5 เงื่อนไขแห่งชัยชนะจาก #ซุนวู


5 เงื่อนไขแห่งชัยชนะจาก #ซุนวู

.

ทั้งห้าเรื่องนี้ แม่ทัพพึงรู้แจ้ง ผู้ที่รู้ “จะชนะ” สำหรับ #องค์กรธุรกิจ ถ้าให้ความสำคัญและวางรากฐานทั้ง 5 เงื่อนไขนี้ไว้ก็มีโอกาสอยู่รอดและชนะในการแข่งขันทางธุรกิจได้เช่นกัน เชื่อเถอะครับ เรื่องนี้ผ่านการพิสูจน์มาหลายชั่วอายุคนแล้ว

.

เมื่อครั้งผมได้มีโอกาสไปให้คำปรึกษาเรื่อง #การวางแผนกลยุทธ์ กับผู้บริหารชาวจีน(พูดผ่านล่ามนะครับ) ได้นำเรื่องราวของ #ตำราพิชัยสงครามซุนวู(ซึ่งมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน)มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่งพบว่า สิ่งที่คนจีนส่วนใหญ่นึกถึงเป็นลำดับต้นๆเกี่ยวกับ ซุนวู ก็คือ “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง มิแพ้” ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า เรื่อง #ข้อมูล มีความสำคัญมาตั้งแต่กว่า 3,000 ปีมาแล้ว ไม่เคยเปลี่ยน

.

อีกมุมมองหนึ่งที่ผู้บริหารชาวจีนพูดถึง คือเรื่อง “ชนะสงคราม โดยไม่ต้องรบ” ซึ่งมีคำอธิบายที่แหลมคมว่า ถ้าเราสร้างระบบ ระเบียบ ความเข้มแข็งภายในองค์กรของเราไว้ คู่แข่งหรือคู่ต่อสู้มาเห็น มารับรู้ ก็เกรงขาม ไม่กล้าสู้ และอาจยอมถอยไปเองได้ ถ้าเป็นธุรกิจ ก็ไม่ต้องมาทำสงครามฟาดฟัน #ลดราคาแข่งกัน

.

ในวันนั้น ผมได้ศึกษาและนำแนวคิดที่สำคัญชุดหนึ่งของซุนวูไปแลกเปลี่ยน คือเปรียบเทียบกลยุทธ์การรบกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ จาก 5 เงื่อนไขแห่งชัยชนะที่ใช้ในการประเมินศึก จึงจะชนะในการรบ ประกอบด้วย

?

1.#มีคุณธรรม (ทวยราษฎร์และเบื้องบนมีเจตนารมณ์ ร่วมกัน -มีความสามัคคี) เปรียบได้กับ การที่องค์กรมี #วัฒนธรรมองค์กร ที่พร้อมเพรียง มีพลัง

?

2.#รู้ลมฟ้าอากาศ เปรียบได้กับ การมีข้อมูลและการคาดการณ์ที่แม่นยำ

?

3.#รู้ภูมิประเทศ เปรียบได้กับ การศึกษารายละเอียด จุดแข็ง จุดอ่อน ปัจจัยต่างๆเกี่ยวกับธุรกิจที่ทำอยู่อย่างรอบคอบ

?

4.#มีแม่ทัพดี เปรียบได้กับ ผู้นำองค์กรหรือทีมบริหาร #แต่ละคน มีภาวะผู้นำทำให้ทีมงานเชื่อมั่นและศรัทธา มีหลักในการตัดสินใจ

?

5.#มีกฎระเบียบ เปรียบได้กับ องค์กรมี #ระบบงาน #โครงสร้าง องค์กรที่สามารถขับเคลื่อนกลยุทธ์ได้ ทุกคนยอมรับและปฏิบัติได้จริง

.

ทั้งห้าเรื่องนี้ แม่ทัพพึงรู้แจ้ง ผู้ที่รู้ “จะชนะ” สำหรับองค์กรธุรกิจ ถ้าให้ความสำคัญและวางรากฐานทั้ง 5 เงื่อนไขนี้ไว้ก็มีโอกาสอยู่รอดและชนะในการแข่งขันทางธุรกิจได้เช่นกัน เชื่อเถอะครับ เรื่องนี้ผ่านการพิสูจน์มาหลายชั่วอายุคนแล้ว

.

ลองสำรวจคนในองค์กรของคุณดูนะครับ เวลาคุณสั่งให้กระโดด พวกเขากระโดดทันที แล้วถามว่า สูงพอหรือเปล่า? จะให้กระโดดใหม่ไหม? 

.

หรือ พอคุณสั่งให้กระโดด พวกเขาพากันถามว่า โดดไปเพื่ออะไร? ทำไมต้องกระโดด? คนอื่นไม่เห็นกระโดดเลย? ขอกระโดดวันอื่นได้หรือเปล่า?

.

วันชัย ตันจารุพันธ์

เพจ แผนธุรกิจ

wanchai@vpconsult.biz

หมายเลขบันทึก: 690279เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2021 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2021 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี