สุนทรียศาสตร์ ( AESTHETICS )


สุนทรียศาสตร์ ( AESTHETICS )

เป็นปรัชญาสาขาหนึ่งเกี่ยวกับความงามและสิ่งที่งาม. โดยศึกษาคุณค่าความงามตามประสบการณ์ของผู้รับรู้ในงานศิลปะและสิ่งเป็นธรรมชาติ.นี้คือทิศทางสุนทรียศาสตร์.

Aesthetics  มาจากภาษากรีก Aisthetikos แปลว่า รู้ได้ด้วยผัสสะ

สุนทรียธาตุ มี 3 คือ

1.ความงาม  (Beauty )

2.ความแปลกหูแปลกตา ( Picturesqueness )

3.ความน่าทึ่ง ( Sublimity )

สำหรับเนื้อหาของ Aesthetics  แบ่งเป็น 3 สาขาคือ

1.ปรัชญาสุนทรียศาสตร์ (The  Philosophy  of  The  Aesthetic )

เน้น : ศึกษาความงาม.  ความแปลกหูแปลกตา. ความน่าทึ่ง.

2.ปรัชญาศิลปะ ( The  Philosophy  of  Art )

 เน้น : คุณค่าความงาม 4 ระดับ  คือ

1.ระดับสัญลักษณ์ คือ  ผลงานทางสถาปัตยกรรม( Architecture )

2.ระดับคลาดสิค  คือ  ผลงานทางประติมากรรม( Sculpture )

3.ระดับโรแมนติก คือ  ผลงานทางจิตกรรม, ดนตรี ( Painting,music )

4.ระดับสูงสุด  คือ  ผลงานทางกวีนิพนธ์ ( poetry, poem )

3.ปรัชญาการวิจารณ์ ( The  Philosophy  of  Criticism )  เน้น : การตีความหรือการประเมินคุณค่าความงามทางศิลปะ

ทฤษฎีสำคัญทางสุนทรียศาสตร์

1.ทฤษฎีสุขารมณ์  หรือ  รตินิยม ( Pleasure  theory  or  Hedonism )

เน้น : ความชอบใจเฉพาะหน้าคือเป้าหมายชีวิต  คนฉลาดย่อมกอบโกยเอาความชอบในในทุกโอกาส.

2.ทฤษฎีการถ่ายแบบของพลาโต้และอริสโตเติล ( Imitation  theory  in  Plato  and  Aristotle )  เน้น : การถ่ายแบบ. เพราะภาพเป็นตัวแทนที่แท้จริงของวัตถุ.  การวาดรูปเหมือนจริงต้องค้นหารูปแบบตายตัวและสังเกตลักษณ์ท่าทางของสิ่งนั้นเช่น คน เสือ  ม้า มีท่าทางอย่างไร.

3.ทฤษฎีการสำแดงพลังอารมณ์ (The  Expression  Theory ) เน้น : ผลงานทางศิลปะที่กระทบจิตใจผู้ชมให้มีอารมณ์ร่วมในผลงานนั้น.

4.ทฤษฎีรหัสยะ  ( The  Mystic  Theory )  เน้น : ผู้มีสัมผัสพิเศษจึงเข้าใจในคุณค่าความงามได้.

5.ทฤษฎีจิตวิสัย  (Subjectivist  theory )  เน้น : ความงามตามผู้รับรู้. เช่น เราชอบสิ่งใดสิ่งนั้นก็งามสำหรับเรา.

6.ทฤษฎีวัตถุวิสัย ( Objectivist  theory ) เน้น : ความงามตามวัตถุที่เราเห็น. มันเป็นคุณสมบัติของงานทางศิลปะ.มันไม่ขึ้นอยู่กับคนชอบหรือไม่ชอบ.

.......................................................

หมายเลขบันทึก: 683876เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2020 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ตุลาคม 2020 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ คุณศุภณัฐ เจตน์ครองสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท