ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

การพูดต่อหน้าที่ชุมชน การพูดต่อหน้าสาธารณะชน


การพูดต่อหน้าที่ชุมชน การพูดต่อหน้าสาธารณะชน

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก

www.drsuthichai.com

          การพูดที่ประสบความสำเร็จ คนพูดต่อหน้าที่ชุมชน ควรคำนึงถึง วัตถุประสงค์ของการพูดหรือเป้าหมายของการพูด

ซึ่งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการพูดมีอยู่ 3 แบบคือ

๑. แบบจูงใจหรือชักชวนหรือโน้มน้าว เป็นการพูดเพื่อจูงใจให้ผู้ฟังคล้อยตามผู้พูด เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความ

เชื่อและทัศนคติ การกระทำ เช่น การพูดในรัฐสภา , การพูดหาเสียงของนักการเมือง , การพูดให้บริจาคร่างกายหรือบริจาคเลือด  เป็นต้น

 ๒. แบบบอกเล่าหรือบรรยาย  เป็นการพูดเพื่อบอกเล่าหรือบรรยายหรือสอน เพื่อให้ผู้ฟังได้รับความรู้ ได้รับข้อมูลข่าวสาร เช่น ครู อาจารย์ สอนหนังสือในห้องเรียน , การเล่าข่าวในช่องข่าวต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากและผู้ฟังนิยมให้ผู้ประกาศข่าวเล่าข่าวมากกว่าการอ่านข่าวแบบเดิมๆ ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนานมากกว่า  เป็นต้น

 ๓. แบบบันเทิงหรือรื่นเริง เพื่อจรรโลงใจ เพื่อสร้างความบันเทิง ความสนุกสนาน อารมณ์ขันในการฟัง เช่น ทอล์คโชว์ , เดี่ยวไมค์โครโฟน เป็นต้น

              เมื่อนักพูดทราบว่าเรามีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการพูดแต่ละเวทีอย่างไร เราก็ต้องพูดให้ตรงกับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการพูด ก็จะประสบความสำเร็จ มากกว่าผู้พูดที่ไม่รู้จักวิเคราะห์วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการพูดและอีกประการหนึ่งนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ประสบความสำเร็จต้องรู้และปรับใช้การพูดของตนเองตามสถานการณ์ต่างๆเช่น ซึ่งการพูดต่อหน้าชุมชนมีอยู่ด้วยกัน ๔ ประเภท ดังนี้

๑. พูดแบบท่องจํา  คือ การเตรียมเรื่องพูดโดยการท่องจำ เนื้อหา สาระ มาพูด โดยพูดอย่างมีศิลปะให้ดูอย่างเป็นธรรมชาติ มีการใช้ภาษากายประกอบการพูด

 ๒. พูดแบบมีต้นฉบับ คือ การพูดไปอ่านเนื้อหาจากต้นฉบับที่ร่างเพื่อนำเอาไปพูด ซึ่งการพูดลักษณะนี้ ไม่ควรจะก้มหน้าก้มตาอ่านอย่างเดียว ผู้พูดควรมีการซ้อมพูดหรือฝึกพูดจากต้นฉบับมาก่อนหลายๆรอบ เพื่อให้การพูดแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติ

 ๓. พูดจากความเข้าใจ คือการพูดที่มีการเตรียมเนื้อหามาล่วงหน้า ผู้พูดต่อเข้าใจเนื้อหาของต้นฉบับเป็นอย่างดี ยิ่งเข้าใจถึงขั้นแตกฉานในเนื้อหาที่พูดผู้พูดก็จะสื่อสารได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นกันเองได้มากยิ่งขึ้น  

๔. พูดแบบกะทันหัน คือ เป็นการพูดที่ไม่ได้มีโอกาสเตรียมตัวไปพูดเลย ซึ่งผู้พูดประเภทนี้ต้องมีไหวพริบปฏิภาณ

ในการพูดสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ต้องพูดเพื่อให้คนฟังเข้าใจโดยมีการลําดับความคิด เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้น

โดยสรุปคือ ผู้พูดที่ประสบความสำเร็จในการพูดต่อหน้าสาธารณะชน มีดังต่อไปนี้

 ๑. ผู้พูดต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการพูดเป็นอย่างดี

๒.ผู้พูดต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟัง ว่าผู้ฟัง เป็นคนเพศใด วัยใด ระดับการศึกษาระดับใด  สถานภาพทางสังคม อาชีพอะไร

ความสนใจของผู้ฟัง ความคาดหวังและทัศนคติของผู้ฟังที่มีต่อเรื่องที่พูด

๓.เตรียมขอบเขตเนื้อหาของเรื่องที่จะพูด โดยคํานึงถึงเนื้อเรื่อง สาระ และระยะเวลาในการพูด ประเด็นสําคัญๆที่จะต้องพูด

๔.เตรียมข้อมูล ค้นคว้า หาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะพูดมาให้มากที่สุดซึ่งต้องอาศัย การค้นคว้าจากการอ่าน การฟัง การสัมภาษณ์ การสอบถามจากผู้รู้ที่มีความรู้และประสบการณ์

๕.ต้องเขียนสคิป เกี่ยวกับโครงสร้างของเรื่องที่จะพูดออกมาทั้งหมดว่าจะขึ้นต้นอย่างไร ตรงกลางอย่างไร สรุปจบอย่างไร โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านเวลา ผู้ฟัง สถานที่ ภาษาที่ใช้ ความเข้าใจง่าย ตรงประเด็น เหมาะกับสถานการณ์ที่จะพูด

๖. ซ้อมพูด ซ้อมพูด และซ้อมพูด เพื่อให้เกิดความมั่นใจในตนเอง ผู้พูดต้องมีการซ้อมพูด จงหาสถานที่ที่สงบๆ แล้วซ้อมพูด ออกเสียงออกมาดังๆ จงใช้ท่าทางประกอบการพูด ถ้าเป็นไปได้จงหาเครื่องถ่ายวีดีโอหรือกล้องวีดีโอจากโทรศัพท์มือถือถ่ายหรือบันทึกแล้ว เปิดออกมาดูจะได้รู้ว่า เราควรจะปรับปรุง จังหวะการพูดอย่าง เราควรจะแก้ไขภาษากายอย่างไรในการพูด

7.สุดท้าย เมื่อเราต้องพูดต่อหน้าที่ชุมชนจริงๆ เราจะต้องมีการหยืดหยุ่นหรือปรับตามสถานการณ์ เช่น เจ้าภาพให้เราพูด 1 ชั่วโมง แต่ปรากฏว่ามีรายการอื่นๆ เกิดขึ้นจึงเหลือเวลาให้กับเราแค่ ครึ่งชั่วโมง เราก็ต้องมีการปรับทอนเนื้อหาที่ไม่สำคัญออกเพื่อให้เวลาเหลือแค่ครึ่งชั่วโมง หรือ ช่วงเวลาที่เราพูดเกิดไฟฟ้าดับ เราก็ต้องมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ เป็นต้น

              ทั้งนี้ การพูดต่อหน้าที่ชุมชน เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ซึ่งเราทุกคนสามารถเรียนรู้กันได้ พัฒนากันได้ ฝึกฝนเพื่อเพิ่มทักษะกันได้ และเราทุกคนสามารถเป็นนักพูดที่ดีและประสบความสำเร็จได้ซึ่งขึ้นอยู่กับความตั้งใจ ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของแต่ละบุคคลนั้นเอง



หมายเลขบันทึก: 687236เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2020 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2020 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท