การสอนนศ.คิดเหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัด


อ้างอิงจาก Varleit B. Using the case method to develop clinical reasoning skills in problem-based learning. Am J Occup Ther . 1995 Apr;49(4):349-53. doi: 10.5014/ajot.49.4.349. และ Bolton T, Dean E. Self-determination theory and professional reasoning in occupational therapy students: A mixed methods study. J Occup Ther Edu 2018;2(3):2131. https://doi.org/10.26681/jote.2018.020304

 จากต้นแบบหลักสูตร ป.ตรี กิจกรรมบำบัด ม. นิวเม๊กซิโก เสนอแนะการจัดการเรียนรู้บนฐานปัญหา หรือ PBL เพื่อกระตุ้นปัญญาผู้เรียน ดังนี้

  1. จัดกลุ่มเล็ก ๆ ของผู้เรียน 5-8 คนต่อ 1 กลุ่ม กับ อาจารย์กระบวนกร 1 คน เพื่อตอบโจทย์ 1 คำถามจาก 1 ปัญหาของกรณีศึกษา มากกว่าคำถามแยกรายวิชา เช่น ประสาทกายวิภาคศาสตร์ หรือ ออร์โธปิดิกส์ เพราะต้องการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสื่อสารช่วยเหลือกันโดยใช้ "การอภิปรายกลุ่ม" และฝึกทักษะแก้ปัญหาด้วยการให้เหตุผลทางคลินิก - ตั้งคำถามเชิงสงสัยและตั้งสมมติฐานเพื่อระดมสมองกัน ดังนั้น "อาจารย์กระบวนกรไม่ใช่ผู้นำกลุ่ม แต่ควรฝึกฝนการใช้ PBL รวม 2 วัน โดยตั้งคำถามที่คุ้ยเขี่ย หรือ Probing เหตุผลที่อยู่ในใจผู้เรียนให้จงได้"
  2. การให้เหตุผลเชิงวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (procedural scientific reasoning): การตั้งทดสอบสมมติฐานโดยอธิบายว่า คนไข้เกิดปัญหาอะไร เมื่อไร และเพราะอะไร 
  3. การให้เหตุผลเชิงปฏิสัมพันธ์ด้วยการเล่าเรื่อง (interactive narrative reasoning): การรู้จักคนไข้ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์หนึ่งท่านแล้วได้นำเรื่องของคนไข้มาเล่าเรื่องแบบถ่ายทอดประสบการณ์เชิงปรากฎการณ์ หรือ Phenomenological experience ทำให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหามุมมองของกรณีศึกษาที่เป็นเทปวิดีโอ จำลองขึ้น หรือ จากผู้ป่วยจริงสู่กรณีศึกษาในกระดาษ ยกตัวอย่างจากคลิปเสียงนี้ 
    1. Case Paper อาจารย์เตรียม 1 หน้ากระดาษ เขียน 1 ย่อหน้า เป็นข้อมูลการรักษาทางการแพทย์จนถึงปัจจุบันของกรณีศึกษา โดยเฉพาะการเขียนสะท้อนปัญหาที่ทั้งคนไข้กับนักกิจกรรมบำบัดต้องการแก้ปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง ตามโจทย์ต่อไปนี้
      1. คุณเห็นจุดแข็ง ปัญหา และข้อมูลใดจากคนไข้ที่จำเป็นต่อการวางแผนการให้บริการจากนักกิจกรรมบำบัด
      2. มีข้อมูลใดที่คุณอยากเพิ่มเติมในบทบาทนักกิจกรรมบำบัด
      3. คุณจะเริ่มกระบวนการใดก่อนจากข้อมูลที่มีอยู่
      4. คุณจะตั้งใจมองอะไรเป็นพิเศษในการบำบัดฟื้นฟู
      5. มีข้อมูลอะไรบ้างที่จะช่วยให้การบำบัดฟื้นฟูเคสนี้และทำไม
      6. มีข้อมูลอะไรบ้างที่จะช่วยให้การบำบัดฟื้นฟูเป็นไปด้วยความสำเร็จ นำพาให้เคสนี้กลับไปใช้ชีวิตที่บ้านได้ราบรื่น
    2. Case VDO จะเพิ่มรายละเอียดของคนไข้ให้รู้สึกนักกิจกรรมบำบัดได้ใช้ชีวิตร่วมกับเขาหรือเธอ มีการเพิ่มข้อมูลจากกระดาษเพิ่มได้ เช่น บุคลิกภาพ มุมมองต่อความเจ็บป่วย/พิการ และความแตกต่าง (nuances) ที่จะเห็นความสามารถในการทำงานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ยกตัวอย่างจากคลิปนี้ หรือ จากคลิปนี้ ตามโจทย์ต่อไปนี้
      1. กรณีศึกษาพรรณนาตัวเองอย่างไรบ้าง
      2. คุณคิดว่า เขาหรือเธอ มองอย่างไรบ้างเกี่ยวกับความเจ็บป่วย ความสามารถ และศักยภาพ/การพัฒนาความสามารถสูงสุดเท่าที่ทำได้
      3. คุณอยากจะบรรยายจุดแข็งและจุดอ่อนของกรณีศึกษาอย่างไร
      4. คุณคิดว่า เขาหรือเธอจะได้รับประโยชน์จากนักกิจกรรมบำบัดอย่างไร
      5. มีอะไรที่คุณอยากรู้มากกว่านี้เพื่อทำงานกับเคสนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    3. Case Simulation ใช้นักแสดงหรือ Role Play ให้มีบทบาทตาม Script ได้แก่ ลักษณะพิการ ประวัติจิตสังคม ลักษณะนิสัยส่วนบุคคล และแนะนำประเภทกับแนวการตอบคำถาม แล้วเกิดการเล่าเรื่องกิจกรรมบำบัดสร้างความสุขของกรณีศึกษาได้อย่างน่าสนใจให้ผู้เรียนเกิดอารมณ์ร่วมกับนักแสดง ขอบพระคุณนักศึกษากายภาพบำบัดที่ถ่ายทอดการจัดการอารมณ์ดีมากจากคลิปนี้ 
    4. การผสมผสานหลายรูปแบบ เช่น จาก Real Case มาถ่ายทอดเป็น Case Paper ที่สำคัญ "อาจารย์กระบวนการไม่ควรปล่อยให้ผู้เรียนเป็น Passive Data Collectors คอยสัมภาษณ์ดึงข้อมูลจากคนไข้มากจนเกินไป แต่ควรเน้นคิดใคร่ครวญ (Metacognitive Thinking of Thinking) ระหว่างคิดอย่างมีวิจารณญาณ หรือ Critical Thinking ผสมผสานกับคิดอย่างสร้างสรรค์ หรือ Creative Thinking เช่น การวางแผนแบบ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ให้เกิดคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (CQI, Continuous of Quality Improvement) ยกตัวอย่างจากคลิปนี้      
  4. การให้เหตุผลเชิงเงื่อนไข (conditional reasoning) เน้นฝึกจินตนาการ หรือ envision สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตได้หลายเส้นทางอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้นักกิจกรรมบำบัดจะช่วยฝึกฝนความสามารถตามบริบทที่สำคัญของคนไข้ ทำให้เห็นแนวทางการตัดสินใจของคนไข้สู่การปฏิบัติที่ดี (pragmatic reasoning) ได้จริง ยกตัวอย่างตามภาพข้างล่าง มี 2 กรณีศึกษาด้วยความขอบพระคุณมากครับ

จะเห็นว่า เมื่อเราฝึกทักษะการเรียนรู้บนฐานปัญหาคู่ขนานกับทักษะเมตตาปัญญากับการให้เหตุผลทางคลินิกจนผสมผสานเป็นมืออาชีพ เรียก Professional Reasoning ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคลได้ดีต่อใจ ระหว่างนศ./นักกิจกรรมบำบัดรุ่นใหม่กับอาจารย์นักกิจกรรมบำบัดรุ่นเก๋าแบบ Experiential Learning และหมั่นเพียรสะท้อนกลับความรู้ความเข้าใจเป็น Reflective Journaling อย่างอิสระก็จะเกิด "การปิ๊งแว๊ปอย่างอ่อนโยนด้วยความรักความเข้าใจ" ดังคลิปต่อไปนี้ จงภูมิใจ ไว้ใจ และ เกิดสุนทรียการเปลี่ยนแปลงตนเองด้วยการเรียนรู้ช่วยเหลือคนไข้อย่างดีงามตลอดชีวิต ขอบคุณมากครับที่อ่านอย่างตั้งใจ ณ จุดนี้ครับ

ปล. ในแต่ละเทอมระหว่างช่วงฝึกงาน ผมเชิญชวนให้ผู้เรียนทุกท่านทบทวนตัวเองดังต่อไปนี้

  1. อะไรที่คุณวางแผนการเรียนรู้แตกต่างจากเทอมที่แล้ว
  2. ความรู้และทักษะที่ได้รับเพิ่มเติมและอยากทำได้สำเร็จคืออะไร
  3. อะไรที่คุณทำได้ดีขณะฝึกงานเทอมที่แล้ว
  4. จงอธิบายสิ่งที่ท้าทายในเทอมที่แล้วขณะฝึกงานทางคลินิก
  5. คุณเห็นบทบาทการให้บริการคนไข้อะไรบ้างในเทอมที่แล้ว
  6. คุณอยากปรับปรุงกระบวนการคิดในอนาคตอย่างไร
  7. จงอธิบายมา 3 วิธีการที่จะพัฒนาเหตุผลทางคลินิกของคุณได้
  8. คุณจะลำดับความสำคัญจากปัญหาของคนไข้ตามที่คาดหวังไว้ให้ทำได้สำเร็จเป้าหมายอย่างไร
หมายเลขบันทึก: 688329เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2021 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2021 11:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท