พลังงานหมุนเวียนทดแทนโซล่าเซลล์ที่ผันผวน


พลังงานหมุนเวียนทดแทนโซล่าเซลล์ที่ผันผวน

3 กรกฎาคม 2564

: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น) [1]

 

พลังงานหมุนเวียนทดแทนโซล่าเซลล์ที่ Disruptive รวดเร็ว 

 

คนไทยเริ่มได้ยินคำว่า Digital 4.0 และ “ดิจิทัลไทยแลนด์” บ่อยขึ้น ก่อนปี 2561 โลกก้าวจากระบบอะนาล็อก (analog) [2] ยุคที่ 1 มาสู่ยุคที่ 4 (G4 : 4.0 Fourth Wave) เป็นยุค Digital Literacy - Digital Citizens เป็น “ยุคแห่งเทคโนโลยีที่มีมันสมอง” (Machine-to-Machine) ซึ่งทำให้วิถีการดำเนินชีวิตปกติ (New Normal) มีการผันผวน Disruptive เปลี่ยนแปลงมากขึ้น สำหรับพลังงานหมุนเวียนทดแทน (Renewable Energy) [3] ที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือก็ผันผวนเช่นกัน ที่สำคัญต้องกล่าวถึงคือ “พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์” หรือ “โซล่าเซลล์” (Solar Cell) เพราะเป็นพลังงานสะอาด (Clean Energy) [4] ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมากกว่าสิบปีแล้ว แม้แนวนโยบายจะล้มลุกคลุกคลาน แต่พลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์มีข้อได้เปรียบมากกว่าพลังงานทดแทนอื่นๆ เช่น พลังงานลม โซล่าเซลล์ ก๊าซชีวมวล (BioMass) และอื่นๆ โดยมีข้อด้อยจุดอ่อนบ้าง

มีการประเมินว่า (2562) [5] กลุ่มพลังงานทดแทน พลังงานโซล่าในไทยจะชะลอ แต่พลังงานชีวมวลกำลังมา ที่ผ่านมา (2558) รัฐบาลได้ส่งเสริมประชาชนติดตั้งและรับซื้อไฟฟ้าโซล่าเซลล์บนหลังคาจากประชาชน (Solar Rooftop) [6] ปี 2563-2564 มีโครงการเมกะโปรเจค “โซล่าฟาร์ม” 30000 MW แก่เอกชน [7] และ ล่าสุดมีข่าววิพากษ์ถึงการใช้งบประมาณราชการที่ไม่เหมาะสมในการติดตั้งเสาไฟฟ้าโซล่าเซลล์ของ อบต.ทั้งในเขตปริมณฑลและภาคตะวันออก [8] ที่กำลังดำเนินการอยู่ในปี 2564 ด้วยงบประมาณรวมมากถึงกว่าร้อยล้าน

 

พลังงานแสงอาทิตย์สุดยอดเทคโนแห่งศตวรรษที่ 20 อันดับที่ 5 [9]

 

หรือ เซลล์สุริยะ ที่เรียกทับศัพท์ว่า “โซล่าเซลล์” ถือเป็นสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็น “ไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์” (Solar Thermal Power Plant) เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่สามารถนำไปใช้ในเวลากลางคืนได้ในท้องที่ป่าเขาทุรกันดารห่างไกล (Remote Area) ที่ไม่มีการไฟฟ้าไปถึง เช่น มีการนำไปใช้ในศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา (ศรช.) ของกรมการศึกษานอกโรงเรียน มาตั้งแต่ปี 2519 โดยได้ทดลองใช้ในเขตพื้นที่การห่างไกล เพื่อการสอนหนังสือในเวลากลางคืน (ช่วงหัวค่ำ) โดย มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2563) ภายใต้ “โครงการไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ (ICT for Marginalized Area)” [10]วัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีในพื้นที่ชนบทให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศได้อย่างเท่าเทียมกัน

โซล่าเซลล์ถือเป็นเทคโนโลยีวิทยาการสุดยอดอันดับที่ 5 ของศตวรรษที่ 20 เริ่มจากในปี 1954 มนุษย์เริ่มรู้จักนำแสงแดดมาเปลี่ยนเป็นพลังงานและนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยวิศวกรแห่งบริษัทเบลล์ (Bell Laboratories) ต้องการหาพลังงานที่จะใช้กับระบบเครือข่ายโทรศัพท์ในชนบท พบว่าน่าจะใช้ประโยชน์จากแสงแดดได้ พวกเขามองหาวัสดุตัวนำไฟฟ้าที่สามารถแปลงแสงแดดให้เป็นพลังงานไฟฟ้า แล้วก็พบว่าซิลิคอนที่มีอยู่เหลือเฟือในโลกน่าจะดีที่สุด เอามาทำเป็นโซล่าเซลล์ เมื่อแสงแดดตกกระทบ อิเล็กตรอนก็จะหลุดจากอะตอมของซิลิคอน และเกิดมีกระแสไฟฟ้าไหล การพัฒนาใช้โซล่าเซลล์เป็นไปอย่างรวดเร็วหลากหลาย ในเดือนธันวาคม 2543 สถานีอวกาศนานาชาติได้ติดตั้งแผงเซลล์สุริยะขนาดมหึมาไว้เป็นแหล่งพลังงานในอวกาศ

ภาคเอกชนและภาครัฐได้พยายามถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับโซล่าเซลล์ให้แก่ชาวบ้านมานานกว่าสิบปีที่แล้ว เช่น มีการอบรมพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เน้นการออกแบบติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งโดยบริษัทเอกชนเองหรือภาครัฐ เอ็นจีโอ องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม หรือคนจิตอาสาต่างๆ ที่ไม่เน้นเทคโนโลยีช่าง เพียงเพื่อชาวบ้านทั่วไปเข้าอบรมการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel) เพื่อแก้ปัญหาเรื่องไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งวิธีการนี้ได้สอนชาวบ้านผู้หญิงที่หมู่บ้านอินเดียที่ห่างไกลได้ผลมาแล้ว

ช่วงปี 2553 มีการอบรมฟรีให้แก่ประชาชนทั่วไป และ อบต. ทั่วประเทศ [11] เรื่องพลังงานทดแทนในการการติดตั้งโซล่าเซลล์ โดยทยอยทำรอบ (รุ่น) ละ 15-20 คนต่อ 2 วัน เช่นที่ จ.เพชรบุรี เพื่อกลับไปทำไฟ จากแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก ผลิตไฟใช้ในบ้าน เท่าที่ใช้จริง เริ่มต้นจาก 1-2 แผง หรือจะพัฒนาไปสูบน้ำในสวนเกษตร เพื่อไปบูรณาการกับเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน เช่นการสูบน้ำ หรือเรื่องประปาหมู่บ้านที่ใช้เครื่องสูบน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) หรือ ไฟฟ้าหมู่บ้านแผง 30-40 แผง เช่นในท้องที่ห่างไกล สปป.ลาว เป็นต้น

พัฒนาของการไฟฟ้าโซล่าเซลล์ที่ใช้ในบ้านเรือนเริ่มจากปี 2546-2548 คือ “โครงการไฟฟ้าเอื้ออาทร” [12] หรือ “โครงการเร่งรัดขยายบริการไฟฟ้าโดยระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์” โดยติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับหมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล 300,000 หลังคาเรือนงบประมาณรวม 3,500 ล้านบาท โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 

ซึ่งต่อมาช่วงต้นปี 2558 มี “โครงการโซล่ารูฟเสรี” [13] ภายใช้มติสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) คือ “โครงการโซล่ารูฟท็อป” (Solar Rooftop) หรือ “โครงการโซล่าภาคประชาชนผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์บนหลังคาที่อยู่อาศัย” สำหรับติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell System) “ระบบอ๊อฟกริด” (Off Grid) หรือ แบบอิสระ (Stand Alone) บนหลังคาบ้าน โรงรถ หรือดาดฟ้า ได้ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) ไฟฟ้าแรงดันต่ำ ซึ่งปลอดภัยจากไฟดูดและไฟไหม้ 

ตั้งแต่ปี 2562 พัฒนาเป็น “ระบบไฮบริด” (Hybrid) ที่เชื่อมต่อระบบกับไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) แรงดัน 220 โวลต์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. : PEA- Provincial Electricity Authority) หรือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน. : MEA-Metropolitan Electricity Authority) โดยนำกระแสไฟฟ้าที่เหลือใช้จากโซล่าเซลล์ขายให้แก่การไฟฟ้าด้วย

ในมิติของระบบไฮบริด (Hybrid System) นั้น พบว่า หลายแห่งมีการประยุกต์ใช้ไฟฟ้า “ระบบจ่ายไฟฟ้า” กันในหลายรูปแบบ ตามลักษณะเฉพาะของงานนั้นๆ ซึ่งมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามากกว่าหนึ่งเครื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถทำงานสลับกันหรือพร้อมกัน มีแหล่งพลังงานอยู่หลายแบบ เช่น การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล/เบนซิน ร่วมกับกังหันลมขนาดเล็ก หรือ แบบโซล่าเซลล์ ซึ่งมีหลายวิธีที่สามารถเชื่อมต่อเป็นระบบไฮบริดได้ เช่น การใช้งานในระบบประปาหมู่บ้าน มีการใช้ไฟฟ้าโซล่าเซลล์จากแผงเพื่อการใช้แสงสว่างไฟฟ้า แต่ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าหรือจากเครื่องยนต์ดีเซล/เบนซินในการปั๊มน้ำ เพราะพลังงานจากไฟฟ้าโซล่าเซลล์ไม่สามารถใช้สูบน้ำได้ดีที่ระดับความลึกเกินกว่า 25 เมตร เช่นปั๊มน้ำซับเมอร์ส (Submersible Pump) เพราะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง แรงดันไฟฟ้าต่ำ เป็นต้น หรือ โดยปกติเครื่องปั๊มโซล่าเซลล์มักมีขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้า หรือ แรงดันไฟฟ้า (Electromotive Force : EMF) ต่ำเพียง 12 โวลต์ 24 โวลต์ ทำให้สู้การไฟฟ้าที่แรงเคลื่อนไฟฟ้า 220 โวลต์ไม่ได้ เพราะแรงกว่า และอุปกรณ์เครื่องปั๊มน้ำแรงดันต่ำ 12 โวลต์ 24 โวลต์ไม่มีขายในท้องตลาด เป็นต้น

ตัวอย่างปี 2563 ทีมไทยลีก “บุรีรัมย์” ติดแผงโซล่าเซลล์ ผลิตไฟฟ้าใช้เอง [14] ทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลม เพื่อเดินหน้าโมเดล “Buriram Go Green & Clean” อนุรักษ์โลก และการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ที่ สโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ตั้งคอนเซปต์เอาไว้ช่วงต้นฤดูกาล 2020

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีโซล่าเซลล์อย่างง่ายและทันสมัยมากขึ้น เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าโซล่าเซลล์และติดตั้งไว้ใช้ตามบ้านเกิดขึ้นมากมาย ด้วยอุปกรณ์สำเร็จรูป (Plug & Play) มีแผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel) ที่หน้าจอบอกสถานะการใช้งานที่ทันสมัยดูแลง่าย ตามท้องตลาดแผงโซล่าเซลล์ที่มีจำหน่ายทั่วไปให้เลือกหลายขนาด เริ่มตั้งแต่ที่ 10 วัตต์ ถึง 240 วัตต์ 285 วัตต์ เป็นต้น ด้วยเทคนิคการติดตั้งการใช้งานที่ง่ายเช่น (1) วิธีต่อขาตั้งแผงโซล่าเซลล์ ด้วยอุปกรณ์จับยึดแผงโซล่าเซลล์ (Solar Mounting) ที่ติดตั้งง่าย และง่ายต่อการดูแลรักษาด้วยตัวเองได้ (2) ติดตั้งโคมไฟโซล่าเซลล์ (Solar Cell Light) ไฟหัวเสาโซล่าเซลล์ (3 วัตต์) หรือไฟสปอร์ตไลท์ ในสวน สวนสาธารณะ ถนน ทางเดิน รั้วบ้าน เพื่อใช้ในตอนกลางคืน (3) การติดตั้งปั๊มน้ำโซล่าเซลล์เพื่อการประปาในบ้าน หรือหมู่บ้าน หรือ ในระบบการเกษตร ปั๊มน้ำสูบน้ำต่างๆ เช่น ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ปั๊มเจ็ท ปั๊มน้ำใบพัดคู่ ปั๊มหอยโข่ง ปั๊มแช่(ปั๊มจุ่ม) ปั๊มไดรโว่ ปั๊มบาดาล(ซับเมอร์ส) ฯลฯ (4) อุปกรณ์ไฟฟ้าโซล่าเซลล์อื่น เช่น พัดลมโซล่า โคมไฟโซล่า LED (Light-emitting diode แปลว่า ไดโอดเปล่งแสง) ฯลฯ เป็นต้น ที่สามารถใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC : Direct Current) ขนาด 12 โวลต์ 24 โวลต์ หรือ มากกว่านี้ได้ (สามารถต่อวงจรได้เพิ่มอีกทีละ 2 โวลต์) นอกจากนี้ยังการผลิตกระแสไฟฟ้าโซล่าเซลล์ใช้ในงานเทคนิคเฉพาะต่างๆ อีกด้วย เป็นต้น

 

ตัวอย่างการบริหารงานที่ล้มเหลวมีแผงขยะโซล่าเซลล์มากมาย

 

ตั้งแต่ปี 2553 พบว่า “โครงการไฟฟ้าเอื้ออาทร” ที่ดำเนินการสำหรับหมู่บ้านในท้องที่ห่างไกลในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาในจังหวัดตาก มีแผงโซล่าเซลล์ในโครงการรัฐบาลเสียหายราว 20-30% คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 2000 ล้าน [15] แม้ว่ารัฐจะพยายามใช้ “หลักธรรมาภิบาล” (Good Governance) โดยองค์กรภาคเอกชนด้านพลังงานเรียกร้องรัฐบาลให้การสนับสนุนโครงการพลังงานหมุนเวียนอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นพลังแสงอาทิตย์ พลังน้ำและพลังชีวมวล (BioMass) โดยเปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดการด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการผลิตพลังงานทางเลือก ที่จะทำให้การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเป็นไปอย่างรวดเร็วและยั่งยืนก็ตาม

แต่ถือเป็นจุดอ่อนโครงการไฟฟ้าเอื้ออาทร ที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและหวงแหน เพราะภาครัฐและ กฟผ.ไม่ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้งาน ขาดการถ่ายทอดความรู้ทั้งวิธีการบำรุงรักษาและซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์อย่างถูกต้อง [16] การบริหารจัดการยังไม่มีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน ประชาชนไม่รู้สึกหวงแหนเพราะได้โซล่าเซลล์มาแบบฟรีๆ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แผงโซล่าเซลล์ (มูลค่าแผง 25000 บาท) และประจุแบตเตอรี่ จึงไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี และการดำเนินการทั้งหมดทำโดยภาครัฐ โดยที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ระบบโซล่าเซลล์ในหมู่บ้านชนบทจึงถูกละเลยและขาดการดูแลรักษาหลังจากใช้งานไปได้ไม่นาน

นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่รัฐอาจเอื้อผลประโยชน์ทับซ้อนกับนายทุนพวกพ้องบริษัทผลิตติดตั้งวัสดุอุปกรณ์โซล่าเซลล์

 

การรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากประชาชน

 

ปัจจุบันรัฐมีมาตรการสนับสนุนธุรกิจและส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์โดยการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และการให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (ค่า adder) ข้อมูลปี 2560 [17] การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. ซึ่งใช้ไฟฟ้าประมาณ 70% ของประเทศ) ในราคาหน่วยละ 2.62 บาท และขาย การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในราคาหน่วยละ 2.63 บาท ข้อมูลปี 2562 [18] คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) รับซื้อไฟฟ้าจากหลังคาบ้าน (Solar Rooftop) ไม่เกินหน่วยละ 1.68 บาท โดยมีระยะเวลารับซื้อ 10 ปี โดยจะคืนทุนภายใน 8 - 9 ปี ในอายุการใช้งานโซล่าเซลล์ประมาณ 25 ปี เทียบในกรณีกังหันลมที่รับซื้อ 7 ปี 

 

ค่าแปรผันอัตราค่าไฟฟ้า (Feed Tariff : Ft)

 

เป็นค่าไฟฟ้าที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจยากเพราะซับซ้อน ค่า Ft หรือ ค่าไฟฟ้าผันแปร อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เกิดขึ้นจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2534 [19] มีการเรียกเก็บครั้งแรก ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าประจำเดือนกันยายน 2535 เป็นต้นมา เดิมเรียกค่า “Float Time” หรือ การลอยค่าของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้ ต่อมา (2555) เรียก Fuel Adjustment Charge (at the given time) ปัจจุบันใช้คำว่า “Automatic Adjustment Mechanism” เป็นค่าการคำนวณต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตลอดจนค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนและประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ทุก 4 เดือน 

ปี 2562 [20] กกพ.รับซื้อไฟฟ้าโซล่าภาคประชาชน 1.68 บาท/หน่วย ซึ่งไม่คุ้มทุน ในเดือนมกราคม-เมษายน 2562 กกพ.ขึ้นอัตราค่าไฟฟ้า Ft อีก 0.043 บาทต่อหน่วย มาอยู่ที่ -0.116 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้มาร์จินพลังงานทดแทนที่อยู่ในรูปแบบ adder scheme (ระบบที่รับซื้อไฟฟ้าในอัตราพิเศษ) ลดลง ซึ่งต่อมาปี 2563 [21] คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพิ่มอัตรารับซื้อโซล่าภาคประชาชนจาก 1.68 เป็น 2.20 บาท

 

มาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Feed-in Tariff : FiT) [22]

 

เป็นมาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการเอกชนเข้ามาลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (เนื่องจาก การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีต้นทุนค่อนข้างสูง) ซึ่งอัตรา FiT อยู่ในรูปแบบอัตรารับซื้อไฟฟ้าคงที่ตลอด 

ค่า Adder (ส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า) และ FiT คือเงินที่ภาครัฐจูงใจใช้สนับสนุนภาคเอกชนให้เข้ามาลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น จากข้อมูลเมื่อเกือบ 30 ปีก่อน (2535) รัฐมีแผนการให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าโซล่าเซลล์ ค่า adder ในอัตรา 8 บาท [23] ต่อหน่วยเป็นระยะเวลา 10 ปี ต่อมาปี 2553 กระทรวงพลังงานได้มีนโยบายปรับค่า adder ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนโซล่าเซลล์จากเดิมที่ 8 บาท/หน่วย จะปรับลดเหลือ 6.50 บาท/หน่วย และจะขยายเวลาการให้ส่วนเพิ่มราคาจากเดิม10 ปีเป็น 20 ปีหรือเทียบเท่ากับอายุโรงไฟฟ้า เพราะอุตสาหกรรมโซล่าเซลล์เริ่มขยายตัวทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง

ซึ่ง ค่า Adder ต่างจาก FiT ตรงที่ Adder คือเงินส่วนที่บวกเพิ่มขึ้นจากค่าไฟฟ้าฐาน ส่วน FiT คำนวณจากต้นทุนจริง เช่น แนวโน้มเทคโนโลยี ค่าวัสดุ ค่าที่ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าแรง แต่ส่วนที่เหมือนกันก็คือ ผู้ใช้ไฟทุกคนในประเทศไทยต้องมาแบกรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ฉะนั้น ในโครงการโซล่าภาคประชาชน (Solar Rooftop) รัฐได้สนับสนุนค่า “adder” ซื้อพลังงานทดแทน “โซล่าเซลล์” จึงมีค่าแอบแฝงเหลื่อมล้ำ [24] อยู่ในค่า Ft  

 

เป็นการนำเสนอข้อมูลประเด็นข่าวเบื้องต้นของ “โครงการโซล่าเซลล์” ในรอบประมาณ 10 ปีที่ล่วงมา ในฐานะที่เป็นพลังทดแทนยอดฮิตแต่กำลังตก ในปี 2564


 

[1]Phachern Thammasarangkoon & Watcharin Unarine, ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น), สยามรัฐออนไลน์, 2 กรกฎาคม 2564, https://siamrath.co.th/n/257730

[2]ยุคที่ 1 Analog คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที สู่ยุคอุตสาหกรรม (G2 : 2.0) หรือ Social Media, Social Network ที่ผู้คนเริ่มสร้างเครือข่ายติดต่อสื่อสารออนไลน์จากการคุยหรือแชทกับเพื่อน สมาคม มากขึ้น 

สู่ยุค Information Technology (Digital IT : G3 : 3.0) เริ่มต้นเป็นยุค Digital แห่งข้อมูลและ มีการใช้บิ๊กดาต้า (Big data) อย่างเรียลไทม์ โดยมีระบบคลาวด์ (Cloud Computing) มาช่วย มีการเติบโตมากของ Social Media & E-Commerce เป็นยุคแห่งการใช้ข้อมูลที่วิ่งเข้าออกเป็นล้านๆ ดาต้า “ใครมีข้อมูลมาก ก็มีอำนาจมาก”

ปัจจุบันสู่ยุคที่ 4 “ดิจิทัล” (Digital) หรือ Fourth Wave (G4 : 4.0) หรือที่นักการตลาดเรียก Wave of marketing เป็น “ยุคแห่งเทคโนโลยีที่มีมันสมอง” โดยอุปกรณ์ต่างๆ จะสื่อสารและทำงานกันเองได้อย่างอัตโนมัติ หรือยุค “Machine-to-Machine”

[3]พลังงานทดแทน (Alternative Energy) หรือ พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy : RE)

กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะส่งเสริมทั้งพลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียน โดยเลือกใช้คำว่าพลังงานทดแทน ในแผน เพื่อที่จะสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นประเภทพลังงานที่จะมาทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล (ก๊าซ น้ำมัน ถ่านหิน) ทั้งที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ความร้อน และเป็นเชื้อเพลิงในภาคการขนส่ง ซึ่งได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากขยะ ชีวมวล (ไบโอแมส) ก๊าซชีวภาพ(ไบโอแก๊ส) พลังงานน้ำ ทั้งเขื่อนขนาดใหญ่และเขื่อนขนาดเล็ก พลังงานจากคลื่นในทะเล พลังงานจากความร้อนใต้พิภพ และเชื้อเพลิงชีวภาพ คือ เอทานอล ไบโอดีเซล ทั้งนี้ในมุมของต่างประเทศพลังงานทดแทนนั้นหมายรวมถึง พลังงานนิวเคลียร์ด้วย ส่วนของประเทศไทยนั้น พลังงานนิวเคลียร์ ยังไม่นำมารวมอยู่ในแผน AEDP 

ที่ผ่านมากระทรวงพลังงาน มีการจัดทำเป็นแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan : AEDP2015) ที่ใช้ระหว่างปี 2558-2579

[4]พลังงานสะอาด (Clean Energy) คือพลังงานไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือเกิดมลภาวะที่เป็นพิษอย่างน้อยที่สุดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การผลิต แปรรูป การนำไปใช้งาน จนถึงการจัดการของเสีย ซึ่งพลังงานสะอาดนั้นสามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานแบบเดิมได้อย่างไม่จำกัด และมีหลากหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานเชื้อเพลิงชีวมวล และแหล่งพลังงานอื่นที่ยังรอการสำรวจและศึกษาวิจัยเพิ่มเติม

[5]ปี 2562 อ้างจาก จักรพงศ์ เชวงศรี ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธุรกิจพลังงานทดแทนเมืองไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าโซล่า และโรงไฟฟ้าพลังงานลม ว่า จากนี้ผู้ประกอบการกลุ่มพลังงานทดแทน “ไม่มีสตอรี่” ดึงดูดความน่าสนใจแล้ว ยกเว้น พลังงานขยะ และพลังงานชีวมวล 

ปี 2560 โซล่าเซลล์พลังงานทดแทน ทางเลือกในอนาคต หนึ่งในพลังงานทดแทนอันดับ 1 (2560) ที่ประชาชนสนับสนุนถึง 93.84% คือพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซล่าเซลล์ พลังงานทดแทน ที่ขายสุดถูกที่สุด อันดับ 1 จุดเริ่มต้นชุมชนเข้มแข็งเพื่ออนาคตสีเขียว (Greenpeace 2559) 

ดู “หมดสตอรี่” ลงทุน..!! หุ้นพลังงานทดแทนไร้เสน่ห์, โดย ดาริน โชสูงเนิน, กรุงเทพธุรกิจ, 10 กุมภาพันธ์ 2562, https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/826635 & โซล่าเซลล์พลังงานทดแทน ทางเลือกในอนาคต, ใน ความรู้โซล่าเซลล์.com(Solar Knowledge), 12 สิงหาคม 2560, http://xn--42coa0gknbal4ie5fseya6gm4d.com/โซล่าเซลล์พลังงานทดแทน-ทางเลือกในอนาคต/#:~:text=พลังงานแสงอาทิตย์%20หรือโซล่าเซลล์%20เป็นแหล่งที่มา,ร้อยละ%2093.84%20และที่  & ขาขึ้นพลังงานทางเลือก, นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์, GotoKnow, 29 มกราคม 2558, https://www.gotoknow.org/posts/584776  

[6]โครงการโซล่าภาคประชาชนตามข้อเสนอของกระทรวงพลังงาน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การรับซื้อไฟฟ้าจากภาคครัวเรือนที่ติดแผงโซล่าบนหลังคาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองเป็นหลัก และขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการใช้เข้าสู่ระบบได้ และ ระยะที่ 2 การซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ใช้ไฟฟ้า (Peer to Peer) โดยผ่านระบบสำหรับการซื้อขายไฟฟ้า

ดู การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา, ฐานข้อมูลนโยบายพลังงานไทย, กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน, epdt.energy, 2 มีนาคม 2564, https://epdt.energy.go.th/epdt/dwh/frontend/web/index.php?r=site/top-detail&id=590 

[7]“เมกะโซล่าฟาร์ม” 30,000 เมกะวัตต์: สู่ยุคใบสั่งทหาร – อวสานเทคโนแครต, โดย ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน, ใน ThaiPublica.org, 4 มีนาคม 2564, https://thaipublica.org/2021/03/mega-deal-solar-farm-the-end-of-technocrats/

& โซล่าฟาร์ม ขุมทรัพย์ใหม่ในตลาดพลังงานไทย, solar-farm, kku.ac.th, 23 มกราคม 2555, https://home.kku.ac.th/tawiset/pr_content.php?prid=2063  

[8]ดูข่าว, สตง.จี้ 'อบต.ราชาเทวะ' คืนเงิน67ล. เหตุบกพร่องเร่งรีบซื้อเสาไฟฟ้า-กินรี ปี 56, 14 กรกฎาคม 2562, https://www.isranews.org/article/isranews-news/78446-news02_78446.html

& ขยายผลสอบเสาไฟกินรี สตง.สั่งยกระดับตรวจ อปท.5 จว.เน้นเปรียบเทียบราคา-ประสิทธิภาพ

13 มิถุนายน 2564 เวลา 07:49, https://www.isranews.org/article/isranews/99487-investigative00-2-16.html  

& ด่วน สภา อบต.ราชาเทวะ อนุมัติงบอีก 68 ล้าน จัดซื้อเสาไฟกินรีเพิ่ม 720 ต้น, ข่าวสด, 22 มิถุนายน 2564, https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_6467927 

& สภา อบต.ราชาเทวะ เห็นชอบอนุมัติงบประมาณ 68.4 ล้านบาท จัดซื้อ เสาไฟกินรี เพิ่ม 720 ต้น, ข่าวท็อปนิวส์, 22 มิถุนายน 2564, https://www.topnews.co.th/news/29906 

& อ้าง ปชช.ต้องการ อบต.ราชาเทวะ ซื้อเสาไฟกินรีเพิ่ม 720 ต้น งบ 68.4 ล้าน นายกเผยปี 62-64 ใช้เงินไป 1,200 ล้าน ไม่ใช่ 600 ล้าน, โดย ผู้จัดการออนไลน์, 22 มิถุนายน 2564, https://mgronline.com/politics/detail/9640000060411

& นายกฯ สั่งสอบเข้มเสาไฟ-กล้องซีซีทีวีแพงเกินจริง ลั่น ปชช.พบทุจริต ร้องทุกข์มาได้, สำนักข่าวอิศรา, 22 มิถุนายน 2564, 

https://www.isranews.org/article/isranews/99760-isranews-445.html

[9]10 อันดับเทคโนโลยี ในรอบ 100 ปี, โดย ชลาวุธ สามาอาพัฒน์, 28 กันยายน 2553, https://www.gotoknow.org/posts/399090

[10]ที่มาโครงการ Solar Cell ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขา โดย มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 8 ตุลาคม 2563, https://www.princess-it.org/index.php/th/sci-tecno-thai/solar-cell-mountain/info-solar-mountain

[11]การอบรมพลังงานแสงอาทิตย์ เน้นการออกแบบติดตั้ง, โดย องค์ความรู้ทุกๆ อย่าง ที่การศึกษา และการค้า โชคทวีคูณ เทรนนิ่งแอนด์ซัพพลายด์, 12 มกราคม 2553, https://www.gotoknow.org/posts/327053 

[12]“โซลาร์ โฮม” ตามมติ ครม.เมื่อปี 2546 สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อต้องการเพิ่มศักยภาพ “โซลาร์เซลล์” ให้เป็นดาวรุ่ง! เพื่อทางเลือกใหม่ยุควิกฤตพลังงานน้ำมัน กระทรวงมหาดไทย โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นเจ้าภาพทำเรื่องชง คณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผ่านคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา 6 คณะ

ดู ย้อนรอย จัดซื้อจัดจ้าง “โซลาร์ โฮม” ป.ป.ช.ปล่อยผี “เสริมศักดิ์-บอร์ด กฟภ.” รอด, ผู้จัดการออนไลน์, 5 เมษายน 2557, https://mgronline.com/daily/detail/9570000038314

[13]สปช.ผ่านข้อเสนอติด “โซลาร์รูฟ” ผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์เสรี, โดย บริษัท มหานครเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด, SOLAR NEWS, 5 มกราคม 2558, http://solarcellcenter.com/en/content/54-Solar-Roof-Free

[14]บุรีรัมย์ ยูไนเต็ดทีมแรกในไทย! บุรีรัมย์ผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ใช้เอง, ข่าวโกลดอทคอม, 21 กันยายน 2563, https://www.goal.com/th/ข่าว/ทมแรกในไทย-บรรมยผลตไฟฟาจากโซลาเซลลใชเอง/1c3d3mgciqby51a9pqoyquywgt 

[15]อีก 25 ปี ซาก ‘โซลาร์เซลล์’ ท่วมประเทศ รีไซเคิลสร้างมูลค่า ... ทางรอดเดียวที่ยังริบหรี่ ?, โดยวีรทัศน์ อิงคภัทรางกูร., GreenNews, 7 พฤศจิกายน 2559, https://m.facebook.com/greennewsagency/photos/a.226737737399571/1250287115044623/?type=3 

& หวั่นโซล่าเซลล์ก่อขยะ7แสนตัน, โพสต์ทูเดย์, 24 พฤศจิกายน 2560, https://www.posttoday.com/economy/news/527004

& “แผงโซล่าเซลล์” ท่วมประเทศ พลังงานในวันนี้กลายเป็นขยะวันหน้า, 26 พฤศจิกายน 2560, https://www.prachachat.net/economy/news-78293 

& แผงโซล่าเซลล์ : ขยะพิษที่ไม่ควรมองข้าม, ณิชา บูรณสิงห์ สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เอกสารวิชาการ-Academic Focus, กันยายน 2561, https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=51485&filename=thai_national_assembly 

[16]ดู ย้อนรอย จัดซื้อจัดจ้าง “โซลาร์ โฮม” ป.ป.ช.ปล่อยผี “เสริมศักดิ์-บอร์ด กฟภ.” รอด,5 เมษายน 2557, อ้างแล้ว 

[17]นี่หรือที่เรียกว่า “ส่งเสริมโซลาร์เซลล์ภาคประชาชน”, โดย ประสาท มีแต้ม, ผู้จัดการออนไลน์, 17 มีนาคม 2562,    https://mgronline.com/daily/detail/9620000026657

[18]กกพ.รับซื้อไฟฟ้าโซล่า ปชช. 1.68 บาท/หน่วย ชาวเน็ตวิเคราะห์ไม่คุ้มทุน, โดย PPTV Online, 5 พฤษภาคม 2562, https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/102496 

[19]ราคาไฟฟ้า, สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงลังงาน, 22 มีนาคม 2559, http://www.eppo.go.th/index.php/th/about/history/itemlist/category/504-2016-03-16-03-42-48

& นโยบายการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2559 - 2563, สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงลังงาน, 21 ธันวาคม 2558, http://www.eppo.go.th/images/Power/pdf/Tariff_Structure.pdf 

[20]กกพ.รับซื้อไฟฟ้าโซล่า ปชช. 1.68 บาท/หน่วย ชาวเน็ตวิเคราะห์ไม่คุ้มทุน, โดย PPTV Online, 5 พฤษภาคม 2562, อ้างแล้ว

[21]กพช. เพิ่มอัตรารับซื้อโซลาร์ภาคประชาชนจาก 1.68 เป็น 2.20 บาท, ข่าวประชาชาติธุรกิจ, 25 ธันวาคม 2563, https://www.prachachat.net/economy/news-582310

[22]ทำความเข้าใจค่า Ft คืออะไร เกี่ยวกับค่าไฟอย่างไร, DDproperty, 5 มีนาคม 2564, https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/ทำความเข้าใจ-ค่า-Ft-คืออะไร-เกี่ยวกับค่าไฟอย่างไร-24113

& ค่าไฟหน่วยละกี่บาท แพงผิดปกติหรือไม่ ไขคำตอบได้ด้วยสูตรหาค่าไฟฟ้า 2563, ไทยรัฐออนไลน์, 23 เมษายน 2563,  https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1826646

& ค่า Ft.คืออะไร, กฟภ.แม่สอด PEA.MAESOT, 2559, https://sites.google.com/site/peamstkom/khawsar-prachasamphanth/chicaeng-kha-ft

& Ft ย่อมาจากอะไร, 30 กรกฎาคม 2555, https://www.mea.or.th/content/detail/2985/2987/472

& การไฟฟ้าชี้แจงวิธีการคิดค่าไฟฟ้า, ข่าวทั่วไป, ThaiPR.net, กรุงเทพฯ--10 มีนาคม 2543, https://www.ryt9.com/s/prg/231362

& ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft), องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, https://www.nsm.or.th/other-service/669-online-science/knowledge-inventory/sci-vocabulary/sci-vocabulary-science-museum/3797-ค่าไฟฟ้าผันแปร-ft.html

[23]การให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (ค่า adder) ในอัตรา 8 บาท (2535) ต่อหน่วยเป็นระยะเวลา 10 ปี เป็นต้น

เตรียมตัดส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้าADDER ต้นทุนโรงไฟฟ้าลดหวั่นถูกสวมรอยขายต่อโครงการ, โดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.), ข่าวประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 4218, 14 มิถุนายน 2553,  https://www.consumerthai.org/consumers-news/consumers-news/public-society/945-adder.html

[24]เม็ดเงินมหาศาลที่คนไทยถูกปล้นรายวัน ความจริงที่คนไทยยังไม่รู้เกี่ยวกับ ‘Adder’ และ ‘FiT' (หรือ ค่า Ft), จากเวบแสนแสบ, 7 ธันวาคม 2559, http://www.zanzaap.com/2016/12/zaap04/



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท