เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพศ. กับ ธศ.


เปรียบเทียบความแตกต่างทั้งหมดโดยประมวลเป็นตาราง มันมีมากโขอยู่ จึงสรุปมาเป็นแนวทาง ดังตาราง ที่กำลังจะจัดทำเป็นหนังสือสักเล่มหนึ่ง อาจจะออกสู่ตลาดปลายปีนี้ สำนักพิมพ์ใดสนใจ เชิญติดต่อมาได้

พุทธศาสน์

ธรรมศาสน์

ยึดพระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง(สรณะแห่งชีวิต)

ยึดพระธรรมเป็นที่พึ่งเพียงอย่างเดียว (ยึดสมค. และอริยสงฆ์เป็นปูชนียบุคคล )

เรียกชื่อว่าพุทธศาสนา(พศ.)

เรียกชื่อว่าธรรมศาสนา(ธศ.) 

ชีวิตเกิดมาเป็นทุกข์ เรามีหน้าที่เพื่อดับทุกข์

ชีวิตเกิดมาเพื่อเป็นสุข และเพื่อพัฒนาความสุขให้จำเริญยิ่งขึ้นจนถึงระดับสันติสุข (นิพพาน)

ตัณหามี๓ คือกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา

ตัณหามี๓ คือตัณหาดำ ตัณหาขาวและตัณหาใส

มุ่งดับตัณหาทั้งหมดคือกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา

มุ่งดับเฉพาะตัณหาดำและขาว คงไว้ซึ่งตัณหาใส ซึ่งเป็นตัณหาของอริยบุคคล

ทำหน้าที่บำบัดทุกข์

ทำหน้าที่บำรุงสุข

มรรคมีองค์๘

มรรคมีองค์๖

การมีปฏจ. ๑๒ กำ ไม่มีทางเลี่ยงเมือง

ปฏจ.มีเพียง๖ กำ และยังมีวงจรเลี่ยงเมืองให้เข้ามาเดินรอบในสำหรับอริยชน

ไม่มีสัญญาในวงจรปฏจ.

มีสัญญาโดยเอาไปรวมไว้กับปั้นอุปาทาน

ใช้อวิชชาเป็นตัวหลักในการหมุนวงจรปฏจ.

อวิชชาเป็นเพียงตัวเสริมในปั้นของภพ/ชาติ/ชรา/มรณะ

ศีลพระมี ๒๒๗ ข้อ

ศีลมีข้อเดียวคือสติและปัญญา

ห้ามกินเหล้า

ไม่ห้ามกินเหล้าถ้าไม่เสียสติ

ไม่มีขันติและศรัทธาในมรรค๘

มีขันติและศรัทธาอยู่ในมรรค๖

ไม่มีทางเลี่ยงเมืองในปฏจ.

มีทางเลี่ยงเมืองให้วิ่ง พ้นทุกข์ ไม่ต้องเกิดแก่ตาย

อุปาทานมี๑เดียวคืออุปาทาน

อุปาทานมี๓คือ ดำ/ขาว/ใส

สุขมี๑เดียว

สุขมี๓คือ ดำ/ขาว/ใส

สังขารมี๑เดียว

สังขารมี๓คือ ดำ/ขาว/ใส

ทำจิตให้บริสุธิ์ (โอวาทปาฏิโมกข์)

ทำจิตให้ใส มีตัณหาใสด้วย

ไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ไตรลักษณ์คือทุกขัง อนิจจัง อนัตตา (ดูรายละเอียดในเล่มนสลน.)

จิตว่าง (พุทธทาส)

จิตวาง/จิตใส

ไม่กำหนดการกิน

มีข้อกำหนดเรื่องการกินเนื้อ/ผัก

ตัวกู ของกู (พุทธทาส)

ตัวกูมีได้ แต่ “ตัวของกู” ห้ามมี

ห้ามนักบวชครองเรือน

นักบวชครองเรือนได้

นักบวชไม่ต้องทำงาน

นักบวชต้องทำงานหาเลี้ยงชีพตั้งแต่ ๙ ถึง ๕ วันทำการ ส่วนใหญ่จะทำเกษตร๗ชั้น

โยมถวายอาหารต่อนักบวชตอนบิณฑบาตร

นักบวชเอาอาหารไปถวายโยมตอนบิณฑบาตร

ผู้หญิงบวชไม่ได้

ผู้หญิงบวชได้ มีสิทธิเดียวกับนักบวชชาย

โยมไม่มีการสวดขอบคุณธรรมชาติก่อนกินข้าว

โยมมีการสวดขอบคุณธรรมชาติก่อนกินข้าว

ไม่มีระบบเศรษฐกิจที่แน่นอน หรือมีแบบพื้นฐาน เพียงแค่ให้แบ่งทรัพย์เป็น ๔ กอง

มีระบบเศรษฐกิจแบบเพียงพอดีให้เป็นหลักยึดสำหรับบุคคลทั่วไปจนถึงระดับนายทุนใหญ่

     

         

หมายเลขบันทึก: 689569เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2021 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2021 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี