การเสริมสร้างสมรรถนะทั้งห้าให้กับผู้เรียน


สมรรถนะของคนเรา อย่างน้อยก็ควรเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญ ๆ อยู่ 5 ประการ ตามสมรรถนะที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ให้กับผู้เรียน การเสริมสร้างสมรรถนะให้กับผู้เรียนได้แก่ความสามารถในการสื่อสาร  ความสามารถในการคิด  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี(สื่อ คิด แก้ ทัก  เทค) ปัญหาทุกปัญหามีทางแก้ไข และจะเป็นการดี ถ้าเราตระหนักรู้ในปัญหา วิเคราะห์หาสาเหตุแห่งปัญหาคิดหาวิธีแก้ปัญหาทางสร้างสรรค์ และนำเอาวิธีการแก้ปัญหาที่ที่สุดนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันต่อไป  เด็กและเยาวชนจะพัฒนาก้าวไกล ถ้าใส่ใจเสริมสร้างสมรรถนะทั้งห้าให้กับผู้เรียน  และทักษะและสมรรถนะที่สำคัญในปัจจุบันคือการรู้จักดูแลรักษาตนให้รอดพ้นภัยจากโรคร้ายโดยเฉพาะไวรัสโควิด-19 โอมิครอน และปัญหาทางสังคม เศรษฐกืจ

การเสริมสร้างสมรรถนะทั้งห้าให้กับผู้เรียน

 

การเสริมสร้างสมรรถนะทั้งห้าให้กับผู้เรียน

ดร. ถวิล   อรัญเวศ

              สมรรถนะ ( Competency )  หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลนั้น ๆ สามารถปฏิบัติงานได้ผลโดดเด่นกว่าคนอื่น  โดยบุคคลนั้นแสดงออกทางคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเทคนิควิธีที่ดีกว่าคนอื่น ๆ

           สมรรถนะของคนเรา อย่างน้อยก็ควรเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญ ๆ อยู่ 5 ประการ
ตามสมรรถนะที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ให้กับผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อให้

ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ และสังคม คือ

 

1.      ความสามารถในการสื่อสาร

                รู้จักสื่อสารกับคนอื่นได้ในทางสร้างสรรค์ และไม่เป็นภัยแก่ตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออก

ทางการพูด การเขียน  อารมณ์ หรือวิธีการใด ๆ ที่จะทำให้คนที่เราสื่อสารด้วยฟังสบายหู ดูสบายตา  และพาสบายใจ

                ด้านผู้เรียน หมายถึง ใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง เพื่อเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

 

2.   ความสามารถในการคิด

               คิดในทางสร้างสรรค์ก่อให้เกิดมูลค่า และสร้างสันติสุข หรือเป็นการมองโลกในแง่ดี เช่น ไม่คิดลักขโมยสิ่งของของคนอื่น  ไม่อิจฉาริษยาใคร ไม่คิดพยาบาทปองร้ายใคร ในส่วนสามีภรรยา ก็ไม่คิดนอกใจกันและกัน ในส่วนของทุกคน ก็ไม่คิดอกุศล เช่น คิดกระทำชำเรา คิดเพื่อมุ่งร้ายคนอื่น เป็นต้น สิ่งสำคัญคือการคิดที่จะพัฒนาประเทศชาติบ้านเมือง คิดหาทางออกให้ชาติบ้านเมือง ไม่ซ้ำเติมให้สถานการณ์แย่ไปกว่าเดิม

               ด้านผู้เรียน คือความสามารถในการคิด รู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

 

3.      ความสามารถในการแก้ปัญหา

         ปัญหาของทุกคน ก็ย่อมมีด้วยกันทั้งนั้น เพราะสภาพปัญหาพื้นฐานของคนเรา คือแย่งอาหารกันกิน

แย่งแผ่นดินหรือถิ่นฐานกันอยู่ แย่งคู่พิศวาส และแย่งอำนาจกันปกครอง หลักในการแก้ปัญหาของคนเรา

ถ้านำเอาหลักอริยสัจ 4 มาใช้ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้แทบทุกเรื่อง คือ รู้ว่าอะไรเป็นปัญหา หรือสิ่งที่จะทำ

ให้เกิดทุกข์  รู้จักวิเคราะห์สาเหตุปัญหา แยกแยะให้รู้ชั่วดี  หาวิธีแก้ปัญหาทางสร้างสรรค์ และนำเอาวิธี

การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดมาเป็นแนวทางสำหรับแก้ปัญหาด้านอื่นๆ ต่อไปด้วยการบูรณาการเข้าด้วยกัน

               ด้านผู้เรียน คือความสามารถในการแก้ปัญหาเป็น เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคมแสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผลคุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

 

4.  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

               คือการรู้จักเอาตัวรอดได้ ไม่ก่อให้เกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นด้านการติดยาเสพติดให้โทษ
การมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เพราะมนุษย์เราต่างจากสัตว์ที่จิตใจสูง มีความละอายแก่ใจในอันที่จะแสดงออกทางเพศที่ไม่พึงประสงค์หรือชาวโลกติเตียน ซึ่งถือว่าเป็นอารยธรรมที่สูงส่ง

              ด้านผู้เรียน คือความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ใช้กระบวนการต่าง ๆ ในการดำเนินวิตประจำวัน เรียนรู้ด้วยตนเองต่อเนื่อง ทำงานและอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล จัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆอย่างเหมาะสม รู้จักปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมสภาพแวดล้อม และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

 

5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

           ปัจจุบัน เทคโนโลยี หรือ ไอซีที (ICT) มีความเจริญก้าวหน้ามาก ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์คอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้โลกเราสามารถเข้าถึงกันได้หมดภายในระยะเวลาอันสั้น และเราจะแสวงหาความรู้ก็สามารถทำได้หลายวิธี จากการศึกษาค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์เว็บไซต์ การใช้เทคโนโลยีที่ดี ต้องใช้ในทางสร้างสรรค์  ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างปัญญาให้เกิดกับเรา ใช้ในการแสวงหาความรู้ ไม่ใช้เพื่อประสงค์ร้าย หรือใส่ร้ายใครให้เกิดความแตกแยก และจะก่อให้เกิดการขาดความสามัคคีของคนในชาติ

              ด้านผู้เรียน คือความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ที่รู้จักเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ อย่างชาญฉลาด รู้เท่ารู้ทัน รู้กัน รู้แก้ในทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม

 

สรุป

        

------------

 

หมายเลขบันทึก: 696566เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2022 01:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2022 01:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท