"ต้อยติ่ง"ต้อยต่ำ


ลักษณะต้อยติ่งที่เรารู้จักกันดี เมล็ดเรียวยาวสีดำนั้น หากนำมาแช่น้ำจะปริแตกออกอย่างรวดเร็วเกิดเสียงดัง"เป๊าะแป๊ะ"

เมื่อก่อนไม่มาก พอต้นไม้โตเกิดร่มเงา เริ่มจากบริเวณใต้ร่มพะยูงที่หญ้าหรือวัชพืชขึ้นน้อยลง ต้อยติ่งจึงเริ่มมาอยู่ เนื่องจากการดำรงชีวิตไม่ต้องใช้แสงมาก อาจแค่รำไร พร้อมเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย เดี๋ยวนี้ครองพื้นที่ใต้ต้นพะยูงเป็นลานกว้างเจ้าเดียวแล้ว

ต้อยติ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (alien species) มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ เชื่อว่านำเข้ามาปลูกครั้งแรกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ แต่ภายหลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว จึงตกเป็นผู้ร้าย กลายเป็นวัชพืชของชาวไร่ชาวสวนมาจนทุกวันนี้

นอกจากดอกสีม่วง ลักษณะต้อยติ่งที่เรารู้จักกันดี เมล็ดเรียวยาวสีดำนั้น หากนำมาแช่น้ำจะปริแตกออกอย่างรวดเร็วเกิดเสียงดัง"เป๊าะแป๊ะ" สมัยก่อนจึงเป็นของเล่นสร้างความสนุกสนานให้กับเด็กๆด้วย

มุมมองมนุษย์ทำให้ต้อยติ่งด้อยค่าลง ถูกลดบทบาทเป็นเพียงวัชพืช เนื่องจากกระจายพันธุ์เร็ว พบเห็นได้ทั่วไป กลายเป็นของโหล ทั้งที่เธองามไม่น้อยหน้าใคร!

อ้างอิง
ต้อยติ่ง/อังกาบ ประโยชน์และสรรพคุณต้องติ่ง

หมายเลขบันทึก: 690354เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2021 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2021 00:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท