ชีวิตที่พอเพียง ๔๐๕๔. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๑๐๙) การจัดการโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองยุคโควิด


 

เช้าวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๔ มีการประชุม review ข้อเสนอของทีมบริหารโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ของ กสศ.    ที่มี อ. เพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ เป็นหัวหน้าโครงการ    ดำเนินการ ๑ ปี ช่วง พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ ซึ่งถือเป็นช่วงวิกฤติโควิดของประเทศไทย และท้าทายระบบการศึกษาไทยเป็นอย่างยิ่ง   

หลังอ่าน TOR และข้อเสนอโครงการ   ผมก็เห็นช่องโหว่ใหญ่ ๓ ด้าน คือ (๑) ไม่ได้คำนึงถึงการเผชิญสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโควิดจนโรงเรียนทั่วประเทศต้อง teach at home ในขณะนี้   (๒) คำนึงถึงการจัดการที่รับรู้การดำเนินการระดับโรงเรียนน้อยไป   โดยที่ผมเคยเสนอไว้ที่ (๑) ให้จัดการแบบแยกแยะโรงเรียนที่มีผลดำเนินการดีเยี่ยมออกมาจัดการเพื่อเป็นพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ     และ (๓) คำนึงถึงการจัดการที่รับรู้ CLO (core learning outcome) ของนักเรียนน้อยไป   

ในอีกบันทึกหนึ่ง ผมเสนอการจัดการโครงการนี้แบบค้นหา (๒)    ดังนั้น ภาพใหญ่ประเด็นที่ (๔) ที่จะต้องคำนึงถึงคือ การจัดการเชิงรุก เพื่อค้นหานวัตกรรมเล็กๆ ในระดับโรงเรียน    สำหรับเอามาสื่อสารสร่งการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาภาพใหญ่   

ผมมุ่งทำหน้าที่จับประเด็นภาพใหญ่ (macro picture)   เพราะผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นๆ เก่งมากในการจับประเด็นเชิงเทคนิค และเชิงรายละเอียด    เป้าหมายสำคัญคือ ช่วยกันทำให้โครงการนี้ก่อผลสำเร็จในลักษณะที่มีโรงเรียนจำนวนหนึ่งเกิดสมรรถนะและวัฒนธรรมการทำงาน ที่มีการพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง   และข้อเรียนรู้จากโครงการนี้ก่อแรงกระเพื่อมสู่การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาภาพใหญ่    ในลักษณะที่เป็นการเปลี่ยนระดับ transformation      

วิจารณ์ พานิช

๑๓ ส.ค. ๖๔ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 692612เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2021 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2021 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท