920. บริหารความกลัวด้วย Appreciative Inquiry


บริหารความกลัวด้วย Appreciative Inquiry

 

โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์

ที่ปรึกษาการพัฒนาองค์กรแนว Appreciative Inquiry

 

ชีวิตของคนทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นองค์กร หรือในชีวิตส่วนตัว เราล้วนเคยเผชิญกับความกลัว ความกลัว มาจากหลายสาเหตุ ความกลัวมาจากการมนุษย์รู้สึกถึงอันตราย มีภัยคุกคาม เห็นความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดความเจ็บปวด หรือเสียหายอะไรบางอย่าง สำหรับสังคมคนทำงานก็ได้แก่ความกลัวตกงาน กลัวอุบัติเหตุ ความกลัวที่จะต้องไปนำเสนองาน ความกลัวจากลูกค้าที่มีอารมณ์รุนแรง  ความกลัว ที่จะตกต่ำในอาชีพ  ประโยชน์ของความกลัวก็มีคือทำให้เราไม่ตกอยู่ในอันตรายโดยไม่จำเป็น  ซึ่งอันตรายอาจไม่เกิดขึ้นกับตัวเองเท่านั้น แต่อาจส่งผลกระทบต่อครอบครัว องค์กร สังคมในภาพรวม ดังนั้นความกลัวจึงมีประโยชน์ ในการชี้เป้าปัญหาที่ยังไม่เกิด แต่ถ้าเกิดแล้วอาจสร้างปัญหาที่ซับซ้อน เสียหายตามมา  แต่แน่นอนถ้าปล่อยให้ความกลัวครอบงำ โดยไม่คิดหาวิธีการแก้ปัญหา หรือสร้างระบบมาป้องกัน เมื่อขาดสติ ไม่ระวัง  ปัญหาย่อมเกิดตามมา  เราจึงจำเป็นต้องจัดการกับความกลัว ด้วยการสร้างระบบดีๆมาป้องกัน หรือออกแบบกระบวนการใหม่ไม่ให้ต้องกลัวอีก

แล้ว Appreciative Inquiry จะนำมาช่วยได้อย่างไร  อย่างแรกต้องระบบให้ได้ว่าอยากให้กลัวเรื่องอะไร โดยเชิญชวนคนทั้งหมดในทีมระบุว่ากลัวอะไรกันบ้าง  เช่นกลัวไม่ก้าวหน้าในอาชีพ เงินเดือนเท่าเดิม  เมื่อเห็นชอบว่าทุกคนอยากแก้ปัญหาร่วมกันนี้แล้ว ให้กำหนดปัญหาเชิงบวกขึ้นมา (Define) โดยตั้งคำถามในทิศทางบวกว่า “ทำอย่างไรจะก้าวหน้าในอาชีพเป็นคนที่องค์กรต้องการตัวอยู่เสมอ”   จากนั้นให้ตั้งคำถามเชิงบวก ที่เราเรียกว่าขั้นตอน Discovery ง่ายๆว่า

  1. นึกถึงตอนที่เราเป็นที่ต้องการตัวมาแก้ปัญหาอะไรบางอย่างนึกถึงเหตุการณ์ไหนที่ภูมิใจที่สุด  สาเหตุคืออะไร เวลาทำงานคุณให้คุณค่ากับอะไร
  2. เวลานึกถึงปัญหาที่คุณเผชิญอยู่ในหน้างาน เวลาวิกฤติ นึกถึงใคร ลองเล่าเหตุการณ์จริงที่เคยเกิดขึ้น คุณชอบเขาตรงไหน  สาเหตุคืออะไร
  3. ใครเป็นไอดอลเรื่องการทำงานจนก้าวหน้าในอาชีพ เขาไม่เหมือนใครตรงไหน เขาก้าวไปอย่างไร ดูเขาให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร แล้วถ้าคุณทำงานกับใคร อะไรที่คุณให้คุณค่า

ลองให้ทุกคนตอบแล้วบันทึกไว้

 

เช่นผมลองตอบบางข้อ ข้อแรก ผมนึกถึงเวลามีเพื่อนอาจารย์ขอปรึกษาเรื่องการออกแบบหลักสูตร เช่นล่าสุดออกแบบเรื่องหลักสูตรแก้ปัญหาในองค์กร ผมออกแบบให้ได้ในเช้าวันนั้นเลย ผมภูมิใจมากๆ เพราะได้งานมาจริงๆ สาเหตุคืออะไร ผมสั่งสมเครื่องมือ ทฤษฎีไว้มาก ทำให้สามารถเอามาผสมผสานแก้ปัญหา และที่ทำอย่างนี้ได้ เพราะอ่าน เรียนสั่งสมมาอย่างสม่ำเสมอ  และที่สำคัญให้คุณค่ากับการคิดใหม่ไม่ซ้ำใคร คือต้องต่าง สองต้องเร็ว

ข้อสองนึกถึงเพื่อนที่เป็นผู้บริหารท่านหนึ่งที่เวลามีปัญหา จะช่วยแก้ ประนีประนอมเรื่องระเบียบ คือความที่เก่งระเบียบทำให้แม่น และส่งเสริมเราเพราะเราไม่แม่น ทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น อะไรที่ให้ความสำคัญ ก็คือการมีทักษะที่ผมไม่มีแล้วเสริมผมได้ทันเวลา

ข้อสามเพื่อนในวงการที่ปรึกษาท่านนึ่งซึ่งเป็น Super Connector ถ่อมตัวรู้จัก ให้เกียรติทำงานได้กับคนหลายรูปแบบ มีทิศทางชัดเจน ค่อยๆ ทำอย่างมั่นคงจนโตเป็นที่รู้จักไปถึงระดับโลก   เท่าที่ดูเขาให้ความสำคัญกับเรื่อง Connection ที่มีคุณภาพสูง สามารถเอามาเสริมช่วยแก้ปัญหาใหญ่ได้ และมีมากพอที่จะช่วยทำงานใหญ่ได้  ตรงนี้ที่ผมไปร่วมงานด้วย เพราะผมให้คุณค่าคือการได้ทำงานหลากหลาย  พบกับคนที่มีทักษะที่ผมไม่มี

เมื่อทุกคนได้ฟังทุกคนพูดแล้ว ก็ให้คนจัดมาสรุป หาแก่นของของเรื่องเล่าทั้งสามคำถาม  ก็จะได้เช่น "มีความเชี่ยวชาญที่ไปช่วยคนอื่นได้ คือมีในส่ิงที่คนอื่นไม่มี”  ตรงนี้เรียกว่า Positive  Core

เอา Positive Core มาสร้างฝันร่วมกัน Dream หรือวิสัยทัศน์ เช่น   ภายใน 3 ปี เราจะเป็นคนที่ถูกต้องการตัวที่สุดในองค์กรของเรา

Design จากการที่เราจะเป็นที่ต้องการตัวก็ต่อเมื่อเรามีทักษะที่ไปเติมเต็มคนอื่นได้  เพราะฉะนั้นมาวางแผนร่วมกันว่าทำอย่างไรเราจะมีทักษะโดดเด่นจนเป็นที่ต้องการตัว

อาจมีคนเสนอคือต้องให้ทุกคนช่วยหาจุดแข็ง หรือชี้จุดแข็งของเพื่อน แล้ววางแผนพัฒนาตนเอง ภายใน 10  วางแผนไปเรียนรู้กับคนเก่ง วางแผนทำงานเป็นทีมที่ดึงทักษะทุกคนมาแก้ปัญหาร่วมกัน  แล้วประเมินผล

Destiny ทำแล้วนัดประเมิน ปรับเปลี่ยน วัดผลกันเรื่องระดับความกลัวว่ามั่นใจขึ้นหรือยัง ถ้าไม่มั่นใจก็ทำต่อ  หรือต้องการความช่วยเหลือจากใครเพิ่มเติมไหม

นี่เป็นวิธีการเอา Appreciative Inquiry ไปแก้ปัญหาความกล้วในองค์กร ลองไปทอดลองใช้ดู ติดปัญหา inbox มาถามกันได้

 

เขียนไว้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2564

 

สงวนลิขสิทธิ์บทความ @ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2564

หมายเลขบันทึก: 691870เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2021 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2021 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท