โครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหาร หลักสูตร “ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0 และกิจกรรมลงพื้นที่ศึกษา “ศาสตร์พระราชา” และ“ดอยตุงโมเดล” ณ จังหวัดเชียงราย สำหรับกลุ่มที่ 3 ระหว่างวันที่ 21-23 กันยายน 2563


เรียน    ผู้เข้าร่วมโครงการ

ตามที่ท่านได้ตอบรับเข้าร่วมอบรมในโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหาร หลักสูตร “ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0 และกิจกรรมลงพื้นที่ศึกษา “ศาสตร์พระราชา” และ“ดอยตุงโมเดล” ณ จังหวัดเชียงราย สำหรับกลุ่มที่ 1 3 ระหว่างวันที่ 21-23 กันยายน 2563   

ผมในฐานะผู้อำนวยการโครงการและเป็นตัวแทนในนามของ Chira Academy และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศใคร่ขอขอบคุณอย่างสูงที่ท่านให้เกียรติและความไว้วางใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการในครั้งนี้

ผมและคณะผู้จัดฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะได้รับสาระ ความรู้ แรงบันดาลใจและช่วงเวลาของการเรียนรู้อย่างมีความสุขในกิจกรรมครั้งนี้

จีระ หงส์ลดารมภ์

--

วันที่ 21 กันยายน 2563

กิจกรรมบทเรียนประจำวันครั้งที่ 1

โจทย์

ท่านได้เรียนรู้หลักการทำงานอะไรของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง

คุณกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์

ต้องเข้าใจ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ไม่ควรทำในสิ่งที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

2 ครั้งที่ผ่านมา ต้องนำความหลากหลายของคนในกลุ่มมาเป็นพลังอย่างที่สมเด็จย่าเรียกว่า ดอกไม้หลากสี หรือที่ผมเรียกว่า Value Diversity ต้องพยายามให้ทุกคนได้ออกความเห็น

เมื่อได้ศาสตร์พระราชาไปแล้ว ต้องเปลี่ยนแปลงตนเองก่อน แล้วจะเปลี่ยนแปลงองค์กรและกระทบชุมชนได้

ยุคต่อไปต้องหารือกัน สนใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อหาทางออก 

ถ้าออกความเห็นในบรรยากาศที่ดี ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้น

ต้องใช้ Teamwork มาคุยกัน สิ่งสำคัญคือ Team Learning

ดร.เพชญ์ ภัคโชตานนท์

อาจยกกรณีศึกษาโครงการหลวงแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับงาน

ผลการนำเสนอ Workshop 

กลุ่ม1 แสงสว่าง

เราจะนำแสงสว่างมาสู่ประเทศไทย

เรามาที่นี่ได้ความรู้หลายอย่างโดยเฉพาะศาสตร์พระราชาที่ปฏิบัติได้อย่างยั่งยืน

เราชอบ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

เข้าใจแก่นแท้ปัญหาคือเขาหัวโล้น ล้วงลึกปัญหา เช่น เจ็บ จน ไม่รู้

จะปรับใช้

-เรื่อง Man บุคลากร

-Machine เป็นธุรกิจของเรา

เราต้องเข้าถึงแก่นปัญหา รู้ว่ามีชนกลุ่มน้อยหลายเผ่า โครงการหลวงให้บัตรรับรองสิทธิ์ ที่ไร่กาแฟให้ชาวบ้านร่วมเป็นเจ้าของแสดงความเป็นธรรมต่อเขา

เราต้องรู้ปัญหารอบด้าน รู้ลึกถึงหลายปัญหา

เข้าถึงดอกไม้หลากสี

ภาคใต้หลายวัฒนธรรม ไม่ต่างจากภาคเหนือ เข้าใจรากเหง้าปัญหา ก็แก้ปัญหาได้

ข้อมูลต้องเพียงพอ อย่ารอรายงานข้อมูลจากกระดาษ เพราะทำให้ไม่เข้าในรากเหง้าของปัญหา

ต้องเข้าใจบริบทนาย ลูกน้อง ต้องมีเป้าหมายร่วมกันคือองค์กร มีคุณธรรม ความเสียสละเพื่อแก้ปัญหา

ท่านผู้ว่าการกล่าวถึง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข เราก็ต้องให้ความเป็นธรรม

คุณกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์

เรื่องนี้เป็นความเข้าใจของแต่ละคน แต่ก็เข้าใจในระดับหนึ่ง

อดีตอธิบดีกรมแรงงานสัมพันธ์บรรยายว่า ภายใต้อำนาจเราสามารถสั่งคนไปทำอะไรก็ได้ หลายครั้งหัวหน้าข้ามหัวเราเพราะต้องการข้อมูลที่เร็วและไม่ปรุงแต่ง ในความเป็นจริง คนที่ได้รับคำสั่งไม่จำเป็นที่ต้องรายงานหัวหน้าของตนเอง ประเด็นคือ ทำงานอย่างไร ต้องอาศัยความเป็นผู้นำคือ ความสามารถที่ทำให้คนอื่นทำในสิ่งที่เขาควรจะต้องทำ เรียกว่า การใช้เจ้านายให้เป็น

ต้องถามว่า ท่านมีอำนาจในการทำหรือไม่และต้องมีความเหมาะสมในการทำ แต่ไม่ทำอะไร ก็ไม่ควรอยู่ในตำแหน่ง แต่ละงานก็มีความเสี่ยงต่างกันไป เวลาสตง.มีอำนาจ เขาก็ต้องมีเหตุผลในการสั่งการ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จาก workshop รุ่น 3 แลกเปลี่ยนความเห็นกันละเอียด ทำให้แลกเปลี่ยนอย่างมีคุณภาพ

อย่าประชุมมากไป Peter Drucker บอกว่า การเถียงมากทำให้หมดแรง

จากประสบการณ์ มีกฎมหาวิทยาลัยคือ ทำวิจัยแต่จ่าย honorarium ไม่ได้ ใครจะมาทำวิจัย

ขอสนับสนุนกลุ่มนี้ที่นำแนวคิดศาสตร์พระราชาไปใช้

ดร.เพชญ์ ภัคโชตานนท์

กฟผ.อยู่มา 50 ปี กิจกรรมมาก แต่ชาวบ้านไม่ทราบว่า ทำไมยังต้องมีกฟผ. อยู่ ทำอย่างไรให้ชาวบ้านเข้าใจว่า กฟผ.ยังอยู่เพื่อความมั่นคงไฟฟ้า ต้องคิดพันธกิจตรงนี้

อาจารย์สมศักดิ์

บรรยากาศดี มีการระดมสมองกัน

กฟผ.แพ้ยุทธศาสตร์ของ NGOs อยากให้ปรับ

กฟผ.แพ้ประชาสัมพันธ์ ต้องสื่อให้ประชาชนเข้าใจ

ควรคิดนอกกรอบบ้าง

ตอนนี้กฟผ.โดนโจมตีเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหิน ควรดูว่า ดอยตุงชนะใจมวลชนและอยู่อย่างยั่งยืนได้อย่างไร

ผมสอนนักศึกษาแล้วพาไปดูเหมืองกฟผ. แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านทราบ

ควรเปิด CCTV online ให้ประชาชนทั่วประเทศเห็น

คุณอมรรัตน์ บังคมเนตร

การมีข้อมูลจริงสำคัญ

ในการทำงานพัฒนา ต้องมีข้อมูลที่แม้จริง เพื่อให้เกาถูกที่คัน

การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการพัฒนาต้องมาจากตั้งแต่ให้ชาวบ้านร่วมคิด ต้องให้ชาวบ้านบอกปัญหา ต้องถามเขาว่าคิดจะแก้ปัญหาอะไร ถ้าเขาคิดและทำ ในที่สุด เขาจะเป็นเจ้าของ รู้สึกหวงแหนและผูกพัน

เราจะเน้นคุยกับชาวบ้าน ค้นหาปัญหาแล้วนำไปแก้ปัญหาระดับบน

สมเด็จย่าพาทำ ผู้นำทำให้คนอื่นทำตาม ช่วยกันทำ

ข้อเสนอแนะจากกลุ่ม 2 ขึ้นดอยสอยดาว        

พูดดีมาก เห็นด้วยอย่างยิ่ง เป็นสิ่งที่เราเห็นร่วมกัน

กลุ่ม 2 ขึ้นดอยสอยดาว        

เคยบรรยายเรื่อง Lean ของกฟผ. งานที่เราทำเป็นงานเล็กๆแต่กระจายแผ่ออกไป ถ้าทุกคนทำ ก็ลดงานกฟผ.ไปเรื่อยๆ

จากการเรียนศาสตร์พระราชาที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง

ทำไมเลือกที่นี่ เพราะสมเด็จย่าชอบสกี และที่นี่คล้ายเลคเจนีวา นอกจากนี้พื้นที่นี้มีปัญหาที่แท้จริง เป็นเขาหัวโล้น ทำอะไรต้องรู้ให้จริง รู้ให้ลึก รู้ให้ชัด ต้องสำรวจจริง เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลจากคนในชุมชนเหล่านั้น ให้เขาบอกว่า ปัญหาเขาคืออะไร แล้วให้เขาแก้เอง เช่น ศูนย์บำบัดผาหมีทำให้เขาเห็นปัญหา ต้องทำให้ชุมชนพร้อมแก้ปัญหาด้วยตนเอง ทำให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ

3S อยู่รอด พอเพียงและยั่งยืน เราจะนำมาปรับใช้กับเราอย่างไร

วันนี้เราเรียนรู้การประมาณตนเอง อยู่ตรงไหน ทำอะไร เรามาเรียนรู้ ได้อะไรกลับไปมาก เราประมาณตน มีเหตุผลมากขึ้น

เราต้องมีแรงบันดาลใจกลับไป แล้วจะมีพลังกลับไปบอกคนอื่นว่า ควรจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ต้องเริ่มจากจุดเล็กๆ แล้วเกิดจุดใหญ่ๆต่อไป

ที่นี่ไปหาแนวร่วมมาร่วม ทำให้เห็นผลสำเร็จ ทำได้จริงแล้วให้ชาวบ้านไปทำต่อ

กฟผ.ต้องทำให้ชาวบ้านเห็น

เราอยากกลับไปพัฒนางานให้ดีขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชยทั้ง 2 กลุ่ม กลุ่มแรกสาระมาก มีประโยชน์มาก กลุ่ม 2 วิธีเสนอน่าสนใจและนำไปเป็นประโยชน์ได้

ชอบบรรยากาศวันนี้

มีการปะทะกันทางปัญญา นำเสนอสิ่งที่มีคุณค่า อยากให้สิ่งที่เสนอวันนี้เป็นขั้นที่ 1

ถ้าเรานำศาสตร์พระราชาไปประยุกต์กับกฟผ. จะเป็นประโยชน์

ผู้นำเสนอมีศิลปะการพูด

ทีมงานทำได้ดี

คุณกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์

สิ่งสำคัญคือข้อมูลจริง

เราเคยได้รับการขอให้ไปบำบัดน้ำเสียที่คลองเปรม มีการบำบัดโดยธรรมชาติ แต่ระบบปัจจุบันทำให้น้ำเสีย ต้นเหตุน้ำเสียจากหมู่บ้านใกล้เคียง ข้อมูลที่พบคือ คลองเปรมสามารถช่วยระบายน้ำเสียได้ มีการไปเก็บขยะพลาสติกก่อน ทำให้ทราบว่า ต้องแก้ที่ต้นเหตุคือ หมู่บ้านไม่มีระบบการบำบัด ต้องกำจัดขยะอินทรีย์ ถ้ากำจัดได้ ก็ลดสารอินทรีย์ลง

ดีใจที่ดู 1 วันรู้เรื่องได้เท่านี้

คุณอมรรัตน์ บังคมเนตร

อาจารย์สมศักดิ์บอกว่า การสื่อสารสำคัญ

ชอบหลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

การเข้าใจคือ คุณชายบอกว่า ทีมเราเข้าใจเป็นเรื่องเดียวกันหรือยัง เรารู้จักคนที่จะคุยด้วยหรือไม่ จะคุยอะไร ทำอย่างไรให้เขาเข้าใจเรา

การสื่อสารเป็นความสำเร็จของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ถ้าสื่อสารชัดเจน ก็จะนำมาสู่การมีส่วนร่วมของชุมชน แล้วเขาจะให้ข้อมูลที่จริง แล้วเราจะแก้ปัญหาได้ ต้องให้เขาคิด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทั้งสามกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนกัน บางเรื่องต่อยอดได้

กลุ่มแรกเน้นประยุกต์กับกฟผ.คือ เน้นให้กฟผ.เป็นเจ้าของ ต้องปลูกคนแล้วปลูกป่า

ต้องพัฒนาคนให้มีความจงรักภักดี เรื่องคนไม่สำคัญเท่าเทคโนโลยี ถ้านำศาสตร์พระราชามาเป็นตัวอย่าง ต้องสนใจเรื่องคน

กลุ่มนี้พูดถูกว่า คนไม่มีความสุขในการทำงาน ยกย่องกัน เขจ้านายเน้นสั่งการ ถ้าเริ่มเปลี่ยนได้ ก็ดี Man and Machine ด้วยวัฒนธรรมวิศวกรรมเน้นการครอบงำคน ต้องเปลี่ยนเป็น people culture ปลูกคนก่อนปลูกป่าใช้ในการวิเคราะห์ต่อไปได้

เราควรไปคุยกับชาวบ้านในอนาคต

วันนี้เป็น workshop ที่ทุกคนมีส่วนร่วม

คุณกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์

คิดแบบเดิม ทำแบบเดิม เราจะเป็นหน่วยงานแห่งความทรงจำ

รัฐวิสาหกิจก็พังได้เพราะสิทธิพิเศษ ไม่เข้มแข็ง ศาสตร์พระราชาบอกว่า การให้เปล่า ให้ฟรี เป็นการทำลายความเข้มแข็ง วันนี้ การบินไทย ก็เป็นแบบนั้น

อยากเห็นกฟผ.เป็นหน่วยงานแห่งการสร้างแรงบันดาลใจ ต้องทำให้สังคมเห็นว่า เรามีคุณค่าต่อเขา แล้วเขาจะปกป้องเรา เราสำเร็จได้ด้วยเทคนิค แต่อยู่ได้ด้วยเรื่องสังคม

กฟผ.ควรยกพื้นที่ให้คนทำตลาด เช่น เราทำสัญญาให้เขาขายของแล้วหาคนมาเที่ยวให้ได้ ศาสตร์พระราชาเน้นให้หาความรู้ ต้องมีการเน้นเครือข่าย บางเขื่อนนำททท.มาเป็นพันธมิตรทำตลาดการท่องเที่ยว ต้องเป็นการใช้เครือข่ายที่มีศักยภาพ ทำให้มีเพื่อน การบอกปากต่อปาก พูดคนเดียวคนหมั่นไส้

คุณอมรรัตน์ บังคมเนตร

เวลาให้คนอื่นมาร่วมทำงาน ควรให้คนอื่นได้หน้าไป อะไรที่เป็นประโยชน์ก็ให้เขาไป เรารู้ว่า เราทำเพื่ออะไร

ข้อเสนอแนะจากกลุ่ม 3

เราได้ซึมซับสิ่งดีๆแม้จะมาอยู่ในระยะเวลาสั้นๆ ทั้งสองกลุ่มถ่ายทอดได้เยี่ยมมาก

กลุ่ม 3 ช้างมูบ

หอแห่งแรงบันดาลใจทำให้เห็นศาสตร์พระราชา 3 ห่วง 2 เงื่อนไข มีคุณธรรมราชสกุลมหิดลเป็นเงื่อนไขให้เกิดศาสตร์พระราชา

โครงการกระราชดำริเป็นพระอัจฉริยภาพของพระองค์ ถ่ายทอดเป็นพระราโชบายและหลักการทำงานของมูลนิธิฯต้งแต่ปี 2530

สิ่งที่มีในการแก้ปัญหาคือ ข้อมูลจริง เกิดจากากรเก็บข้อมูล นำไปวิเคราะห์ ต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่กรณีกฟผ.บางเรื่องต้องเปลี่ยนเร็ว

ต้องมี Quick Win ต่อเนื่องเป็นกำลังใจ ต้องมีโครงการเล็กๆตลอดทาง

ถ้าจะแก้ปัญหาได้ ต้องเริ่มจากสิ่งที่ควบคุมได้ก่อน

สิ่งที่ประทับใจมากคือ KM เรื่องแม่เรียนจากลูก สามารถปรับใช้กับกฟผ.ได้

การเริ่มต้นเกิดตลอด ไม่มีข้อจำกัดด้านอายุ ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

เราต้องมองความสำเร็จเป็นภาพใหญ่องค์กร

การแก้ปัญหาต้องมีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ เช่นการเช่าต้นกาแฟ

เราต้องมี Sandbox ต้องทดลองก่อน เห็นความสำเร็จจริงแล้วค่อยนำไปใช้

กฟผ.กำลังเผชิญการ transform เตรียมความพร้อมสำหรับ transform

ปัญหาที่เจอคือ จะถูกบอนไซ ต้องหาข้อมูลต่างๆแล้วิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริง อะไรควบคุมได้ มีการบูรณาการหรือไม่หรือมีแต่ bureaucracy จะทำให้นโยบายต่างๆเป็นประโยชน์ต่อกฟผ.ได้อย่างไร

วิเคราะห์ปัญหาแล้ว เริ่มจากสิ่งที่ควบคุมได้ ให้มีความสำเร็จเติมเต็มไปเป็นกำลังใจ

ถ้าไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ก็จะเกิดแรงต้าน

หลักคือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

เข้าใจข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ วิจัย

เข้าถึงคือ ระเบิดจาดข้างใน เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย

พัฒนาโดยเริ่มจากตนเอง สร้างเป็นองค์ความรู้ตนเอง

คุณกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์

Sandbox แรกของกฟผ.คือ โครงการเด็ก เกิดเด็ก Young at Heart คิดอะไรก็ได้ ปีแรกเปิดให้คิด เขาคิดเรื่องกาแฟ มีการค้านว่า พ.ร.บ. ไม่ให้ขาย ถ้าไม่ติดคุก ก็ควรทำ จึงให้เด็กทำ ก็ต้องค้นหาว่าทำไมจึงขัดพ.ร.บ. แต่ขายแบบเป็นช่องสวัสดิการ ทำหลายสาขาแล้ว ท่านรองวันชัยเป็นที่ปรึกษาสนับสนุน ตอนนี้ลูกค้ามีมาก ทำให้ยอดอเมซอนตกมาก

เรื่อง KM ดีมาก น่าสนใจมาก ต้องดูบริบทด้วย โกดักต่อยอด KM โดยไม่ดูเทคโนโลยี

ไม่ควรเน้นถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่น แต่ต้องหาทางให้คนรุ่นใหม่มีบทบาท มีหลายวิจัยระบุว่า องค์กรรอดได้ด้วยคนรุ่นใหม่ รุ่นพี่ควรช่วยประคับประคองรุ่นน้อง

ความรู้เดิมใช้ไม่ได้ มีแต่กรณีศึกษาเข้ามา ตำราเดิมไม่เหมาะสม ฝ่ายฝึกอบรมต้องนำร่อง

สนใจกรณีศึกษาควรติดต่อคุณวริษฐ์

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยชั้นนำเน้นการเรียนแบบกรณีศึกษา อนาคตอาจจะไม่มีตำราที่เหมาะสมแต่ละยุคสมัยจริง

ต้องนำองค์ความรู้ต่างๆมาช่วยให้ตนเองรอด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทั้งสามกลุ่มแสวงหาความรู้ร่วมกัน มาคราวนี้ทำให้เขาได้กลับไปดูองค์กรใหญ่เพื่อเตรียม transformation ถ้าเราสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ จะมีอะไรต่อเนื่องขึ้นมา วันนี้ไม่มีใครถูกหรือผิด วันนี้คือ KM+LO คำว่า KM คือรู้แนวคิดต่างๆ แล้วมา learn, share and care

กรณีศึกษามีการเปลี่ยนแปลงตลอด เรียนจากตำราล้าสมัย

วัฒนธรรมการเรียนรู้ต้องเกิดจากพื้นฐานที่ Basics

ต้องมีการกระตุ้นให้แสวงหาความรู้ต่อเนื่องและมีความรู้ข้ามศาสตร์ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรู้ภูมิสังคมในการทำสิ่งต่างๆ

คนเราต้องมีความคิดใหม่ๆเสมอ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมาจากตำราก็ได้ เพราะความรู้ขยายตัวตลอดเวลา

คุณกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์

โควิด-19 เกิดจากความเก่งที่ไม่สร้างสรรค์

การคิดแบบเดิมและทำแบบเดิมจะทำให้กฟผ.เป็นหน่วยงานแห่งความทรงจำ

หน่วยงานซ่อมคิดว่า ทักษะเป็นจุดแข็ง เป็นความจริงเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ตอนนี้ AI ทำได้แล้ว เราต้องปรับตัวเรียนรู้ AI

ในอนาคต โรงไฟฟ้าจะเป็นขนาดเล็ก จะควบคุมไฟฟ้าให้สมดุลอย่างไร โรงไฟฟ้าขนาดเล็กอาจใช้ AI ควบคุม ไม่ต้องมีศูนย์ควบคุม สามารถปรับแผน PPD ได้ตลอดเวลา มีการสร้าง scenario อธิบายการสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละแห่ง ต้องคุมพวก AI ให้ได้

อาจารย์สมศักดิ์

ของวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา หลังโควิด-19 ประเมินอาจารย์จากการทำวิจัยศาสตร์พระราชา SDG ความยั่งยืนกับชุมชน

กฟผ.ควรให้ความสำคัญกับชุมชนรอบข้างกฟผ.

ดร.เพชญ์ ภัคโชตานนท์

การพัฒนาอะไรในอนาคต ก็ต้องเรียนรู้จากคนรุ่นใหม่ด้วย และเอาคนรุ่นใหม่มาเรียนรู้ร่วมกันด้วย

ศาสตร์พระราชาอาจเริ่มจากเรียนกลุ่มเล็กๆก่อน

ตอนนี้ก็มีความสุขที่ได้ทำงานเรื่องศาสตร์พระราชาและช่วยเหลือชาวบ้าน

คุณอมรรัตน์ บังคมเนตร

ขอบคุณทุกท่านที่มาแบ่งปันความรู้ เราก็เรียนรู้จากท่านด้วย

เรามองภาพใหญ่แต่เริ่มทำจากจุดเล็กที่จับต้องและทำได้ เป็นเหตุเป็นผล ไม่หยุดคิดและไม่หยุดพัฒนา

ต้องเปิดโอกาสให้คนคิด ถ้าเขาทำได้ ก็โยนโจทย์ไป

คำสำคัญ (Tags): #ศาสตร์พระราชา
หมายเลขบันทึก: 682626เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2020 19:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2020 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท