ศพที่หอมหวน: กระบวนการทำให้เป็นสินค้าของศพพระที่มีบารมีในสังคมไทย ตอนที่ 3



การทบทวนวรรณกรรม

 การเน้นไปที่การร่วมกันจัดงานศพชาวญี่ปุ่นที่มีขนาดใหญ่ ซูสุกิ ฮิการุอธิบายว่า การจัดงานศพซึ่งคล้ายๆกับพิธีกรรมสมัยก่อนทำหน้าที่ดึงแรงร่วมใจของชุมชนและค่านิยมต่างๆขึ้นมา ในการประกอบพิธีกรรมงานศพที่ถูกต้อง กระบวนการหลายอย่างต้องถูกทำให้เป็นสินค้าขึ้นมา ซูสุกิยกตัวอย่างคนที่ทำงานศพที่เป็นสินค้าขึ้นมาต้องประกอบด้วยแรงจูงใจ พฤติกรรมของคนเศร้าโศกที่อยู่ร่วมพิธี และบทบาทของคนที่มาร่วมงาน ยิ่งไปกว่านั้น สังกัปของการตาย ความตาย และการสูญเสียในญี่ปุ่นร่วมสมัยกลับกลายมาเปลี่ยนแปลงโดยการบริการเชิงพาณิชย์เหล่านี้ ตามที่ซูสุกิได้กล่าวไว้ สังคมญี่ปุ่นสามารถศึกษาและเข้าใจโดยปรากฏการณ์เหล่านี้ วิธีวิทยาและการถกเถียงในการวิจัยนี้คล้ายคลึงกับของซูสุกิ อย่างไรก็ตาม มีการโต้เถียงกันว่าแรงร่วมใจและคุณค่าในประเทศไทยสมควรจะอยู่ต่อไป ถึงแม้ว่าศพจะไม่ถูกเผา และพิธีศพจะไม่ถูกจัดขึ้นก็ตาม แต่อย่างน้อย พิธีกรรมอื่นๆจะตอบสนองวัตถุประสงค์ก็ตาม

งานของปัญญา เลิศสุขประเสริฐ เน้นไปที่กระบวนการทำให้งานศพกลายเป็นสินค้าโดยการทำที่วัด จุดเปลี่ยนเริ่มต้นขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่รัฐบาลอนุญาตให้วัดสามารถจัดงานศพให้กับทุกๆคน วัดเริ่มเปลี่ยนจากหน้าที่กลายเป็นกิจกรรมเชิงธุรกิจขึ้น นอกจากนี้ ในมุมมองของปัญญา พิธีกรรมงานศพจะไม่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนาอีกต่อไป แต่เน้นไปที่สถานภาพของเศรษฐกิจและสังคมของผู้ตายและญาติๆ การบริโภคสถานภาพทางสังคมจะเพิ่มราคาของพิธีกรรมและนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างวัดที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และการเป็นหน่วยทางเศรษฐกิจ

ปัญญาเห็นว่าศาสนาเป็นศัตรูกับบริโภคนิยมหรือทุนนิยม ความคิดแบบไทยตั้งอยู่บนความคิดที่ว่าความเชื่อในพุทธในประเทศไทยสมควรหรือเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล การอธิบายเชิงประวัติศาสตร์ของฉันในบทความนี้จะแสดงให้เห็นว่าพุทธแบบไทยผสมกับท้องถิ่นและพระไม่จำเป็นที่จะต้องห่างไกลจากมิติเศรษฐกิจ จริงๆแล้วก็ไม่ผิดที่จะกล่าวว่าการทำพิธีศพจะไม่ทำเพื่อกิจทางศาสนาเพราะว่าการทำให้ทุกอย่างเป็นสินค้าเป็นสิ่งที่พัฒนามาจากชุมชน และการกระทำ และไม่เคยปฏิเสธเลยว่า พิธีกรรมที่ใหญ่โต ไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดาหรือพระที่มีอาณาบารมี สนับสนุนความเชื่อที่พูดถึงชีวิตหลังความตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หากมองในแง่ตรงข้ามกับปัญญา พัฒนา กิติสา จะไม่มองว่าการทำให้ศาสนาเป็นสินค้าเป็นเรื่องผิดปกติ ตามที่พัฒนาได้กล่าวไว้ กระบวนการทำทุกอย่างให้เป็นสินค้าเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของสังคมหลังสมัยใหม่ สินค้าถูกมองว่าศาสนาให้เป็นสินค้าที่มีการจับจ่ายได้ อย่างไรก็ตาม เขามองว่าการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นพุทธแบบโบราณที่ไม่สามารถทำให้เป็นสินค้าได้ โดยนัยยะเดียวกันกับพัฒนา York Michael ยังเสนอว่าศาสนาในยุคสมัยใหม่จะมีลักษณะไปกันได้กับพหุนิยมทางจิตวิญญาณ นั่นคือการกลายเป็นสินค้าสาธารณะและไม่เป็นสมบัติส่วนตัวของชนชั้นนำ อันเนื่องมาจากคุณค่าตลาดเสรี

 กรณีศึกษาของฉันคือครูบาชัยวงศ์ ฉันจะเสนอว่า ศาสนาในการปฏิบัติทั่วๆไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกล ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมก่อนสมัยใหม่หรือสังคมสมัยใหม่ก็ตาม มีความหลากหลาย และจะไม่ถูกครอบงำ หรือบางครั้งก็ต่อต้านชนชั้นสูงด้วย ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือพัฒนากับตัวอย่างของกระบวนการทำให้เป็นสินค้าของเพื่อนร่วมงาน จะไม่ถูกจำกัดแค่ในเรื่องของวัตถุ เช่นพระเครื่อง ที่ผู้บริโภคต้องการจะซื้อและครอบครองเป็นสมบัติส่วนบุคคล กระบวนการทำให้เป็นสินค้านิยามถึงสิ่งที่ยังไม่มีเจ้าของด้วย เช่น การเสกเป่าทรัพย์สมบัติส่วนบุคคล และขอให้มีสุขภาพที่ดี การปฏิบัติเหล่านี้ โดยอ้างอิงมาจากการศึกษาของ Cohen ในเรื่องศาสนาที่มีชื่อเสียงของจีน สามารถที่จะพบได้โดยทั่วไปทั้งในจีนและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ การท่องเที่ยว และกระบวนการทำให้เป็นสินค้าอีกหลายชนิดมีแรงจูงใจจากการคาดหวังถึงโชคดีด้วย อนึ่ง การต่อรองและการแสดงชนชั้นทางเศรษฐกิจของผู้คนในชุมชนยังสนับสนุนกระบวนการการทำให้ศาสนากลายเป็นสินค้าอีกด้วย

นักวิชาการในสาขาไทยศึกษา เช่น Silber Ilana Friedrich, Patrick Joy, และ Roy Mackenzie มีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าผู้มีบุญจะเกิดขึ้นในพุทธศาสนาแบบประเพณี อภิญญา เฟื่องฟูสกุล มีความคิดว่าผู้นำที่มีอำนาจ เช่นคนที่มีทั้งอำนาจหรืออิทธิพล เช่น พระธัมมชโย เป็นตัวอย่าง สำหรับ Ilana และ Jory พระมหากษัตริย์ และตนอื่นๆที่มีบารมีในชุมชนในประเพณีของพุทธเถรวาทจะต้องเกี่ยวข้องหรือเป็นโพธิสัตว์ ที่จะเกิดขึ้นมาเพื่อช่วยสรรพสัตว์ ซึ่งในที่สุดจะมีความชอบธรรมเชิงศาสนาในวัฒนธรรมเถรวาท ฉันเห็นด้วยกับความคิดที่ว่าผู้นำทางอาณาบารมีในวัฒนธรรมเถรวาทเป็นสิ่งที่มีชื่อเสียง แต่ 2 กรณีที่ฉันศึกษาก็ยืนยันว่าผู้นำทางอาณาบารมีไม่เกี่ยวอะไรกับชาติที่ผ่านมา แต่ถูกสมมติให้อยู่ในที่นั้น โดยการปฏิบัติกิจกรรมทางสังคมในชีวิตนี้เพียงแค่นี้

แปลและเรียบเรียงจาก

Jesada Buaban. Fragrant Corpses: Commodification of Charismatic Monk’s Corpses in Thai Society.

หมายเลขบันทึก: 690540เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2021 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2021 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท