ชีวิตที่พอเพียง ๓๙๘๘. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๙๖) นวัตกรรมการจัดการความเสมอภาคทางการศึกษา (๒)


 

 

ต่อจากตอนที่ ๑

“Functional structure appears to be the most common form among benchmark organizations – EEF appears to have a hybrid structure”   เขาจับที่โครงสร้างการทำงาน  แนะนำให้จัดตามหน้าที่    แต่เวลานี้ กสศ. จัดโครงสร้าง ๒ แบบ 

 

 

ผมชอบข้อเสนอโครงสร้างนี้    โดย กสศ. ต้องเอามาปรับใช้ให้เหมาะ   และต้องปรับเปลี่ยนได้เร็วตามการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน    โดยขอเพิ่มเติมว่า M&E Office ต้องทำหน้าที่ facilitate systems learning (โดยใช้ DE) ด้วย    และทำงานใกล้ชิดกับฝ่ายสื่อสารสังคม    เพื่อนำประเด็นเรียนรู้สู่สังคม    ตามหลักการ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” (๑)  โดยผมเห็นใจผู้บริหาร กสศ. ว่า คงจะขยับเรื่องนี้ได้ไม่สะดวกนัก เพราะอยู่ใต้ความรัดรึงแข็งทื่อของระบบราชการ แม้จะไม่เป็นหน่วยราชการ        

ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอของ RB ว่าจะต้องพัฒนาสมรรถนะของเจ้าหน้าที่และผู้บริหารของ กสศ. เป็นการใหญ่    โดยเขาเสนอประเด็นพัฒนาของคนแต่ละกลุ่มไว้ด้วย    เป็นประเด็นที่น่ารับฟัง    โดย กสศ. ต้องเอาข้อเสนอมาร่วมกันคิดรายละเอียดเอง เพื่อดำเนินการให้เหมาะสม    และควรนำข้อมูลเรียนรู้จาก DE มาประกอบด้วย     

RB เสนอโครงสร้างการพัฒนาองค์กรเต็มรูปแบบ    โดยบอกว่าส่วนใหญ่จะเสร็จภายใน ๓ เดือน    ที่ผมไม่ทราบว่าผู้บริหารของ กสศ. มีท่าทีอย่างไร   และผมไม่รู้ตื้นลึกหนาบางมากพอที่จะให้ความเห็น    แต่ก็เห็นว่าเป็นข้อเสนอที่ดี    แต่ไม่ใช่เป็นสูตรสำเร็จ   ต้องเอามาปรับให้เข้ากันกับบริบทขององค์กร     

ผมชอบที่เขาช่วยทำ stakeholders network analysis ให้ด้วยแบบอ้อมๆ   ช่วยให้เห็นช่องทางร่วมมือกันร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย เพื่อประโยชน์ด้านความเสมอภาคของการศึกษา และเพื่อพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ   

ในรายงานของ RB มีข้อวิเคราะห์ระบบการศึกษาไทยด้วย    ข้อสังเกตภาพใหญ่คือพื้นที่การศึกษาไทยมีผู้เล่นมากมาย    กสศ. เป็นหน้าใหม่    เป็นรายงานส่วนที่ ๒    ที่นำไปสู่รายงานส่วนที่ ๓ ผลงานของ กสศ.  ว่าเห็นสัญญาณลดความไม่เสมอภาคทางการศึกษาหรือไม่    เขาบอกว่าไม่ชัด    ทั้งๆ ที่ทำงานไม่น้อย  มีคนได้รับการช่วยเหลือจำนวนมาก ทั่วทุกจังหวัดในประเทศ   

เขามีข้อมูลหลักฐานให้ดูว่า ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๑  กับ ๒๕๖๒  คุณภาพการศึกษาไทยลดลง และความเหลื่อมล้ำด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ก็ยังเหมือนเดิมหรือยิ่งถ่างกว้างขึ้น     ซึ่งผมคิดว่าเอามาบอกว่า กสศ. ทำงานไม่เกิด impact ไม่ได้     เพราะเป็นช่วงที่ กสศ. เพิ่งเริ่มงาน     

ในการประชุม คณะกรรมการบริการ กสศ. เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔    มีการนำเสนอรายงานของ RB ส่วน  What & Why    นำไปสู่ข้อยุติในคณะกรรมการ (ผ่านการโหวตโดยใช้โปรแกรมไอที) ว่า กสศ. ไม่ควรทำงานในลักษณะ implementer   แต่ควรทำหน้าที่ catalyst for change    โดยเน้นสร้างความรู้หรือข้อมูลหลักฐานผ่านการดำเนินการโครงการทดลอง    นำไปสื่อสารสังคมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ    และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของ implementer และ กสศ. เข้าไปทำหน้าที่ประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาต่อเนื่อง 

ทำให้ผมกลับมาคิดต่อว่า    งานใหญ่และงานใหม่ของ กสศ. คืองาน advocacy    ที่เป็น evidence-based  และเน้นทำร่วมกับหน่วยงานเจ้าของเรื่อง    หรือทำแบบให้เกียรติหน่วยงานเจ้าของเรื่อง     หากผมเป็นผู้บริหาร กสศ. (if … were) ผมจะตั้งสำนักสื่อสารสาธารณะ   หรือว่าจ้างหน่วยงานภายนอกทำหน้าที่สื่อสารสาธารณะเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษา และคุณภาพการศึกษา    โดยต้องตกลงกันให้ชัดเจนว่า เป็นการสื่อสารสาธารณะ ไม่ใช่สื่อสารองค์กร    เป้าหมายเพื่อความเสมอภาคและคุณภาพด้านการศึกษา    ที่จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ   

การสื่อสารสาธารณะนี้ จะใช้ทฤษฎี สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา    และในกรณีนี้ผมเสนอยุทธศาสตร์ว่า ต้องเชิญผู้ใหญ่ใน “ภูเขา” นั้นเองเป็นผู้มาให้ข้อคิดเห็นตีความข้อมูลหลักฐานด้วย    โดยใช้หลัก DE (๒)     เท่ากับ กสศ. ทำหน้าที่สร้าง ชาลาสร้างความเสมอภาคและคุณภาพการศึกษาไทย ให้แก่ประเทศ    เชิญตัวละครมาแสดงบนเวที โดยมีกติกาว่าต้องแสดงโดยยึดข้อมูลหลักฐาน   และกสศ. ทำหน้าที่หาข้อมูลหลักฐานที่แม่นยำน่าเชื่อถือมาให้   

มองในมุมหนึ่ง กสศ. ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ เพื่อความเสมอภาคและคุณภาพทางการศึกษา    อันจะมีผลให้ยกระดับคุณภาพของสังคมไทย   โดยมีวิธีทำงานที่ “ใช้ปัญญานำ”    ทั้งปัญญาจากงานวิจัยพัฒนาต้นแบบ    และจากประสบการณ์ตรงของผู้ทรงความรู้ในระบบการศึกษาเอง     โดย กสศ. ทำหน้าที่สร้าง ชาลาสื่อสารสาธารณะ ที่มีข้อมูลหลักฐาน และมีการตีความหลากหลายแบบ จากหลากหลายมุมมอง     

โดย กสศ. ต้องไม่ลืมที่จะเชิญคนเล็กคนน้อยที่มีประสบการณ์ตรง  ในการทำหน้าที่สร้างสรรค์ความเสมอภาคและคุณภาพของการศึกษา มาร่วมให้ความเห็นบนเวทีดังกล่าว    ทั้งผู้ปกครอง กรรมการโรงเรียน  ผู้นำชุมชน  ผู้ประกอบธุรกิจในพื้นที่  ครู นักเรียน  ผู้อำนวยการโรงเรียน  ผู้บริหารการศึกษาในหน้าที่ต่างๆ  นายก อบต.  นายกเทศมนตรี   ฯลฯ   

ตามหลักการสามเหลี่ยมเชยื้อนภูเขา     กสศ. ต้องเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากข้อมูลหลักฐาน และจากความเห็นในเวที ชาลาสื่อสารสาธารณะ ต่อ ครม. ตาม พรบ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา    และเผยแพร่แก่สาธารณชนทั่วไปผ่านรายงานประจำปี      

ในการประชุมเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ คณะกรรมการบริหาร กสศ. ลงมติชัดเจนว่า    หน้าที่สำคัญ ๔ ด้านของ กสศ. คือ  (๑) ทำงานพัฒนาต้นแบบ  (๒) สร้างความรู้จากงานพัฒนาต้นแบบ นำไป  (๓) สื่อสารสาธารณะ   เพื่อให้ฝ่ายบริหารระดับต่างๆ ของประเทศที่มีหน้าที่โดยตรง นำไปดำเนินการ  แล้ว กสศ. ทำหน้าที่  (๔) ประเมินเพื่อเป็นกลไก Double-Loop Learning ให้แก่สังคมไทย   

ผมตีความว่า การทำหน้าที่ตามข้อ (๓)  และข้อ (๔) ใช้วิธีการ DE   คือ กสศ. มีข้อมูล และเวที เชิญผู้เกี่ยวข้องมาร่วมกันตีความหาความหมายในเชิงปฏิบัติ  ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการอย่างไรต่อไป     ไม่ใช่ กสศ. สรุปเสนอ

เท่ากับ กสศ. ทำหน้าที่โดยใช้ยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนความเสมอภาคและคุณภาพการศึกษา ผ่าน เวทีนโยบายสาธารณะ  ที่สาธารณชนเป็นเจ้าของ และเป็นผู้ออกความเห็น    ไม่ใช่ กสศ. เป็นผู้เอาความเห็นไปให้สาธารณชนลงมติ   สิ่งที่ สกศ. เอาไปให้สาธารณชนคือ ข้อมูลหลักฐานจากการทดลองปฏิบัติในโครงการทดลองหรือนำร่อง   

โดย กสศ. ต้องพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความสามารถสังเคราะห์ประเด็นจากเวทีสาธารณะได้อย่างแม่นยำและชัดเจน          

วิจารณ์ พานิช

๗ พ.ค. ๖๔

    

 

 

หมายเลขบันทึก: 691275เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2021 18:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2021 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท