เถียง PISA 2018 เรื่องสมรรถนะครู



รายงาน PISA 2018 ส่วนของประเทศไทย (๑)   ระบุว่า จากแบบสอบถามผู้อำนวยการโรงเรียน    ได้ข้อมูลว่า ร้อยละ ๙๗ ของครูในโรงเรียนด้อยโอกาส เป็นครูที่ “fully certified”    ตัวเลขนี้ของโรงเรียนที่โอกาสสูงคือ ๘๙   สะท้อนว่า ในระบบการศึกษาไทย ปัญหาครูไม่ “fully certified” มีน้อยมาก บอกว่า เรื่องคุณวุฒิครูไม่ใช่ปัญหาสำหรับระบบการศึกษาไทย  

นำไปสู่คำถามว่า ในเรื่องคุณภาพครู     คุณวุฒิระดับ “fully certified” กับ คุณภาพ (qualified) เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่    ผมเถียงว่า เป็นคนละเรื่อง    คุณวุฒิกับสมรรถนะไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเดียวกัน หรือสอดคล้องกัน   

ถามว่าทำไมผมคิดเช่นนั้น    ตอบว่า ผลการทดสอบ PISA ที่ไทยเข้าร่วมตลอดมา ๒๐ ปี มันฟ้อง    ว่าสมรรถนะครูของเรายังไม่ได้มาตรฐาน    ยังจัดการเรียนรู้ให้เด็กไทยเรียนรู้บรรลุผลการเรียนระดับที่ลึกและเชื่อมโยงไม่ได้    ดังภาพผลคะแนนสอบเฉลี่ยของเด็กอายุ ๑๕ ปี ของไทย เทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศ OECD ที่ต่างกันเกิน ๕๐ คะแนน (คะแนนเต็ม ๖๐๐) ทั้ง ๓ ด้าน    ที่ห่างกัน ๙๗ คะแนนคือด้านการอ่าน    ด้านคณิตศาสตร์ต่างกัน ๗๐ คะแนน   และด้านวิทยาศาสตร์ต่างกัน ๖๓ คะแนน  

ผมตีความว่า การศึกษาไทยยังยึดหลักเรียนจากที่ครูบอก และท่องจำไว้ตอบข้อสอบ    เมื่อเจอข้อสอบ PISA ที่เน้นสอบความคิด และการเชื่อมโยงกับชีวิตจริง    นักเรียนไทยจึงตอบไม่ได้    

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ก.พ. ๖๔


หมายเลขบันทึก: 689791เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2021 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2021 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท