ชีวิตที่พอเพียง  ๔๑๒๓. ข้อเตือนสติในการพัฒนาประเทศไทยให้หลุดกับดักรายได้ปานกลาง 


 

บทความเรื่อง  Southeast Asia risks stumbling toward a South American future  เตือนสติว่า  การที่ประเทศไทยจะหลุดจากกับดักรายได้ปานกลางเป็นเรื่องท้าทายกว่าที่คิด       

 ข้อเขียนในบทความดังกล่าววิเคราะห์ปัจจัยล้มเหลวของประเทศในทวีปอเมริกาใต้    ที่เราควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง     โดยเขาบอกว่า ปัจจัยสำคัญ ๓ ประการได้แก่  (๑) หลงส่งออกสินค้าปฐมภูมิ  (๒) ไม่จัดการความเหลื่อมล้ำ  และ (๓) ความไม่มั่นคงทางการเมือง    อ่านแล้วคลับคล้ายคลับคลาว่าประเทศไทยกำลังเดินตามอยู่ในทางปฏิบัติ    แม้ในทางแผนพัฒนาจะสวยหรู   

เป็นข้อเขียนสั้นๆ ที่มีข้อมูลหลักฐานชัดเจนมาก   ว่าประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในอาเซียอาคเนย์ (ยกเว้นสิงคโปร์) กำลังอยู่ในสถานะเดียวกันกับประเทศในอเมริกาใต้เมื่อ ๒๐ ปีที่ผ่านมา    ที่สถานการณ์ชักจูงหรือบีบบังคับให้ทำมาหากินอยู่กับสินค้าปฐมภูมิ เพราะสู้สินค้าไฮเทคจากประเทศยักษ์ใหญ่ที่อยู่ใกล้ๆ ไม่ได้   

ประเทศไทยจะสร้างฐานสู่ IDE – Innovation-Driven Economy ได้อย่างไร    เพื่อหลุดจากอิทธิพลของสินค้าไฮเทคจากประเทศยักษ์ใหญ่ข้างบ้านให้ได้   

วิจารณ์ พานิช

๔ ธ.ค. ๖๔   

 

  

  

หมายเลขบันทึก: 695357เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2022 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2022 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I have a different view of ‘primary industry’ (instead of economy based on simple agriculture - food production) as a human activity based on simple/known biology or physics or arts. Secondary Industry is one based on well-known procedural processing, machinery, transportation and trading; tertiary industry is based on complex/high technologies, precision, market manipulation, rare materials, energy,..; next class of industry will be based on information, perception/emotion, virtual/futuristic manipulation and space.

Having a definition of what and where we will be, allows us to plan a course of our journey to get there.

But what do I know?

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท