ความเชื่อเรื่อง “โจ” ของชาวใต้ การสร้างสัญญะและการผลิตซ้ำตัวมันเองในบริบทสมัยใหม่ ตอนที่ 2


“โจ” การสร้างของสัญญะ และการผลิตซ้ำของภาพลักษณ์

“โจ” เป็นเครื่องรางของขลังที่ศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ในการป้องกันหรือทำร้ายคนที่จะมาขโมยของ เช่น ผลไม้ ลูกวัว สัตว์ปีก และอื่นๆ โดยทั่วไปแล้ว เราจะเห็นคนใต้ใช้ “โจ” แขวนไว้ตามต้นไม้ที่มีผลดกเพื่อป้องกันไม่ให้ทั้งผู้ใหญ่และเด็กขโมยผลไม้นั้น ที่เป็นแบบนี้เพราะความเชื่อตั้งแต่ยุคโบราณว่า “โจ” คือเครื่องรางศักดิ์สิทธิ์ผ่านการเสกจากพ่อมดหมอผี นี่ทำให้คนไม่อยากจะขโมยผลไม้

“โจ” ที่ทำมาจากไม้ไผ่ถูกเรียกว่า “โจบอก” ในขณะที่หากทำด้วยกะลามะพร้าว จะถูกเรียกว่า “โจพรก” คนที่ทำพิธีกรรมจะต้องร่ายคาถาใส่ “โจ” เพื่อทำให้ “โจ” มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้น มีความเชื่อกันว่าคนที่ขโมยผลไม้ไปกิน จะถูกเวทมนต์ทำร้ายกับบุคคลคนนั้น เช่น ทำให้ปวดท้อง หรือท้องบวม ในสวนบางแห่ง คนใต้จะวางไว้แค่ “โจ” เพียงอันเดียว พวกเขาเชื่อว่าแค่ “โจ” อันเดียว สามารถป้องกันผลไม้ทั้งหมดจากการขโมย ในกรณีที่หากคนไม่เห็น “โจ” และขโมยผลไม้นั่นไปทาน ก็จะพบกับโชคร้าย อย่างไรก็ตาม หากใครสามารถมองเห็น “โจ” และกระซิบบอกว่าเห็น “โจ” ในสวนนั่น เห็ฯได้ชัดเจนเลยว่า “โจ” เป็นสัญลักษณ์ของการป้องกันการขโมยผลไม้ของคนใต้ หากคุณเห็น “โจ” ในส่วนไหนก็ตาม ก็แสดงว่าคุณห้ามขโมยผลไม้ที่อยู่ในสวนนั่นเด็ดขาด

การสร้าง “โจ” ดำเนินมาหลายๆรุ่น ก่อนใช้ “โจ” คนที่ประกอบพิธีกรรมต้องทำการสาปแช่งว่าใครก็ตามที่ขโมยผลไม้จะเจอโชคร้ายใน 15 วัน หรือ 1 เดือน เวลาที่จะส่งผลขึ้นอยู่กับคำสาปแช่งของผู้สวดมนต์เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม มีการบันทึกว่าการร่ายมนต์ของ “โจ” ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ทำมันด้วยว่าส่งผลอะไรต่อร่างกาย เช่น การบวมท้อง เท้า หน้า และมือ หรือส่งพิษต่อร่างกายของขโมย ดังนั้น หากผู้คนเห็น “โจ” ก็จะเกรงกลัวในการขโมยผลไม้ มันเชื่อกันว่า “โจ” เป็นไสยศาสตร์ และก่อให้เกิดการบวมท้อง ดังนั้นคนใต้จึงใช้ “โจ” แขวนไว้ตามต้นไม้ เช่น ต้นกระท้อน ต้นมะม่วง หรือต้นมะม่วงหิมพานต์ เมื่อคนเห็น “โจ” ก็ไม่กล้าที่จะขโมย หากคนที่เป็นเจ้าของ “โจ” ต้องการที่จะทานผลไม้ เขาจำเป็นต้องถอนคำสาปแช่งของ “โจ” เพื่อที่จะได้ทานผลไม้นั้นได้อย่างปลอดภัย คนบางคนต้องการที่แก้คำสาปของ “โจ” โดยการนำผลไม้นั้นลอดระหว่างขา 3 รอบ หรือรดด้วยน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ก่อนการกิน ในบางกรณีหากไม้แก้คำสาปด้วยวิธีการข้างบน พอกินเข้าไป มันก่อให้เกิดการบวมท้อง หรือบางคนอาจเรียกว่าถูก “โจ” ให้แล้ว

การใช้ไสยดำหรือคาถาของพ่อหมดทำให้ “โจ” มีความศักดิ์สิทธิ์ที่จะทำร้ายผู้คน ชายที่มีประสบการณ์ในตำบลนาโยงเหนือ จังหวัดตรังได้อธิบายว่ารากเหล้าของคาถาเหล่านี้มาจากสูตรในพุทธศาสนาที่ใช้เพื่อประโยชน์ของสังคม มันเป็นเครื่องหมายที่บอกว่าผลไม้เหล่านี้ห้ามขโมย ใครก็ตามที่ต้องการผลไม้ต้องแจ้งเจ้าของเสียก่อน ต่อมาเจ้าของจะได้พรมน้ำมนต์ใส่ผลไม้เพื่อถอนคำสาปแช่งจากผลไม้ ในกรณีที่คนที่ต้องการที่จะทำ “โจ” ต้องออกบวชอย่างน้อย 3 ปีหรือมากกว่าเพื่อที่จะเรียนเรียนการสะกดในพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังห้ามทานของเซ่นไหว้กับผีหรือเทวดา ห้ามผ่านธรณีประตู ห้ามลอดชายกระโปรง และห้ามทานหรือดื่มสิ่งของที่มาจากในงานศพ ต่อมาคุณจะได้เป็นหมอผีที่จะประกอบ “โจ” อย่างได้ผล

หมอผี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต. เขารูปช้าง จังหวัด สงขลา และในตำบลลำสินธุ์ จังหวัดพัทลุง ในขณะที่จะประกอบพิธีสร้าง “โจ” ต้องเอ่ยอ้างถึง พระเจ้า 5 พระองค์ ซึ่งก็คือพุทธเจ้าที่เคยเสด็จมาในอดีต พุทธเจ้าที่เสด็จมาในปัจจุบัน และพุทธเจ้าที่จะเสด็จมาในอนาคต หมอผีต้องสวดคาถา “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธะ” 3 รอบ ต่อมาต้องสวดพระนามของพุทธเจ้าด้วยคำว่า “นะโมพุทธายะ” เป็นเวลา 3 ครั้งเช่นเดียวกัน นี่เป็นการควบคุม “โจ” ก่อนที่จะพาไปให้เจ้าของไปวางไว้บนต้นไม้หรือผลไม้ที่มีผลดก เช่น ต้นถั่ว หรือต้นขนุน หลังจากแขวน “โจ” แล้ว ก็ไม่มีใครกล้าที่จะขโมยผลไม้หรือต้นไม้นั่นอีก

บางครั้ง “โจ” มักจะถูกผลิตโดยเจ้าของ แต่ไม่ได้เสกคาถาอะไรเอาไว้ เหตุผลก็คือหลอกลวงคนที่ตั้งใจจะมาขโมยของเท่านั้น “โจ” แบบนี้เขาเรียกกันว่า “โจหลอก” เช่น คนที่มีความเชื่อเรื่อง “โจ” อยู่ ก็จะไม่กล้าขโมยของที่มีตัว “โจ” นั้นแขวนอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นตัวหลอกก็ตาม คนใต้เชื่อว่าคนไหนก็ตามที่โชคไม่ดีหรือเคราะห์ร้ายก็มีโอกาสจะได้รับผลจาก “โจหลอก” ได้เช่นเดียวกัน เนื่องมาจากว่าการกินผลไม้ที่มี “โจหลอก” แขวนอยู่ แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของก็มีโอกาสปวดท้องจนถึงตายได้เช่นเดียวกัน คนบางคนก็มีอาการคล้ายๆกับจะรักษาไม่ได้ เพราะว่า “โจหลอก” ไม่ได้ถูกคาถาของหมอผีและพิธีกรรมควบคุมไว้ จึงหาคนที่จะแก้ไขเป็นเรื่องยาก นี่คือเหตุผลว่าทำไมคนใต้ที่เกรงกลัวเรื่อง “โจ” จึงไม่กล้าในการทานอาหารที่มี “โจ” แขวนอยู่ เพราะเห็น“โจหลอก” จึงหมายถึงชีวิตได้ ในรายงานฉบับนี้จะมี “โจ” ถึง 6 ชนิด ได้แก่ 1. โจฝัง 2. โจบอก 3. โจกาบหมาก 4. โจพรก 5. โจปา 6. โจหมอ ซึ่งใช้ไปตามสถานที่ต่างๆ

(แต่เนื่องจากมีเวลาน้อย จะขอเสนอ โจฝัง แค่อย่างเดียว ส่วนชนิดอื่นๆที่เหลือไปอ่านในบทความนะครับ)

แปลและเก็บความจาก

Panuwat Worajin และ Pornpan Khemaakunasai. ‘Jo’ Belief of Thai Southerner: Creation of Sign and its Reproduction in a Modern Context.

หมายเลขบันทึก: 690366เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2021 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2021 13:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท