??? 4.0 ??? ตอนที่ 1


สวัสดีครับ บทความนี้คาดว่าจะเขียนเป็น 3-4 ตอนจบ ก่อนอื่นต้องขอกล่าวเกี่ยวกับพื้นหลังของบนความนี้ก่อน
--เมื่อนานมาแล้ว ได้ยินว่าจะมีการนำเข้าและให้การสนับสนุน 4.0 มาใช้ในประเทศ ก็คิดจะเขียนบนความนี้ตั้งแต่ตอนนั้น แต่พอมาคิดๆ ดู ก็น่าจะให้ผ่านไประยะหนึ่งก่อนก็น่าจะดี เพราะผมอาจมีความคิดเห็นต่าง และความเห็นต่างของผมอาจผิดก็ได้ ก็เลยไม่ได้เขียนในเวลานั้น
--แต่ฟางเส้นสุดท้ายก็มาถึง.....เมือมีผู้บริหารระดับสูงท่านหนึง ใช้ 4.0 มาชูเป็นผลงานอย่างหน้าชื่นตาบาน จึงอยากแช่ความคิดเห็น ที่เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลให้อ่านๆ กัน
--ก่อนอื่น...4.0 นั้น สำหรับผมแล้วผมได้รู้จักเทคโนโลยีนี้มามากกว่า 20 ปี ในสมัยนั้น เรียกกันว่า No Man Technology และถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่แพงมาก เนื่องจากบริบทการนำมาใช้เทคโนดลยีนี้ต้องสร้างใหม่ทั้งหมด ไม่เหมือนปัจจุบัน ได้มีการมีเทคโนโลยี บริบทนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย
--4.0 นั้น คือการรวมเทคโนโลยีบริบทมาประกอบใช้ร่วมกัน ส่วนใหญ่แล้วเพื่อนำมาใช้อำนวยความสะดวก ใช้ในการทำงานที่ซ้ำ ๆ และงานที่ดูเหมื่อนไร้สาระ เช่น การจับตา หรือการเฝ้าระวัง ต่างๆ เป็นต้น แต่เดียวขอขยายความบริบทเทศโนโลยี หมายถึง เทคโนโลยีเครื่องมือ เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่มีการเอื้อการใช้งานแบบกึงอัตโนมัติ และอัตโนมัติ รวมถึงระบบที่ใช้อยู่ไม่สามารถใช้ได้ ก็จัดหาดัดแปลงใส่เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไปเพื่อจะให้ใช้งานได้
--เพื่อให้สามารถเข้าใจยิ่งขึ้น ผมขอแชร์ประสบการณ์ การจับตา หรือการเฝ้าระวัง โดยการใช้ระบบสารสนเทศ (ผมได้ดำริสร้างหลักสูตรสาขาวิชา ระบบสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม) มาเป็นตัวอย่าง แบบเข้าใจง่ายๆ ยกตัวอย่างงานที่ นศ. (ภาคสมทบบุคคลที่ทำงานอยู่มาศึกษาต่อภาคค่ำ) นำไปใช้ในโรงงานที่ทำงานอยู่ ขอยกตัวอย่างพอสังเขป (ถ้าเต็มระบบก็จะเยาะมาก เป็นงานวิจัยได้เลย) ระบบเป็นโรงงานประกอบสินค้า
**ในที่นี้ยกตัวอย่าง 4 กระบวนการประกอบ กระบวนการประกอบมีคนทำงาน 10 คน ทั้งหมด 40 คนทำงาน ได้มีการนำคอมพิวเตอร์ตกรุ่นในโรงงานมา 1 เครื่อง และเพิ่มอุปกรณ์รับสัญญาณดิจิตอล (เปิด-ปิด) เข้าไปในเครื่อง  เข้าไปในตำแหน่งของผู้ปฏิบัติงาน 1 ปุ่มกด
***วิธีการก็คือ ทุกครั้งที่พนักงานประกอบเสร็จ 1 ชิ้น ให้พนักงานกด 1 ครั้ง เมื่อได้ข้อมูลการกด ก็จะได้จำนวนชิ้นที่ประกอบของแต่ล่ะคน เราจะพบข้อมูลที่เป็นยสารสนเทศเป็นตัวอย่าง 3 ตัวอย่างสารสนเทศดังนี้
สารสนเทศ 1 จำนวนชิ้นของคนที่ประกอบเสร็จ ต่อคน แล้วนำว่าประมวลผล เป็นจำนวนชิ้นทั้งหมดต่อ พนักงานนั้นๆ สิ่งที่ทราบว่าพนักงานคนใดทำเยาะทำน้อย ต่อ หน่วยเวลา(วัน) [แนวคิดส่วนตัว...อนาคตอาจใช้วิธีให้เงินเดือนประจำเป็นฐานเงินเดือนเท่ากันหมด แต่มีการนับจำนวนชิ้นของพนักงานแต่ล่ะคน แล้วให้เป็นค่าประกอบต่อชิ้นนอกเหนือจากเงินเดือนประจำ เช่น ชิ้นล่ะ 1 บาท ใครทำได้มากก็ได้ค่าตอบแทนเพิ่มมาก สิ่งที่คาดว่าจะได้ พนักงานจะทำงานเต็มประสิทธิภาพ ยิ่งทำมากก็ได้ค่าตอบแทนมาก ผลข้างเคียงคือ เมือพนักงานทำเต็มความสามารถทำให้ได้ชิ้นงานเพิ่มขึ้นในแต่ล่ะวัน ส่งผลให้พนักงานทำจำนวนมาก จำนวนตามกำหนด ไม่ต้องเพิ่มพนักงาน หรือให้พนักงานทำ OT ส่วนพนักงานทำงานเวลาปรกติ แต่ได้ค่าตอบแทนเท่ากับต้องทำ OT ]
สารสนเทศ 2 จำนวนชิ้นรวมของพนักงานทุกคนทั้งหมดใน 1 กะ (รอบการทำงาน) สื่งที่ทราบ สามารถนำมาเปรียบเทียบระหว่างกะ เช้า/บ่อย/ค่ำ ประเมินการทำงานระหว่างกะ ว่ากะไหนมากน้อย หากแตกต่าง จะได้แก้ปัญหาว่าทำไมน้อย และจำนวนชิ้นที่คาดว่าจะได้ใน อนาคต สามารถคาดถึงจำนวนที่ทำในแต่ล่ะวัน ว่าจะทำได้ทันกำหนดส่งสินค้าหรือไม่ แก้ปัญหา เพิ่ม-ลดพนักงาน ให้ OT หากทันก็สามารถลด OT [สมัยที่ผมทำงานโรงงาน มีปัญหาอยู่เนืองๆ ว่า กะดึกมักได้งานน้อยกว่า กะ เช้า แต่ชี้ชัดลำบาก เพราะไม่มีตัวเลขแน่นชัด ถ้านำวิธีนี้เข้าไปใช้ก็คงดีแก้ปัญหานี้ได้]
สารสนเทศ 3 จำนวนชิ้นของ แต่ล่ะกระบวนการประกอบ เนื่องจากกระบวนการที่การปฎิบัติงานที่แตกต่างกัน มียากง่ายใช้เวลาต่างกัน สิ่งที่ทราบกระบวนการไหนช้า ควรเพิ่มคน กระบวนการไหนเร็วควรลดคน เป็นการปรับแต่งกำลังคน ยกตัวอย่างการวิเคราะห์ กระบวนการที่ 1 ประกอบ 10 ชิ้นต่อ 1 ชม. กระบวนการที่ 2 ประกอบได้ 9 ชิ้นต่อ 1 ชม. จะพบว่า ในทุกๆ 1 ชม. ระหว่าง กระบวกการที่ 1 ไปยังกระบวนการที่ 2 จะมีของตกค้าง 1 ชิ้น ทุกๆ ชม. (คอขวด) เพิ่มคนในกระบวนการที่ 2 หรือลดคนในกระบวนการที่ 1 หรือนำคนในกระบวนการที่ 1 ไปอยู่ในกระบวนการที่ 2 เป็นการจูนระบบให้มี การผลิตที่ลื่นไหล [ทางวิศวกรรมเรียกกันว่า ระบบ Pine Line]
สารสนเทศ 4... ยังมีอีก......แต่ขอยกแค่ 3 ตัวอย่างในแง่ตัวอย่างเชิงประจัก กับตัวพนักงาน ยังมีต่อระบบ ต่อเครื่องมือ/อุปกรณ์ วัสดุที่ถูกใช้ แต่การผลิต การสำรอง คงคลัง สถิติ การสูญเสีย การควบคุมคุณภาพอีกอื่นๆ อีกมากมาย [เช่น ด้านประสิทธิผล หากนำเวลา/เดือน โดยละเอียด มาคิดวิเคราะห์ อาจทราบถึงว่า ช่วงเวลาใน1วัน หรือช่วงเวลาเทศกาลไหน ปล่อยให้หยุด หรือ ควรผลิตงานเพิ่มหรือไม่ เดือนไหนไหนได้ผลผลิตที่ดี ควรให้หยุดพักหรือยัง พักแค่ไหน ตอนไหนต่างๆ ทุกข้อมูล มีผลต่อการผลิต โดยเฉพาะต้นทุนการผลิต การพยากรณ์ ผลผลิต ต่างๆ มีผลทั้งสิ้น ด้านบุคคล เช่น รู้ถึงพนักงานหญิงมีรอบเดือนทำงานไม่ได้ ควรให้หยุดวันไหน มาทำงาน ให้ทำชดเชยวันไหน]
จากตัวอย่างข้างต้น  ขอสรุปว่า หากเราเข้าใจระบบกระบวนการณ์ แล้วนำเทศโนโลยีเข้าไปจับแล้ว ระบบที่ทำงานอยู่นี้ ก็จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพิ่มประสิทธิผล ลดปัญหาในการทำงาน โดยเฉพาะลดตนทุนการผลิต ส่งผลให้ลดราคาสินค้า สู่กับตลาดโลกได้
อนึ่ง...เนืองจากผมทำงานเอกชน มามากกว่า 10 ปี แล้วทำงานด้านวิชาการมากว่า 10 ปี และเป็นผู้ประกอบการมากว่า 10 ปี รวมถึงงานให้คำปรึกษา และวิเคาระห์งาน ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนอยู่เนืองๆ ในช่วงเป็นอาจารย์ จึงมีดำริที่จะสร้าง หลักสูตรในสาขาสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองจาก เพื่อนร่วมงาน และผู้บริหาร คงกล่าวโทษท่านหล่าวนี้ไม่ได้ ผมคิดว่าอาจเป็นเพราะ นักวิชาการส่วนใหญ่ ไม่เคยออกนอกระบบ ไม่เคยทำงานโรงงาน ไม่พบประสบการณ์จริง จึงมองไม่ออกว่าจะใช้ประโยชน์ได้อย่างไร..... แต่ผมก็คิดว่ายังไม่สายที่จะทำหลักสูตรนี้น่ะครับ....
*****เกือบลืม...จากการนำระบบเข้าใช้ในโรงงานของ นศ. เริ่มต้นพบว่ากระบวนการประกอบ ในโรงงานสูงขึ้น 20%-30% เนืองจากพนักงานกลัวความผิด กลัวโรงงานพิจารณาผลงาน เพราะเดิมทีมีพนักงานทำน้อยทำมาก เกี่ยงกัน เกิดการเปรี่ยบเทียบพนักงานด้วยกัน พนักงานที่ทำน้อยก็เกรงความผิดว่าอู้งาน ทำบ้างไม่ทำบ้าง ไปห้องน้ำบ่อย หายหัวไปทีนานๆ ไปสูบบุหรี ดื่มน้ำ สุมหัว มีงานเข้ามาไม่รีบหยิบมาประกอบ ทำทีประกอบแต่ช้ากว่าพนักงานอื่น เพื่อได้ทำ OT เคยทำ OT ก็ลดลง โดยเฉพาะเมือมีการนำข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างกะ พบว่าแต่ล่ะกะ ทำงานปริมาณงานไม่เท่ากัน ก็มีการจัดการแลกเปลี่ยนพนักงานระหว่างกะ เพื่อสร้างสมดุลของพนักงาน ให้ได้ปริมาณใกล้เคียงกัน สรุป ได้ปริมาณงานมากขึ้น OT ก็น้อยลง [ในช่วง OT จึงประสิทธิผลสูงสุด เพราะพนักงานที่ได้รับทำ OT ก็เลือกจากคนที่มีสถิติประสิทธิผลสูง]
ขอจบตอนที่ 1 แบบห่วนๆ เพียงเท่านี้ก่อน ยาวเกินไปจะไม่มีใครอ่าน.......ต้องไปทำงานอื่นก่อน เดียวจะอดตายสักก่อนน่ะครับ.......หากมีเวลาจะมาเขียนตอน 2 น่ะครับ สวัสดี


หมายเลขบันทึก: 682906เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2020 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2020 10:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท