ขอบพระคุณกรณีศึกษาซึมเศร้าเล็กน้อย ที่กรุณาเป็นวิทยาทานแก่นักศึกษาและผู้สนใจกระบวนการทดสอบเจตจำนง พฤตินิสัย และความสามารถในการเรียนรู้ดูจิตใต้สำนึกด้วยความเป็นจริง - ซื่อสัตย์ เปิดใจ ยอมรับ เข้าใจ ด้วยสติแห่งตน แม้ว่ากรณีศึกษาจะผ่านจิตแพทย์มา 6 คนและนักจิตบำบัด 4 คน รักษาด้วยยาต้านเศร้าและคลายวิตกกังวลกว่า 10 ปี ใน 2 ปีหลังนี้ได้ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นสมอง 2 ครั้ง ปัจจุบันใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นสมอง 2 จาก 6 ครั้งร่วมกินยากันชัก หมั่นฝึกการบ้านที่เคยปรึกษานักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมรวม 2 ครั้งที่คลินิก และ 3 ครั้งออนไลน์ แต่บางครั้งก็ทำไม่ต่อเนื่อง หรือ หากิจกรรมเดินจงกรมกับ 14 ท่าเจริญสติตามที่เพื่อนแนะนำ โดยไม่มีการประเมินก่อนหลังการฝึกการบ้านด้วยตนเอง แต่มีความต้องการ "หายจากซึมเศร้า 100%"
11 นาทีแรก
นักกิจกรรมบำบัด ประเมินภาวะจิตเพื่อการรับรู้สึกภาพและเสียงด้วยการใช้สติแห่งตน ประกอบด้วย
- ให้คนไข้จดจำมองนิ้วชี้ของนักกิจกรรมบำบัดที่มองขึ้นลงจากซ้ายไปขวาเป็นตัว W แต่คนไข้ทำตามได้อย่างมีข้อผิดพลาด 3 จุด มั่นใจเพียง 70% บ่งชี้ "การทำงานที่ไม่ประสานกันระหว่างการรับรู้กับการรู้คิดด้วยภาพ"
- มือซ้ายไขว้มือขวาแตะหูด้านตรงข้าม หลับตา หายใจเข้าออกสบายผ่อนคลาย
- ระลึกถึงภาพกับเสียงย้อนกลับไป 3 วันที่ผ่านมาว่า “มีอะไรที่คุณรับรู้สึกนึกคิดบวกบ้าง”
- รอบแรก บอกหนึ่งภาพต่อหนึ่งวันเป็นสี เคลื่อนไหว ชัดเจนว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน แต่ไม่ได้ยินเสียงใด ๆ เพราะท่อง “เข้าออก” ตลอดการบังคับลมหายใจเข้าออกอย่างมีสมาธิ และมีเพียงภาพวันที่สอง เห็นด้านข้างของตัวเอง วันอื่น ๆ ไม่เห็นภาพตัวเองเลย
- ฝึกตั้งเป้าหมาย พูดให้ตัวเองได้ยินความคิดบวก คือ "ให้เห็นภาพสีหน้าท่าทางรอยยิ้มของตัวเองชัดเจน และให้ได้ยินเสียงสวดมนต์/เสียงเพื่อน/เสียงเคี้ยว
- รอบสอง ทวนหนึ่งภาพต่อหนึ่งวันเป็นสี เคลื่อนไหว ชัดเจนว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน และได้ยินเสียงตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ เช่นเดียวกับมองเห็นภาพรอยยิ้มที่เฉยจนถึงที่เป็นสุขของตัวเอง
คนไข้สะท้อนการเรียนรู้ว่า “จิตจะคิดบวกได้ เมื่อใจตั้งเป้าหมายให้เห็นการรับรู้สึกนึกคิดดีมีสมาธิของตัวเราเอง”
11 นาทีสุดท้าย
นักกิจกรรมบำบัด จับประเด็น “การได้ยินเสียงภายในใจด้วยความคิดลบมากกว่าความคิดบวก (ความคิดไม่ยืดหยุ่น) จนเกิดความกลัวแบบวิตกกังวล” จึงประเมินทักษะการเรียนรู้อารมณ์สังคมด้วยการฝึกอารมณ์ดีมีความมั่นคง ประกอบด้วย
- ให้คนไข้เชื่อว่า คิดไปก่อนล่วงหน้าทำให้คิดลบ" จึงให้ทบทวนนิสัยที่ดีซ่อนอยู่ในพฤติกรรมคิดลบว่า “ที่คุณคิดไปก่อนล่วงหน้านั้นมีข้อดีได้ถึง 5 ข้อไหม คนไข้หลับตาทวนเสียงที่คุณเล่าถึงความคิดในที่ทำงาน ต้องสะสางให้เคลียร์ตรงหน้างาน วางแผนแก้ปัญหากับพี่ที่ทำงานจนสำเร็จ คิดมากวิตกกังวลเลยไปไกลในวันพรุ่งนี้หลายครั้ง คิดลบนาน วนไปวนมา คิดไปเอง จนวิตกกังวล ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า”
- คนไข้ลืมตาพยายามจับประเด็น แล้วก็ชูนิ้วโป้งจนถึงนิ้วก้อยไปทีละคำ ใช้เวลา 5 นาที คือ วางแผน เคลียร์ แก้ปัญหา ประสานงาน สำเร็จ บ่งชี้ "การทำงานที่ไม่ประสานกันระหว่างการรับรู้กับการรู้คิดด้วยภาพ"
- ให้คนไข้เคาะต่อมไทมัส พร้อม ๆ กับพูดให้ตัวเองได้ยินว่า “บอกชื่อ จำได้ คิดบวก ไปเรื่อย ๆ” จนเห็นภาพกับเสียงของน้องที่ทำงานที่ตนเองมีความวิตกกังวล - ลังเลสงสัยว่า ทำไมเราถึงกลัวน้องคนนี้"
- ให้คนไข้ลืมตาใช้นิ้วกลางกับโป้งนวดในพร้อมนอกใบหู 3 ตำแหน่ง คือ ตรงกลาง ใบหู ติ่งหู พร้อมยืนลงน้ำหนักบนขาข้างซ้าย (ข้างไม่ถนัด) ทรงตัวให้ได้พร้อมนับเสียงดัง 10-9-8-7-6-5-4-3-2-1-0 ถือเป็น 1 รอบ ให้ทำ 3 รอบ
- ให้คนไข้ลืมตาใช้มือสองข้างไขว้ข้ามหัวใจไปถึงต้นคอ (ท่ากอดรักตัวเอง) พร้อมยืนลงน้ำหนักบนขาข้างขวา (ข้างถนัด) ทรงตัวให้ได้พร้อมนับเสียงดัง 10-9-8-7-6-5-4-3-2-1-0 ถือเป็น 1 รอบ ให้ทำ 3 รอบ โดยให้นึกถึงภาพและเสียงของน้องคนนั่นให้ชัดเจนที่สุด
- ให้คนไข้หลับตา นำมือขวไขว้หลัง มือซ้ายจับหัวใจ สัมผัสรับฟังเสียงเต้นของหัวใจให้พร้อมจึงพยักหน้า เดินก้าวมาข้างหน้า 1 ก้าว แล้วฟังคำถามเพื่อฟังเสียงคำตอบจากเสียงหัวใจเราว่า “คุณกลัวน้องไปทำไม” คนไข้ตอบว่า “ไม่รู้คำตอบ”
- ทำท่าเดิมในข้อ 6. เดินถอยหลังไป 1 ก้าว แล้วฟังคำถามเพื่อฟังเสียงคำตอบจากเสียงหัวใจเราว่า “คุณรักน้องไปทำไม” คนไข้ตอบว่า “เห็นน้องไลน์มาหาด้วยความห่วงใย”
คนไข้สะท้อนการเรียนรู้ว่า “ใจจะมีอารมณ์มั่นคงได้ เมื่อคิดยืดหยุ่น ในสิ่งคิดลบย่อมมีความคิดบวก เรากลัวอย่างไม่มีเหตุผล เรารักอย่างมีสติถึง 7 ระดับ … ยิ่งคิดลบถึงวันพรุ่งนี้เกิน 3 นาที ก็จะยิ่งวิตกกังวล แปลความรักเป็นความโกรธ”
