ชีวิตคืออะไรกันแน่ (ตอนที่๒)..Evolution VS Creation


      แนวทางชีวิตตามหลักการวิทยาศาสตร์นั้น ในพศ.นี้ (พศ. ๒๕๖๔) แนวทางวิวัฒนการของชาร์ล ดาร์วิน เป็นที่นิยมอย่างมากสุด ทฤษฎีนี้สอนว่า สรรพสิ่งทั้งปวงเกิดมาจากการวิวัฒนาการ คือการค่อยๆเรียนรู้จากธรรมชาติรอบตัวแล้วปรับเปลี่ยนโครงสร้าง/ร่างกายให้ดีที่สุดเพื่อความเจริญงอกงามและอยู่รอดได้ตามสายพันธุ์ของตน เรียกกระบวนการนี้ว่า การอยู่รอดได้ของผู้ที่แข็งแรงที่สุด (survival of the fittest)

.

           ในความเห็นของผข.  แนวทางวิวัฒนาการไม่น่าเชื่อถือยิ่งไปกว่าหลักการพระเจ้าสร้างโลก/ชีวิต เสียอีก  เพียงจะให้ชีวิตแตกจากเซลเดียวเป็นเซลคู่นี่ก็ยากมากแล้ว เพราะเซลเดี่ยวเอาอะไรมาคิดว่าเซลคู่จะดียิ่งไปกว่าเซลเดี่ยว เพราะพืชและสัตว์อื่นก็ไม่มีให้เปรียบเทียบ การดำรงอยู่ก็อยู่ไปตามสภาพ ไม่ต้องกลัวพืชและสัตว์อื่นมาทำร้ายหรือมากินเพราะในขณะนั้นก็มีเพียงพืช/สัตว์ตระกูลเดียวเท่านั้น ก็คือพวกท่านด้วยกันเอง

.

      เมื่อไม่มีศัตรู ดังนั้นก็จำเป็นไม่ต้องมีทฤษฎี survival of the fittest ให้ยุ่งยากลำบาก  เพราะตัวของท่านก็ fittest อยู่แล้วในตัวเองตั้งแต่แรกเริ่ม..และถ้าเอา SOF เป็นหลักป่านนี้สัตว์บกคงมีแต่เสือกะราชสีห์ สัตว์น้ำก็มีแต่ฉลามขาว สัตว์อากาศก็คงมีแต่พญาอินทรีทองสิ จะวิวัฒน์มาเป็นผู้ถูกล่าผู้น่าสงสารอยู่ทำไมให้เต็มโลก เข่น ปลาตัวเล็กๆ กวาง กบ เขียด

 .

    อีกทั้ง evolution ไม่ได้มีการกล่าวถึงที่มาของวิญญาณที่ทรงอยู่ในร่างของชีวิต รวมถึงการวิวัฒน์ของวิญญานก็ไม่มีอ้างถึง ดังนั้นถึงแม้ววฒ.ถูกต้องอย่างสูงสุดก็เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น อีกครึ่งหนึ่งคือด้านจิตใจ ไม่มีทีท่าเลยว่ามาอย่างไ วิญญาณของยุงกับวิญญาณเสือมีววฒ.ต่างกันอย่างไร ก็ไม่บอก

.

                   ในทางกายภาพ..การพัฒนาจาก ๑ เป็น๒ เซลล์ ก็ยากจนกว่าจะเป็นได้แล้ว แล้วการวิวัฒน์มาเป็นล้านๆเซลเป็นหอยเป็นเสือจะมิยุ่งยากไปกว่านั้นอีกล้านๆเท่าดอกหรือ  ความเป็นไปได้ (probability)จะยิ่งน้อยกว่าพุ่งแหลนด้วยมือให้ไปปักลงตรงใจกลางของดวงอาทิตย์เสียอีก  ในความเห็นผข.ที่บอกว่าพระเจ้าสร้างโลกจึงน่าเชื่อถือมากกว่าทฤษฎีวิวัฒนาการ ที่นักวิทยาศาสตร์นิยม เสียอีก

                    

-----คนถางทาง..๑๐มีค.๖๔

คำสำคัญ (Tags): #evolution#creation
หมายเลขบันทึก: 689427เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2021 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2021 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี