งานวิจัย บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร


งานวิจัย บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร นำเสนอ การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ ครั้งที่  2  มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 28 มิย 2561  (ดร.ประชา ตันเสนีย์ และ ดร.สุรภา ไถ้บ้านกวย )

บทคัดย่อ 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นบทบาทของผู้ตรวจสอบภายในกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร 2. สร้างรูปแบบบทบาทของผู้ตรวจสอบภายในกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร วิธีดำเนินการวิจัยใช้เทคนิคเดลฟาย โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการการตรวจสอบภายใน จำนวน 17  คน ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 3 รอบ  ซึ่งใช้เครื่องมือที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง  สำหรับในรอบที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และ ในรอบที่ 2 และ รอบที่ 3 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อคำนวณหาค่ามัธยฐานและพิสัยระหว่างควอไทล์ สำหรับในการพิจารณาคัดเลือกข้อคิดเห็นมิติบทบาทของผู้ตรวจสอบภายในกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรซึ่งจะพิจารณาค่ามัธยฐานตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป  (Md > 3.50)  และ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 
น้อยกว่า 1.50 

                        ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

                        1. มิติบทบาทของผู้ตรวจสอบภายในกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรที่ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องตรงตามเนื้อหาโดยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (Md. = 4.47)  และพิจารณาเป็นรายมิติ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 2 มิติ ได้แก่ 1. มิติการให้ความสำคัญในการรับคนดี (Md. = 4.60) 2. มิติการมีความรับผิดชอบ  (Md. = 4.55)  และอยู่ในระดับมาก จำนวน 3  มิติ คือ 1.มิติการมีผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ  (Md..= 4.46)  2. มิติการเป็นนวัตกรรม (Md. = 4.35)  และ 3.มิติการส่งเสริมให้สามารถรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงระบบ (Md. = 4.25) 

                        2. ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นในรูปแบบบทบาทของผู้ตรวจสอบภายในกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรว่ามีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสำเร็จได้จริง

คำสำคัญ : บทบาทผู้ตรวจสอบภายใน   การสร้างมูลค่าเพิ่ม

ABSTRACT

         The purposes of this research were to: 1. study the dimension opinions of the internal auditors' roles that result in increasing the value added to the organization; 2. create the internal auditors' role model to increase the value added to the organization. The Delphi Technique was used to analyze the data gathered by interviewing 17 experts who have been involved in the internal audit of the executive business in Thailand. The data collection was done three rounds using the research instrument conducted by the researcher. The semi-structured interview was used for the first - round interview while the questionnaires with a five-rating scale were the instrument for the second and the third rounds.

           The data analysis was done by using the statistical software to find out the Median and the Interquartile Range. The data were divided into 2 equal sets regarding the criteria of the internal auditors' roles increasing the value added to the organization. The Median was at a good level of higher than 3.50 
(Md.> 3.50) with a Concomitant Interquartile Range of less than 1.50

​             The research results were found out as follows:

              1. The experts agreed that there were five desirable dimensions of the internal auditors' roles that could increase the value added to the organization. The five overall dimensions were a high level at median level of 4.47. Regarding the consideration of the dimensions, there were two at the highest level:  1. Get Good People; It matters Dimension at the Median of 4.60 and 2. Be Responsibility Dimension at the median of 4.55.  And there were three dimensions at the high level: 1. Deliver Effective Results Dimension at the median of 4.46 ;  2. Be Innovative Dimension at the median of 4.35 and 3. Encourage the ability to Welcome Systemic Change Dimension at the median of 4.25.

                2. The experts concluded that the internal auditors’ roles model had a great effect on the value added to the organization in order to be practically successful.

Key Words:  Internal Auditors' Roles, Value added

หมายเลขบันทึก: 691823เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2021 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2021 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท