปอีกด้วย คือ CQ (Creativity Quotient) ความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์ PQ (Play Quotient) ความฉลาดที่เกิดจากการเล่น AQ (Adversity Quotient) ความฉลาดในการแก้ไขปัญหา SQ (Social Quotient) ความฉลาดทางสังคมที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นก็จะทำให้เราเป็นผู้หนึ่งที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุขดังคำที่ว่า “ฉลาดทางอารมณ์ และเฉียบคมทางปัญญา” นั้นเอง

ฉลาดทางอารมณ์ เฉียบคมทางปัญญา

 

ฉลาดทางอารมณ์ เฉียบคมทางปัญญา

สามารถแก้ปัญหาวิกฤตชีวิตได้

ดร. ถวิล  อรัญเวศ

         คนเรานอกจากจะมีความรู้ดี ทั้งทางด้านวิชาการ ด้านวิชาชีพ และมีทักษะการงานดี ยังไม่พอ เพราะลำพังความรู้เท่านั้น ยังไม่พอจะต้องสามารถบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองให้สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ด้วย ต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา สามารถข่มจิตข่มใจและยับยั้งใจไว้ได้ในยามโกรธหรืออารมณ์ไม่ดี สิ่งนี้จะทำให้ แคล่วคลาด อยู่รอดปลอดภัยได้ อารมณ์ หรือสภาพจิตใจของคนเรา ถ้าจิตใจดี การแสดงออกทางอารมณ์ก็จะดีไปด้วย ดังคำที่ว่า
“เสียใจ ไปนรก ดีใจ ไปสวรรค์  สุขใจ เย็นใจ ไปนิพพาน”

           ถ้าพิจารณาในขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เวทนาน่าจะเป็นลักษณะของอารมณ์จิตใจ คือ เป็นความรู้สึก มี 5 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สุข เกิดขึ้นจิตรู้ได้ทางกาย โสมมนัส โทมนัส อุเบกขา เกิดขึ้นจิตรู้ได้ทางใจ (หมายถึง ความรู้สึก 3 ประการคือสุขหรือพอใจอย่างหนึ่ง ทุกข์หรือไม่พอใจอย่างหนึ่ง อีกแบบหนึ่งอยู่ในลักษณะที่ไม่อาจจะเรียกได้ว่าสุขหรือทุกข์ คือเป็นเรื่องที่ยังเฉย ๆ อยู่ แต่ก็เป็นความรู้สึกเหมือนกัน วันหนึ่ง ๆ ย่อมเต็มไปด้วยความรู้สึก ต่าง ๆ นานา บ้างเป็นพระ บ้างเป็นมาร บ้างเป็นเทพบุตร บ้างเป็น

เทพธิดา เป็นส่วนหนึ่งที่ประกอบกันเป็นคน และเรียกวส่วนนี้ว่า เวทนา หรือ เวทนาขันธ์นั้นเอง

           คนเรานอกจากจะมี IQ แล้ว ยังต้องมี EQ และ MQ ด้วย

คนที่ฉลาดทางอารมณ์และเฉียบคมทางปัญญา ควรประกอบไปด้วย

สิ่งต่อไปนี้ คือ EQ IQ MQ CQ PQ AQ และ SQ

 

EQ คือความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient)

         EQ คือความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient) คือ ภาวการณ์รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองไว้ได้ ไม่แสดงอาการตาใจ คิดที่ไม่ดี  จะเรียกว่า “ทมะ”การรู้จักข่มใจตนเองไว้ได้ก็น่าจะไม่ผิด

         ความฉลาดทางอารมณ์หรืออีคิว มีผลต่อการเข้าสังคมและการอยู่ร่วมกับคนอื่น ตลอดทั้งการทำงานกับคนอื่น เป็นอย่างยิ่งรวมทั้ง มีผลต่อการตัดสินใจและการเรียนรู้ของคนเป็นอย่างมาก   และช่วยให้คนเราประสบความสำเร็จได้มากกว่าเรื่องของสติปัญญาเพราะความรู้ท่วมหัว อาจเอาตัวไม่รอด ถ้าไม่ฝึกให้มีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ อีคิว เพราะอีคิว หรือความฉลาดทางอารมณ์จะช่วยให้คนเรารู้จักและเข้าใจอารมณ์ทั้งของตนเองและผู้อื่น  รู้จักปรับใจและปฏิบัติในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข

        คนที่ควบคุมอารมณ์ของตนได้ดี ถือเป็นผู้มีอีคิวสูง ถ้าคนไหนทำได้ไม่ดี อารมณ์เสีย ขาดการควบคุมก็ถือว่ามีอีคิวต่ำ โดยเฉพาะผู้เป็นใหญ่คน ผู้นำคน มีความจำเป็นมากในเรื่องอีคิว

        จนถึงกล่าวกันว่า บรรดาผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ บอกไว้ว่าความฉลาดทางอารมณ์สามารถที่จะทำนายผลการปฏิบัติงานของบุคคลได้ 58%  แปลว่าถ้าคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ที่ดี   โอกาสที่เขาจะสร้างผลงานที่ดีออกมาก็จะมีสูง

         ในขณะเดียวกันถ้าคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ   เป็นคนที่ไม่รู้จักควบคุมตนเอง  ไม่ดูกาละเทศะ  โอกาสที่ผลงานของเขาจะออกมาได้ดีก็จะน้อยลงไป

         เรียกว่ามันมีอิทธิพลโดยตรงต่อกัน  คือถ้าอีคิวดีผลงานก็ดี   ถ้าอีคิวไม่ดี อีคิวแย่  ผลงานมันก็แย่ด้วย

         หลักธรรมทางพุทธศาสนา จะเน้นให้คนมี EQ และ IQ

ความรู้ต้องคู่คุณธรรมเสมอ

          ดังนั้นหากใช้คำว่าการรู้จักควบคุมอารมณ์  การรู้จักจัดการอารมณ์ของตัวเองก็น่าจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น   ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญหลายๆท่านก็เลยใช้คำว่า Emotional Control มาแทนคำว่า Emotional Quotient หรือมาแทนคำว่าอีคิวนั่นเอง

           บางท่าน ให้แง่คิดว่า ความฉลาดทางอารมณ์ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ ๓ ประการได้แก่ความดี ความเก่ง และความสุข ซึ่งแต่ละปัจจัยก็ให้ความหมายที่แต่กต่างกันดังต่อไปนี้

      ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม สามารถควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเองรู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้ แสดงออกอย่างเหมาะสม เห็นใจผู้อื่น ใส่ใจผู้อื่นเข้าใจและยอมรับผู้อื่น มีความรับผิดชอบสูง- รู้จักการให้ รู้จักการรับรู้จักรับผิด รู้จักให้อภัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

       เก่ง คือความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น รู้จักและสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง- รู้ศักยภาพของตนเอง สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้ มีความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย สามารถตัดสินใจและแก้ปัญหา รับรู้และเข้าใจปัญหา มีขั้นตอนในการแก้ปัญหาได้อย่างสันติวิธี มีความยืดหยุ่น การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น การรู้จักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม แก้ปัญหาข้อขัดแย้งได้อย่าง ร้างสรรค์และสุดท้ายก็คือ สุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข มีความภูมิใจในตนเองพอใจในชีวิต และมีความสุขสงบทางใจ ประกอบไปด้วย ความภูมิใจในตนเอง เห็นคุณค่าในตนเอง

 

 

IQ ความสามารถด้านสติปัญญา

          IQ ย่อมาจาก Intelligence Quotient คือความฉลาดทาง

สติปัญญา หรือความเฉียบคมทางด้านปัญญา

         ค่า IQ ปกติ คือ 90 – 109 ส่วนที่ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย คือ80 – 89 จะเรียกว่ากลุ่ม Dull normal เป็นกลุ่มคนที่สามารถเรียนรู้ในระบบปกติได้ เพียงแต่จะช้ากว่าเล็กน้อยในเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิชาการ กลุ่มที่ต่ำลงไปอีก คือ 70 – 79 ถือเป็นกลุ่ม Borderline MR (คำว่า MR มาจาก Mental Retardation หรือ ความบกพร่องทางสติปัญญา หรือปัญญาอ่อน

          IQ (Intelligence Quotient) ความฉลาดทางสติปัญญา เป็นความสามารถในการคิด วิเคราะห์ การคำนวณ และการใช้เหตุผล

  

CQ (Creativity Quotient) ความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์

       CQ (Creativity Quotient) ความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์ มีความคิด จินตนาการหรือแนวคิดใหม่ๆ ในรูปแบบต่างๆ เช่น การ เล่น งานศิลปะ และการประดิษฐ์สิ่งของ นักวิจัยพบว่าการเล่นและทำกิจกรรมที่ส่งเสริมจินตนาการเช่น การเล่นศิลปะ การหยิบจับของใกล้ตัวมาเป็น ของเล่น การเล่านิทาน เป็นต้น จะทำให้มี CQ ดี

 MQ (Moral Quotient) ความฉลาดทางศีลธรรม จริยธรรม

        MQ (Moral Quotient) ความฉลาดทางศีลธรรม จริยธรรม คือมีความประพฤติดี รู้จักผิดชอบสูง มีความซื่อสัตย์สุจริต มี จริยธรรม เป็นแนวคิดที่มุ่งตอบคำถามว่าการที่เรามีคนที่ IQ ดี EQ สูง แต่ถ้ามีระดับจริยธรรมต่ำก็อาจใช้ ความฉลาดไปในทางที่ไม่ถูกต้องก็เป็นได้ MQ จึงเน้นเรื่องการปลูกฝังความดีงาม ซึ่งตรงกับหลักศาสนาหลายศาสนาที่สอนให้คนเป็นคนดี เช่น พุทธศาสนา สอนให้ละชั่ว ทำดีและทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส

 

PQ (Play Quotient) ความฉลาดที่เกิดจากการเล่น

          PQ (Play Quotient) ความฉลาดที่เกิดจากการเล่น เกิดจากความเชื่อที่ว่าการเล่นพัฒนาความสามารถของเด็กได้หลายด้าน ทั้ง พัฒนาการด้านร่างกาย ความเฉลียวฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์และสังคม PQ จึงเน้นให้พ่อแม่เล่นกับลูก ถึงกับมีคำพูดที่ว่าพ่อแม่เป็นอุปกรณ์การเล่นที่ดีที่สุดของลูก

 

AQ (Adversity Quotient) ความฉลาดในการแก้ไขปัญหา

     AQ (Adversity Quotient) ความฉลาดในการแก้ไขปัญหา คือมีความยืดหยุ่นสามารถปรับตัวในการเผชิญปัญหาได้ดี และพยายาม เอาชนะอุปสรรคความยากลำบากด้วยตัวเอง ไม่ย่อท้อง่ายๆ มองปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย ไม่ใช่เรื่องที่ต้องจำนน

 

SQ (Social Quotient) ความฉลาดทางสังคม

ที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น

         SQ (Social Quotient) ความฉลาดทางสังคมที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เพราะมนุษย์ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีน้ำใจเอื้อแบ่งปัน มีจิตเอื้ออาทรต่อเพื่อนร่วมสังคมด้วยกัน ไม่คิดว่าตนเองเหนือกว่าใคร ต้องมีใจเปิดกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น อีกทั้งต้องไม่ เบียดเบียนซึ่งกันและกันด้วย

 

สรุป

        คนผู้ฉลาดทางอารมณ์ เฉียบคมทางปัญญานั้น จะสาสมารถแก้ปัญหาวิกฤตชีวิตได้ มีงานวิจัยยืนยันว่า คนที่มี IQ ดี มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จในชีวิต เช่น การทำงาน การเรียน เพียงแค่ประมาณ 20% เท่านั้น ส่วนคนที่มี EQ และ MQ สูงจะสามารถประสบความสำเร็จได้ประมาณ 70%-90% ยิ่งถ้าเพิ่ม Q ที่เหลือเข้าไปอีกด้วย คือ CQ (Creativity Quotient) ความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์PQ (Play Quotient) ความฉลาดที่เกิดจากการเล่นAQ (Adversity Quotient) ความฉลาดในการแก้ไขปัญหาSQ (Social Quotient) ความฉลาดทางสังคมที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นก็จะทำให้เราเป็นผู้หนึ่งที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุขดังคำที่ว่า “ฉลาดทางอารมณ์ และเฉียบคมทางปัญญา” นั้นเอง

----------------------------

 

 

 

 

 

 

 

แหล่งข้อมูล

https://www.hiso.or.th/hiso/tonkit/tonkits_55.php

https://experience.dropbox.com/th-th/resources/emotional-intelligence

https://bit.ly/3CoGuEt

https://www.palagrit.com/eq-and-iq/

http://www.rtna.ac.th/page/7q.html

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 696829เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2022 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2022 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท