ข้อสังเกตเรื่องระบบประกันคุณภาพการศึกษาไทย



เช้าวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ผมเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ ทาง ออนไลน์    มีวาระเรื่อง รายงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปี ๒๕๖๒ ที่สรุปผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนรุ่งอรุณ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒   รายงานว่ามี ๓ มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน  มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ   มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ    ที่ทางโรงเรียนรุ่งอรุณรายงานว่า ได้อยู่ ๒ ระดับ คือ ดีเลิศ กับยอดเยี่ยม   ที่ผมงงว่าระดับไหนสูงกว่า    แต่เมื่อฟังข้อคิดเห็นและข้อซักถามไปเรื่อยๆ ก็จับความได้ว่า ดีเลิศสูงกว่า 

ท่านประธานมูลนิธิถามผมว่า มีความเห็นอย่างไรบ้าง    ผมกราบเรียนว่า กระบวนการประเมินคุณภาพควรสนองสองเป้าหมาย   คือ (๑) เพื่อให้มั่นใจว่าคุณภาพเข้าเกณฑ์  และ (๒) เพื่อหนุนการพัฒนา

หากมีเป้าหมายข้อ (๑) เท่านั้น และรายงานเพียงระดับของการบรรลุคุณภาพ    ก็มีความเสี่ยงที่ระบบประเมิน (ประกัน) คุณภาพจะสร้าง fixed mindset ขึ้นในระบบการศึกษา    ซึ่งไม่ใช่ปัญหาของโรงเรียนรุ่งอรุณ

แต่ในระบบการศึกษาไทยอาจไม่ได้เป็นเหมือนโรงเรียนรุ่งอรุณ    ผมจึงขอตั้งข้อสังเกตไว้    ว่าระบบประกันคุณภาพที่ใช้อยู่ในระบบการศึกษาไทย เป็นตัวการปลูกฝัง fixed mindset ขึ้นในระบบหรือไม่

วิจารณ์ พานิช

๓๐ พ.ย. ๖๓ 


หมายเลขบันทึก: 688092เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2021 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2021 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท