สมรรถนะในการตัดสินใจ



การตัดสินใจ เป็นกิจกรรมสำคัญของมนุษย์    ผมถูกบิดาสอนทางอ้อมด้วยคำวิพากษ์ตัวอย่าง คนในแวดวงทำงานใกล้ชิดบางคน    ด้วยภาษาปักษ์ใต้ว่า คนคนนั้น “เที้ยม” เป็นประจำ  

คำว่า “เที้ยม” หมายถึง พลาด  ใช้ในการเล่นเกมของเด็กๆ ในท้องถิ่น    ที่มีกติกาว่าให้ผู้เล่นทำอะไร  และหากทำไม่ได้ ก็ “ตาย” คือเล่นต่อไม่ได้    ต้องให้คนอื่นเล่นบ้าง   แต่หากทำไปโดนข้อห้าม ก็ “เที้ยม”  ซึ่งไม่ใช่แค่ตาย แต่ต้องถูกหักคะแนน หรือลงโทษ    มองจากมุมของการเรียนรู้    การเล่นเกมเหล่านี้ช่วยฝึกทักษะและสมรรถนะหลายอย่าง  

ดังนั้น “เที้ยม” จึงเป็นผลขอการตัดสินใจที่ก่อความเสียหาย    ไม่ใช่แค่ไม่สำเร็จ    พ่อผมสอนทางอ้อมว่า ต้องเป็นคนที่ไม่ “เที้ยม” แบบเดิมบ่อยๆ ทำนองผิดแล้วต้องจำ    หรือต้องรู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาด  

หากไม่ได้ฝึกลงมือทำ  และฝึกตัดสินใจ ก็จะไม่ได้มีโอกาสเรียนรู้จากความผิดพลาด  

นิตยสาร Way มาสัมภาษณ์ นำไปลงเว็บไซต์ ในเรื่อง ครูไม่มีอำนาจตัดสินใจ คือโรคระบาดใหญ่ของการศึกษาไทย  อ่านได้ที่ (๑)    ในบทความนี้มีภาษาอังกฤษที่ผิด คือ digital revive  ที่ถูกคือ digital divide    และ ethicality ที่ถูกคือ integrity

วิจารณ์ พานิช

๓ ส.ค. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 681531เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2020 19:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2020 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท