การศึกษาที่สร้างพลเมืองอ่อนแอ


 

วันนี้ขอเขียนด้านลบของการศึกษาสักครั้ง     เป็นการละเมิดหลักการเขียน บล็อก ที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยบรรยากาศเชิงบวก    โดยที่จับประเด็นเชิงลบอย่างชัดๆ    เพื่อเสนอแยะการดำเนินการเพื่อผลเชิงบวก     คือการพัฒนาพลเมืองในอนาคต ที่เป็นคนแข็งแรง   เป็นพลเมืองคุณภาพสูง   

ขอจับ ๒ เรื่อง คือเรื่อง ผลลัพธ์การเรียนรู้ (LO – Learning Outcomes)   กับการสร้างนักเรียนที่เป็น “ผู้ก่อการ” (agentic students)     

หากไม่ระวัง เราจะเข้าร่วมขบวนการทำลายคุณภาพพลเมืองไทยโดยไม่รู้ตัว     ภายใต้การศึกษาคุณภาพต่ำ และรอความช่วยเหลือ   

แม้ครูที่รักและเอาใจใส่ศิษย์ ก็เป็นตัวการสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้คุณภาพต่ำได้ หากสอนแบบถ่ายทอดความรู้    เอาใจใส่ให้ศิษย์เรียนโดยรับถ่ายทอดความรู้จากครู    ที่เรียกว่า passive learning    การศึกษาคุณภาพสูงได้จากการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) เท่านั้น    ผมตีความว่า นี่คือสาเหตุอันดับหนึ่งของการศึกษาคุณภาพต่ำ ในบริบทไทย     

อันดับสองน่าจะเป็น “ผู้หวังดี” ทั้งหลาย ที่เข้าไปช่วยเหลือยกระดับคุณภาพการศึกษา ในนามของสารพัดโครงการ    ซึ่งหลายส่วนผมก็มองว่ามีผลประโยชน์แอบแฝง     ส่วนใหญ่ของโครงการเหล่านี้ เข้าไป “ให้ความช่วยเหลือ”    เอาสิ่งของไปให้    หรือเอาโครงการไปให้โรงเรียนดำเนินการ    ในลักษณะที่โรงเรียนและครูเป็น “ผู้รับ”   ที่สร้างความเคยชินแก่โรงเรียนและครู ให้ทำงานแบบรับคำสั่ง หรือรับความช่วยเหลือ   มีผลให้คิดเองไม่เป็น   ไม่มีจริตของ  “ผู้ก่อการ”  หรือ “ผู้กระทำการ” (agency)     

โรงเรียนที่ไม่มีวิญญาณของ “ผู้ก่อการ”   จะสร้างนักเรียน “ผู้ก่อการ”    ที่จะเติบโตไปเป็นพลเมือง “ผู้ก่อการ” (agentic citizen) ได้อย่างไร     

ในเมื่อโรงเรียนและครูตั้งตนเป็น “ผู้รอรับความช่วยเหลือ”   ผู้เรียนที่ผ่านโรงเรียนgs]jkouhก็จะมีจิตวิญญาณ “ผู้รอรับความช่วยเหลือ”    และเติบโตไปเป็นพลเมือง “ผู้รอรับความช่วยเหลือ”   เป็นพลเมืองผู้อ่อนแอ    ไม่มีวิญญาณ  “ผู้ก่อการ”

OECD เน้นการศึกษาที่สร้างความเป็น agency ในผู้เรียน ดังในเว็บไซต์ Learning Compass 2030 (๑)    ที่ผมตีความบันทึกไว้ที่ (๒) (๓) 

วิจารณ์ พานิช

๑๔ พ.ค. ๖๔

  

หมายเลขบันทึก: 691109เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2021 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2021 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท