เรียนคณิตศาสตร์เพื่ออะไร



บ่ายวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๓ ผมเข้าร่วม online PLC ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง    จัดโดย มูลนิธิสยามกัมมาจล และ กสศ.    เพื่อเรียนรู้สาระในหนังสือ ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง บทที่ ๖ การเรียนรู้ระดับลึก (๑)

วันนี้ครูสุ (สุภาพร กฤตยากรณ์นุพงศ์) ครูแกนนำ โรงเรียนเพลินพัฒนา เล่าเรื่องการสอนคณิตศาสตร์ ป. ๓    ให้นักเรียนได้เรียนรู้เศษส่วนจากการทำกิจกรรมแผงไข่   ปรับปรุงเรื่อยมาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๙  จนถึง ๒๕๖๓    จึงเป็นการเล่า CQI – Continuous Quality Improvement ของวิธีสอนของครูสุ     

เมื่อครูให้โจทย์ให้นักเรียนเรียงไข่ ตามสัดส่วน เช่น ๑/๕, ๑/๖, ๒/๕    เอาผลของนักเรียนแต่ละคนมาเปรียบเทียบกัน   ให้นักเรียนได้เรียนรู้จากกันและกัน    โดยครูช่วยตั้งคำถามแก่นักเรียนที่ยังงง    จนในที่สุดนักเรียนทำได้  และอธิบายเลขเศษส่วนได้    ตามเรื่องเล่าของครูสุ (

เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ    แล้วนักเรียนตีความเองเกิดเป็นความรู้เชิงทฤษฎีว่าด้วยเศษส่วน    ที่ทรงพลังมาก

ผมให้ความเห็นต่อที่ประชุมว่า  เด็กเรียนคณิตศาสตร์เพื่ออะไร    ตอบว่า ไทยเน้นเรียนเป็นเทคนิค เพื่อบวกลบคูณหารคิดเศษส่วนถอดรู้ทเป็น    ส่วนญี่ปุ่นเน้นเรียนเพื่อฝึกคิดเป็นนามธรรม หรือคิดเชิงคณิตศาสตร์    ผมคิดว่าถูกทั้งสองแบบ แต่ควรจะในสัดส่วน ๓๐ : ๗๐   คือเรียนเพื่อความรู้เชิงเทคนิคมีน้ำหนักน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง

หากจะให้เรียนสู่ระดับรู้เชื่อมโยง (transfer) ต้องเน้นเรียนเพื่อฝึกคิดมากกว่า   

วิจารณ์ พานิช

๓ ก.ย. ๖๓


Story krusu from Pattie KB
หมายเลขบันทึก: 683682เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2020 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2020 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I have a different opinion about mathematics and its aspects. First we should know about history of mathematical concepts - why they come to be. Second we should be able to ‘generalize’ or apply these concepts to further understand and solve problems - (this is very much) how to use these concepts as tools. Third we should think with more precision - we must learn to observe and be more exact in admitting conditions. {This is the basic of set theories: what is ‘in’ and what is ‘not’; what are the constraints of tools, we use to solve problems!}

All others like theories, operations, logics, models, patterns,… are techniques.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท