มุมมองเอเชียใต้


 

       ดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างกลางโลกตะวันตกและโลกตะวันออกถือว่าเป็นที่เหมาะสมมากที่สุดของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการค้าของโลกยุคโบราณเป็นต้นมาเรียกว่า  เอเชียใต้ ( Southeast  Asia )  ดินแดนนี้อยู่ในเขตร้อนชื้น  มีลมมรสุมตามฤดูกาล  โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนจะมีฝนตกหนักมากสลับฤดูหนาวและฤดูร้อน

       มองทางภูมิศาสตร์แบ่งดินแดนนี้เป็น 2 ส่วนคือ  ดินแดนแผ่นดินใหญ่และดินแดนเป็นเกาะในทะเล

       มองทางวัฒนธรรมการตั้งรัฐต่าง ๆ ของแผ่นดินใหญ่มี  เวียดนาม กัมพูชา  ลาว  ไทยและพม่า สำหรับเกาะในทะเลมี ฟิลิปปินส์  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย สิงคโปร์  บรูไนและติมอร์ตะวันออก

       ประชาชนบนแผ่นดินใหญ่มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกรรมแต่ประชาชนบนเกาะในทะเลมีอาชีพหลักจากการค้าขายสินค้าทางทะเล

       มองทางความเชื่อด้านศาสนาประชาชนบนแผ่นดินใหญ่ส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนาขณะประชาชนบนเกาะในทะเลให้ความนับถือศาสนาอิสลาม

       มองทางสายน้ำบนแผ่นดินใหญ่ถือว่าแม่น้ำมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตคนทั่วภูมิภาค  มีแม่น้ำแบ่งวัฒนธรรมและภาษาของกลุ่มชนเช่น แม่น้ำอิรวดี  แม่น้ำสารวินในพม่า  แม่น้ำเจ้าพระยาในไทย  แม่น้ำแดงในเวียดนาม  และแม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำนานาชาติมีต้นกำเนิดจากแผ่นดินจีนไหลลงทะเลจีนใต้

       ในส่วนผู้อาศัยบนเกาะต่าง ๆ พวกเขาอาศัยลมมรสุมในการเดินทางเชื่อมต่อกัน เช่น คาบสมุทรมลายู หมู่เกาะอินโดนีเซีย  และหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นต้น

       จากที่มีฝนตกหนักบนแผ่นดินใหญ่ของเอเชียใต้ก่อเกิดเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชผลไม้ในบริเวณที่ราบลุ่มเชิงเขา  ท้องทุ่งนา กลายเป็นแหล่งผลิตห่วงโซ่ทางอาหารและเครื่องเทศเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตชาวโลก 

       มองทางวัฒนธรรมด้านความสัมพันธ์ของชาวเอเชียใต้ใช้วัฒนธรรมร่วมกันดุจเหมือนเครือญาติพี่น้อง มีคำแทนผู้พูดและผู้ฟังตามกลุ่มวัฒนธรรมและภาษาของตนเองอย่างเหมาะสมและผู้หญิงในเอเชียใต้มีเสรีภาพในทางสังคมมากรวมถึงการมีสมบัติส่วนตัวการมีส่วนร่วมแสดงความสามารถอย่างน้อยช่วงเวลาก่อนผู้เคร่งครัดทางศาสนาบางศาสนาจะได้จำกัดกิจกรรมบางอย่างของผู้หญิงไว้

       มองเส้นทางการคมนาคมในเอเชียใต้ถือว่าแผ่นดินนี้เป็นเส้นทางแยกการค้าขายและวัฒนธรรมของนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ถือว่าเป็นทางแยกเพื่อเปิดประตูเข้าสู่อู่อารยธรรมของสองประเทศเพื่อนบ้านคือ  จีนและอินเดีย

       มองทางศาสนาที่มีผู้นิยมนับถือมากที่สุดต่างก็มาทิ้งรอยสัญลักษณ์ไว้ในดินแดนนี้โดยมีพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดกินอาณาเขตวัฒนธรรมไทย  ลาว พม่า  เวียดนาม  ส่วนศาสนาอิสลามมีผู้นับถือในคาบสมุทรมลายู  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  ส่วนฟิลิปปินส์มีผู้นับถือศาสนาคริสต์โดยมาก  ในเกาะบาหลีนับถือศาสนาฮินดู 

       สำหรับชนกลุ่มน้อยที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนดอยสูงส่วนมากยังคงนับถือศาสนาธรรมชาติหรือศาสนาผี

ด้วยที่ตั้งของเอเชียใต้ดุจเพชรเม็ดงามที่ชาวตะวันตกมองเห็นและต้องการมาครอบครองจึงเกิดการล่าอาณานิคมในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา  โดยมี โปรตุเกส  สเปน เนเธอร์แลนด์  สหราชอาณาจักร  ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ต่างก็มาทิ้งรอยกรรมแห่งตนไว้ทำให้แผ่นดินเอเชียมีบาดแผลลึกแยกออกจากกันจนต้องหาวิธีการรวมกันจึงเกิดเป็น  Association  of Southeast  Asian  Nations = ASEAN  หรือเรียกว่า กลุ่มประเทศอาเซียน

ในปัจจุบันภูมิภาคเอเชียใต้มี  11 ประเทศ คือ

1.ประเทศไทย  มีเมืองหลวงชื่อ กรุงเทพมหานคร มีประชากรปี 2562 จำนวน ประมาณ 70 ล้านคน 

2.ประเทศลาว  มีเมืองหลวงชื่อ เวียงจันทร์  มีประชากรปี 2562 จำนวน ประมาณ 7 ล้านคน

3.ประเทศกัมพูชา  มีเมืองหลวงชื่อ พนมเปญ  มีประชากรปี 2562 จำนวน ประมาณ 16 ล้านคน

4.ประเทศพม่า  มีเมืองหลวงชื่อ เนบิดอร์  มีประชากรปี 2562 จำนวน ประมาณ 54 ล้านคน

5.ประเทศเวียดนาม  มีเมืองหลวงชื่อ  ฮานอย  มีประชากรปี 2562 จำนวน ประมาณ 96 ล้านคน

6.ประเทศฟิลิปปินส์  มีเมืองหลวงชื่อ  มะนิลา มีประชากรปี 2562 จำนวน ประมาณ 108 ล้านคน

7.ประเทศมาเลเซีย  มีเมืองหลวงชื่อ  กัวลาลัมเปอร์ มีประชากรปี 2562 จำนวน ประมาณ 32 ล้านคน

8.ประเทศสิงคโปร์  มีเมืองหลวงชื่อ  สิงคโปร์ มีประชากรปี 2562 จำนวน ประมาณ 6 ล้านคน

9.ประเทศบรูไน  มีเมืองหลวงชื่อ  บันดาร์เสรีเบกาวัน  มีประชากรปี 2562 จำนวน ประมาณ 433,285 คน

10.ประเทศอินโดนีเซีย  มีเมืองหลวงชื่อ  จาการ์ตา มีประชากรปี 2562 จำนวน ประมาณ 270 ล้านคน

11.ประเทศติมอร์ตะวันออก  มีเมืองหลวงชื่อ ดีลี  มีประชากร สำรวจเดือน ก.ค. 2554 จำนวน  1,177,834  คน

ดินแดนเอเชียใต้ถือว่าเป็นเพชรเม็ดงามที่ชาวโลกใฝ่ฝันต้องการครอบครองยิ่งนำตนเข้ามาสัมผัสได้เห็นแสงแห่งพุทธธรรมอย่างแท้จริงแล้วทำให้ผู้คนมีจิตใจสะอาดสว่างสงบพบความสุขในการใช้ชีวิตที่เกิดมาเป็นมนุษย์.

..................................................................

ผู้สนใจโปรดอ่านเพิ่มเติมที่

D.G.E. Hall, A History  of South-East  Asia.  London. 1955.

Nicholas Tarling ( ed ) , The  Cambridge History  of  Southeast Asia

         Cambridge : Cambridge  University Press, 1992.

Anthony Reid,  Southeast  Asia in  The  Age  of  Commerce, 1450-1680 .         New  Haven : Yale University  Press,  1988 and 1993.

หมายเลขบันทึก: 691001เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2021 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2021 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท