รักวัว ให้ผูก รักลูกให้ตี “รักประเทศชาติ ให้ทำอย่างไร” ?


การรักประเทศชาติ จึงเป็นการรักเพื่อส่วนรวมมากกว่าเพื่อส่วนตน เพราะประเทศชาติ เหมือนบ้านหลังใหญ่ของเรา เราได้มีที่อยู่อาศัย อยู่อย่างมีความสุขเพราะเรามีประเทศชาติ ที่เป็นเอกราช ไม่ต้องมีใครมาควบคุมต้องเสียสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเรา ขอให้เรารักประเทศชาติให้มาก พวกเราคนในชาติ ก็ยิ่งจะมีความสุขร่วมกัน อนึ่ง การรักประเทศชาตินั้น ถ้าเห็นว่าใครทำผิด คิดทุจริตต่อชาติ บ้านเมืองจริง ๆ ก็ให้รวบรวมข้อมูลพยานบุคคล พยานเอกสาร และพยานวัตถุต่าง ๆ เสนอผู้มีหน้าที่นำคนผิดมาลงโทษให้ได้ เช่น เมื่อได้ข้อมูลที่ พร้อมสรรพสมบูรณ์ ก็นำเสนอหรือแจ้งข้อหาผ่านตำรวจ อัยการ เพื่อฟ้องศาล ศาลจะได้พิจารณาตัดสินคนผิดมาลงโทษ

รักวัว ให้ผูก รักลูกให้ตี “รักประเทศชาติ ให้ทำอย่างไร” ?

 

 รักวัว ให้ผูก รักลูกให้ตี

“รักประเทศชาติ  ให้ทำอย่างไร”  ?

ดร. ถวิล  อรัญเวศ

          คำพังเพย

“รักวัวให้ผูก  รักลูกให้ตี” แล้ว

“รักประเทศชาติ “ ทำอย่างไร?

       เป้นปริศนาธรรม คำโบราณกาลที่มีมาแต่นมนาน

            รักวัวให้ผูก

         มีอรรถาธิบายว่า ถ้ารักวัว ต้องดูแลวัวให้ดี อย่าปล่อยให้

วัวไปกินข้าวกล้าของใคร ๆ หรือไปทำลายพืชสวน ของเพื่อนบ้านให้

ได้รับความเสียหาย ผูกไว้ หาหญ้ามาให้วัวกิน (เว้นแต่มีสวนหญ้า

ตัวเอง และมีรั้วล้อมรอบเป็นขอบเขตอาจจะไม่ต้องผูกก็ได้)

            รักลูกให้ตี

          มีอรรถาธิบายว่า

        คือ ถ้ารักลูกจริง ๆ เวลาลูกทำความผิด ละเมิดกฎ กติกา ไม่ทำตาม

กฎ กติกา ทำตนเองให้เสื่อมเสียจากวงศ์ตระกูล  ถ้าลูกตนเอง กำลังจะประพฤติผิด

ไม่เชื่อฟังคำสอนพ่อแม่ ครู อาจารย์ หรือญาติพี่น้อง หรือทำผิดระเบียบ กฎกติกาของโรงเรียน  ก็ให้ห้ามปรามเอาไว้ ห้ามไม่ฟัง ก็หาวิธีลงโทษเพื่อสอนให้เข็ดหลาบ

แม้จะเป็นการตี แต่ตีด้วยความเมตตา ไม่ใช่อาฆาตพยาบาท หรือไปโกรธใครมาแต่

มาลงที่ลูกนั้น ไม่ใช่ แต่ตีด้วยความปรารถนาดี อุปมา เหมือนคนที่กำลังถูกบอก

ให้ไปเอาขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้ แม้อาจจะถูกด่า ถูกโบยตี เขาก็คงไม่โกรธ 

กลับแต่จะดีใจเสียอีก

 

            สำหรับการลงโทษยุคใหม่ เวลาจะทำการการลงโทษ  คงไม่ใช่ใช้ไม้ตี

ไม้เรียวตี  แต่อาจจะใช้วิธีการที่แยบยล เพื่อให้ลูกได้เข้าใจพ่อแม่

เพราะเด็กยังไม่มีวุฒิภาวะดีพอจะปล่อยให้เผชิญสถานการณ์ตามลำพังได้ ยกเว้น

ลูกบรรลุนิติภาวะแล้วคงจะมีความรับผิดชอบดีหรือรู้จักวิธีการแก้ปัญหาดีพอแล้ว

คงไม่ต้องไปตีหรอก เขาคงจะคิดได้แล้ว ปล่อยให้เขาเข้มแข็ง

การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง จะได้เข้มแข็ง และสามารถแก้ปัญหาเองได้

สอนให้เขาได้เข้าใจ และตระหนักในการคิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น

ดังคำที่ว่า  “กิน ดู อยู่ ฟัง เป็น...”

 

แล้ว “รักประเทศชาติ ให้ทำอย่างไร ?

           รักประเทศชาติ  ก็คือให้รู้รัก สามัคคี  สร้างความสมานฉันท์

ให้เกิดขึ้นในชาติ

         รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์  ยึดประโยชน์เพื่อบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง

ไม่ใช่การสร้างความแตกแยกให้หมู่คน  หรือทำเล่ห์กลให้คนหลง

เพื่อสร้างความชอบให้กับตนเอง ไม่ใช่

         นอกจากนี้แล้ว การรักประเทศชาติที่ถูกต้อง  คือให้แต่ละคนทำตนเป็นคนดี เป็นหูเป็นตาให้กับขาติบ้านเมือง ภายใต้กรอบของกฎหมาย และกติกาของบ้านเมือง ไม่ใช่การรวมกันก่อม็อบ หรือไปละเมิดสถานที่ราชการหรือส่วนบุคคลให้ได้รับความเสียหาย หรือทำให้ผู้คน ได้รับความเดือดร้อน หรือยกพวกไปตะเพิดไล่ใคร ด่าใครด้วยคำหยาบคาย  ต่าง ๆ นานา  อันนั้น ไม่ใช่

       การรักประเทศชาติ จึงเป็นการรักเพื่อส่วนรวมมากกว่าเพื่อส่วนตน

เพราะประเทศชาติ เหมือนบ้านหลังใหญ่ของเรา

เราได้มีที่อยู่อาศัย อยู่อย่างมีความสุขเพราะเรามีประเทศชาติ

ที่เป็นเอกราช ไม่ต้องมีใครมาควบคุมต้องเสียสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเรา

ขอให้เรารักประเทศชาติให้มาก พวกเราคนในชาติ ก็ยิ่งจะมีความสุขร่วมกัน

 

        อนึ่ง การรักประเทศชาตินั้น   ถ้าเห็นว่าใครทำผิด คิดทุจริตต่อชาติ

บ้านเมืองจริง ๆ  ก็ให้รวบรวมข้อมูลพยานบุคคล พยานเอกสาร และพยานวัตถุต่าง ๆ

เสนอผู้มีหน้าที่นำคนผิดมาลงโทษให้ได้ เช่น เมื่อได้ข้อมูลที่

พร้อมสรรพสมบูรณ์ ก็นำเสนอหรือแจ้งข้อหาผ่านตำรวจ อัยการ

เพื่อฟ้องศาล ศาลจะได้พิจารณาตัดสินคนผิดมาลงโทษ

         ถ้าเราเชื่อในกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว  เราต้องยอม

รับกฎหมาย กติกาบ้านเมือง  เพราะเชื่อมั่นว่า ใครทำผิด คงได้รับโทษ

เพราะฟ้ามีตา หรือสวรรค์มีตา ดังที่เปาบุ้นจิ้น ได้กล่าวไว้ในภาพยนตร์

เรื่อง เปาบุ้นจิ้น

 

ประดุจคำถามที่ว่า

“คุณรักผมไหม ?

ถ้ารักผม  ต้องดูแลผม (ของคุณให้ดี

ด้วยการเอาใจใส่ สระผมให้สะอาด หวีให้สวยงาม

บำรุงดูแลผมให้สวย เงางามเป็นยองใยอยู่เสมอ)

 

 

--------------


 


 

 

หมายเลขบันทึก: 693620เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2021 01:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2021 01:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท