โรงเรียนเลือกเรา หรือเราเลือกโรงเรียน


โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง

ความสัมพันธ์ของ “โคบายาชิ” และ “โต๊ะโตะจัง”

บริบททางสังคมที่และบริบททางการศึกษาส่งผลต่อตัวละคร

        “ โต๊ะโตจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง ” ผลงานเขียนของ “คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ” นักเขียนหญิงชาวญี่ปุ่น เป็นวรรณกรรมที่เขียนจากชีวิตจริงของ คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ เล่าเรื่องราวผ่านตัวละคร โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่ง ที่ถูกไล่ออกจากโรงเรียนด้วยความซุกซน และพฤติกรรมบางอย่างที่แตกต่างจากเด็กปกติคนอื่น ๆ  ครูประจำชั้นไม่เข้าใจในธรรมชาติความแตกต่างของเด็ก ทำให้มองว่าเธอสร้างความวุ่นวายรบกวนเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนอยู่ประจำ ต่อมาแม่ของเธอจึงพาไปสมัครเรียนที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง คือ โรงเรียนโทโมเอ  ซึ่งโต๊ะโตะจังชื่นชอบและประทับใจโรงเรียนใหม่แห่งนี้มาก ทั้งสภาพแวดล้อมห้องเรียนที่เป็นตู้รถไฟ ที่สำคัญคือครูใหญ่ “โคบายาชิ” ผู้เข้าใจในธรรมชาติของเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี และเพื่อนใหม่ที่สุดแสนจะน่ารัก แม้ทุกคนจะมีความแตกต่างกันออกไป แต่สามารถอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจอย่างมีความสุข โรงเรียนโทโมเอจึงเป็นโรงเรียนที่โต๊ะโตะจังรู้สึกรักและผูกพัน ด้วยประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ร่วมเผชิญและผ่านพ้นมาด้วยกัน แต่สุดท้ายโรงเรียนโทโมเอก็เหลือไว้เพียงความทรงจำ เพราะถูดเผาด้วยระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒

          โต๊ะโตะจังส่วนมีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยที่จะพูดถึง พฤติกรรมของโต๊ะโตะจัง และครูความสัมพันธ์ที่มีกับครูใหญ่โคบายาชิ ผู้เขียนเล่าเรื่องโดยถ่ายทอดผ่านตัวละครที่ชื่อ โต๊ะโตะจัง เธอเป็นคนที่มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ช่างถาม ช่างพูด ช่างเจรจาตอนอยู่โรงเรียนเดิมนั้น โต๊ะโตะจังก็อยู่ไม่นิ่งชอบเดินไปมา บางครั้งอยู่ดี ๆ ก็ตะโกนขึ้นมาโดยไม่รู้สาเหตุ กระทั่งครูที่โรงเรียนทนไม่ไหวส่งจดหมายเชิญผู้ปกครอง ให้โต๊ะโตะจังออกจากโรงเรียนขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่ง เธอไม่รู้เลยว่าตนเองถูกไล่ออก แม่พาโต๊ะโตะจังไปสมัครเรียนโรงเรียนโทเมโอที่อยู่ห่างจากบ้านไปไกลกว่าโรงเรียนเก่า นี่เป็นจุดเริ่มต้นของนวนิยายเรื่องนี้ ที่เผยให้เห็นพฤติกรรมของโต๊ะโตะจังที่แตกต่างจากเด็กปกติในโรงเรียนเดิม และหากได้อ่านจนจบเรื่องเราจะเห็นว่า โต๊ะโตะจังมีพฤติกรรมการแสดงออกที่ดีขึ้น แต่เธอยังเป็นเธอคนเดิมที่ช่างถามช่างพูดจาและซุกซน เพียงแต่เธอเข้าใจตัวเองแล้วว่าต้องการสิ่งใด และเข้าใจการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การที่พฤติกรรมด้านแย่ของตัวละครเอกอย่างโต๊ะโตะหายไป ไม่ใช่แค่โรงเรียนเล็ก ๆ แห่งนี้ที่มีลักษณะแปลกตาและแปลกไปจากโรงเรียนเก่าโต๊ะโตะจังมาก เพราะใช้ตู้โดยสารรถไฟเป็นห้องเรียน

          ตัวละครสำคัญอีกตัวละคร ครูใหญ่โคบายาชิ เป็นตัวละครที่สนับสนุนตัวละครหลักอย่างโต๊ะโตะจัง เป็นคนที่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับเด็ก ครอบครัวของครูใหญ่โคบายาชิอาจมีผลกับพฤติกรรมที่ดีของครูใหญ่ครูใหญ่เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัว จากลูก ๆ ทำให้นำไปสู่การเข้าใจเด็ก ๆ ที่โรงเรียน ซึ่งครูใหญ่โคบายาชิทำให้โต๊ะโตะจังมีพฤติกรรมการแสดงออกที่ดีขึ้นครูใหญ่แสนใจดีที่เข้าใจเด็กอย่างครูใหญ่โคบายาชิ เมื่อสังเกตให้ดีแล้วจุดสำคัญที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์สองคนทั้งสองจะอยู่ที่ครั้งแรกที่พบกัน และครั้งสุดท้ายที่จากลา ถึงในช่วงกลางจะเป็นช่วงที่ขัดเกลาพฤติกรรมแต่อาจจะไม่เห็นชัดเจนเท่าสองจุดนี้

          การพบกันครั้งแรกของโต๊ะโตะจังกับครูใหญ่โคบายาชิ “คุณครูใหญ่” (หน้า ๔๒)  ครั้งแรกที่เธอเข้ามาเพื่อสัมภาษณ์เข้าโรงเรียนใหม่ กลับไม่มีคำซักถามใดมีแต่เพียงเรื่องที่เธออยากเล่าให้ครูใหญ่ฟัง

          “เอาละ มีอะไรพูดกับครูก็ว่าไปเลย พูดทุกอย่างที่อยากพูดเลยนะ” (หน้า ๔๓)

          “เรื่องรถไฟที่เธอนั่งมาแล่นเร็ว เรื่องขอตั๋วรถไฟจากคนตรวจตั๋วแต่เขาไม่ให้ ...ฯ ” (หน้า ๔๕)

          นี่คือความเข้าใจในตัวผู้เรียนของครูใหญ่โคบายาชิ ที่สัมผัสถึงปัญหาของโต๊ะโตะจังตั้งแต่พบกันได้ไม่นาน และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วด้วยการรับฟังเธอ ผลที่ตามมาคือโต๊ะโตะจังเปิดใจยอมรับคุณครูและโรงเรียนแห่งนี้ มิฉะนั้นแล้วย้ายโรงเรียนกี่โรงเรียนก็ไม่เป็นผล และในท้ายสุดของเรื่องที่ทำให้ผู้อ่านซาบซึ้งใจ คือบทอำลาซาโยนาระ คำบอกลาของครูใหญ่โคบายาชิ คือสิ่งที่เปลี่ยนเด็กหญิงโต๊ะโตะจัง ไปตลอดกาล     “แล้วพบกันอีกนะ”, “ความจริงหนูเป็นเด็กดี” (หน้า ๒๕๐) นี่คือถ้อยคำของคนเป็นครูผู้ให้ชีวิตใหม่แก่โต๊ะโตะจัง ด้วยการเข้าใจเธอ สอนให้เธอเข้าใจตัวเองและผู้อื่น

          บริบทสังคมที่สำคัญในเรื่องโต๊ะโตะจัง แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์แสนสนุก ความแตกต่างของบุคคลซึ่งในยุคสมัยนั้นหาได้ยากยิ่งที่จะมีคนใส่ใจได้อย่างครูใหญ่โคบายาชิ และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่มาเกี่ยวพันกับช่วงที่เกิดสงครามทำให้เห็นความยากลำบากของผู้คน  การต้องอพยพนี้ภัยสงคราม วันเวลาผ่านไปความสนุกของโต๊ะโตะจังและนักเรียนคนอื่น ๆ เริ่มจางหายเพราะเกิดสงครามขึ้น โรงเรียนถูกลูกระเบิดขนาดใหญ่ทิ้งลงมากลางโรงเรียน ส่วนบ้านเรือนผู้คนก็ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากเช่นกัน จากนั้นผู้คนและเด็กๆ ต้องอพยพไปอยู่ที่อื่น กระทั่งสงครามสงบลงไปในที่สุด ผู้คนบางส่วนก็กลับมาซ่อมแซมบ้านเรือน บางกลุ่มก็ไปตั้งต้นใหม่ในเมือง แม้ว่าเวลาจะผ่านพ้นไปนานเพียงใด โต๊ะโตะจัง ไม่เคยลืมเรื่องราวของโรงเรียน    โทโมเอกับครูใหญ่ผู้ใจดีและเพื่อนที่น่ารักของเธอเลย เพราะทุกอย่างถูกบันทึกไว้ในความทรงจำตลอดกาล

          บริบททางการศึกษาใจความสำคัญของเรื่องโต๊ะโตะจังที่ว่าด้วยเรื่องของการศึกษา โรงเรียนโทโมเออาจเหมือนกับโรงเรียนทางเลือกในปัจจุบัน ที่มีการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นหลัก ให้ผู้เรียนเลือกในสิ่งที่ตนถนัดและอยากเรียน เน้นการลงมือปฏิบัติพบเจอสถานการณ์ในสภาพแวดล้อมจริง โดยกระบวนการทั้งหมดผ่านการจัดการเรียนรู้ของครูใหญ่โคบายาชิ  แต่ละบทที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนและการศึกษาและเป็นตัวอย่างที่ดี ที่จะเป็นนำมาเรียนรู้แก้ไขปรับใช้ในการเรียนการสอน อย่างในบทต้นๆ ของเรื่องที่ชื่อว่า

“ห้องเรียนที่เป็นตู้รถไฟ” และ “เรียนอะไรก่อนก็ได้” เป็นช่วงที่โต๊ะโตะจังต้องย้ายมาเรียนที่โรงเรียนโทโมเอความแปลกใจแรก คือ ห้องเรียนที่เป็นตู้รถไฟ เหตุผลที่ดูจะมีความสำคัญต่อเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก เพราะทุกอย่างดูตื่นเต้นน่าสนใจ สะท้อนผ่านคำพูดของโต๊ะโตะจัง

“ถ้าอย่างนี้ละก็ เวลาเรียนหนังสือจะเหมือนกับได้นั่งรถไฟเที่ยวไปด้วย”(หน้า ๕๓)  นี่จึงเป็นคำมั่นสัญญาที่โต๊ะโตะจังให้ว่า

“โรงเรียนดี ๆ อย่างนี้จะไม่ยอมขาดเรียนเลยสักวันเดียว” (หน้า ๕๔) และจุดที่แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนโทโมเอเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคือบท เรียนอะไรก่อนก็ได้ เพราะคาบเรียนของที่นี่ต่างจากที่อื่น นักเรียนทุกคนสามารถเลือกได้ว่าตนเองจะเลือกเรียนวิชาอะไรก่อนหลัง การกำหนดวิชาที่เรียนแล้วมีความสุขได้เองตามอารมณ์ที่ต้องการนั้น ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดนทุกอย่างมีครูใหญ่ โคบายาชิ คอยดูแลอยู่ใกล้ๆ และจำนวนนักเรียนที่น้อยนั้นการจัดการเช่นนี้จึงไม่เป็นปัญหา ในส่วนนี้เองที่ทำให้โต๊ะโตะจังและนักเรียนทุกคนได้ค้นพบตัวตนความฝันของตัวเอง  นอกจากอิสระที่โรงเรียนมีให้แล้ว ระเบียบวินัยและการใส่ใจในการใช้ชีวิตก็ยังคงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปลูกฝัง “เคี้ยวให้ละเอียด” (หน้า ๖๕)

บทที่พูดถึงเพลงที่นักเรียนโรงเรียนโทโมเอต้องร้องก่อนทานอาหารกลางวัน การเคี้ยวข้าวให้ละเอียด ถือเป็นการปลูกฝังวินัยและการใส่ใจในขณะทำกิจกรรมขั้นพื้นฐาน แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้เริ่มจากเรื่องเล็กๆ บทสำคัญที่สุดที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและจินตนาการของเด็กที่เกิดจากการศึกษาในโลกเรียนโทโมเอ

“ปิดภาคฤดูร้อน” (หน้า ๙๓) การแค้มปิ้งของครูใหญ่และนักเรียนที่ห้องประชุมโรงเรียนประสบการณ์ชีวิตที่น่าตื่นเต้นของเด็ก ๆ  “การผจญภัยครั้งใหญ่” (หน้า ๙๖) ที่โต๊ะโตะจังกับยาสึอากิจังปีนต้นไม้เล่นในโรงเรียน ทั้งสองเหตุการณ์อาจดูเป็นเรื่องธรรมดาของผู้ใหญ่แต่สำหรับเด็ก ๆ แล้วนั้น นี่เป็นความแปลกใหม่ที่ไม่เคยได้พบ เป็นโลกใบใหม่ที่พึ่งจะได้รู้จัก จินตนาการจึงถูกเติมเต็มได้ตามวัยที่ใช้เวลาตามสมควร


หมายเลขบันทึก: 687800เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2020 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2020 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท